ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ปรึกษากฎหมาย เพื่มเพื่อนแชทไลน์ มารดาอยากพาบุตรเดินทางไปพักอาศัยอยู่กับมารดาที่ต่างประเทศ กับสามีต่างชาติต้องทำอย่างไร ทางสถานทูตต้องการคำสั่งศาล เพื่อประกอบการขอวีซ่า แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ระบุว่า เด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิงเพียงฝ่ายเดียว เด็กที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แม้ว่าในเอกสารทางราชการ เช่นสูติบัตร หรือในทะเบียนบ้าน จะได้ระบุชื่อของบิดาไว้ชัดเจนแล้วก็ตาม แต่หากกรณีที่บิดามารดาของเด็กนั้น ไม่จดทะเบียนสมรสกัน อำนาจปกครองบุตร ย่อมตกอยู่กับมารดาแต่เพียงผู้เดียว ปัญหามีว่ากรณีที่บิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ต่อมาได้เลิกร้างกันโดยต่างคนต่างไปมีครอบครัวใหม่ เช่นมารดาได้สมรสใหม่กับสามีชาวต่างชาติ ต่อมามารดาต้องการย้ายภูมิลำเนาไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับสามีใหม่ชาวต่างชาติ กรณีนี้มารดาประสงค์จะนำบุตรย้ายไปอยู่ต่างประเทศกับมารดาด้วย การขอวีซ่าหรือเอกสารสำคัญที่จะทำให้บุตรสามารถเดินทางไปพักอาศัยกับมารดาที่ต่างประเทศได้นั้น ต้องได้รับอนุญาตจากสถานทูตของต่างประเทศนั้น ๆ แต่ทางเจ้าหน้าที่สถานทูตจำต้องให้มารดา ไปขอคำสั่งศาล ที่รับรองว่ามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ทางเจ้าหน้าที่จึงจะดำเนินการให้ได้ กรณีนี้มารดาจะทำอย่างไร คำตอบคือ มารดาต้องยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลมีคำสั่งให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ซึ่งคำร้องขอดังกล่าว จะมีข้อความประมาณว่า ผู้ร้องมีความประสงค์ที่จะพาเด็กหญิง... บุตรผู้เยาว์ เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนและพักอาศัยอยู่ที่ประเทศ... ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจาก ผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูต เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศ... เพื่อขอวีซ่าให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษา หรือมีคำสั่งแต่งตั้ง ให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทยได้ และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศดังกล่าวได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้อง มาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของบุตรผู้เยาว์ กรณีที่บิดา มารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ไม่มีกฎหมายที่บังคับให้ศาลต้องฟังความต้องการของบุตรผู้เยาว์ในประเด็นที่ว่าบุตรผู้เยาว์ประสงค์จะอยู่ในความปกครองของผู้ใด หรืออยากจะพักอาศัยอยู่กันใคร ในคดีครอบครัวที่มีประเด็นขัดแย้งกันด้วยเรื่องอำนาจปกครองบุตรนั้น การใช้ดุลพินิจในการพิพากษาคดีของศาลเกี่ยวกับเรื่องสิทธิและหน้าที่ของคู่ความในคดีครอบครัวนั้นต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
เรื่องอำนาจปกครองบุตรภายหลังการหย่า หากมีข้อตกลงกันตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่าว่าฝ่ายบิดา หรือฝ่ายมารดา เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวแล้ว ต่อมาฝ่ายที่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวตามบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าต้องการนำบุตรเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่จะพาบุตรไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศ หรือพาไปพักอาศัยเพื่อศึกษาเล่าเรียนก็ตาม การขอวีซ่าในการเดินทางต้องได้รับความยินยอมของบิดาและมารดาร่วมกันเสมอแม้จะได้มีข้อตกลงเรื่องอำนาจปกครองกันแล้วว่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่หากไม่สามารถติดตามตัวอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมแก่บุตรได้ ก็มีความจำเป็นจะต้องมีคำสั่งศาลประกอบในการยื่นขอวีซ่าเข้าเมืองด้วย แต่ทางเจ้าหน้าที่สถานทูตมักจะขอคำสั่งศาลแสดงว่าบิดา หรือมารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว โดยลำพังบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าว่าฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรฝ่ายเดียวก็ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ไม่ใช่คำสั่งศาล การขอวีซ่าจึงต้องมีคำสั่งศาลประกอบในการให้ความยินยอมแก่บุตรผู้เยาว์เสมอ จึงต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวทางสถานทูตจึงจะรับดำเนินการให้
มีคำถามว่า บุตรนอกสมรสใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ระบุว่าเด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้หญิงเพียงฝ่ายเดียว ยกเว้นเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นอย่างอื่น แต่เด็กจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาด้วยหรือไม่นั้น แม้ว่ากฎหมายได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าเด็กที่เกิดจากมารดาขณะที่อยู่กินกับชายผู้เป็นบิดา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชายด้วย แต่ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น ยังจะต้องพิจารณาเงื่อนไขของกฎหมายหรือต้องดูข้อเท็จจริงอีกหลายประการ ดังนั้นการจดทะเบียนรับรองบุตรจึงเป็นวิธีที่ทำให้บุตรนอกสมรสกลายเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของบิดา แม้บิดาและมารดาจะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตาม แต่หากไม่มีการจดทะเบียนรับรองบุตรอยู่ตราบใดบุตรนั้นก็ยังคงเป็นบุตรนอกสมรสอยู่ต่อไป เว้นแต่บิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังเด็กเกิด หรือศาลมีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 ระบุว่า เด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ถือเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้หญิงเพียงฝ่ายเดียว ยกเว้นเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นอย่างอื่น แต่เด็กจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาด้วยหรือไม่นั้น แม้ว่ากฎหมายได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เด็กที่เกิดจากมารดาขณะที่อยู่กินกับชายผู้เป็นบิดา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชายด้วย แต่ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น ยังจะต้องพิจารณาเงื่อนไขของกฎหมายหรือต้องดูข้อเท็จจริงอีกหลายประการ ดังนั้นการจดทะเบียนรับรองบุตร จึงเป็นวิธีที่ทำให้บุตรนอกสมรสกลายเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของบิดา แม้บิดาและมารดาจะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตาม
บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย VS มารดาชอบด้วยกฎหมาย การที่บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกับมารดาทำข้อตกลงกันว่าให้บิดาใช้อำนาจปกครองในวันจันทร์ถึงวันศุกร์และให้มารดาใช้อำนาจปกครองบุตรในวันเสาร์อาทิตย์นั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่มีกฎหมายให้ตกลงกันเช่นนั้นได้
คำร้อง ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย อาชีพ รับจ้าง อยู่บ้านเลขที่ ๐๐/๑๙๔ หมู่ - ถนน - ตรอก/ซอย - ใกล้เคียง - ตำบล/แขวง หัวหมาก ขอยื่นคำร้องมีข้อความตามที่จะกล่าวต่อไปนี้ ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องเนื่องจากผู้ร้องได้ไปติดต่อสถานทูตสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (ขอวีซ่า)ให้กับบุตรผู้เยาว์ แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้ร้องจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากศาล หรือ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวเสียก่อน ผู้ร้องจึงจะสามารถพาบุตรผู้เยาว์ เดินทางออกนอกประเทศไทย และสามารถดำเนินการผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ผู้ร้องมาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลนี้ เพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวของ เด็กหญิง......................... บุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กหญิง............................ ผู้ร้องจึงเป็นผู้เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว และผู้ร้องเป็นผู้มีอาชีพสุจริต สามารถเลี้ยงดูบุตรเพียงลำพังด้วยดีมาโดยตลอด อีกทั้งผู้ร้องไม่เป็นผู้ต้องห้ามตามกฎหมายคือ ไม่เป็นผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นบุคคลล้มละลายแต่ประการใด
ลงชื่อ ผู้ร้อง คำร้อง ฉบับนี้ ข้าพเจ้า นายลีนนท์... ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและพิมพ์ ลงชื่อ ผู้เรียง/พิมพ์
|