ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร

เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร

การที่บิดามารดาไม่มาดูแลเอาใจใส่บุตรและไม่ช่วยค่าอุปการะเลี้ยงดู และไม่มาเยี่ยมตามสมควร แม้รู้ว่าเป็นบิดามารดาแต่ไม่รู้สึกว่ามีความสัมพันธ์อบอุ่นใกล้ชิด ตรงกันข้ามกลับหวาดกลัวที่จะต้องไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาเมื่อถึงกำหนดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่บิดามารดาเคยใช้กำลังหักหาญแย่งชิงบุตร ทำให้บุตรตกใจหวาดกลัว เครียดและวิตกเรื่องที่จะต้องไปอยู่กับบิดามารดา อาการผิดปกติทางจิตใจมีโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่โรคทางจิตเวช จำเป็นสมควรให้บุตรได้อยู่อาศัยในที่ที่เหมาะสม กรณีดังกล่าวถือเป็นการใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับบุตรโดยมิชอบ ศาลมีอำนาจถอนอำนาจปกครองบางส่วนของบิดามารดาได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2560

การที่โจทก์ทั้งสองไม่มาดูแลเอาใจใส่ผู้เยาว์ ไม่ช่วยค่าอุปการะเลี้ยงดู และไม่มาเยี่ยมผู้เยาว์ตามสมควร ทำให้ผู้เยาว์แม้รู้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบิดามารดาแต่ไม่รู้สึกว่ามีความสัมพันธ์อบอุ่นใกล้ชิด ตรงกันข้ามกลับหวาดกลัวที่จะต้องไปอาศัยอยู่กับโจทก์ทั้งสอง ยิ่งกว่านั้นการที่โจทก์ที่ 2 ใช้กำลังหักหาญแย่งชิงตัวผู้เยาว์ ทำให้ผู้เยาว์ตกใจหวาดกลัว เครียดและวิตกหากจะต้องไปอยู่กับโจทก์ทั้งสอง อาการผิดปกติทางจิตใจแสดงออกให้เห็นได้ทางพฤติกรรม มีโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่โรคทางจิตเวช จำเป็นต้องจัดการแก้ไขให้สภาพการใช้ชีวิตของผู้เยาว์กลับสู่สภาวะปกติ โดยให้ผู้เยาว์ได้อยู่อาศัยในที่ที่เหมาะสมการกระทำดังกล่าวของโจทก์ทั้งสองเป็นการใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ แม้ญาติของผู้เยาว์หรืออัยการไม่ได้ร้องขอ ศาลมีอำนาจถอนอำนาจปกครองบางส่วนของโจทก์ทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง เมื่อพิจารณาถึงความผาสุกของผู้เยาว์แล้ว จึงเห็นสมควรให้ถอนอำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองเฉพาะที่เกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่อาศัยของผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1567 (1) และตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่อาศัยของผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1585 วรรคหนึ่ง

โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันส่งมอบผู้เยาว์คืนแก่โจทก์ทั้งสอง หากไม่ยอมส่งมอบผู้เยาว์คืนแก่โจทก์ทั้งสอง ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองแทน ห้ามมิให้จำเลยทั้งสองเกี่ยวข้องใด ๆ กับผู้เยาว์นับแต่ส่งมอบผู้เยาว์คืนแก่โจทก์ทั้งสองหรือโจทก์ทั้งสองได้รับผู้เยาว์คืน

จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

ก่อนสืบพยานโจทก์ทั้งสอง คู่ความทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ โดยขอทดลองปฏิบัติต่อกันเป็นเวลา 2 ปี ตามรายละเอียดในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ที่เสนอต่อศาลชั้นต้น แล้วขอให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด หากคู่ความปฏิบัติผิดเงื่อนไข ก็จะได้ขอให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ต่อไป ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีชั่วคราว ต่อมาโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ และนัดสืบพยานโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสอง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งคืนเด็กหญิง ป. ผู้เยาว์แก่โจทก์ทั้งสอง คำขออื่นของโจทก์ทั้งสองให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ให้ถอนอำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อเด็กหญิง ป. ผู้เยาว์ และให้ตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

โจทก์ทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสองเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 เป็นอาของโจทก์ที่ 2 โดยเป็นน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนาย ศ. บิดาของโจทก์ที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 และไม่มีบุตรด้วยกัน โจทก์ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ เด็กหญิง ภ. เด็กหญิง ป. และเด็กหญิง จ. หลังจากโจทก์ที่ 2 คลอดผู้เยาว์ประมาณ 45 วัน ได้มอบผู้เยาว์ให้นาง ศ. ย่าของโจทก์ที่ 2 เป็น ผู้เลี้ยงดู จำเลยทั้งสองรับนาง ศ. และผู้เยาว์ไปอยู่ด้วยที่จังหวัดชลบุรีตั้งแต่ผู้เยาว์อายุ 2 ถึง 3 เดือน แล้วจำเลยทั้งสองเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองว่า สมควรถอนอำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองและตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์หรือไม่ เห็นว่า เมื่อผู้เยาว์เกิดยังเป็นทารก อายุ 45 วัน โจทก์ทั้งสองมีปัญหาไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูต้องนำผู้เยาว์ไปมอบให้ย่าอุปการะเลี้ยงดูแทน แต่ย่าอายุมากไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์เอง จำเลยทั้งสองมารับตัวผู้เยาว์พร้อมย่าไปอุปการะเลี้ยงดูในวันที่โจทก์ทั้งสองนำผู้เยาว์มามอบให้ย่านั้นเอง แสดงว่าโจทก์ทั้งสองยินยอมให้จำเลยทั้งสองอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสองอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์อย่างดี มีพัฒนาการสุขภาพร่างกายและจิตใจสมควรตามวัย โจทก์ทั้งสองไม่ใคร่ได้ไปเยี่ยมผู้เยาว์และไม่ได้ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายแก่จำเลยทั้งสอง ครั้นผู้เยาว์ใกล้จะต้องเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โจทก์ทั้งสองไปขอรับผู้เยาว์มาอุปการะเลี้ยงดูเอง แต่ผู้เยาว์ก็โตพอที่จะรู้ความและเคยชินกับสภาพแวดล้อมและความรัก ความเอาใจใส่ของจำเลยทั้งสองเสียแล้ว ทั้งไม่แน่ใจในความรักของโจทก์ทั้งสอง ปรากฏตามรายงานแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับครอบครัวที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียของพนักงานคุมประพฤติ ฉบับลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2555 โจทก์ที่ 2 แสดงอาการแย่งชิงตัวผู้เยาว์ ทำให้ผู้เยาว์มีอาการผิดปกติทางจิตใจ ซึ่งจิตแพทย์ตรวจ 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 10 มีนาคม 2555 จิตแพทย์รายงานว่า ผู้เยาว์มีความหวาดกลัว อารมณ์สับสน และกังวลเรื่องความปลอดภัยและพลัดพรากจากครอบครัวที่เลี้ยงดู ครั้งที่ 2 วันที่ 22 เมษายน 2555 จิตแพทย์รายงานว่า ผู้เยาว์ถูกกระทบทางจิตใจจากเหตุการณ์ที่มารดาผู้ให้กำเนิดใช้ความรุนแรงกับผู้เยาว์ อาจมีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นโรคทางจิตเวช ทั้งสองครั้งจิตแพทย์แนะนำว่าควรดำเนินการเรื่องความปลอดภัยในการใช้ชีวิตและจัดการใช้ชีวิตให้เข้าสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด ตามใบรับรองแพทย์ จิตแพทย์ที่ตรวจผู้เยาว์และจัดทำใบรับรองแพทย์มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมเลขที่ 27240 ตามจรรยาบรรณวิชาชีพหากไม่ใช่แพทย์เฉพาะทางย่อมไม่อาจจัดทำใบรับรองแพทย์ลักษณะดังกล่าวนี้ได้ นอกจากนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประยอมยอมความ ฉบับลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ให้ผู้เยาว์ทดลองไปอยู่กับโจทก์ทั้งสองในวันหยุด กลับปรากฏว่าก่อนถึงวันหยุดผู้เยาว์มีอาการนอนร้องไห้และนอนกัดฟัน ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้มาดูแลเอาใจใส่ผู้เยาว์ ไม่ช่วยค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ และไม่มาเยี่ยมผู้เยาว์ตามสมควร ทำให้ผู้เยาว์แม้รู้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบิดามารดา แต่ไม่รู้สึกว่ามีความสัมพันธ์อบอุ่นใกล้ชิด ตรงกันข้ามกลับหวาดกลัวที่จะต้องไปอาศัยอยู่กับโจทก์ทั้งสอง ยิ่งกว่านั้นการที่โจทก์ที่ 2 ใช้กำลังหักหาญแย่งชิงตัวผู้เยาว์ ทำให้ผู้เยาว์ตกใจหวาดกลัว เครียดและวิตกหากจะต้องไปอยู่กับโจทก์ทั้งสอง อาการผิดปกติทางจิตใจแสดงออกให้เห็นได้ทางพฤติกรรม มีโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่โรคทางจิตเวช จำเป็นต้องจัดการแก้ไขให้สภาพการใช้ชีวิตของผู้เยาว์กลับสู่สภาวะปกติ โดยให้ผู้เยาว์ได้อยู่อาศัยในที่ที่เหมาะสม การกระทำดังกล่าวของโจทก์ทั้งสองเป็นการใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ แม้ญาติของผู้เยาว์หรืออัยการไม่ได้ร้องขอ ศาลมีอำนาจถอนอำนาจปกครองบางส่วนของโจทก์ทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงความผาสุกของผู้เยาว์แล้ว จึงเห็นสมควรให้ถอนอำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองเฉพาะที่เกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่อาศัยของผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (1) และตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่อาศัยของผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยบางส่วน ฎีกาของโจทก์ทั้งสองฟังขึ้นบางส่วน

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนอำนาจปกครองของโจทก์ทั้งสองเฉพาะที่เกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่อาศัยของผู้เยาว์ และตั้งจำเลยทั้งสองเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่อาศัยของผู้เยาว์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 




บิดามารดา กับ บุตร

บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
นำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสในคดีฟ้องหย่า
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน