ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์

ในกรณีตามปกติสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยมีกำหนดอายุความ 2 ปี โดยเริ่มนับแต่วันวินาศภัย แต่ในคดีนี้เหตุละเมิดเกิดขึ้นขณะนั้นผู้เยาว์ทั้งสองมีอายุเพียง 10 ปี เศษ และ 9 ปี เศษ ตามลำดับ และผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมเนื่องจากมารดาถึงแก่ความตายเพราะเหตุละเมิดคดีนี้ ส่วนบิดาของผู้เยาว์อยู่กินฉันสามีภรรยากับมารดาผู้เยาว์โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ในคดีนี้อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง จึงยังไม่ครบจนกว่าจะครบ 1 ปี นับแต่วันที่เยาว์มีผู้แทนโดยชอบธรรมเมื่อศาลได้ตั้งผู้แทนโดยชอบธรรมให้แก่ผู้เยาว์แล้ว อายุความจึงต้องนับจากวันที่ผู้เยาว์มีผู้แทนโดยชอบธรรมออกไปอีก 1 ปี คดีนี้ของผู้เยาว์จึงไม่ขาดอายุความ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1901/2566

ในกรณีตามปกติสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยมีกำหนดอายุความ 2 ปี โดยเริ่มนับแต่วันวินาศภัย แต่ในขณะเกิดเหตุละเมิด ผู้ร้องทั้งสองไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ดังนั้นในคดีนี้อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง สำหรับการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีมีวินาศภัยยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้เยาว์มีผู้แทนโดยชอบธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/20คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการการที่วินิจฉัยโดยปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง ซึ่งสำหรับคดีนี้คือ เรื่องการนับอายุความ เป็นกรณีที่ปรากฏต่อศาลว่า การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) ศาลชอบที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการได้

ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ และขอให้มีคำสั่งดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการใหม่ หรือวินิจฉัยชี้ขาดในส่วนค่าเสียหายใหม่

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสอง

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 67/2563 หมายเลขแดงที่ 74/2564 ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

ผู้คัดค้านอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้ รับฟังเป็นยุติว่า นาง ส. เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องทั้งสอง และเป็นมารดาของนางสาววาสนา ผู้ตาย ผู้ร้องทั้งสองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนางสาววาสนากับนายสมควร ซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ผู้ร้องที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 ผู้ร้องที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 ผู้คัดค้านมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ผู้คัดค้านเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนภาคบังคับและภาคสมัครใจของรถบรรทุกพ่วงหัวลาก เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 นางสาววาสนานั่งรถจักรยานยนต์ มีนายจิตติภูมิ เป็นผู้ขับขี่ มาตามถนนสุขุมวิทสายเก่ามุ่งหน้าไปจังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีผู้ขับขี่และควบคุมรถบรรทุกพ่วงดังกล่าวขับมาเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่นางสาววาสนานั่งมา เป็นเหตุให้นางสาววาสนาถึงแก่ความตาย ต่อมาวันที่ 23 เมษายน 2562 ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษมีคำสั่งตั้งนาง ส. เป็นผู้ปกครองผู้ร้องทั้งสอง และวันที่ 26 สิงหาคม 2562 ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษมีคำสั่งอนุญาตให้นาง ส. ทำนิติกรรมเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การประนีประนอมยอมความ การมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย ตลอดจนรับเงินใด ๆ แทนผู้ร้องทั้งสองได้ วันที่ 28 มกราคม 2563 ผู้ร้องทั้งสองโดยนาง ส. ผู้แทนโดยชอบธรรมยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 67/2563 เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้คัดค้าน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากเหตุที่นางสาววาสนาถึงแก่ความตายดังกล่าว ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำเสนอข้อพิพาทพ้นกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย จึงไม่ต้องรับผิด ค่าขาดไร้อุปการะที่เรียกร้องสูงเกินส่วน ผู้คัดค้านไม่ต้องรับผิดค่าขาดแรงงานในครอบครัวและค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน ผู้ร้องทั้งสองไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดว่า คำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องทั้งสองขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง ประเด็นค่าสินไหมทดแทนไม่จำต้องวินิจฉัยเนื่องจากไม่ทำให้คำชี้ขาดมีผลเปลี่ยนแปลง ให้ยกคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องทั้งสอง

คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ โดยผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า มูลละเมิดคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 แต่ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 อันเป็นการกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำหลักทั่วไปในการนับอายุความตามมาตรา 193/12 และมาตรา 193/20 มาบังคับได้ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เหตุที่ยื่นคำเสนอข้อพิพาทเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันวินาศภัยเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทนายความของผู้ร้องทั้งสองเอง เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันวินาศภัย” ดังนั้น ในกรณีตามปกติสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี โดยเริ่มนับแต่วันวินาศภัย แต่ในคดีนี้เหตุละเมิดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 ขณะนั้นผู้ร้องทั้งสองมีอายุเพียง 10 ปี เศษ และ 9 ปี เศษ ตามลำดับ ผู้ร้องทั้งสองไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมเนื่องจากนางสาววาสนา มารดาของผู้ร้องทั้งสอง ถึงแก่ความตายเพราะเหตุละเมิดคดีนี้ ส่วนนายสมควร บิดาของผู้ร้องทั้งสอง อยู่กินฉันสามีภรรยากับนางสาววาสนาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งมาตรา 193/20 บัญญัติว่า “อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือของบุคคลวิกลจริตอันศาลจะสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ก็ตาม ถ้าจะครบกำหนดลงในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ลุถึงความสามารถเต็มภูมิ หรือในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหรือได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี...” ดังนั้น ในคดีนี้อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 882 วรรคหนึ่ง จึงยังไม่ครบจนกว่าจะครบ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องทั้งสองมีผู้แทนโดยชอบธรรม ตามมาตรา 193/20 เมื่อปรากฏว่าวันที่ 23 เมษายน 2562 ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดศรีสะเกษมีคำสั่งตั้งนาง ส. เป็นผู้ปกครองผู้ร้องทั้งสอง อายุความจึงต้องนับจากวันที่ผู้ร้องทั้งสองมีผู้แทนโดยชอบธรรมออกไปอีก 1 ปี คือวันที่ 23 เมษายน 2563 เมื่อผู้ร้องทั้งสองยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 ยังไม่ครบ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ร้องทั้งสองมีผู้แทนโดยชอบธรรม คดีของผู้ร้องทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นการวินิจฉัยโดยปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง และปรากฏต่อศาลว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการมานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ได้ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น คดีไม่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านในประเด็นอื่นเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

 

 

การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
สิทธิและหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร,
การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า, การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตรา 1564, ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การคำนวณค่าเลี้ยงดูบุตร, สิทธิเลี้ยงดูบุตร หลังการหย่า,
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร, การรับรองบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตร, การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสิทธิเลี้ยงดูบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร,
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร