สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย -ปรึกษากฎหมาย ทนายความ (นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ ID line : (1) @leenont หรือ (2) @peesirilaw -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย บิดานอกสมรสขอให้ศาลมีคำสั่งว่าเป็นบิดาตามกฎหมายของผู้ตายและมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายซึ่งไม่อาจกระทำได้เพราะไม่มีกฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิให้ทำได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5660/2559 บุตรที่เกิดนอกสมรสจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาในภายหลังได้ 3 ประการ คือ เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 เมื่อปรากฏตามคำร้องขอของผู้ร้องว่า ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบิดาตามกฎหมายของ พ. และมีสิทธิได้รับมรดกของ พ. มิใช่เป็นกรณีที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ทั้งการที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 และมาตรา 1555 นั้น เป็นสิทธิของฝ่ายเด็กที่จะฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้กล่าวคือ ในกรณีที่เด็กยังมีอายุไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ฟ้องคดีแทน หรือในกรณีที่เด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ให้ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็ก มิใช่กรณีที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่อ้างว่าเป็นบิดาของเด็กมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ทั้งผู้ร้องมิได้ร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ร้องจดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตรเพื่อนำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1548 แต่กลับขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ร้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. ซึ่งไม่อาจกระทำได้เพราะคำพิพากษาของศาลในกรณีเช่นนี้ไม่มีผลทำให้ผู้ร้องมีสถานะเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. กรณีของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 1547 จึงไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิแก่ผู้ร้องในอันที่จะนำเสนอคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2559) ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องแต่งงานกับนางมะลิ (จำชื่อสกุลเดิมไม่ได้) ตามประเพณี และอยู่กินกันฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2493 มีบุตร 12 คน โดย นางพิกุล เป็นบุตรลำดับที่ 4 ของผู้ร้องกับนางมะลิ และนางพิกุลถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2547 ด้วยโรคมะเร็งเต้านม ระหว่างนางพิกุลยังมีชีวิตและอยู่ในวัยเยาว์ ผู้ร้องเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษาและให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ร้อง เมื่อนางพิกุลบรรลุนิติภาวะได้สมรสกับนายจิตติ มีบุตร 3 คน ต่อมาปี 2531 นางพิกุลจดทะเบียนหย่ากับนายจิตติ นางพิกุลมีทรัพย์สินเป็นที่ดิน 3 แปลง เมื่อนางพิกุลถึงแก่ความตาย ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งนายวีรสรรค์ บุตรของนางพิกุลเป็นผู้จัดการมรดกของนางพิกุล นายวีรสรรค์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางพิกุลพยายามขับไล่ผู้ร้องออกจากบ้านของนางพิกุลที่ผู้ร้องอยู่อาศัยด้วย ผู้ร้องเป็นบิดามีส่วนได้รับมรดกของนางพิกุล แต่นายวีรสรรค์ไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ผู้ร้องโดยอ้างว่าผู้ร้องมิใช่บิดาตามกฎหมายของนางพิกุล ขอให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบิดาตามกฎหมายของนางพิกุลและมีสิทธิได้รับมรดกของนางพิกุล ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องมิใช่สามีของนางมะลิ และนางพิกุลมิใช่บุตรของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่เคยอุปการะเลี้ยงดูนางพิกุล ระหว่างแบ่งมรดกของนางพิกุล ผู้ร้องไม่เคยเข้าเกี่ยวข้อง ผู้คัดค้านแบ่งมรดกของนางพิกุลเสร็จตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งเกิน 1 ปี แล้ว นอกจากนี้ไม่มีกฎหมายให้สิทธิผู้ร้องในการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นทายาทของนางพิกุลและเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของนางพิกุล ขอให้ยกคำร้องขอ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ผู้ร้องเป็นบิดาของนางพิกุล คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ ผู้คัดค้านอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษากลับ ให้ยกคำร้องขอ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ ผู้ร้องฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ไม่โต้เถียงกันฟังเป็นยุติว่า นางพิกุลเป็นบุตรของนางมะลิ นางพิกุลสมรสกับนายจิตติ และมีบุตรด้วยกัน 3 คน โดยนายวีรสรรค์ ผู้คัดค้าน เป็นบุตรคนหนึ่ง ต่อมานางพิกุลจดทะเบียนหย่ากับนายจิตติในปี 2531 ครั้นปี 2547 นางพิกุลถึงแก่ความตาย โดยศาลมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของนางพิกุล ส่วนนางมะลิถึงแก่ความตายก่อนนางพิกุล มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของนางพิกุล ผู้ตายได้หรือไม่ เห็นว่า บุตรที่เกิดนอกสมรสจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาในภายหลังได้ 3 ประการ คือ เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 เมื่อปรากฏตามคำร้องขอของผู้ร้องว่า ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบิดาตามกฎหมายของนางพิกุลและมีสิทธิได้รับมรดกของนางพิกุล มิใช่เป็นกรณีที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ทั้งการที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 และ มาตรา 1555 นั้น เป็นสิทธิของฝ่ายเด็กที่จะฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ กล่าวคือ ในกรณีที่เด็กยังมีอายุไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ฟ้องคดีแทน หรือในกรณีที่เด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ให้ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็ก มิใช่กรณีที่ให้สิทธิแก่บุคคลที่อ้างว่าเป็นบิดาของเด็กมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ทั้งผู้ร้องมิได้ร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ร้องจดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตรเพื่อนำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 แต่กลับขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ร้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนางพิกุล ซึ่งไม่อาจกระทำได้เพราะคำพิพากษาของศาลในกรณีเช่นนี้ไม่มีผลทำให้ผู้ร้องมีสถานะเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนางพิกุล กรณีของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 ทั้งศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิแก่ผู้ร้องในอันที่จะนำเสนอคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของนางพิกุลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษากลับให้ยกคำร้องขอโดยอาศัยเหตุดังกล่าวชอบแล้ว ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
|