ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว

สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว

บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดานที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก บุตรจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริง 2 ส่วน คือ (1) เป็นบุตรของเจ้ามรดกตามสายเลือด (2) พฤติการณ์ของเจ้ามรดกที่รับรองว่าเป็นบุตร เช่น แจ้งเกิด ยอมให้ใช้ชื่อสกุล เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูและส่งเสียให้การศึกษาเล่าเรียน และแสดงออกแก่บุคคลทั่วไปอย่างเปิดเผยว่าเป็นบุตร แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ตามทะเบียนราษฎร์ปรากฏว่าโจทก์เป็นบุตรของบุคคลอื่นไม่ใช่เจ้ามรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7272/2562

โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเนื่องจากโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627, 1629 (1) ดังนั้น โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามมาตรา 1627 ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดก และส่วนที่สองคือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของเจ้ามรดกที่รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรของตน เช่น เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งเกิดให้แก่โจทก์ว่าโจทก์เป็นบุตรของตน ยอมให้ใช้ชื่อสกุล เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู และส่งเสียให้การศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนแนะนำและแสดงออกแก่บุคคลทั่วไปอย่างเปิดเผยว่าโจทก์เป็นบุตร

หลักฐานทางทะเบียนราษฎรระบุว่า โจทก์เป็นบุตรของ ข. กับ บ. สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์ต้องมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมั่นคงและน่าเชื่อถือมานำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงจะรับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 11303 เป็นสินสมรสของนายสีกับจำเลยที่ 1 ให้ตกเป็นกองมรดกของนายสีกึ่งหนึ่ง ให้สัญญาจำนองที่ดินของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันที่ดินส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของนายสี และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ให้แบ่งทรัพย์มรดกของนายสีแก่โจทก์ตามที่โจทก์ครอบครอง หรือตามเนื้อที่ที่เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำขึ้นตามคำสั่งศาล หากจำเลยที่ 1 เพิกเฉย ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1

จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย นายอุทัย ผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 11303 เป็นสินสมรสของนายสี กับจำเลยที่ 1 และให้ตกเป็นกองมรดกของนายสีกึ่งหนึ่ง ให้แบ่งกองมรดกของนายสีให้แก่โจทก์ในฐานะทายาทนายสีตามส่วน ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

จำเลยที่ 1 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้ได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสี เจ้ามรดก มีบุตรด้วยกัน 5 คน เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ดินพิพาท คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 11303 มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลยที่ 1 ซึ่งกึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ตกทอดแก่ทายาทของเจ้ามรดก

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ที่ได้รับอนุญาตให้ฎีกามีว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ เห็นว่า โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเนื่องจากโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627, 1629 (1) ดังนั้น โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามมาตรา 1627 ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดก และส่วนที่สองคือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของเจ้ามรดกที่รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรของตน เช่น เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งเกิดให้แก่โจทก์ว่าโจทก์เป็นบุตรของตน ยอมให้ใช้ชื่อสกุล เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูและส่งเสียให้การศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนแนะนำและแสดงออกแก่บุคคลทั่วไปอย่างเปิดเผยว่าโจทก์เป็นบุตร ในข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดกนั้น ปรากฏจากหลักฐานทางทะเบียนราษฎรว่า โจทก์เป็นบุตรของนายแข้น กับนางบุญชู เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 โจทก์จึงต้องมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมั่นคงและน่าเชื่อถือเพื่อให้รับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ แต่พยานโจทก์ทุกปากไม่ได้รู้เห็นการแจ้งเกิดและไม่ทราบเหตุผลที่มีการแจ้งเกิดว่าโจทก์เป็นบุตรของนายแข้น ที่นางแพงศรีพยานโจทก์เบิกความถึงเหตุผลในเรื่องนี้ว่า เหตุที่รายการทะเบียนราษฎรระบุชื่อนายแข้นเป็นบิดาของโจทก์น่าจะเกิดจากความคับแค้นใจของนางบุญชูที่ถูกเจ้ามรดกทิ้งไปมีภริยาใหม่จึงแจ้งดังกล่าว ก็เป็นเหตุผลตามความคิดเห็นของพยานซึ่งไม่เป็นการแน่นอนว่าจะเป็นความจริงเช่นนั้น ตัวโจทก์เองก็ไม่ได้เบิกความถึงเรื่องดังกล่าว ทั้งยังเบิกความตอบทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านว่า นายแข้นเป็นผู้ไปแจ้งต่อนายทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรของนายแข้นและให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ จึงเห็นได้ว่าหากโจทก์ไม่ใช่บุตรของนายแข้นจริง นายแข้นก็ไม่น่าจะไปแจ้งเช่นนั้นเพราะบุคคลทั่วไปย่อมทราบดีว่าการแจ้งว่าบุคคลใดเป็นบิดาของเด็กเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งทั้งต่อตัวเด็กและบิดาตลอดจนครอบครัว เหตุผลตามที่อ้างจึงผิดปกติวิสัยของวิญญูชนทั่วไปและขัดต่อเหตุผล พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักพอหักล้างสำเนาทะเบียนบ้านดังกล่าวได้ ส่วนข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าเจ้ามรดกรับรองว่าโจทก์เป็นบุตรของตนโดยการยอมให้ใช้ชื่อสกุลนั้น เมื่อปรากฏว่านายแข้นใช้ชื่อสกุลเดียวกับเจ้ามรดก การที่โจทก์ใช้ชื่อสกุลเดียวกับเจ้ามรดกจึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานที่แสดงว่าเจ้ามรดกยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของเจ้ามรดก ที่โจทก์กล่าวอ้างว่า เจ้ามรดกอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โดยมารับโจทก์ไปอยู่อาศัยด้วยตั้งแต่โจทก์อายุ 16 ปี จนกระทั่งโจทก์สมรส นั้น โจทก์ไม่มีพยานที่เป็นญาติฝ่ายเจ้ามรดกหรือพยานคนกลางมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงในส่วนนี้เลย พยานโจทก์มีเพียงญาติฝ่ายมารดาของโจทก์กับเพื่อนของสามีโจทก์ จึงมีน้ำหนักน้อย ทั้งพยานโจทก์ดังกล่าวก็ไม่ได้รู้เห็นและเบิกความถึงพฤติการณ์ของเจ้ามรดกในเรื่องนี้เลย ส่วนที่โจทก์อ้างพฤติการณ์ของเจ้ามรดกที่ว่า เจ้ามรดกยกที่ดินพิพาทให้โจทก์กับนายประยูรใช้ทำมาหากินเป็นโรงงานขนมจีนนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่นายประยูรออกจากที่ดินพิพาท ก็ไม่ปรากฏว่ามีการยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์อุปการะเจ้ามรดกกับจำเลยที่ 1 โดยทำประกันชีวิตให้แก่จำเลยที่ 1 นั้นก็ปรากฏตามกรมธรรม์ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกัน โดยโจทก์เกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์เท่านั้น พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่า โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว ซึ่งจะมีผลทำให้โจทก์เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอแบ่งมรดกของเจ้ามรดก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 




บิดามารดา กับ บุตร

ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
นำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสในคดีฟ้องหย่า
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร