ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

 

เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, เปลี่ยนอำนาจปกครองให้บิดาดูแล, เปลี่ยนผู้ดูแลจากมารดาเป็นบิดา , การถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์

•  เปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตร

•  การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสิทธิเลี้ยงดูบุตร

•  สิทธิของผู้ปกครองในคดีครอบครัว

•  ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรในประเทศไทย

•  ข้อกำหนดการดูแลบุตรกรณีหย่า

•  อำนาจปกครองบุตรกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส

•  คำสั่งศาลเกี่ยวกับสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

บทความนี้เป็นเรื่องของข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ โดยอ้างอิงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566 (5) ที่เปิดโอกาสให้ศาลสามารถเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก โดยในกรณีนี้ ผู้ร้องเป็นบิดาของเด็กหญิงปุษยา ยื่นคำร้องต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงผู้ใช้อำนาจปกครองจากนางรัชนก มารดาของเด็ก เนื่องจากนางรัชนกไม่สามารถเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กได้

ตามคำร้องของผู้ร้องได้อ้างว่า ผู้ร้องมีรายได้และสวัสดิการจากการรับราชการทหาร ซึ่งสามารถให้การศึกษาและดูแลเด็กได้ดีกว่า ในขณะที่มารดาของเด็กไม่ได้ประกอบอาชีพและไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ในระดับที่เหมาะสม ผู้ร้องจึงขอให้ศาลสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง โดยศาลชั้นต้นยกคำร้องเนื่องจากเห็นว่าไม่มีสิทธิ์ในการใช้สิทธิ์ทางศาลในกรณีนี้

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นด้วยกับศาลชั้นต้นในการยกคำร้อง ผู้ร้องจึงฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า มีกฎหมายที่ให้อำนาจศาลในการพิจารณาคดีนี้ โดยพิจารณาตามบทบัญญัติของมาตรา 1521 และมาตรา 1566 ซึ่งเปิดโอกาสให้คดีขึ้นสู่ศาลได้ทั้งในรูปแบบคือคำฟ้องและคำร้อง ศาลจึงเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิ์ที่จะยื่นคำร้องนี้ได้หากเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเด็ก สุดท้าย ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้น ให้รับคำร้องของผู้ร้องและดำเนินการพิจารณาต่อไป 

บิดามารดาจดทะเบียนหย่าโดยมีข้อตกลงกันว่าให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวต่อมามารดาไม่สามารถเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ต่อไปเนื่องจากมิได้ประกอบอาชีพ ประสงค์จะให้เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นบิดาของผู้เยาว์ ประกอบกับบิดาผู้เยาว์รับราชการเป็นทหารสามารถเลี้ยงดูให้การศึกษาและความอบอุ่นแก่บุตรได้ ย่อมถือได้ว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในภายหลังแล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้โดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ

 

 

มาตรา 1521 และมาตรา 1566(5) ที่ให้อำนาจศาล เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เยาว์  มิได้กำหนดวิธีการ ที่คดีจะมาสู่ศาลเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8161/2543

บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566(5) ที่ให้อำนาจศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของผู้เยาว์  ในการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจปกครองมิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาล แสดงว่าประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้ทั้งการเสนอคดีโดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาท และทำเป็นคำร้องขอแบบคดีไม่มีข้อพิพาท ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของเด็กหญิง ป. อ้างในคำร้องขอว่า ร. มารดาเด็กหญิง ป. ไม่สามารถเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กหญิงป. เนื่องจากมิได้ประกอบอาชีพ ประสงค์จะให้เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้ร้อง  ทั้งผู้ร้องรับราชการเป็นทหาร สามารถอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาและความอบอุ่นแก่เด็กหญิง ป. ได้  หากเป็นจริงย่อมถือได้ว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในภายหลังแล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้โดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของเด็กหญิง ป. เป็นสำคัญหาใช่เป็นเรื่องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลไม่แม้ผู้ร้องสอดเสนอคดีโดยทำเป็นคำร้องขอศาลก็รับคำร้องขอของผู้ร้องไว้พิจารณาได้

 

 

*ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งว่า  ไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาล *ยกคำร้อง *ผู้ร้องอุทธรณ์ *ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า  ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้อง ในอันที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล  ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำคดีมาสู่ศาล เพื่อให้วินิจฉัยตามคำร้อง พิพากษายืน *ศาลฎีกาพิพากษากลับ มีคำสั่งให้รับคำร้องขอของผู้ร้อง

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องกับนางรัชนก เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือเด็กหญิง ป เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2538 ผู้ร้องและนางรัชนกได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา โดยตกลงให้นางรัชนกเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิง ป เมื่อต้นเดือนมกราคม 2542 นางรัชนกแจ้งแก่ผู้ร้องว่าไม่สามารถเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กหญิง ป ได้เนื่องจากไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ ผู้ร้องประกอบอาชีพรับราชการทหารมีเงินเดือนและสวัสดิการ สามารถเลี้ยงดู ให้การศึกษา ให้ความอบอุ่นแก่เด็กหญิง ป ได้ ขอให้มีคำสั่งให้เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองเด็กหญิง ป จากนางรัชนกเป็นผู้ร้อง

ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งว่า ไม่ใช่กรณีที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิทางศาลยกคำร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ร้องในอันที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำคดีมาสู่ศาลเพื่อให้วินิจฉัยตามคำร้อง พิพากษายืน

ผู้ร้องฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า มีกฎหมายให้สิทธิแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กหญิงปุษยายื่นคำร้องขอเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กหญิงปุษยาจากนางรัชนกผู้เป็นมารดาเป็นผู้ร้องได้หรือไม่ เห็นว่า ตามคำร้องขอของผู้ร้องปรากฏว่าผู้ร้องกับนางรัชนกสามีภริยายินยอมจดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยทำเป็นหนังสือตกลงกันให้นางรัชนกแต่ผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของเด็กหญิง ป จึงเป็นกรณีที่ทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1566(6) เมื่อตกลงกันตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว หากจะมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจปกครองศาลเท่านั้นที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามมาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566(5) แต่การที่ศาลจะใช้อำนาจเปลี่ยนแปลงได้นั้นจะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองประพฤติตนไม่สมควรหรือภายหลังพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปเข้ามาสู่ความรู้ของศาล กล่าวคือ จะต้องมีคดีมาสู่ศาลโดยบุคคลที่เกี่ยวข้องเสนอคดีของตนต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาท เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ประการหนึ่งกับทำเป็นคำร้องขอเมื่อบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลอีกประการหนึ่งเนื่องจากมาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566(5) เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของผู้เยาว์ การที่มาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566(1) มิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาลประการใดดังที่มีบัญญัติไว้ในมาตราอื่น แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้ ทั้งการเสนอคดีโดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทและทำเป็นคำร้องขอแบบคดีไม่มีข้อพิพาทเพื่อเป็นการคุ้มครองและรักษาประโยชน์ของผู้เยาว์ดังกล่าว เมื่อผู้ร้องอ้างในคำร้องขอว่านางรัชนกไม่สามารถเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กหญิง ป เนื่องจากมิได้ประกอบอาชีพ ประสงค์จะให้เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องรับราชการเป็นทหารสามารถเลี้ยงดูให้การศึกษาและความอบอุ่นแก่เด็กหญิง ป ได้ หากเป็นจริงตามคำร้องขอย่อมถือได้ว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในภายหลังแล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้โดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของเด็กหญิง ป เป็นสำคัญตามมาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566(1) ดังนั้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งรับคำร้องขอของผู้ร้องไว้พิจารณาได้ หาใช่เป็นเรื่องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลไม่ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาต้องกันให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาผู้ร้องฟังขึ้น"

พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 และคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องขอของผู้ร้อง แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามรูปคดี

 

อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์  (Child Custody or Parental Power) เมื่อมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในภายหลังที่บิดามารดาได้ทำข้อตกลงเรื่องอำนาจปกครองบุตรตามบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้โดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
สิทธิและหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร,
การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า, การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตรา 1564, ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การคำนวณค่าเลี้ยงดูบุตร, สิทธิเลี้ยงดูบุตร หลังการหย่า,
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร, การรับรองบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตร, การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสิทธิเลี้ยงดูบุตร
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร,
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร