ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่

ปรึกษากฎหมาย โทร 0859604258

 -ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2)  @peesirilaw  

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

 

QR CODE 

 เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่

การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาลใน 3 กรณี คือ กรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้ 

เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้

การเป็นบุตรบุญธรรมนั้นทำให้อำนาจปกครองเป็นของผู้รับบุตรบุญธรรมเพียงผู้เดียว  แม้ศาลพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็ตาม ผู้เป็นบิดามารดาโดยกำเนิดก็หมดอำนาจปกครองอยู่เช่นเดิม 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5020/2561

เจตนารมณ์ของ ป.พ.พ. มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ซึ่งจะต้องไปแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียนและเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อื่นจะให้ความยินยอมแทนไม่ได้ ทั้งนี้เด็กและมารดาเด็กต้องอยู่ในฐานะที่จะให้ความยินยอมได้ เมื่อโจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และให้จำเลยทั้งสองไปให้ความยินยอมต่อนายทะเบียน คดีดังกล่าวจำเลยทั้งสองคัดค้าน ดังนั้น การที่โจทก์จะไปยื่นคำร้องจดทะเบียนเป็นหนังสืออีกเพื่อให้นายทะเบียนมีหนังสือถึงจำเลยทั้งสอง ตามมาตรา 1548 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยที่ 1 ปฏิเสธ ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ยังไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้ พฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องป.พ.พ. มาตรา 1548 วรรคสาม บัญญัติถึงการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาลใน 3 กรณี คือ กรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้ คดีจึงต้องพิจารณาเพียงว่าการไม่ให้ความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นมารดามีเหตุสมควรหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นได้นัดพร้อมเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่ให้ความยินยอม เพียงพอแก่การพิจารณาวินิจฉัยคดีตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานจึงหาใช่ไม่ให้โอกาสจำเลยทั้งสองต่อสู้คดี

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และให้จำเลยทั้งสองไปให้ความยินยอมต่อนายทะเบียนในการจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย หากจำเลยทั้งสองไม่ไปให้ความยินยอมต่อนายทะเบียนหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาให้ความยินยอมของจำเลยทั้งสองต่อนายทะเบียนในการจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์

จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนรับเด็กหญิง ก. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองไปให้ความยินยอมต่อนายทะเบียน หากไม่ไปหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการให้ความยินยอมนั้น เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคท้าย จึงให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท

จำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ฎีกาโต้แย้งรับฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสมาตั้งแต่ปี 2548 มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 ต่อมาวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 นาง ต.จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปให้ความยินยอมในการที่โจทก์จะจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันได้ โดยโจทก์แถลงไม่ติดใจจดทะเบียนรับรองบุตรและได้ถอนฟ้อง

ปัญหาวินิจฉัยประการแรกตามฎีกาของจำเลยทั้งสองมีว่า การที่โจทก์ไม่เคยพาจำเลยทั้งสองไปให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อนายทะเบียนสำนักงานเขตตามเจตนารมณ์แห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคสอง โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก” วรรคสอง บัญญัติว่า “ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่า เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน” และวรรคสาม บัญญัติว่า “ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล” เห็นว่า ตามเจตนารมณ์ของบทกฎหมาย บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ทั้งเด็กและมารดาเด็กจะต้องไปแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียนด้วย ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิที่เด็กจะพึงได้รับจากผู้เป็นบิดาเป็นเรื่องประโยชน์ของเด็กและการให้ความยินยอมเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อื่นจะให้ความยินยอมแทนไม่ได้ การที่กฎหมายบังคับให้ผู้ขอรับรองบุตรต้องได้รับความยินยอมก็ต่อเมื่อเด็กและมารดาเด็กอยู่ในฐานะที่จะให้ความยินยอมได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และให้จำเลยทั้งสองไปให้ความยินยอมต่อนายทะเบียนให้โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์มาก่อนแล้ว ซึ่งในคดีดังกล่าวก็ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้คัดค้านการขอจดทะเบียนรับรองบุตรผู้เยาว์ เช่นนี้ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์โดยขณะยื่นฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 2 อายุเพียง 7 ปีเศษ ยังไร้เดียงสา และจำเลยทั้งสองยังคงให้การปฏิเสธต่อสู้คดีขอคัดค้านการขอจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เช่นเดิม ดังนั้น การที่โจทก์จะไปยื่นคำร้องจดทะเบียนเป็นหนังสืออีกเพื่อให้นายทะเบียนมีหนังสือถึงจำเลยทั้งสองตามมาตรา 1548 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยที่ 1 ปฏิเสธ ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ยังไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ทั้งสิทธิได้รับมรดกของจำเลยที่ 2 อันจะพึงได้จากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ประกอบมาตรา 1629 อาจต้องเนิ่นนานออกไปพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาประการนี้ของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น

ปัญหาวินิจฉัยประการต่อมาที่จำเลยทั้งสองฎีกาสรุปว่า ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบทำนองไม่ให้โอกาสจำเลยทั้งสองต่อสู้คดีตามที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่และสอบข้อเท็จจริงจากโจทก์ไปฝ่ายเดียว โดยงดสืบพยานฝ่ายจำเลยทั้งสอง อันเป็นการขัดกับเจตนารมณ์แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 นั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคสาม บัญญัติถึงการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาลใน 3 กรณี คือ กรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ ซึ่งคดีนี้กรณีผู้เยาว์ไม่อาจให้ความยินยอมนั้น ศาลฎีกาได้วินิจฉัยข้างต้นแล้วว่า จำเลยที่ 2 ยังไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้ คดีจึงมีปัญหาพิจารณาวินิจฉัยเพียงว่าการไม่ให้ความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นมารดามีเหตุอันสมควรหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาว่าสมควรให้โจทก์จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรหรือไม่ เมื่อพิจารณาการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดแล้ว แม้ปรากฏว่าศาลชั้นต้นให้ทนายจำเลยทั้งสองหยุดถามค้านและงดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นได้นัดพร้อมเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก เมื่อถึงวันนัด ศาลชั้นต้นได้สอบถามนาง ต. ผู้รับบุตรบุญธรรมได้ความว่า โจทก์คือบิดาของจำเลยที่ 2 เคยติดต่อมาที่นาง ต. เพื่อจะมาพบจำเลยที่ 2 นาง ต. จึงบอกโจทก์หากจะพบลูกให้ติดต่อกับมารดาจำเลยที่ 2 แล้วนาง ต. แจ้งสิทธิว่าเป็นผู้รับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมแล้วและไม่ยอมให้โจทก์พบ ส่วนที่จำเลยที่ 1 จะยินยอมหรือไม่นาง ต. ไม่สามารถให้ความเห็น ความยังปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาในวันดังกล่าวว่าจำเลยที่ 1 ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นจึงได้เลื่อนนัดไปอีกเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ซึ่งเมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 1 มาศาล ศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยที่ 1 ถึงเหตุที่ได้คัดค้าน จำเลยที่ 1 ก็ได้แถลงว่าการที่โจทก์ยื่นฟ้องเพื่อจดทะเบียนรับรองบุตรในคดีนี้ จำเลยที่ 1 คัดค้านเพราะเหตุว่าโจทก์ขาดความรับผิดชอบต่อบุตรและต่อจำเลยที่ 1 โดยทิ้งจำเลยที่ 1 และบุตรไปตั้งแต่บุตรอายุ 6 เดือน ทั้งที่รู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ทำให้จำเลยที่ 1 และบุตรอยู่ด้วยความยากลำบากและมีหนี้สิน และทราบว่าโจทก์มีผู้หญิงอื่นอยู่เรื่อย ไม่อยากให้บุตรไปพบเจอสภาพของโจทก์ซึ่งเป็นบิดามีผู้หญิงอื่นหลายๆ คนในเวลาเดียวกัน เช่นนี้ จึงเห็นได้ว่า ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่ให้ความยินยอม เพียงพอแก่การพิจารณาวินิจฉัยคดีตามเจตนารมณ์แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 แล้ว การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองจึงหาใช่ไม่ให้โอกาสจำเลยทั้งสองต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ตามที่จำเลยทั้งสองฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยทั้งสองในประการนี้จึงฟังไม่ขึ้น

ปัญหาประการสุดท้ายตามฎีกาของจำเลยทั้งสองมีว่า สมควรให้โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ตามคำแถลงของจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตที่ฝังอยู่ในใจของจำเลยที่ 1 จึงทำให้จำเลยที่ 1 รู้สึกไม่สมควรที่จะยอมให้โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยที่ 1 ก็ได้แถลงให้ศาลทราบอยู่ว่าโจทก์ได้มาเยี่ยมบุตรที่บ้านของนาย ท. พี่ชายของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ฝากให้ดูแลจำเลยที่ 2 และโจทก์ให้เงินครั้งละ 10,000 บาท ถึง 30,000 บาท แสดงว่า โจทก์ได้มีการกระทำเอาใจใส่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ทราบบ้างแล้ว ส่วนที่จำเลยที่ 1 ไม่อยากให้บุตรไปพบเจอสภาพของโจทก์ซึ่งเป็นบิดามีผู้หญิงอื่นหลาย ๆ คนในเวลาเดียวกัน ก็มิใช่เหตุอันควรที่ยกขึ้นไม่ให้ความยินยอมเพราะแม้ไม่จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจปฏิเสธสภาพของความเป็นบิดากับบุตรโดยสายเลือดอยู่นั่นเอง พิจารณาได้ความดังวินิจฉัยมา เมื่อพิจารณาต่อว่าปัจจุบันจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมของนาง ต. ซึ่งอำนาจปกครองเป็นของนาง ต. เพียงผู้เดียว ดังนี้ แม้ศาลพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ผู้เป็นบิดามารดาโดยกำเนิดก็หมดอำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 วรรคหนึ่ง อยู่เช่นเดิม ทั้งขณะศาลฎีกาพิจารณาอยู่นี้ก็ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 มีอายุ 12 ปีเศษแล้ว นับว่าพอรู้ความตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้นแล้ว เช่นนี้ การให้โจทก์จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายให้ตรงกับความเป็นจริงของสายเลือดผู้เป็นบิดาโดยกำเนิด ย่อมเป็นประโยชน์สูงสุดของจำเลยที่ 2 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

 

การให้ความยินยอมจดรับรองบุตรนั้นมารดาเด็กให้ความยินยอมแทนบุตรไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2540

บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1548 ได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเด็กการให้ความยินยอมดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวผู้ใช้อำนาจปกครองให้ความยินยอมแทนเด็กไม่ได้

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยามีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ เด็กหญิงกีรติพร ระวังภัย กับโจทก์ที่ 3เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 โจทก์ทั้งสามไปที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐม เพื่อขอจดทะเบียนโจทก์ที่ 3 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอเมืองนครปฐมไม่ยอมจดทะเบียนให้ อ้างว่าโจทก์ที่ 3ไม่สามารถให้ความยินยอมได้ทั้งนี้โดยมีคำสั่งของจำเลยที่ 2ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท. 0302/4227 ลงวันที่ 10 มีนาคม2536 กำหนดไว้ อันเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและเป็นการขัดต่อกฎหมาย ทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายไม่อาจได้รับสิทธิอันพึงมีต่อกันตามกฎหมาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการสังกัดจำเลยที่ 3ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการสังกัดจำเลยที่ 4 ฉะนั้น จำเลยที่ 3และที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาด้วย โจทก์ทั้งสามคิดค่าเสียหายเป็นเงิน 1 บาทนอกจากนี้ การที่จำเลยที่ 2 ออกหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท. 0302/4227 ดังกล่าว เป็นการขัดต่อกฎหมาย ขอให้พิพากษาว่าโจทก์ที่ 3 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 หรือให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจดทะเบียนโจทก์ที่ 3 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 เพิกถอนหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท. 0302/4227 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2536 และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าทดแทนความเสียหายจำนวน 1 บาท แก่โจทก์ทั้งสามด้วย

จำเลยทั้งสี่ให้การว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 รักษาราชการแทนนายอำเภอเมืองนครปฐมนายทะเบียน โจทก์ที่ 1 และที่ 2พาโจทก์ที่ 3 ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2537 (อายุ 5 เดือนเศษ)ยังเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสามายื่นคำร้องขอจดทะเบียนโจทก์ที่ 3เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่อาจจดทะเบียนให้ได้เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548กำหนดให้เด็กและมารดาเด็กต้องให้ความยินยอมในการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่อาจให้ความยินยอมได้จะต้องมีคำพิพากษาของศาลให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้เสียก่อนโจทก์ที่ 3 ยังเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา ไม่อาจให้ความยินยอมได้ด้วยตนเอง โจทก์ทั้งสามต้องไปใช้สิทธิทางศาลก่อน จำเลยที่ 1จึงจะดำเนินการให้ได้ จำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย และโจทก์ทั้งสามมิได้เสียหาย จำเลยทั้งสี่จึงมิได้กระทำละเมิดและไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสาม หนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท. 0302/4227 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2536 มิได้เป็นหนังสือเวียนหรือหนังสือสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดสั่งการให้นายทะเบียนทราบและถือปฏิบัติ แต่เป็นเพียงหนังสือตอบข้อหารือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นการเฉพาะราย การที่จำเลยที่ 1ไม่จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชายด้วยกฎหมายให้โจทก์ทั้งสามนั้นจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามหนังสือดังกล่าว แต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจขอให้เพิกถอนหนังสือดังกล่าวได้โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณา คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า โจทก์ที่ 3เป็นบุตรนอกกฎหมายของโจทก์ที่ 1 ที่โจทก์ที่ 1 ยอมรับแล้วขณะที่โจทก์ที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนโจทก์ที่ 3 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนั้น โจทก์ที่ 3 อายุประมาณ 5 เดือน คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ที่ 3 มีอำนาจให้ความยินยอมแทนโจทก์ที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคแรกหรือไม่

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การแสดงเจตนาให้ความยินยอมของเด็กในการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคแรก เด็กต้องให้ความยินยอมด้วยตนเอง อันเป็นการเฉพาะตัว มารดาไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมแทนได้ โจทก์ที่ 2 จึงไม่อาจให้ความยินยอมแทนโจทก์ที่ 3 พิพากษายกฟ้อง

โจทก์ ทั้ง สาม อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน

โจทก์ ทั้ง สาม ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าโจทก์ที่ 3 เป็นบุตรนอกกฎหมายของโจทก์ที่ 1 ที่โจทก์ที่ 1ยอมรับแล้ว และขณะที่โจทก์ที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนโจทก์ที่ 3เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนั้น โจทก์ที่ 3 มีอายุประมาณ 5 เดือนคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามว่าการให้ความยินยอมของโจทก์ที่ 3 ที่จะเป็นผลให้โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโจทก์ที่ 3เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1548 วรรคแรก บัญญัติถึงหลักเกณฑ์ในการจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไว้ว่า บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็กซึ่งเป็นบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533มาตรา 32 โดยข้อความเดิมได้บัญญัติถึงการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะกระทำได้ต่อเมื่อเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดาเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ประสงค์วางหลักเกณฑ์ไว้เข้มงวดกว่าเดิมว่าการที่บิดาจะจดทะเบียนบุตรนอกกฎหมายให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย จะกระทำได้ต่อเมื่อทั้งเด็กและมารดาเด็กให้ความยินยอม มิใช่เพียงแต่เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดาดังบัญญัติไว้เดิม นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 ได้บัญญัติถึงทางแก้ในกรณีที่เด็กไม่อาจให้ความยินยอมได้ไว้ในวรรคสามและวรรคสี่ โดยวรรคสามว่า"ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดาหรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล" และวรรคสี่ว่า "เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้"อันเป็นข้อสนับสนุนให้เห็นชัดเจนว่า ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคแรก ประสงค์ให้เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมเป็นการเฉพาะตัว จึงได้บทบัญญัติทางแก้ไขในกรณีเด็กไม่อาจให้ความยินยอมได้ดังกล่าวมาแล้ว ที่โจทก์ทั้งสามฎีกาอ้างว่า โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ที่ 3 โจทก์ที่ 2จึงให้ความยินยอมแทนโจทก์ที่ 3 ได้นั้นฟังไม่ขึ้น เพราะไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติให้โจทก์ที่ 2 ทำการแทนโจทก์ที่ 3 ในกรณีดังกล่าวได้ดังนั้น กรณีที่โจทก์ที่ 3 ต้องให้ความยินยอมในการที่โจทก์ที่ 1จะจดทะเบียนโจทก์ที่ 3 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคแรก เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 3ต้องกระทำด้วยตนเอง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาชอบแล้ว"

พิพากษายืน

 




บิดามารดา กับ บุตร - คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร

ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว