ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ผู้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้เยาว์ขอเพิกถอนอำนาจผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์

*ผู้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้เยาว์ย่อมถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนผู้จัดการทรัพย์สินและส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้เยาว์ได้

*โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1(มารดาผู้เยาว์)  และอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 (ผู้รับบุตรบุญธรรม) ในส่วนที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ และให้จำเลยทั้งสองส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ กับมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ด้วย

*ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้เป็นญาติของผู้เยาว์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองผู้เยาว์ พิพากษายกฟ้อง

*ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

*ศาลฎีกาพิพากษากลับ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่

 

 

โจทก์ผู้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้เยาว์มอบให้จำเลยที่ 1(มารดาขอผู้เยาว์) เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์เฉพาะส่วนที่โจทก์ยกให้ โจทก์ขอเพิกถอนอำนาจผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  458/2547

ตามคำฟ้องของโจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้เยาว์และอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมของผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยกทรัพย์สินให้แก่ผู้เยาว์ และให้จำเลยทั้งสองส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินดังกล่าวให้โจทก์กับมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ คำขอดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยกให้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ชอบ กรณีดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้เยาว์ย่อมถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินในส่วนดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1577 ประกอบมาตรา 56

  ในส่วนของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 โยกย้ายทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ ซึ่งหากจำเลยที่ 2 ได้กระทำการโยกย้ายทรัพย์สินของผู้เยาว์จริง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้

  โจทก์ฟ้องว่า เด็กหญิง ก. เป็นบุตรสาวคนเล็กของนายนพ  กับจำเลยที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2530 หลังจากที่นายมานพและจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2530 เด็กหญิง ก. อยู่ภายใต้การดูแลของจำเลยที่ 1 โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ปี 2529 และได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2530 แต่ได้จดทะเบียนหย่ากันเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2536 ระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่แม่บ้านดูแลทรัพย์สินบางส่วนของโจทก์และดูแลเด็กหญิง ก. ภายหลังจดทะเบียนสมรส โจทก์มีเจตนาที่จะมอบทรัพย์สินและรายได้ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นทุนการศึกษาในอนาคตของเด็กหญิง ก. แต่โจทก์ไม่ไว้วางใจเกรงว่าจำเลยที่ 1 จะนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ จึงกำหนดเงื่อนไขข้อตกลงว่า ถ้าโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะต้องแยกทางกันและจำเลยที่ 1 แต่งงานใหม่ โจทก์จะเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินในส่วนที่โจทก์ยกให้เด็กหญิง ก. โจทก์ได้แบ่งทรัพย์สินส่วนหนึ่งให้เด็กหญิง ก. โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2531 ซึ่งในขณะนั้นเด็กหญิง ก. มีอายุเพียง 8 เดือน ทรัพย์สินบางส่วนที่โจทก์ยกให้เด็กหญิง ก. โดยที่จำเลยที่ 1 ได้รับไว้ มีรายการดังต่อไปนี้

(ก)  เดือนมกราคม 2531 ถึงเดือนกันยายน 2534 จำเลยที่ 1 รับเงินไว้เดือนละ 5,000 บาท รวม

เป็นเงิน 225,000 บาท

(ข)   เดือนมกราคม 2533 ถึงเดือนกันยายน 2534 จำเลยที่ 1 รับเงินไว้เดือนละ 30,000 บาท รวม

เป็นเงิน 630,000 บาท

(ค)  วันที่19 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์มอบเงินจำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 เพื่อไปซื้อสลากออมสินจำนวน 10,000 บาท เลขที่ ล7639158 ถึง ล7649157 มีระยะเวลาครบกำหนด 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2533 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2536 โดยมอบรายได้จากรางวัลสลากออมสินทุกเดือนและดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนให้เด็กหญิง ก. และในวันเดียวกันโจทก์ได้ทำหนังสือระบุให้โจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้เด็กหญิง ก. ถ้าจำเลยที่ 1 แต่งงานใหม่ตามเงื่อนไขที่โจทก์ตกลงกับจำเลยที่ 1 ก่อนจะยกทรัพย์สินให้เด็กหญิง ก. ต่อมาเมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันแล้ว โจทก์ทราบว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันหาผลประโยชน์จากอำนาจปกครองเด็กหญิง ก. โดยจำเลยที่ 1 ได้มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยที่ 2 ก่อนที่จะจดทะเบียนหย่ากับโจทก์ และได้ร่วมกันโยกย้ายทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้เด็กหญิง ก. ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวและเพื่อปกปิดการกระทำดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2536 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอต่อกรมประชาสงเคราะห์ว่าจำเลยที่ 2 ได้อุปการะเด็กหญิง ก. มาเป็นระยะเวลานานแล้ว และได้จดทะเบียนรับเด็กหญิง ก. เป็นบุตรบุญธรรมเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2536 และได้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายเข้ามาจัดการทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้เด็กหญิง ก. โดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขที่โจทก์ระบุถึงบุคคลที่จะเป็นผู้จัดการทรัพย์สิน และจำเลยทั้งสองไม่ยินยอมแจ้งให้โจทก์ทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว อีกทั้งปรากฏว่าทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้เด็กหญิง ก. นั้นได้ถูกโยกย้ายและนำไปใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวจนหมดแล้ว โจทก์จึงแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบถึงเงื่อนไขข้อตกลงห้ามจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจัดการทรัพย์สินดังกล่าว และโจทก์จะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1577 ที่บัญญัติรับรองการกำหนดเงื่อนไขของผู้ให้ และให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบบัญชีรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว พร้อมกับทรัพย์สินให้โจทก์เป็นผู้ดูแล แต่จำเลยที่ 1 ปฏิเสธอ้างว่าการจัดการทรัพย์สินของเด็กหญิง ก. เป็นของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1571 โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กหญิง ก. ไม่มีอำนาจปกครอง ไม่สามารถจัดการทรัพย์สิน และจำเลยที่ 2 ก็ไม่ยินยอมที่จะส่งมอบและแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน โดยอ้างเหตุผลตามมาตรา 1571 เช่นเดียวกัน ซึ่งโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวอ้างดังกล่าว เพราะในกรณีปกติในการจัดการทรัพย์สินทุกชนิดของผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะเป็นผู้จัดการตาม มาตรา 1571 ตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง แต่ก็มีกฎหมายมาตรา 1577 บัญญัติว่า ห้ามผู้ใช้อำนาจปกครองจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ เมื่อทรัพย์สินดังกล่าวมีเงื่อนไขให้บุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้จัดการ ทรัพย์สินเช่นว่านี้ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือบิดามารดาจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวจัดการไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้ให้ที่ได้ตกลงไว้กับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้ยังปรากฏด้วยว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับผู้เยาว์โดยมิชอบ และร่วมกันจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในทางที่ผิด จนเกิดความเสียหายจนเป็นเหตุอันสมควรที่ถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินกล่าวคือ

(ก)  จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันใช้เอกสารอันเป็นเท็จ และอำนาจปกครองโดยมิชอบ จำเลยที่ 2 อ้างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองตามมาตรา 1571 แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนเลิกรับเด็กหญิง ก. เป็นบุตรบุญธรรมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2536 โดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 แต่ไม่ยอมแก้ไขทะเบียนราษฎรให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง และจำเลยที่ 1 ยังยินยอมให้จำเลยที่ 2 ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิง ก. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตลอดมา

(ข)   จำเลยทั้งสองได้ร่วมกัน นำทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้เด็กหญิง ก. ไปใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ยินยอมให้ผู้ใดเข้ามายุ่งเกี่ยว อ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นมารดา ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ปกครองย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของเด็กหญิง ก. ได้ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ในส่วนที่โจทก์ยกให้เด็กหญิง ก. และให้จำเลยทั้งสองส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ กับมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้เด็กหญิง ก. ด้วย

          ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้ว วินิจฉัยว่าไม่ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์เป็นญาติของเด็กหญิง ก. ผู้เยาว์ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1582 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองผู้เยาว์ พิพากษายกฟ้อง

          โจทก์อุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          โจทก์ฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ข้อแรกว่า จำเลยที่ 1 แต่งงานใหม่อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จะต้องมอบสิทธิดูแลเด็กหญิง ก. ผู้เยาว์พร้อมกับทรัพย์สินที่โจทก์มอบสิทธิให้จำเลยที่ 1 ดูแลแทนผู้เยาว์กลับคืนโจทก์ทั้งหมดตามบันทึกข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 หรือไม่ เห็นว่า ตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สินผู้เยาว์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้เยาว์และอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมของผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยกทรัพย์สินให้แก่เด็กหญิง ก. ผู้เยาว์ และให้จำเลยทั้งสองส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินดังกล่าวให้โจทก์กับมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ ซึ่งคำขอดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยกให้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ชอบ กรณีดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้เยาว์ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินในส่วนดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1577 ประกอบมาตรา 56 และในส่วนของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 โยกย้ายทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้เด็กหญิง ก. ผู้เยาว์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ ซึ่งหากจำเลยที่ 2 ได้กระทำการโยกย้ายทรัพย์สินของผู้เยาว์จริง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้ ที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนมานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้ฟังขึ้นไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์ต่อไป”

          พิพากษากลับ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1577    บุคคลใดจะโอนทรัพย์สินให้ผู้เยาว์โดยพินัยกรรมหรือ โดยการให้โดยเสน่หา ซึ่งมีเงื่อนไขให้บุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครอง เป็นผู้จัดการจนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะก็ได้ ผู้จัดการนั้นต้องเป็นผู้ซึ่ง ผู้โอนระบุชื่อไว้ หรือถ้ามิได้ระบุไว้ก็ให้ศาลสั่ง แต่การจัดการทรัพย์สินนั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 56,มาตรา 57,มาตรา 60

มาตรา 1571 อำนาจปกครองนั้น รวมทั้งการจัดการทรัพย์สิน ของบุตรด้วย และให้จัดการทรัพย์สินนั้นด้วยความระมัดระวังเช่น วิญญูชนจะพึงกระทำ

มาตรา 56   เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอหรือเมื่อศาลเห็นสมควรศาลอาจสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) ให้ผู้จัดการทรัพย์สินหาประกันอันสมควรในการจัดการ ทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น
(2) ให้ผู้จัดการทรัพย์สินแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่
(3) ถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สินและตั้งผู้อื่นให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินแทนต่อไป

มาตรา 1582 ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถโดยคำสั่งของศาลก็ดี ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบก็ดี ประพฤติชั่วร้ายก็ดี ในกรณีเหล่านี้ศาลจะสั่งเอง หรือจะสั่งเมื่อญาติของผู้เยาว์หรืออัยการร้องขอ ให้ถอนอำนาจปกครอง เสียบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้

ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองล้มละลายก็ดี หรือจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ ในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัยก็ดี ศาลจะสั่งตามวิธีในวรรคหนึ่งให้ถอน อำนาจจัดการทรัพย์สินเสียก็ได้

 




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
สิทธิและหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร,
การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า, การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตรา 1564, ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การคำนวณค่าเลี้ยงดูบุตร, สิทธิเลี้ยงดูบุตร หลังการหย่า,
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร, การรับรองบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตร, การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสิทธิเลี้ยงดูบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร,
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร