ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม-มิให้ฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี

กฎหมายห้ามมิให้ฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี ปัญหาว่าอายุความจะเริ่มนับเมื่อใด คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่? เห็นว่าจำเลยซึ่งจงใจละทิ้งโจทก์ได้กลับไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่แท้จริงหลายปีแล้วโดยไม่เคยกลับไปอยู่กับโจทก์อีกเลยการจงใจละทิ้งโจทก์ของจำเลยจึงมีพฤติการณ์ต่อเนื่องกัน ตราบที่จำเลยยังไม่กลับไปอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จะฟ้องเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมก็ยังคงมีอยู่อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ แม้โจทก์ทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปี แล้วโจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ไม่ระงับไป คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  4685/2552
 
          จำเลยจงใจละทิ้งโจทก์โดยกลับไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่แท้จริงไม่เคยกลับไปอยู่กับโจทก์อีกเลย การจงใจละทิ้งโจทก์ของจำเลยจึงมีพฤติการณ์ต่อเนื่องกันตราบที่จำเลยยังไม่กลับไปอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จะฟ้องเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมยังคงมีอยู่ อายุความยังไม่เริ่มนับ แม้โจทก์ทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปี โจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/34 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

มาตรา 1598/34  ห้ามมิให้ฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่ผู้ขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมรู้หรือควรได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เลิกการนั้นหรือเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เหตุนั้นเกิดขึ้น

          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และนางอาภาภรณ์ ภริยาโจทก์จดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ต่อมานางอาภาภรณ์ ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตาย และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2547 จำเลยจงใจละทิ้งโจทก์ ขอให้เลิกการรับบุตรบุญธรรมระหว่างโจทก์กับจำเลย

          จำเลยให้การว่า โจทก์และนางอาภาภรณ์ ผู้รับบุตรบุญธรรมถูกจำเลยทิ้งร้างตั้งแต่แรกรับบุตรบุญธรรมเป็นระยะเวลา 9 ปี แล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

          ระหว่างพิจารณา คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยอยู่ในความอุปการะของโจทก์และนางอาภาภรณ์ ภริยาโจทก์ช่วงระยะเวลาหนึ่งและจำเลยได้จงใจละทิ้งโจทก์ไปตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2547 ขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

          โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “เห็นว่า คดีมีปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ประเด็นแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ตามทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมท้ายคำฟ้องปรากฏว่าผู้รับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมนั้น คือ โจทก์และนางอาภาภรณ์ ภริยาของโจทก์ จำเลยไม่ได้โต้แย้งเรื่องความสมบูรณ์ถูกต้องของการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม โจทก์จึงเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสของนางอาภาภรณ์ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นเพียงผู้ให้ความยินยอมให้นางอาภาภรณ์รับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้น

          คดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประเด็นสุดท้ายว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า ปัญหานี้โจทก์และจำเลยรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้จงใจละทิ้งโจทก์ไปตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่เพียงพอในการใช้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอายุความ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยประเด็นนี้ตาม อุทธรณ์ของโจทก์ไปโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า จำเลยซึ่งจงใจละทิ้งโจทก์ได้กลับไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่แท้จริงตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2547 โดยไม่เคยกลับไปอยู่กับโจทก์อีกเลยการจงใจละทิ้งโจทก์ของจำเลยจึงมีพฤติการณ์ต่อเนื่องกัน ตราบที่จำเลยยังไม่กลับไปอยู่กับโจทก์ เหตุที่โจทก์จะฟ้องเลิกการรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมก็ยังคงมีอยู่อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ แม้โจทก์ทราบพฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยมาเกิน 1 ปี แล้วโจทก์ก็ยกเป็นเหตุฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้ สิทธิฟ้องร้องของโจทก์ไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/34 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังขึ้นเช่นกัน”

          พิพากษากลับเป็นว่า ให้ยกเลิกการรับบุตรบุญธรรมระหว่างโจทก์กับจำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นนี้ให้เป็นพับ

ผู้มีส่วนได้เสียที่จะนำคดีมาฟ้องการเลิกรับบุตรบุญธรรม

การฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมกรณีที่ได้รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยศาลมีคำสั่งแทนคำยินยอมของบิดามารดา กระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลโดยคำร้องของผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/31 วรรคสาม โจทก์เป็นเพียงผู้ที่เคยเลี้ยงดูผู้เยาว์มาก่อนเท่านั้น จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะนำคดีมาฟ้องการเลิกรับบุตรบุญธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8608/2557

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

 เผยแพร่เมื่อ: 28 พ.ค. 2558 16:01:00

คำพิพากษาย่อสั้น

การฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมกรณีที่ได้รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยศาลมีคำสั่งแทนคำยินยอมของบิดามารดา กระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลโดยคำร้องของผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/31 วรรคสาม โจทก์เป็นเพียงผู้ที่เคยเลี้ยงดูผู้เยาว์มาก่อนเท่านั้น จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะนำคดีมาฟ้องการเลิกรับบุตรบุญธรรม

 คำพิพากษาย่อยาว

คดีสืบเนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้เคยรับเลี้ยงดูเด็กชาย ต. ผู้เยาว์ยื่นคำฟ้องขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้เยาว์เลิกจากการเป็นบุตรบุญธรรมของจำเลยทั้งสอง และให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับผู้เยาว์อีกต่อไป ต่อมาโจทก์กับจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันมีสาระสำคัญว่า จำเลยทั้งสองอนุญาตให้โจทก์รับผู้เยาว์ไปพักอาศัยที่บ้านโจทก์ได้โดยให้อยู่ในดุลพินิจของจำเลยทั้งสอง และโจทก์ต้องไม่ทำให้กระทบกระเทือนการเรียนของผู้เยาว์ หากฝ่ายใดผิดนัดต้องชำระค่าเสียหายแก่อีกฝ่ายครั้งละ 10,000 บาท

ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

ต่อมาจำเลยทั้งสองยื่นคำขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของโจทก์ อ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และโจทก์ยื่นคำขอตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่ยอมให้ผู้เยาว์ไปพักกับโจทก์และยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำขอของจำเลยทั้งสองที่ขอออกหมายบังคับคดี จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องคัดค้าน

ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของโจทก์แล้ว มีคำสั่งยกคำร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นผู้เลี้ยงดูผู้เยาว์มาตั้งแต่เกิดเนื่องจากมารดาผู้เยาว์ฝากโจทก์เลี้ยงดู ต่อมาบิดามารดาผู้เยาว์ทอดทิ้งผู้เยาว์ โจทก์และสามีจึงเลี้ยงดูผู้เยาว์จนถึงอายุ 4 ปี โจทก์เห็นว่าผู้เยาว์จะต้องเข้าโรงเรียน จึงปรึกษาจำเลยทั้งสองเพื่อให้ผู้เยาว์ได้เรียนหนังสือ จำเลยทั้งสองจึงยื่นคำร้องขอรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม และศาลมีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของบิดามารดา จำเลยทั้งสองจึงจดทะเบียนรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม 

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่ เห็นว่า การฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมกรณีที่ได้ผู้รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยศาลมีคำสั่งแทนคำยินยอมของบิดามารดา กระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลโดยคำร้องของผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/31 วรรคสาม โจทก์เป็นเพียงผู้ที่เคยเลี้ยงดูผู้เยาว์มาก่อนเท่านั้น จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะนำคดีมาฟ้องการเลิกรับบุตรบุญธรรม การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคดีไว้พิจารณา และมีคำพิพากษาตามยอมจึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยทั้งสองขอออกหมายบังคับคดีและศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ ก็ไม่มีผลให้คำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับมาเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย หมายบังคับคดีที่ออกมาก็ไม่สามารถใช้บังคับคดีได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของโจทก์อีกเพราะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม-มิให้ฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร