ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ภาษีให้กู้ยืมเงินไม่มีค่าตอบแทน

ในกรณีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนกันหรือไม่ หรือมีการโอนขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดิน เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอน เจ้าพนักงานประเมินภาษี มีอำนาจกำหนดราคาขายตามราคาประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้

การให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีค่าตอบแทนโดยไม่มีเหตุอันควร

ในกรณีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนกันหรือไม่ หรือมีการโอนขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดิน เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอน เจ้าพนักงานประเมินภาษี มีอำนาจกำหนดราคาขายตามราคาประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้ การให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีค่าตอบแทนโดยไม่มีเหตุอันควร เจ้าพนักงานประเมินภาษีมีอำนาจประเมินตามราคาในวันที่ให้กู้ยืมเงินได้ กรณีรับเงินจากการขายที่ดินเป็นจำนวนมาก แต่ไม่นำไปแสวงหาประโยชน์หรือไม่นำไปใช้หนี้เงินกู้ที่ตนผูกพันต้องชำระ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

    คำพิพากษาศาลฎีกาที่  702/2552

     ที่ดินที่โจทก์ขายไปเป็นที่ดินแยกจากโฉนดแปลงเดียวกันคือโฉนดเลขที่ 184 เมื่อบางแปลงขายได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาดังกล่าวตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินโดยถือเป็นราคาตลาดในวันที่โอนได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่การใช้อำนาจตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามที่โจทก์อ้างในคำฟ้องว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจตามกฎหมายแต่อย่างใด

        กรณีโจทก์ลงบัญชีรับเงินสดจากการขายที่ดินจำนวน 66,492,563 บาท ไม่ปรากฏว่าโจทก์นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้ที่โจทก์กู้ยืมมาซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยหรือนำไปฝากธนาคารเพื่อให้เกิดดอกเบี้ย เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นการให้กรรมการนำเงินดังกล่าวไปใช้ เข้าลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะไม่คิดดอกเบี้ย เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยรับจากเงินดังกล่าวได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขึ้นเองโดยผิดข้อเท็จจริงและผิดหลักการบัญชีตามที่โจทก์อ้าง

          มาตรา 91/2 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า “...การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร ให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้...(5) การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ” การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ที่จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะต้องมีลักษณะทำนองเดียวกับธนาคารและจะต้องประกอบกิจการดังกล่าวโดยปกติด้วย คำว่า “โดยปกติ”ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าได้ประกอบกิจการดังกล่าวเช่นที่เคยปฏิบัติมา ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนการตรวจสอบภาษีอากรสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกเอาดอกเบี้ยเป็นการหาประโยชน์จากการให้กู้ยืมเงินแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่าโจทก์ประกอบกิจการดังกล่าวโดยปกติในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ ดังนั้นกรณีโจทก์รับเงินจากการขายที่ดินเป็นจำนวนมาก แต่ไม่นำไปแสวงหาประโยชน์หรือไม่นำไปใช้หนี้เงินกู้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะกำหนดดอกเบี้ยจากเงินดังกล่าวถือเป็นรายรับต้องนำมาคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะหาได้ไม่ จึงต้องเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนี้

           โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้งดเบี้ยปรับให้ทั้งหมดเนื่องจากโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีแต่ประการใด หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 ขอให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ 1003140/2/100101 และที่ 1003140/2/100102 ลงวันที่ 29 มกราคม 2542 ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ เลขที่ 1003140/6/100096 ลงวันที่ 29 มกราคม 2542 และเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เลขที่ สภ.1(อธ.1)/22/2546 และเลขที่ สภ.1(อธ.1)/23/2546 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546

          จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง

          ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า หนังสือแจ้งการประเมินภาษีของจำเลยและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ทั้งโจทก์และจำเลยไม่อาจอ้างหรือนำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวมาใช้บังคับได้ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นอีกต่อไป พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่ 1003140/2/100101 ที่ 1003140/2/100102 และเลขที่ 1003140/6/100096 ลงวันที่ 29 มกราคม 2542 กับให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เลขที่ สภ.1(อธ.1)/22/2546 และเลขที่ สภ.1(อธ.1)/23/2546 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546 และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 6,000 บาท

          จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยในประเด็นข้อแรกว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาท ที่ 1003140/2/100102 ลงวันที่ 29 มกราคม 2542 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เลขที่ สภ.1(อธ.1)/22/2546 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้โจทก์จะมีนายกิจจา สมุห์บัญชีของโจทก์ และนายสุรินทร์ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มานำสืบถึงความไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนในการประเมินตามที่โจทก์อ้าง แต่จำเลยมีนางสาววรรณวิมล ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีเป็นพยานเบิกความว่า จากการขอคัดหลักฐานจากสำนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี พบว่าโจทก์ขายที่ดินในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทรวม 36 แปลง เนื้อที่ 138 ไร่ 46 ตารางวา โจทก์บันทึกรายได้จากการขายที่ดินตามราคาในสัญญาซื้อขายที่ดิน และจากการเปรียบเทียบราคาที่ดินแต่ละแปลงปรากฏว่าราคาซื้อขายตามสัญญาสำหรับที่ดินบางแปลงต่ำกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน และมีอีกหลายแปลงที่โจทก์แสดงราคาตามบัญชีจากการขายที่ดินต่ำกว่าราคาขายตามสัญญาและราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4) ประเมินค่าตอบแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นราคาตลาดในวันที่โอน เป็นผลให้โจทก์มีรายได้จากการขายที่ดินเพิ่มขึ้นตามราคาการตรวจสอบ เป็นเงิน 203,327,562 บาท แต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภ.ง.ด. 50) แสดงรายได้ดังกล่าวไว้จำนวน 195,145,187 บาท โจทก์จึงยื่นรายได้ขาดไป 8,182,375 บาท รายละเอียดการคำนวณตามและจากการตรวจสอบสมุดเงินสดรับพบว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2538 โจทก์บันทึกรับเงินสดจากการขายที่ดินรวม 66,492,563 บาท โจทก์ครอบครองเงินสดจำนวนดังกล่าวไว้จนถึงวันที่ 11 กันยายน 2538 จึงชำระหนี้คืนกรรมการจำนวน 30,000,000 บาท และวันที่ 13 กันยายน 2538 ชำระหนี้คืนให้แก่บริษัทโซวิค จำกัด จำนวน 32,130,287.95 บาท ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ให้การต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีว่า ได้รับเงินดังกล่าวมาจริงและเก็บไว้ที่สำนักงานโดยมิได้นำไปชำระหนี้แก่กรรมการหรือบริษัทโซวิค จำกัด ทั้งที่โจทก์มีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่บริษัทโซวิค จำกัด ในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี การที่โจทก์ถือเงินสดไว้เป็นจำนวนมากโดยมิได้นำไปฝากธนาคารหรือหาผลประโยชน์มิใช่วิสัยของผู้ประกอบการซึ่งจะต้องแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่บริษัทโจทก์ เป็นกรณีโจทก์ให้กรรมการกู้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทน เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินรายได้จากดอกเบี้ยรับในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี เท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่บริษัทโซวิค จำกัด คิดเป็นจำนวนเงิน 4,275,011.29 บาท พยานปากนี้เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีเป็นเวลาประมาณ 11 ปี เชื่อว่าพยานมีความชำนาญในการตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง พยานหลักฐานจำเลยจึงมีน้ำหนักดีกว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยนำสืบมา เห็นว่า ที่ดินที่โจทก์ขายไปเป็นที่ดินแยกจากโฉนดแปลงเดียวกันคือโฉนดเลขที่ 184 โจทก์ได้จัดการสาธารณูปโภคน้ำไฟ แบ่งเป็นแปลงเล็กสี่เหลี่ยม ทุกแปลงติดถนน ที่ดินที่แบ่งแยกออกมาต่างมีสภาพที่ตั้งทำเลใกล้เคียงกัน และเป็นการขายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน เมื่อบางแปลงขายได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินราคาดังกล่าวตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินโดยถือเป็นราคาตลาดในวันที่โอนได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่การใช้อำนาจตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามที่โจทก์อ้างในคำฟ้องว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจตามกฎหมายแต่อย่างใด และกรณีโจทก์ลงบัญชีรับเงินสดจากการขายที่ดินจำนวน 66,492,563 บาท ไม่ปรากฏว่าโจทก์นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้ที่โจทก์กู้ยืมมาซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยหรือนำไปฝากธนาคารเพื่อให้เกิดดอกเบี้ย เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นการให้กรรมการนำเงินดังกล่าวไปใช้ เข้าลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีเหตุอันสมควรที่โจทก์จะไม่คิดดอกเบี้ย เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยรับจากเงินดังกล่าวได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขึ้นเองโดยผิดข้อเท็จจริงและผิดหลักการบัญชีตามที่โจทก์อ้าง

          ปัญหาต้องวินิจฉัยในประการต่อไปมีว่า การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับดอกเบี้ยรับของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยโจทก์อ้างในคำฟ้องโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลางว่า การกำหนดดอกเบี้ยรับจากเงินสดคงเหลือในมือเพียงระยะสั้น เจ้าพนักงานประเมินกำหนดขึ้นเอง ขัดต่อข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย โจทก์มิได้ประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และเจ้าพนักงานประเมินมิได้แจ้งให้ทราบว่า โจทก์มีรายได้ประเภทดอกเบี้ยจากผู้ใด นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นว่า มาตรา 91/2 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า “...การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร ให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้...(5) การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ” การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ที่จะเข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องมีลักษณะทำนองเดียวกับธนาคารและจะต้องประกอบกิจการดังกล่าวโดยปกติด้วย คำว่า “โดยปกติ” ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าได้ประกอบกิจการดังกล่าวเช่นที่เคยปฏิบัติมา ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนการตรวจสอบภาษีอากรสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกเอาดอกเบี้ยเป็นการหาประโยชน์จากการให้กู้ยืมเงินแต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่าโจทก์ประกอบกิจการดังกล่าวโดยปกติในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ๆ ดังนั้นกรณีโจทก์รับเงินจากการขายที่ดินเป็นจำนวนมาก แต่ไม่นำไปแสวงหาประโยชน์หรือไม่นำไปใช้หนี้เงินกู้ ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะกำหนดดอกเบี้ยจากเงินดังกล่าวถือเป็นรายรับต้องนำมาคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะหาได้ไม่ จึงต้องเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในส่วนนี้

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ เลขที่ 1003140/6/100096 ลงวันที่ 29 มกราคม 2542 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เลขที่ สภ.1(อธ.1)/23/2546 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546 เฉพาะส่วนดอกเบี้ยรับ ส่วนคำขอตามคำฟ้องโจทก์ข้ออื่นนอกจากนี้ให้ยก ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความรวม 20,000 บาท.

 มาตรา 49 ทวิ ในกรณีที่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทนไม่ว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม ให้เจ้าพนักงานประเมินกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยถือตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนนั้น

มาตรา 65 ทวิ การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิในส่วนนี้ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) รายการที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย
(2) ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ให้หักได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
 การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาดังกล่าว ให้คำนวณหักตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
(3) ราคาทรัพย์สินอื่นนอกจาก (6) ให้ถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติ และในกรณีที่มีการตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ห้ามมิให้นำราคาที่ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ส่วนทรัพย์สินรายการใดมีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ก็ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในการคำนวณกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเดิมที่ใช้อยู่ก่อนตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยให้หักเพียงเท่าที่ระยะเวลา และมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่สำหรับทรัพย์สินนั้นเท่านั้น
(4) ในกรณีโอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือดอกเบี้ยนั้น ตามราคาตลาดในวันที่โอน ให้บริการหรือให้กู้ยืมเงิน
(5) เงินตรา ทรัพย์สินหรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ ที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทย ดังนี้
 (ก) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก (ข) ให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา หรือทรัพย์สินเป็นเงินตราไทย ตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ และให้คำนวณค่า หรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
(ข) กรณีธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนด ให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สินหรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อ และอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
เงินตรา ทรัพย์สินหรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณค่า หรือราคาเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น
(6) ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาด แล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่า และให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมาสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วย
การคำนวณราคาทุนตามวรรคก่อน เมื่อได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ใด ตามวิชาการบัญชี ให้ใช้หลักเกณฑ์นั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีจึงจะเปลี่ยนหลักเกณฑ์ได้
(7) การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศนั้น เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินโดยเทียบกับราคาทุนของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันที่ส่งเข้าไปในประเทศอื่นได้
(8) ถ้าราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวันที่ได้สินค้านั้นมา เว้นแต่เงินตราต่างประเทศนั้น จะแลกได้ในอัตราทางราชการ ก็ให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามอัตราทางราชการนั้น
(9) การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง แต่ถ้าได้รับชำระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้นำมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
(10) สำหรับบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้นำเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้า มารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงกึ่งหนึ่งของจำนวนที่ได้ เว้นแต่บริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังต่อไปนี้ ไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้จากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม และเงินส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้ามารวมคำนวณเป็นรายได้
(ก) บริษัทจดทะเบียน
(ข) บริษัทจำกัดนอกจาก (ก) ซึ่งถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผล และบริษัทจำกัดผู้จ่ายเงินปันผลไม่ได้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดผู้รับเงินปันผลไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม
     ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ ในกรณีที่บริษัทจำกัดหรือบริษัทจดทะเบียน มีเงินได้ที่เป็นเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งกำไรดังกล่าว โดยถือหุ้นหรือหน่วยลงทุนที่ก่อให้เกิดเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งกำไรนั้นไว้ไม่ถึงสามเดือนนับแต่วันที่ได้หุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นมาถึงวันมีเงินได้ดังกล่าว หรือได้โอนหุ้นหรือหน่วยลงทุนนั้นไปก่อนสามเดือนนับแต่วันที่มีเงินได้
     เงินปันผลที่ได้จากการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามมาตรา 65 ตรี (2) ไม่ให้ถือเป็นเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร ตามความในวรรคสอง
(11) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
(12) เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว และถ้าผู้รับเป็นบริษัทจดทะเบียนหรือ เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายและไม่เข้า
ลักษณะตามให้นำบทบัญญัติของ (10) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(13) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ ไม่ต้องนำเงินค่าลงทะเบียน หรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก หรือเงิน หรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาค หรือจากการให้โดยเสน่หา แล้วแต่กรณี มารวมคำนวณเป็นรายได้
(14) ภาษีขายซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับหรือพึงได้รับ และภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิใช่ภาษีตามมาตรา 82/16 ซึ่งได้รับคืนเนื่องจากการขอคืนตามหมวด 4 ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้
มาตรา 91/2 ภายใต้บังคับมาตรา 91/4 การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร ให้อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวดนี้
(1) การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายเฉพาะ
(2) การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(3) การรับประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
(4) การรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
(5) การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
(6) การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ เฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
(7) การขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์
(8) การประกอบกิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
  ในกรณีที่บุคคลอยู่นอกราชอาณาจักรประกอบกิจการโดยผ่านสถานประกอบการหรือตัวแทนของตนที่อยู่ในราชอาณาจักร ให้ถือว่าประกอบกิจการ ในราชอาณาจักรตามมาตรานี้

  ในกรณีที่มีปัญหาว่ากิจการใดเป็นกิจการตาม (5) หรือไม่ อธิบดีจะเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดขอบเขตและเงื่อนไขของการประกอบกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับตามมาตรานี้ก็ได้ และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้ว ให้ประกาศคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรในราชกิจจานุเบกษา




คำพิพากษาฎีกาทั่วไป

เสือสวนสัตว์หลุดกัดศีรษะโจทก์, ละเมิด, เรียกค่าสินไหมทดแทน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน-พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
จัดทำและส่งเป็นงบการเงินโดยมีเจตนาเพื่อลวง
ใบจอง (น.ส. 2)
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ท้ายฟ้องแนบหนังสือมอบอำนาจผิดฉบับถือเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อย
ความเสียหายไม่เกินวงเงินความคุ้มครองของสัญญาประกันภัย
การคืนเงินค่าหุ้นในภาวะขาดทุนตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์
การโอนสิทธิที่ดิน ส.ป.ก.4-01
อำนาจฟ้องขณะยังไม่มีคำสั่งศาลให้เป็นคนไร้ความสามารถ
วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
อำนาจพิจารณาคดีตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559
การกระทำโดยสำคัญผิด
ผิดฐานพาบุคคลไปเพื่อการอนาจารเพื่อสนองความใคร่ของตนเอง
ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร-การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ความผิดฐานรับของโจรได้ต้องมีการลักทรัพย์เกิดขึ้นแล้ว
กฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
สิทธิขั้นพื้นฐานในเชิงปรัชญา
ลูกหนี้ค้างจ่ายสรรพากรโอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์
บุตรผู้เยาว์ยังไร้เดียงสาย่อมไม่สามารถให้ความยินยอมได้
สำนักงานทนายความ รับปรึกษากฎหมาย
ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอก
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและคำนิยามศัพท์
อำนาจฟ้องคดี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คฝ่ายผู้ต้องเสียในมูลหนี้
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินภาษี
โอนที่ดินเพื่อให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์
โอนที่ดินตามคำพิพากษาเป็นการขายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
สิทธิหักลดหย่อนสำหรับบุตรซึ่งเกิดจากภริยาเดิม
รับเงินมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายต้องคืนเงินในฐานลาภมิควรได้
คุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์
คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
ขาดคุณสมบัติรับราชการเรียกเงินเดือนคืนได้หรือไม่?
ความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ผู้แทนเฉพาะการของนิติบุคคลอาคารชุดมีประโยชน์ได้เสียขัดกัน
ทำหนังสือมอบอำนาจล่วงหน้า จำเลยนำไปทำจำนอง ฟ้องเพิกถอน
สนามกอล์ฟต้องเสียภาษีโรงเรือนหรือไม่?
สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก
ใบมอบฉันทะที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องติดอากร
ภัยพิบัติที่อาจป้องกันได้ - เหตุสุดวิสัยเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้
การซื้อรถยนต์ที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงอากรมีความผิดถูกจำคุก 4 ปี
คำสั่งขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมต้องมีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้น
ความสำคัญผิดในตัวบุคคล กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด article
ศาลต้องยกฟ้อง หรือจำหน่ายคดี
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกอิสลาม
สิทธิเรียกร้องคืออะไร การบังคับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ได้รับโอน
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง
ระบอบการเมืองการปกครอง
เริ่มต้นคดีด้วยการใช้กฎหมายอิสลามแต่มีผู้คัดค้านนับถือศาสนาพุทธ