ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะบุตร

จำเลยอ้างว่า ค่าเช่าห้องเป็นดอกผลของสินสมรส จำเลยให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง เท่ากับจำเลยได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแล้ว เห็นว่า ส่วนแบ่งในสินสมรสของจำเลยเป็นเหตุคนละส่วนกับหน้าที่ของบิดาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามกฎหมายจำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดได้ เชื่อว่าโจทก์และจำเลยต่างก็ยังมีความสามารถที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1568/2552

          ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์...” บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปฏิเสธมิได้ ส่วนการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1598/38 ให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณีเมื่อศาลเชื่อว่าโจทก์และจำเลยก็ยังมีความสามารถที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และแบ่งความรับผิดให้จำเลยชำระค่าอุปการระเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 15,000 บาท เท่ากับคนละ 7,500 บาทต่อเดือนนั้นจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งกรณี

          ส่วนข้ออ้างว่าจำเลยยกส่วนแบ่งในสินสมรสของจำเลยให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอีกนั้น กรณีแบ่งสินสมรสเป็นคนละส่วนกับหน้าที่ของจำเลยในฐานะบิดาที่จำต้องอปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดได้

  โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ เด็กชายภัทรภณ อายุ 12 ปี และเด็กหญิงภัทรลภา อายุ 7 ปี อยู่กินด้วยกันที่บ้านเลขที่ 1620 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เมื่อต้นปี 2552 จำเลยขอไปเช่าอพาร์ตเมนต์อยู่ใกล้กับวิทยาลัยนอร์ธ ซึ่งจำเลยสอนหนังสืออยู่ในขณะนั้น โดยอ้างว่าเลิกงานดึก หลังจากนั้นจำเลยขาดการติดต่อกับโจทก์และไม่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง โจทก์มีรายได้จากค่าเช่าอาคารชุดเดือนละ 20,000 บาท ไม่พอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว เด็กชายภัทรภณเรียนอยู่ในโรงเรียนเซนต์จอห์นค่าเรียนเทอมละ  38,000 บาท ส่วนเด็กหญิงภัทรลภาเรียนอยู่โรงเรียนอนุบาลดาราทร ค่าเรียนเทอมละ 15,000 บาท และยังมีค่าใช้จ่ายอื่นอีก ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองรวมกันเดือนละ 30,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะหรือสำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาหรือเทียบเท่าหรือชั้นสูงสุด

          จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า เมื่อปี 2542 โจทก์และจำเลยมีเรื่องทะเลาะกัน และบิดาโจทก์ได้ทำร้ายร่างกายจำเลย โจทก์และจำเลยจึงตกลงแยกกันอยู่โดยได้ทำหนังสือเรื่องทรัพย์สินระหว่างสมรสไว้ด้วย ที่โจทก์อ้างว่ามีรายได้น้อยไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายนั้นไม่เป็นความจริง เพราะโจทก์มีรายได้จากการให้เช่าห้องอาคารชุดจำนวน 14 ห้อง เดือนละประมาณ 60,000 บาท และรายได้จากการประกอบธุรกิจบริษัทอโกรอุตสาหกรรมไทย - ญี่ปุ่น จำกัด เดือนละไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท รวมแล้วโจทก์มีรายได้เดือนละประมาณ 110,000 บาท ส่วนจำเลยมีรายได้จากการเป็นอาจารย์วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก เดือนละ 19,679 บาท มีภาระค่าใช้จ่ายและภาระหนี้สินจำนวนมาก ไม่อยู่ในฐานะที่จะอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ โจทก์เป็นผู้มีฐานะทางการเงินและฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าจำเลยมากสามารถอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้จากค่าเช่าซึ่งเป็นดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกัน และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เป็นคดีนี้ เพราะโจทก์และจำเลยยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์เดือนละ 15,000 บาท ต่อคน นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าบุตรแต่ละคนจะบรรลุนิติภาวะ ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์เดือนละ 7,500 บาทต่อบุตรผู้เยาว์แต่ละคน นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นผับ

          โจทก์และจำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่าจำเลยและโจทก์เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรผู้เยาว์ 2 คน คือเด็กชายภัทรภณ และเด็กหญิงภัทรลภา จำเลยแยกอยู่กับโจทก์ตั้งแต่ปี 2542 บุตรผู้เยาว์ทั้งสองอยู่กับโจทก์ตลอดมา คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และจำเลยว่าจำเลยต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดหรือไม่ต้องชำระ โจทก์ฎีกาว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาเดือนละ 30,000 บาท นั้นเหมาะสมแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์อ้างบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 มาตัดทอนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 15,000 บาท เป็นการไม่ชอบ ส่วนจำเลยฎีกาว่า จำเลยมีรายจ่ายและหนี้สินมากกว่ารายรับและได้ยกรายได้จากสินสมรสในส่วนของจำเลยให้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิด ในข้อนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์...” บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปฏิเสธมิได้ ส่วนการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1598/38 ให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ข้อเท็จจริงได้ความตามข้อนำสืบของโจทก์และจำเลยว่า ต่างฝ่ายต่างมีรายรับและรายจ่ายของตนเองโดยโจทก์มีรายรับจากค่าเช่าห้องในอาคารชุดเดือนละประมาณ 28,000 ถึง 30,000 บาท แต่มีรายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนของบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง โดยเด็กชายภัทรภณเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซ็นต์จอห์นเสียค่าเล่าเรียนปีละ 2 เทอม เทอมละ 35,000 ถึง 38,000 บาท และค่ากิจกรรมพิเศษเฉลี่ยแล้วเทอมละประมาณ 45,000 บาท ส่วนเด็กหญิงภัทรลภาเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 3 โรงเรียนดาราทรเสียค่าเล่าเรียนปีละ 3 เทอม เทอมละ 12,000 บาท และค่ากิจการพิเศษเฉลี่ยแล้วเทอมละประมาณ 10,000 บาท และโจทก์ยังต้องเลี้ยงดูบิดามารดาอีกด้วย ส่วนจำเลยมีรายได้จากการเป็นอาจารย์สอนหนังสือเดือนนะ 19,679 บาท และมีรายได้จากการสอนพิเศษเดือนละประมาณ 3,000 บาท ถึง 4,000 บาท แต่มีรายจ่ายส่วนตัวเดือนละ 5,000 บาท ค่าเช่าที่พักรวมค่าน้ำค่าไฟเดือนละประมาณ 4,800 บาท ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาเดือนละประมาณ 2,000 บาท และมีหนี้สินประมาณ 1,000,000 บาท เห็นว่า ค่าใช้จ่ายในส่วนของจำเลยเกิดจากจำเลยแยกไปอยู่ต่างหากเอง และหนี้สินที่จำเลยก่อขึ้นก็ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว เมื่อพิจารณาใบแจ้งยอดบัญชีแล้ว จะเห็นว่าจำเลยสามารถผ่อนชำระหนี้เงินกู้ตามเอกสารดังกล่าวในฉบับแรกชำระไปแล้ว 33 งวด งวดละ 6,298.80 บาท ในฉบับที่สองชำระไปแล้ว 10 งวด งวดละ 9,237.94 บาท จึงน่าเชื่อว่าจำเลยมีรายได้มากกว่าที่อ้างค่อนข้างมาก สำหรับโจทก์แม้จำต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนของบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง แต่ยังมีรายได้จากค่าเช่าห้องในอาคารชุดพอนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ ทั้งนี้แม้โจทก์และจำเลยจะมีภาระในการอุปการะเลี้ยงดูบุพการีด้วยก็ตามแต่ก็เชื่อว่าโจทก์และจำเลยต่างก็ยังมีความสามารถที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ที่ศาลอุทธรณ์แบ่งความรับผิดให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 15,000 บาท เท่ากับคนละ 7,500 บาทต่อเดือนนั้น จึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งกรณีแล้ว ส่วนที่จำเลยอ้างว่า ค่าเช่าห้องในอาคารชุดเป็นดอกผลของสินสมรส เมื่อจำเลยมอบให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง เท่ากับจำเลยได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแล้ว เห็นว่า ส่วนแบ่งในสินสมรสของจำเลยเป็นเหตุคนละส่วนกับหน้าที่ของจำเลยในฐานะบิดาที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามกฎหมายจำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์และจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยในข้ออื่นไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยอันเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 

จำเลยอ้างว่าค่าเช่าห้องเป็นดอกผลของสินสมรส จำเลยให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ เท่ากับจำเลยได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แล้ว เห็นว่า ส่วนแบ่งในสินสมรสของจำเลยเป็นเหตุคนละส่วนกับหน้าที่ของบิดาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์

 

 

ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์...” บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปฏิเสธมิได้ ส่วนการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1598/38 ให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับ

 




บิดามารดา กับ บุตร

กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร, article
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว article
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร article
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร