ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

 

คำฟ้อง ข้อหาหรือฐานความผิด : ผิดสัญญา ถอนอำนาจปกครองบุตร

    โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ โจทก์เปลี่ยนไปใช้ชื่อสกุลของจำเลยว่า “ก” ในกรณีสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน ๒ คน คือ  (๑)เด็กชาย ข.  เกิดวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๑  ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๑ เด็กชาย ข. ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัวเป็น “น” ปัจจุบันอายุ ๑๕ ปีเศษ เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ปรากฏตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑, สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๒,  สำเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๓ ตามลำดับ (๒) เด็กหญิง ค. เกิดวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ ปัจจุบันอายุ ๑๑ ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ปรากฏตามสำเนาสูติบัตร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๔, สำเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๕

     ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๓ โจทก์ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้เปลี่ยนชื่อสกุลจากเดิมว่า “ก” เปลี่ยนใหม่เป็น “ส” ปรากฏตามสำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๖

     ภายหลังจากที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้วโจทก์และจำเลยมีความคิดเห็นไม่ตรงกันจึงตกลงไปจดทะเบียนหย่าด้วยความสมัครใจทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔  ตามบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า  ข้อ ๒ มีบันทึกข้อตกลงว่าให้คู่หย่าฝ่ายชาย (จำเลย)และฝ่ายหญิง (โจทก์) เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ข. และเด็กหญิง ค. ร่วมกันทั้งสองคน  รายละเอียดปรากฏตามสำเนาทะเบียนการหย่าพร้อมบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๗

      หลังจากที่โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์นำเด็กชาย ข. และเด็กหญิง ค. มาพักอาศัยอยู่กับโจทก์ที่บ้านเลขที่ ๐ หมู่ ๐ ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

      ข้อ ๒. ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๖๖ โจทก์ได้ทำการสมรสใหม่กับชายสัญชาติอังกฤษ โจทก์ได้เดินทางไปพักอาศัยอยู่กับสามีใหม่ที่ประเทศอังกฤษ โจทก์มีความประสงค์จะนำบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปพักอาศัยและเรียนอยู่กับโจทก์ที่ประเทศอังกฤษแต่การนำตัวบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปพักอาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษนั้นตามข้อกำหนดของสำนักตรวจคนเข้าเมืองของประเทศอังกฤษกำหนดให้โจทก์ต้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองแต่เพียงผู้เดียวเสียก่อนจึงจะสามารถพักอาศัยอยู่กับโจทก์ในประเทอังกฤษได้

      ต่อมาโจทก์จึงได้เจรจาตกลงกับจำเลยว่าหากบุตรผู้เยาว์ทั้งสองมีความพร้อมในการเดินทางไปอยู่กับโจทก์จำเลยตกลงจะไปดำเนินการทางศาลให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนอำนาจปกครองบุตรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองแต่เพียงผู้เดียวเพื่อความสะดวกในการให้ความยินยอมแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองในการดำเนินการเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตเข้าเมือง (วีซ่า) และให้ความยินยอมในเอกสารอื่น ๆที่เกี่ยวข้องทั้งปวงจำเลยก็ตกลงเห็นชอบด้วย

      ข้อ ๓. เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖ โจทก์และจำเลยได้ทำหนังสือข้อตกลงเรื่องเปลี่ยนอำนาจปกครองบุตร มีสาระสำคัญว่าจำเลยจะไปดำเนินการทางศาลเพื่อให้ได้คำสั่งศาลให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียวภายใน ๑๕ วันนับแต่วันทำสัญญา ปรากฏสำเนาสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเรื่องเปลี่ยนอำนาจปกครอง เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๘                    

       โจทก์ได้ทวงถามจำเลยให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวข้างต้น แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลง และบ่ายเบี่ยงตลอดมา

        ข้อ ๔. การกระทำของจำเลยข้างต้นเป็นการที่จำเลยไม่เห็นแก่ความเจริญก้าวหน้าและความผาสุกของบุตรทั้งสองจึงเป็นการใช้อำนาจปกครองแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองไม่ชอบ อีกทั้งเป็นการทำผิดสัญญาที่ได้ทำข้อตกลงไว้ต่อกัน ดังนั้นการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่อาจนำพาความผาสุกและประโยชน์สุขมาให้แก่บุตรโจทก์ได้ อันถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองที่มิชอบ โจทก์จึงขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาให้เพิกถอนอำนาจปกครองของจำเลยที่มีต่อเด็กชาย ข. และเด็กหญิง ค. บุตรผู้เยาว์ทั้งสองคนเสีย และได้โปรดพิจารณาพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ข. และเด็กหญิง ค. แต่เพียงผู้เดียว เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เยาว์ ปัจจุบันโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ ๐ หมู่ ๗ ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ปรากฏตามสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๙ และ ๑๐ ตามลำดับ

      โจทก์ไม่มีอำนาจอื่นใดที่จะไปบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ จึงจำต้องนำคดีมาสู่ศาลเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึงบังคับจำเลยต่อไป

       ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

 คำฟ้อง ข้อหาหรือฐานความผิด : ผิดสัญญา ถอนอำนาจปกครองบุตร

โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว * โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว และให้แบ่งสินสมรส จำเลยให้การขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้พิพากษาให้จำเลยกับโจทก์หย่าขาดจากกัน และให้จำเลยเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรเพียงผู้เดียว กับให้โจทก์จ่ายค่าการศึกษาของบุตรผู้เยาว์จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะเรียนจบในระดับชั้นสูงสุด และให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่จำเลยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี หรือเท่ากับระยะเวลาที่จำเลยทำงานในประเทศไทย

นำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสในคดีฟ้องหย่า*โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว และให้แบ่งสินสมรส ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน โดยให้แบ่งทรัพย์สินคนละกึ่งหนึ่งให้หักใช้หนี้เงินกู้จากบิดาของจำเลยเสียก่อน ให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว และให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาบุตรผู้เยาว์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษายืน ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า การแบ่งสินสมรสโดยไม่ต้องหักใช้หนี้เงินกู้จากบิดาของจำเลย

การที่สามีภริยารับผิดในหนี้ร่วมกันจะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใดก็มีสิทธิเรียกร้องอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ให้ มิใช่ว่าหากสามีหรือภริยาหย่าและแบ่งสินสมรสแล้วจะต้องนำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2558

จำเลยให้การและฟ้องแย้งโดยมิได้ขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าหนี้ที่จำเลยกู้เงินจากบิดามานั้นเป็นหนี้ร่วมที่โจทก์จำเลยต้องรับผิดคนละกึ่งหนึ่ง หรือขอให้แบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสโดยให้หักใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวก่อน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้แบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสโดยหักใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวก่อนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในฟ้องแย้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

การที่สามีภริยารับผิดในหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 และมาตรา 1490 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใดก็มีสิทธิเรียกร้องอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ให้ มิใช่ว่าหากสามีหรือภริยาหย่าและแบ่งสินสมรสแล้วจะต้องนำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงจะแบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน เพราะหากไม่นำเงินที่หักไว้ไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้อาจเรียกให้อีกฝ่ายรับผิดชำระหนี้เงินกู้เต็มจำนวนได้อยู่

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว และให้แบ่งสินสมรสที่ดินโฉนดเลขที่ 19249 เลขที่ดิน 274 ตำบลบางกรวย อำเภอมหาสวัสดิ์ จังหวัดนนทบุรี พร้อมบ้านเลขที่ 111/119 หมู่ที่ 1 ตำบลบางกรวย อำเภอมหาสวัสดิ์ จังหวัดนนทบุรี ให้โจทก์กึ่งหนึ่ง หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างโจทก์กับจำเลย หากประมูลไม่ได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง และแบ่งเงินฝากในบัญชีธนาคารของจำเลยจำนวน 4,900,900 บาท ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งจำนวน 2,450,450 บาท และเงินจำนวนใด ๆ ที่จะปรากฏในภายหลังในบัญชีดังกล่าวจนถึงวันที่ศาลมีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกันให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง

จำเลยให้การ ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้พิพากษาให้จำเลยกับโจทก์หย่าขาดจากกัน และให้จำเลยเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรเพียงผู้เดียว กับให้โจทก์จ่ายค่าการศึกษาของบุตรผู้เยาว์ปีละไม่น้อยกว่า 400,000 บาท โดยเริ่มชำระปีการศึกษา 2554 และค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท เริ่มชำระเดือนกรกฎาคม 2554 เป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะเรียนจบในระดับชั้นสูงสุด และให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่จำเลยเดือนละ 50,000 บาท นับแต่เดือนตุลาคม 2555 เป็นต้นไป เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี หรือเท่ากับระยะเวลาที่จำเลยทำงานในประเทศไทย

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน โดยให้แบ่งทรัพย์สินซึ่งโจทก์และจำเลยมีอยู่ร่วมกันอันเป็นสินสมรสในวันฟ้อง (วันที่ 2 พฤษภาคม 2554) คนละกึ่งหนึ่ง สำหรับสินสมรสบ้านเลขที่ 111/119 หมู่ที่ 1 ตำบลบางกรวย อำเภอมหาสวัสดิ์ จังหวัดนนทบุรี บนที่ดินโฉนดเลขที่ 19249 เลขที่ดิน 274 ตำบลบางกรวย อำเภอมหาสวัสดิ์ จังหวัดนนทบุรี ให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่ง หากแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างโจทก์กับจำเลย หากประมูลไม่ได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งคนละส่วนเท่ากัน ทั้งนี้ ให้หักใช้หนี้เงินกู้จากนายสินไชย บิดาของจำเลยจำนวน 2,500,000 บาท เสียก่อน ให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว และให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาบุตรผู้เยาว์เป็นเงินเดือนละ 60,000 บาท นับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นบุคคลสัญชาติอังกฤษ สมรสกับจำเลยเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 ระหว่างสมรสมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือเด็กหญิง ค. เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2543 ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อต่อไปมีว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาของเด็กหญิง ค. ผู้เยาว์เดือนละ 60,000 บาท สูงไปหรือไม่นั้น เห็นว่า เด็กหญิง ค. ผู้เยาว์เป็นบุตรของโจทก์และจำเลย ทั้งโจทก์และจำเลยผู้เป็นบิดามารดาจึงต้องมีส่วนร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ตามความในบทบัญญัติมาตรา 1564 วรรคแรก และการที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษามากน้อยเพียงใด ย่อมต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณีด้วย ตามมาตรา 1598/38 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากโจทก์ จำเลยและบุตรผู้เยาว์เดินทางออกจากประเทศอังกฤษมาอยู่ประเทศไทย โจทก์ไม่มีงานทำ คงมีแต่จำเลยทำงานมาตลอดโดยได้รับเงินเดือนเดือนละแสนบาทเศษนำมาใช้จ่ายทั้งโจทก์ จำเลยและเด็กหญิง ค. ผู้เยาว์ เนื่องจากข้อเท็จจริงที่โจทก์ไปทำงานที่ประเทศออสเตรเลียเกิดขึ้นหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง ค. ผู้เยาว์เดือนละ 60,000 บาท เท่ากับรวมกับส่วนที่จำเลยในฐานะมารดาต้องร่วมอุปการะเลี้ยงดูด้วยก็จะเป็นการใช้จ่ายเป็นค่าอุปการะเด็กหญิง ค. ผู้เยาว์เดือนละ 120,000 บาท เป็นจำนวนเงินที่สูงเกินกว่าฐานะของผู้รับ จึงเห็นสมควรกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง ค. ผู้เยาว์เดือนละ 40,000 บาท ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้ฟังขึ้น

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในข้อต่อไปมีว่า กรณีมีเหตุควรจะต้องนำหนี้ที่จำเลยและโจทก์กู้เงินจากบิดาของจำเลย 2,500,000 บาท หักออกจากสินสมรสก่อนการแบ่งสินสมรสหรือไม่ โดยโจทก์ฎีกาอ้างว่า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ชำระหนี้ดังกล่าวออกจากสินสมรสก่อนการแบ่งสินสมรสเกินไปกว่าที่ปรากฏในฟ้องแย้งนั้น เห็นว่า จำเลยให้การและฟ้องแย้งโดยมิได้ขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่า หนี้ที่จำเลยกู้เงินจากบิดามานั้นเป็นหนี้ร่วมที่โจทก์จำเลยจะต้องร่วมกันรับผิดคนละกึ่งหนึ่ง หรือขอให้แบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสโดยหักใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวก่อน การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้แบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสโดยหักใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวก่อนจึงเป็นการวินิจฉัยที่ให้เกินไปกว่าที่ปรากฏในฟ้องแย้งซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 และพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 เนื่องจากการที่จะให้สามีภริยารับผิดในหนี้ร่วมต่อกันตาม มาตรา 1489 และ 1490 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาได้ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกร้องอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ให้ มิใช่ว่าเมื่อมีหนี้ร่วมหากสามีหรือภริยาฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสแล้ว ถ้ามีเหตุหย่าและจะต้องแบ่งสินสมรสกันแล้วจะต้องหักหนี้ร่วมออกจากสินสมรสให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงจะแบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน การจะให้หักหนี้ดังกล่าวออกเพื่อจำเลยจะได้นำไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงแบ่งสินสมรสกันย่อมกระทำไม่ได้ เพราะหากจำเลยไม่นำเงินที่หักไว้ไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้อาจเรียกให้โจทก์รับผิดชำระหนี้เงินกู้เต็มจำนวนได้อยู่ ศาลชอบแต่จะให้แบ่งสินสมรสเท่ากันโดยให้โจทก์ร่วมรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวคนละกึ่งหนึ่งกับจำเลยเท่านั้นหากจำเลยขอมา ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้แบ่งบ้านและที่ดิน อันเป็นสินสมรสโดยหักใช้หนี้ที่จำเลยกู้เงินจากบิดาจำเลยมาก่อนจึงไม่ชอบ ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น ส่วนฎีกาข้ออื่นของโจทก์ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

พิพากษาแก้เป็นว่า การแบ่งสินสมรสที่เป็นบ้านเลขที่ 111/119 หมู่ที่ 1 ตำบลบางกรวย อำเภอมหาสวัสดิ์ จังหวัดนนทบุรี พร้อมที่ดินโฉนดที่ 19249 เลขที่ดิน 274 ตำบลบางกรวย อำเภอมหาสวัสดิ์ จังหวัดนนทบุรี นั้น ไม่ต้องหักใช้หนี้เงินกู้จากนายสินไชย บิดาของจำเลยจำนวน 2,500,000 บาท ก่อน ทั้งนี้การแบ่งบ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ให้อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 ให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาบุตรผู้เยาวเป็นเงินเดือนละ 40,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากกัน ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวและให้แบ่งสินสมรส จำเลยให้การขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้พิพากษาให้จำเลยกับโจทก์หย่าขาดจากกันและให้จำเลยเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรเพียงผู้เดียว กับให้โจทก์จ่ายค่าการศึกษาของบุตรผู้เยาว์จนกว่าบุตรผู้เยาว์จะมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะเรียนจบในระดับชั้นสูงสุด และให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่จำเลยเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี หรือเท่ากับระยะเวลาที่จำเลยทำงานในประเทศไทย




บิดามารดา กับ บุตร

กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร, article
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว article
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร article
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร