ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร-การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

การเสียภาษีบำรุงท้องที่ตาม ภ.บ.ท.5 มิใช่หลักฐานแสดงสิทธิในที่ดิน

การเสียภาษีบำรุงท้องที่ตาม ภ.บ.ท.5 มิใช่หลักฐานแสดงสิทธิในที่ดิน

โจทก์อ้างว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากนายพินิจ นางแน่งน้อย และนายใช่ แล้วมอบหมายให้จำเลยทำประโยชน์ในที่ดินแทน กับมีหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) มาแสดงยืนยัน แต่หลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ตาม ภ.บ.ท.5 มิใช่หลักฐานแสดงสิทธิในที่ดิน คงเป็นเพียงการรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น หากฟังว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากบุคคลอื่น ตามที่กล่าวอ้างก็เป็นการซื้อขายที่ดินของรัฐไม่อาจอ้างสิทธิใช้ยันต่อรัฐได้ ในการคัดเลือกเกษตรกรเข้าถือครองและทำประโยชน์ในที่ดิน ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินก็ยังไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับสิทธิได้รับการจัดที่ดินหรือไม่ รวมทั้งได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 หรือไม่ เนื่องจากเจตนาในการจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อย ไม่เพียงพอแก่การครองชีพเท่านั้น ที่ดินพิพาทยังไม่ได้มีการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ให้แก่ผู้ใด จึงเป็นกรณีที่จะต้องมีการพิสูจน์ต่อไปว่าผู้ใดอยู่ในฐานะที่จะได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01เมื่อที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ การที่จำเลยไปแจ้งต่อนายพฤทธิ์ เจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดิน สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร จังหวัดชลบุรี ว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องยาวนาน 35 ปี เพื่อประกอบการขอออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ถึงหากจะเป็นความเท็จ โจทก์ซึ่งยังไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทย่อมไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ จากการกระทำของจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2563

ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งหากโจทก์ประสงค์จะเข้ารับการจัดที่ดินต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรเข้าถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด อีกทั้งที่ดินพิพาทมีการโต้แย้งการครอบครองระหว่างโจทก์และจำเลย และยังไม่ได้มีการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ให้แก่ผู้ใด การที่จำเลยไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดินว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องยาวนาน 35 ปี เพื่อประกอบการขอออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ถึงหากจะเป็นความเท็จ โจทก์ซึ่งยังไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทย่อมไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ จากการกระทำของจำเลย จึงไม่ไช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้อง

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 267, 268

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูลเฉพาะข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 ส่วนข้อหาอื่นให้ยกฟ้อง

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 (ที่ถูก (เดิม)) เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 6 เดือน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 12 เดือน

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน

จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทไม่มีเอกสารสิทธิ มีเพียงหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท. 5) ในช่วงประมาณปี 2542 ถึง 2543 มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในบริเวณที่ดินพิพาท (ที่ดิน ส.ป.ก.) สำหรับฟ้องข้อ 1.1 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ไม่มีคู่ความอุทธรณ์ คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่ เห็นว่า ตามฟ้องข้อ 1.2 และ 1.3 จำเลยแจ้งต่อนายพฤทธิ์ เจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดิน สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร จังหวัดชลบุรี เพื่อพิจารณาออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ว่าจำเลยเข้าไปจับจองที่ดิน ตำบลเกาะจันทร์ หมู่ที่ 7 กับหมู่ที่ 13 เนื้อที่ประมาณ 100 ไร่เศษ ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทตั้งแต่ประมาณ 35 ปี มาแล้ว และทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนโจทก์นำสืบกล่าวอ้างว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากนายพินิจ นางแน่งน้อย และนายใช่ แล้วมอบหมายให้จำเลยทำประโยชน์ในที่ดินแทน กับมีหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) มาแสดงยืนยัน แต่หลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ตาม ภ.บ.ท.5 มิใช่หลักฐานแสดงสิทธิในที่ดิน คงเป็นเพียงการรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาแสดง ทั้งต่อมามีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อเกษตรกรรม โดยทางนำสืบทั้งโจทก์และจำเลยต่างรับกันว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนั้น หากเป็นกรณีที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากบุคคลอื่น ตามที่กล่าวอ้างก็เป็นการซื้อขายที่ดินของรัฐไม่อาจอ้างสิทธิใช้ยันต่อรัฐได้ และหากประสงค์จะขอเข้ารับการจัดที่ดินต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการคัดเลือกเกษตรกรเข้าถือครองและทำประโยชน์ในที่ดิน ตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 19 (7) และ 36 ทวิ ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ พ.ศ.2535 ซึ่งไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับการพิจารณาว่าเป็นเกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน รวมทั้งได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 หรือไม่ เพราะเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมุ่งหมายในการจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือมีที่ดินเล็กน้อย ไม่เพียงพอแก่การครองชีพเท่านั้น แม้จะมีข้อผ่อนผันให้ผู้มีที่ดินจำนวนมากสามารถกระจายสิทธิให้แก่บุคคลอื่นได้ก็ตาม อีกทั้งยังปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีการโต้แย้งการครอบครอง ระหว่างโจทก์และจำเลย และยังไม่ได้มีการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ให้แก่ผู้ใด จึงเป็นกรณีที่จะต้องมีการพิสูจน์ต่อไปว่าผู้ใดอยู่ในฐานะที่จะได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ที่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ดังนั้น เมื่อที่ดินพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ การที่จำเลยไปแจ้งต่อนายพฤทธิ์ เจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดิน สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร จังหวัดชลบุรี ว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องยาวนาน 35 ปี เพื่อประกอบการขอออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 ถึงหากจะเป็นความเท็จ โจทก์ซึ่งยังไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทย่อมไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ จากการกระทำของจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายทางอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น

พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์

 ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร-การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ก่อนที่จะรู้จักว่าที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คืออะไร กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.), การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีความหมายว่า การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐ หรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพและสถาบันการเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่า เข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ตลอดจนการผลิตและการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น  หนังสือรับมอบที่ดิน (ส.ป.ก. 4-28) เป็นหลักฐานแสดงว่า ได้รับมอบที่ดินและได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (คปจ.) ซึ่งมีขอบเขตแปลงที่ดินที่ได้รับ มอบจาก ส.ป.ก. หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) เป็นหลักฐานแสดงการได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามกฎหมายการปฏิรูปที่ดิน  เป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  นอกจากมุ่งหมายให้เกษตรกรมีความเท่าเทียมกันด้านสิทธิและการถือครองที่ดินแล้วยังให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพและรายได้ของเกษตรกรเพื่อให้สามารถดำรงชีพในที่ดินที่ได้รับจากการปฏิรูปที่ดินได้ ผู้มีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 มี 3 ประเภท คือ

1. เกษตรกร หมายถึง
 1.1 ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักได้แก่ ผู้ที่เป็นเกษตรกรอยู่แล้วตามความเป็นจริงและใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมมิใช่อาชีพอื่น และเป็นผู้ไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นของตนเองหรือของบุคคลในครอบครัวเดียวกัน หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ

 1.2 ผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ ผู้ที่ยังไม่เป็นเกษตรกร แต่ประสงค์จะเป็นเกษตรกร และมาขอรับการจัดที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมบุคคลประเภทนี้ได้แก่ - ผู้ยากจน หมายถึง ผู้มีรายได้ซึ่งรวมสิทธิหรือประโยชน์อื่น ๆ ที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้และเมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่สูงกว่าอัตรารายได้ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) กำหนด - ผู้จบการศึกษาทางการเกษตรกรรม หมายถึง ผู้ที่จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่าในประเภทวิชาเกษตรกรรม - บุตรของเกษตรกร หมายถึง บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก บุคคลดังกล่าวต้องไม่มีอาชีพอันมีรายได้ประจำเพียงพอแก่การยังชีพอยู่แล้ว ไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก  เกษตรกรจะได้รับการจัดที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามขนาดจำนวนที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด  (คปจ.) เห็นสมควร   แต่ทั้งนี้เนื้อที่ทั้งหมดเมื่อรวมกับที่เกษตรมีอยู่เดิมแล้วต้องไม่เกิน 50 ไร่ สำหรับการประกอบเกษตรกรรมโดยทั่วไป (ยกเว้นถือครองที่ดินก่อนปี 2524 อาจได้รับไม่เกิน 100 ไร่)  ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ใหญ่ได้รับที่ดินไม่เกิน 100 ไร่

2. สถาบันเกษตรกร หมายถึง
กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร และชุมชนสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ซึ่งจะได้รับการจัดที่ดินตามขนาดเนื้อที่ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) เห็นสมควรให้โดยคำนึงถึงประเภทและลักษณะการดำเนินงานของสถาบันเกษตรกรนั้น ๆ

3.  ผู้ประกอบกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุน หรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศกระทรวง ฯ กำหนดกิจการได้ ดังนี้
1. กิจการอื่นที่เป็นการกสนับสนุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
1.1 กิจการทางวิชาการเกษตร การสาธิต การทดลองเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร
1.2 กิจการที่ส่งเสริมหรือประกันราคาพืชผลการเกษตร หรือลดต้นทุนการผลิตทางการ เกษตร
1.3 กิจการที่เป็นข้อตกลงร่วมกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ในการดำเนินการผลิต
1.4 กิจการที่เป็นการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม และปัจจัยการผลิต ตลอดจนการผลิต การจำหน่ายและการตลาดให้เกิดผลดียิ่งขึ้น

2 กิจการที่เป็นการเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หมายถึง
 กิจการแปรรูปผลิตผลเกษตรกรรม ซึ่งใช้ผลผลิตทางการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นหลักทั้งนี้จะได้รับการจัดที่ดินตามขนาดที่คณะกรรมการการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) เห็นสมควร   ซึ่งต้องไม่เกิน 50 ไร่  ผู้ใดประสงค์จะขอรับการจัดที่ดินเพื่อใช้สำหรับกิจการที่เป็นการสนับสนุน หรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน ให้ยื่นคำขอรับอนุญาตที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่ที่ประสงค์จะประกอบกิจการนั้น ผู้ประสงค์จะขอรับการจัดที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้สำหรับประกอบกิจการ ให้ยื่นคำขอรับอนุญาตได้ที่ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแห่งท้องที่ที่ประสงค์จะประกอบกิจการ พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ใช้แทนได้ หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. กรณีเป็นนิติบุคคลให้ยื่นหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแสดงการทะเบียนเป็นนิติบุคคลพร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นด้วย
4 แผนและโครงการประกอบคำขอรับอนุญาต ประกอบด้วย
1) ประเภทของกิจการ
2) ประเภทของสิทธิที่ขอรับอนุญาต
3) สถานที่ประกอบกิจการและจำนวนเนื้อที่ที่ต้องการขออนุญาต
4) ทุนที่ใช้ดำเนินงาน รวมทั้งแผนการเพิ่มทุนในอนาคต
5) ลักษณะของการดำเนินงานของโครงการโดยระบุลักษณะการใช้ที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์ขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน แนวทางการบริหารและการจัดการโครงการ
6) ผลตอนแทน ระยะเวลาทุน และเครื่องชี้วัดอื่น ๆ ที่แสดงโอกาสความสัมฤทธิ์ผลของการประกอบกิจการ
7) ประโยชน์ที่คาดว่าเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และ ส.ป.ก. จะได้รับ ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (คปจ.) จะเป็นผู้พิจารณาอนุญาตคำขอรับการจัดที่ดินโดยระยะเวลาการเช่า เช่าซื้อ หรือเข้าทำประโยชน์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ส.ป.ก. ประกาศกำหนดและให้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด กำหดนให้ผู้ขอรับอนุญาต จ่ายค่าตอบแทนตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) กำหนด โดยนำค่าตอบแทนที่ได้รับเข้ากองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เงื่อนไขที่จะให้ผู้รับอนุญาตถือปฏิบัติที่ระบุไว้ในสัญญา ต้องประกอบด้วยสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. ต้องประกอบกิจการตามแผนและโครงการที่ขออนุญาตนั้น จะโอนสิทธิไปยังบุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก คปจ. ก่อน
2. ต้องใช้ที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์ให้ตรงกับกิจการที่ได้รับอนุญาตตามที่ระบุไว้ในสัญญาหาก ไม่ปฏิบัติตาม คปจ. หรือ คปก. มีสิทธิเพิกถอนการอนุญาตและเลิกสัญญาได้
3. ต้องเริ่มลงมือดำเนินการภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา
4. ต้องไม่เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมกิจการ แผนงาน แผนการดำเนินงาน หรือวิธีการดำเนินการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก คปจ. ก่อน
5. ต้องยินยอมให้ ส.ป.ก. เข้าไปตรวจสอบกิจการให้เป็นไปตามสัญญาอย่างน้อยปีละครั้ง
6. ในระหว่างเวลาหรือครบกำหนดเวลา เช่า เช่าซื้อ หรือเข้าทำประโยชน์ หรือเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือ อสังหาริมทรัพย์ ให้แก่ผู้รับอนุญาตแล้วก็ตาม ถ้าทรัพย์สินหรือสิ่งก่อสร้างที่ปลูกบนที่ดินที่ได้รับอนุญาตก่อให้เกิดความเสียหาย หรือกีดขวางการปฏิรูปที่ดินเพื่อกษตรกรรม คปจ. มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนทรัพย์สินหรือสิ่งก่อสร้างดังกล่าว ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติตาม คปจ. มีอำนาจรื้อถอนได้โดยผู้รับอนุญาตเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย และต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายนั้นด้วย
7. ผู้รับอนุญาตต้องเข้าทำสัญญากับ ส.ป.ก. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการขออนุญาต  หากไม่ทำสัญญาภายในเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรให้ คปจ. เพิกถอนอนุญาตได้  

การได้กรรมสิทธิ์์ในที่ดิน
1. ด้วยวิธีการปฏิรูปที่ดินในที่ดินเอกชน การปฏิรูปที่ดินในที่ดินเอกชน หมายถึง การนำที่ดินที่เจ้าของที่ดิน มีความประสงค์จะขายที่ดิน หรือไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกินกว่าสิทธิที่กฎหมายปฏิรูปที่ดินกำหนดให้ถือครองได้ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จะดำเนินการจัดซื้อ หรือเวนคืนจากเจ้าของที่ดินเอกชนดังกล่าว ซึ่งถือครองที่ดิน โดยมีหนังสือสำคัญตามประมวลกฎหมายที่ดิน คือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส. 3 ก) หรือโฉนดที่ดินมาจัดสรรให้เกษตรกรผู้เช่าทีดิน ผู้ไร้ที่ทำกิน ได้เช่า หรือเช่าซื้อจาก ส.ป.ก. ต่อไป
2. ด้วยวิธีการปฏิรูปที่ดินในที่ของรัฐ การปฏิรูปที่ดินในที่ของรัฐ หมายถึง การที่ ส.ป.ก. นำที่ดินของรัฐประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตป่าไม้ถาวรที่เสื่อมโทรม ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนเลิกใช้ร่วมกัน ที่ราชพัสดุ ที่กระทรวงการคลังให้ความยินยอมแล้ว ที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินจำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวร นำมาจัดให้เกษตรกรเช่า เช่าซื้อ เข้าทำประโยชน์ หรือจัดให้โดยมีค่าชดเชย การเวนคืนที่ดินสำหรับการปฏิรูปที่ดินในที่ดินเอกชน กฎหมายได้ให้อำนาจเวนคืนที่ดินได้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้โดยอนุโลม  แต่จนถึงปัจจุบันนี้ ส.ป.ก. ยังมิได้ใช้มาตรการเวนคืนที่ดิน เพราะมีข้อจำกัดในทางปฏิบัติบางประการที่ต้องแก้ไข

หน้าที่ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน
เมื่อเกษตรกรได้รับการคัดเลือกเข้าทำประโยชน์ในเขตที่ดินลงชื่อในหนังสือรับมอบที่ดินและหรือสัญญาเช่า หรือสัญญาเช่าซื้อ หรือสัญญาจัดให้โดยมีค่าชดเชยเรียบร้อยแล้ว จะต้องเริ่มเข้าทำประโยชน์ในที่ดินนั้น และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้

1 ทำประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเองอย่างเต็มความสามารถ และไม่นำที่ดินนั้นทั้งหมด หรือบางส่วนไปให้ผู้อื่นเช่า ให้ทำประโยชน์ หรือขาย หากไม่ต้องการจะทำประโยชน์ในที่ดินให้ยื่นคำขอสละสิทธิพร้อมกับบอกเลิกสัญญา หรือขอโอนสิทธิ์ในที่ดินนั้นให้สามีหรือภรรยาหรือบุตรที่บรรลุนิติภาวะ โดยยื่นคำขอได้ที่สำนังานการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (ส.ป.ก. จังหวัด)

2. ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินจนเป็นเหตุให้ดินเสื่อมสถาพความเหมาะสมแก่การประกอบเกษตรกรรม เช่น ขุดหน้าดินขาย

3. ไม่ขุดบ่อเพื่อเกษตรกรรมเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่ได้รับมอบ เช่น ถ้า ส.ป.ก. จัดที่ดินให้ 20 ไร่ จะขุดบ่อได้ไม่เกิน 1 ไร่ และต้องไม่ปลูกสิ่งก่อสร้างใด ๆ นอกเหนือจากการปลูกสร้างโรงเรือน ยุ้งฉาง ที่อยู่อาศัย หรือสิ่งก่อสร้างอย่างอื่น ที่ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรของเกษตรกรนั้นตามสมควร หากต้องการจะทำการใด ๆ ที่เกินจากนี้ ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อ ส.ป.ก. จังหวัดก่อน

4. ดูแลรักษาหมุดหลักฐานและหลักเขตในที่ดินที่ได้รับมอบ มิให้เกิดชำรุดเสียหาย หรือเคลื่อนย้ายไปจากตำแหน่งเดิม

5. ไม่กระทำการใด ๆ ในลักษณะที่ก่อให้ความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างในโครงการปฏิรูปที่ดิน สภาพแวดล้อม หรือเสียหายต่อการทำประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกรอื่น

6. ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (คปก.) และคณะกรรมการ ปฏิรูปที่ดินจังหวัด (คปจ.)

7. ปฏิบัติตามสัญญากู้ยืมที่ทำกับ ส.ป.ก. และตามพันธะกรณีที่มีอยู่กับสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ดำเนินงานร่วมกับ ส.ป.ก. เช่น ตามสัญญากู้ยืมเงินกับ ธ.ก.ส. หรือสัญญาตามโครงการพัฒนาการเกษตรร่วมกับภาคเอกชน นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกป่า หรือไม้ยืนต้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเนื้อที่ในแปลงที่ดินที่ได้รับการจัดจาก ส.ป.ก. อีกด้วย ถ้าเกษตรกรไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดจะมีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในกำหนด ถ้าเกษตรกรยังคงฝ่าฝืนโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (คปจ.) จะมีคำสั่งให้สิ้นสิทธิ และต้องออกจากที่ดิน

การสิ้นสิทธิ
ผู้ที่ได้รับการจัดที่ดิน  ส.ป.ก. จะสิ้นสิทธิในที่ดิน ในกรณีดังต่อไปนี้

1. ตาย หรือสละสิทธิ์ เว้นแต่จะมีการตกทอดทางมรดกตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518

2. โอนสิทธิการเข้าทำประโยชน์ การเช่า หรือการจัดให้โดยมีค่าชดเชยไปยังบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2518

3. ขาดคุณสมบัติตามระเบียบที่ ค.ป.ก. กำหนด คือไม่ได้ถือสัญชาติไทย หรือมีที่ดินทำกินเป็นของตนเองหรือของบุคคลในครอบครัวเดียวกันเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพก่อนได้รับการคัดเลือกเข้าทำกินในเขตปฏิรูปที่ดินหรือไม่เป็นเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

4. ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของ ค.ป.ก. ว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน

การขอเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน

พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 ได้กำหนดการให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่บุคคลในเขตปฏิรูปที่ดิน ดังนี้

1. โดยการเช่าซื้อที่ดิน ทั้งในที่ดินเอกชนและที่ดินของรัฐ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ ค.ป.ก. กำหนด

2 ผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองที่ถือครองที่ดินของรัฐอยู่ก่อน พ.ศ. 2524 ในส่วนที่ไม่เกิน 50 ไร่ และจ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนรังวัด และค่าปรับปรุงพัฒนาที่ดินที่ ส.ป.ก. ดำเนินการตามจำนวนที ค.ป.ก. กำหนด
ขอบคุณข้อมูลจาก




คำพิพากษาฎีกาทั่วไป

เสือสวนสัตว์หลุดกัดศีรษะโจทก์, ละเมิด, เรียกค่าสินไหมทดแทน
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน-พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
จัดทำและส่งเป็นงบการเงินโดยมีเจตนาเพื่อลวง
ใบจอง (น.ส. 2)
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ท้ายฟ้องแนบหนังสือมอบอำนาจผิดฉบับถือเป็นข้อบกพร่องเล็กน้อย
ความเสียหายไม่เกินวงเงินความคุ้มครองของสัญญาประกันภัย
การคืนเงินค่าหุ้นในภาวะขาดทุนตามคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์
การโอนสิทธิที่ดิน ส.ป.ก.4-01
อำนาจฟ้องขณะยังไม่มีคำสั่งศาลให้เป็นคนไร้ความสามารถ
วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
อำนาจพิจารณาคดีตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559
การกระทำโดยสำคัญผิด
ผิดฐานพาบุคคลไปเพื่อการอนาจารเพื่อสนองความใคร่ของตนเอง
ความผิดฐานรับของโจรได้ต้องมีการลักทรัพย์เกิดขึ้นแล้ว
ภาษีให้กู้ยืมเงินไม่มีค่าตอบแทน
กฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
สิทธิขั้นพื้นฐานในเชิงปรัชญา
ลูกหนี้ค้างจ่ายสรรพากรโอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์
บุตรผู้เยาว์ยังไร้เดียงสาย่อมไม่สามารถให้ความยินยอมได้
สำนักงานทนายความ รับปรึกษากฎหมาย
ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอก
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและคำนิยามศัพท์
อำนาจฟ้องคดี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คฝ่ายผู้ต้องเสียในมูลหนี้
ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ
ห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินภาษี
โอนที่ดินเพื่อให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์
โอนที่ดินตามคำพิพากษาเป็นการขายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
สิทธิหักลดหย่อนสำหรับบุตรซึ่งเกิดจากภริยาเดิม
รับเงินมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายต้องคืนเงินในฐานลาภมิควรได้
คุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์
คดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ
ขาดคุณสมบัติรับราชการเรียกเงินเดือนคืนได้หรือไม่?
ความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย
ผู้แทนเฉพาะการของนิติบุคคลอาคารชุดมีประโยชน์ได้เสียขัดกัน
ทำหนังสือมอบอำนาจล่วงหน้า จำเลยนำไปทำจำนอง ฟ้องเพิกถอน
สนามกอล์ฟต้องเสียภาษีโรงเรือนหรือไม่?
สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก
ใบมอบฉันทะที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องติดอากร
ภัยพิบัติที่อาจป้องกันได้ - เหตุสุดวิสัยเป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้
การซื้อรถยนต์ที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาโดยหลีกเลี่ยงอากรมีความผิดถูกจำคุก 4 ปี
คำสั่งขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมต้องมีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้น
ความสำคัญผิดในตัวบุคคล กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด article
ศาลต้องยกฟ้อง หรือจำหน่ายคดี
โอนที่ดินให้บุตรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกอิสลาม
สิทธิเรียกร้องคืออะไร การบังคับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ได้รับโอน
สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง
ระบอบการเมืองการปกครอง
เริ่มต้นคดีด้วยการใช้กฎหมายอิสลามแต่มีผู้คัดค้านนับถือศาสนาพุทธ