ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก

การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดจึงไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตร ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 บัญญัติว่าเมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2542

ข้ออ้างในฎีกาของจำเลยไม่มีข้อใดที่แสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ละเมิดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้เป็นไปตามคำท้า อันจะเป็นเหตุให้ฎีกาได้ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดไปตาม ประเด็นที่คู่ความตกลงท้ากัน และไม่ปรากฏว่าคำวินิจฉัยของ ศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายหรือเป็นไปโดยไม่ชอบแล้ว จำเลย จะฎีกาโต้เถียงเพียงแต่ขอให้ลดจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู ไม่ได้ ฎีกาจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด และพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 ก็ได้บัญญัติให้ผู้ที่ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องมาให้บันทึกในทะเบียนได้ จึงไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตร

   โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลยและให้จำเลยไปจดทะเบียนรับรองบุตรภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้จำเลยชำระเงิน 3,000 บาท ต่อเดือนแก่โจทก์ นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะบรรลุนิติภาวะหรือจบการศึกษาชั้นสูงสุด

   จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

   ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า เด็กหญิง ภ.โจทก์เป็นบุตรของจำเลยให้จำเลยไปจดทะเบียนรับรองบุตรภายใน 7 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้จำเลยชำระเงิน 3,000 บาท ต่อเดือนแก่โจทก์ นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่า เด็กหญิง ภ. โจทก์จะบรรลุนิติภาวะ

   จำเลยอุทธรณ์

   ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน

   จำเลยฎีกา

   ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลยให้จำเลยชำระเงิน 3,000 บาท ต่อเดือนแก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 22 สิงหาคม 2540) เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะบรรลุนิติภาวะโดยเป็นการพิพากษาคดีไปตามที่คู่ความตกลงท้ากัน จำเลยฎีกาว่า ขอให้แก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยให้จำเลยชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละ 2,000 บาท แก่โจทก์ นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะบรรลุนิติภาวะ โดยอ้างเหตุแต่เพียงว่าจำเลยขัดข้องมีเงินไม่พอจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ให้เพียงพอตามคำท้าในขณะนี้เท่านั้นข้ออ้างในฎีกาของจำเลยดังกล่าวไม่มีข้ออ้างใดที่แสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้เป็นไปตามคำท้า อันเป็นเหตุที่จะฎีกาได้ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดไปตามประเด็นที่คู่ความตกลงท้ากันและไม่ปรากฏว่าคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายหรือเป็นไปโดยมิชอบแล้วจำเลยจะฎีกาโต้เถียงเพียงแต่ขอให้ลดจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ฎีกาจำเลยต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

   อนึ่ง การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดจึงไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478มาตรา 20 บัญญัติว่าเมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยสั่งคำขอในส่วนนี้"

   พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฎีกาจำเลย และให้ยกคำขอในส่วนที่บังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตร หากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน คืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาทั้งหมดให้จำเลย ค่าทนายความชั้นฎีกาเป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

 
เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6980/2545
 
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 (3) บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด สิทธิหน้าที่บิดากับบุตรพึงมีต่อกันตามกฎหมายจึงเริ่มในวันดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด มิใช่นับแต่วันฟ้องของโจทก์ทั้งสอง
 
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องโดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ขอให้จำเลยรับโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสองเป็นเงิน ๔,๘๐๐,๐๐๐ บาท
 
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
 
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า โจทก์ที่ ๑ และโจทก์ที่ ๒ เป็นบุตรของจำเลย ให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสองเดือนละ ๑๒,๐๐๐ บาท นับแต่วันมีคำพิพากษาจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
 
โจทก์ทั้งสองและจำเลยอุทธรณ์
 
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสองนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
 
โจทก์ทั้งสองและจำเลยฎีกา
 
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรของจำเลย มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองและจำเลยว่า จำเลยจะต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสองนับแต่วันใด เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๕๗ (๓) บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย มีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด สิทธิหน้าที่บิดากับบุตรพึงมีต่อกันตามกฎหมายจึงเริ่มในวันดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด มิใช่นับแต่วันฟ้องของโจทก์ทั้งสอง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ทั้งสองนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะนั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
 
อนึ่ง แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมมาในคดีเดียวกัน แต่สิทธิในการได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลที่จะได้รับ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์ทั้งสองรวมกันมาเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
 
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสองคนละ ๕,๐๐๐ บาท ต่อเดือน นับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
 
การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2537

โจทก์จำเลยท้ากันว่า ขอให้แพทย์ตรวจกรุ๊ปยีน ของโจทก์ที่ 1ที่ 2 และจำเลย หากผลการตรวจพิสูจน์กรุ๊ปยีน ความเป็นบิดามารดาและบุตรเป็นยีนเดียวกันจำเลยยอมแพ้คดีหากผลการตรวจยีนเป็นคนละกรุ๊ปกันโจทก์ยอมแพ้คดีการตรวจเลือดพิสูจน์สายสัมพันธ์กระทำได้หลายวิธีแต่ในคำท้าไม่ได้ระบุว่าจะต้องตรวจโดยวิธีใดเมื่อทางโรงพยาบาลได้ดำเนินการตรวจและแจ้งผลให้ทราบถือได้ว่าผู้เชี่ยวชาญได้ทำการตรวจกรุ๊ปยีน ของโจทก์ทั้งสองและจำเลยแล้วมีความเห็นตรงตามคำท้าของคู่ความ จึงเป็นการปฏิบัติโดยถูกต้องตามคำท้าแล้ว การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ยกปัญหานี้ขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงไม่ต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับโจทก์ที่ 1 เป็นบุตร เมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 และจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยากันระหว่างปี 2516 ถึงปี 2521 แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส โจทก์ที่ 1เป็นบุตรของโจทก์ที่ 2 กับจำเลยเกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2518และใช้ชื่อสกุลของจำเลยตลอดมา ขณะนี้มีอายุ 17 ปีเศษ ต่อมาจำเลยแยกไปอยู่ต่างหาก โจทก์ที่ 2 ได้สมรสใหม่กับนายสุรนันท์ และนายสุรนันท์จดทะเบียนรับโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม ก่อนฟ้องจำเลยเคยส่งเสียเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1 เดือนละ 6,000 บาท พร้อมค่าศึกษาเล่าเรียนจนถึงเดือนพฤษภาคม 2535 จำเลยไม่ส่งเสียเลี้ยงดูโจทก์เป็นเวลา 3 เดือนก่อนฟ้อง โจทก์ที่ 1 ประสงค์จะใช้ชื่อสกุลของจำเลยซึ่งเป็นบิดาที่แท้จริง และให้นายสุรนันท์เลิกรับโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมให้จำเลยจดทะเบียนรับรองโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรณ ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ และให้จำเลยชำระเงิน 18,000 บาทพร้อมกับให้ชำระเงินเดือนละ 6,000 บาท จนกว่าโจทก์ที่ 1 มีอายุครบ 25 ปี
จำเลยให้การว่า จำเลยเคยมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับโจทก์ที่ 2 แต่ได้เลิกเกี่ยวข้องกันแล้ว โจทก์ที่ 1 ไม่ใช่เป็นบุตรของจำเลย หลังจากจำเลยกับโจทก์ที่ 2 เลิกเกี่ยวข้องต่อกันแล้วโจทก์ที่ 2 ได้มีความสัมพันธ์กับชายอื่นจำเลยไม่เคยส่งเสียเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1 ขอให้ยกฟ้อง
ในวันชี้สองสถาน โจทก์จำเลยตกลงท้ากันว่า ขอให้โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ตรวจกรุ๊ปยีนของโจทก์ที่ 1ที่ 2 และจำเลยหากผลการตรวจพิสูจน์กรุ๊ปยีนความเป็นบิดามารดาและบุตรเป็นยีนเดียวกันแล้วจำเลยยอมแพ้

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การตรวจผลออกมาเป็นไปตามคำท้าจำเลยต้องแพ้คดี พิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนรับรองโจทก์ที่ 1เป็นบุตร ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ หากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน กับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสองเป็นรายเดือนเดือนละ 6,000 บาท นับแต่เดือนที่ฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ที่ 1 จะอายุครบ 25 ปี

จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า คดีนี้โจทก์จำเลยท้ากันว่า หากผลการตรวจพิสูจน์กรุ๊ปยีนความเป็นบิดามารดาและบุตรเป็นยีนเดียวกัน จำเลยยอมแพ้คดี หากผลการตรวจกรุ๊ปยีนเป็นคนละกรุ๊ปกัน โจทก์ยอมแพ้คดีปรากฏว่าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ได้มีหนังสือแจ้งขอให้โรงพยาบาลฯ ตรวจกรุ๊ปยีนของโจทก์ทั้งสองและจำเลยเพื่อประกอบการพิจารณาของศาล ผู้เชี่ยวชาญคือผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่แจ้งผลการตรวจโลหิตของโจทก์ทั้งสองและจำเลยว่า จากการตรวจโครโมโซมโพลีมอร์ไฟซิสบนโครโมโซมของโจทก์ที่ 1 เหมือนกับของโจทก์ที่ 2 และจำเลยสำหรับโครโมโซมวาย ของโจทก์ที่ 1 มีขนาดเท่ากับของจำเลยสรุปแล้วโอกาสที่โจทก์ที่ 1 จะไม่ใช่ลูกของโจทก์ที่ 2 และจำเลยนั้นมีน้อยมาก ดังนี้ถือได้ว่าผู้เชี่ยวชาญได้ทำการตรวจกรุ๊ปยีนของโจทก์ทั้งสองและจำเลยแล้วมีความเห็นตรงตามคำท้าของคู่ความ จำเลยจึงต้องแพ้คดีตามคำท้า ที่จำเลยฎีกาว่า นายแพทย์ผู้ตรวจได้ทำการตรวจโครโมโซมโพลีมอร์ไพซิสบนโครโมโซมเป็นการตรวจโครโมโซมมิใช่เป็นการตรวจกรุ๊ปยีนจากโลหิตที่ทางการแพทย์เรียกว่าดี เอ็น เอ พิงเกอร์ ปริ๊นท์ (Deoxyribonucleic acid Finger Print)ซึ่งการตรวจแบบดังกล่าวได้ผลเด่นชัดแน่นอนกว่าการตรวจโครโมโซมที่ทางโรงพยาบาลดำเนินการและส่งผลมาในคดีนี้เป็นการผิดวัตถุประสงค์ของคู่ความตามที่ได้ท้ากันไว้นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าการตรวจเลือดพิสูจน์สายสัมพันธ์กระทำได้หลายวิธี แต่ในคำท้าโจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่ได้ระบุว่าจะต้องตรวจโดยวิธีใด เพียงแต่ขอให้โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ตรวจกรุ๊ปยีนของโจทก์ทั้งสองและจำเลยเท่านั้น เมื่อทางโรงพยาบาลได้ดำเนินการตรวจกรุ๊ปยีนให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติโดยถูกต้องตามคำท้าแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นรายเดือน เดือนละ 6,000 บาท นับแต่เดือนที่ฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ที่ 1 จะอายุความ 25 ปี นั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3) สำหรับคดีนี้ให้เริ่มแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไปแม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
เนื่องจากการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับโจทก์ที่ 1 เป็นบุตร ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 มาตรา 20 บัญญัติว่า เมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอในส่วนนี้
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไปจนกว่าโจทก์ที่ 1 จะอายุครบ 25 ปีและให้ยกคำขอในส่วนที่บังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรหากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2

 
ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นให้จ่ายตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2537

การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3) ทั้งตามพระราชบัญญัติ จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 บัญญัติว่าเมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ฉะนั้นศาลจึงไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับ ส. เป็นบุตรตามคำขอของโจทก์ ส่วนการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู ส. นั้นให้จ่ายตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาจนกว่า ส. จะบรรลุนิติภาวะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเด็กหญิง ส. ผู้เยาว์ เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย และให้จำเลยจดทะเบียนรับรองผู้เยาว์เป็นบุตร หากไม่ไปให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยและให้จำเลยส่งเสียค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง ส.เดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ หรือจนกว่าจะศึกษาจบชั้นอุดมศึกษา

จำเลยให้การว่า อยู่กินกับโจทก์และมีบุตรคือเด็กหญิง ส. แต่ต่อมาโจทก์จำเลยมีความประสงค์จะแยกอยู่กินกัน จึงได้ทำบันทึกประจำวันไว้ซึ่งโจทก์เรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้เป็นจำนวน9,500 บาท และตกลงว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกันอีกต่อไป โดยโจทก์เป็นผู้รับเลี้ยงบุตร จำเลยมีอาชีพเป็นเจ้าของรถบรรทุก 10 ล้อมีรายได้แต่ละวันไม่แน่นอน ไม่สามารถส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้ถึงเดือนละ 5,000 บาท และจำเลยก็ไม่จำต้องส่งเสียเลี้ยงดูอีกต่อไป เพราะโจทก์รับทรัพย์สินไปครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เด็กหญิง ส. เป็นบุตรของจำเลยและให้จำเลยจดทะเบียนรับรองเด็กหญิง ส. เป็นบุตร หากไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ให้แก่โจทก์เดือนละ 2,000 บาท นับแต่วันพิพากษาจนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ

จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์ไม่มีฎีกาของจำเลยที่จะต้องวินิจฉัยอีกต่อไป และวินิจฉัยว่า... "แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนรับรองเด็กหญิง ส. เป็นบุตร หากไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้นศาลฎีกาเห็นว่า การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1557(3) ทั้งตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478มาตรา 20 บัญญัติว่าเมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ศาลจึงไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ส. เป็นบุตรตามคำขอของโจทก์ในส่วนนี้ และในส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง ส. เดือนละ 2,000 บาท นับแต่วันพิพากษาจนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้"
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิงส.ให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะและให้ยกคำขอในส่วนที่บังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง ส.เป็นบุตร หากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น


กำหนดให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเงินก้อนครั้งเดียวบรรลุนิติภาวะ
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2536
 
การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ดังนั้นค่าอุปการะเลี้ยงดูจะต้องกำหนดให้นับแต่วันดังกล่าว การที่ศาลล่างกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเงินก้อนครั้งเดียว โดยกำหนดให้นับแต่วันฟ้องจึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าเด็กหญิงบัวเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละ 1,500 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าเด็กหญิงบัวจะบรรลุนิติภาวะเป็นเวลา19 ปี 6 เดือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 351,000 บาท
จำเลยให้การว่า เด็กหญิงบัวไม่ใช่บุตรของจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นหนี้ตามศีลธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระ ขอให้ยกฟ้อง
 
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เด็กหญิงบัว เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิงบัว แก่โจทก์จำนวน 294,000 บาท (กำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมกันทั้งหมดในช่วง 10 ปีแรกเดือนละ 1,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอมาเป็นเวลา 9 ปี6 เดือน เป็นเงิน 114,000 บาท และในช่วง 10 ปีหลังเดือนละ1,500 บาท เป็นเงิน 180,000 บาท)
 
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา
 
ศาลฎีกาวินิจฉัยโดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์คลอดเด็กหญิงบัวเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2531 ก่อนโจทก์คลอดบุตรดังกล่าว จำเลยได้ร่วมประเวณีกับโจทก์หลายครั้ง โดยโจทก์ไม่ได้ป้องกันการตั้งครรภ์เนื่องจากจำเลยต้องการมีบุตรกับโจทก์ เพราะภรรยาของจำเลยไม่สามารถมีบุตรได้จนโจทก์ตั้งครรภ์และโจทก์ได้บอกให้จำเลยทราบ จำเลยเกรงว่าภรรยาของจำเลยจะทราบเรื่อง จึงจัดการให้โจทก์ไปอยู่กับนายเฉลียวเพื่อนของจำเลย จากนั้นจำเลยได้ไปเยี่ยมโจทก์หลายครั้งและพาโจทก์ไปหาแพทย์ด้วย นอกจากนี้จำเลยยังได้เขียนจดหมายถึงโจทก์หลายฉบับซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า "น้องนีย์ ขอให้อดทนหน่อย อีกไม่นานพี่จะมารับไปอยู่ที่อื่นพร้อมลูก" กับอีกตอนหนึ่งว่า "ขอให้เลี้ยงลูกให้ดี เดี๋ยวนี้พี่รักนีย์และลูกมากเลย" ซึ่งเป็นข้อความที่แสดงว่าเด็กหญิงบัวเป็นบุตรของจำเลย ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ไปร่วมประเวณีกับชายอื่น คดีจึงรับฟังได้ว่าเด็กหญิงบัวเป็นบุตรของจำเลย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดสูงเกินไปนั้น เห็นว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยชำระเป็นเงินก้อนครั้งเดียวจำนวน 294,000 บาท โดยกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่โจทก์ขอมานับแต่วันฟ้องนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3)บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 มีผลนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ดังนั้น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจะต้องกำหนดให้นับแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันฟ้อง ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นเท่าไรนั้น จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่า ควรเป็นอย่างไรจึงเห็นสมควรให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่ศาลล่างทั้งสองกำหนด แต่ให้เริ่มคำนวณนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดจนกว่าเด็กหญิงบัวจะบรรลุนิติภาวะ
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิงบัว นนทะ เดือนละ 1,000 บาท นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด จนกว่าเด็กหญิงบัว นนทะ จะมีอายุครบสิบปีบริบูรณ์หลังจากนั้นให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละ 1,500 บาท จนกว่าเด็กหญิงบัว นนทะ จะบรรลุนิติภาวะ โดยให้จำเลยชำระเป็นเงินก้อนครั้งเดียว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2
 
 
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจะต้องกำหนดให้นับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดมิใช่นับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3273/2536

ฟ้องโจทก์บรรยายว่า เมื่อระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2530ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2531 โจทก์จำเลยได้มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวและร่วมประเวณีกันหลายครั้งในระยะเวลาที่โจทก์สามารถตั้งครรภ์ได้และทำให้โจทก์ตั้งครรภ์ในเวลาต่อมาและจำเลยเขียนจดหมายถึงโจทก์ยอมรับว่าเด็กหญิงที่คลอดจากโจทก์คือเด็กหญิง บ. เป็นบุตรของจำเลย ตามเอกสารท้ายฟ้องนั้นเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้วส่วนจำเลยและโจทก์ร่วมประเวณีกันเมื่อใดที่ไหนที่เป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์และจำเลยยอมรับเด็กหญิง บ. เป็นบุตรอย่างไรเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์คลอดเด็กหญิง บ. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2531 จำเลยได้ร่วมประเวณีกับโจทก์หลายครั้งในระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2530ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2531 และจัดการให้โจทก์ไปอยู่กับเพื่อนของจำเลยที่กรุงเทพมหานคร จากนั้นจำเลยไปเยี่ยมโจทก์หลายครั้งพาโจทก์ไปหาแพทย์และเขียนจดหมายถึงโจทก์หลายฉบับมีข้อความที่แสดงว่าเด็กหญิง บ. เป็นบุตรของจำเลย ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ร่วมประเวณีกับชายอื่น ย่อมมีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าเด็กหญิง บ. มิได้เป็นบุตรของชายอื่น โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยรับเด็กหญิง บ. เป็นบุตรของจำเลยได้ การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายในกรณีที่ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1557(3) ดังนั้นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจะต้องกำหนดให้นับแต่วันดังกล่าวมิใช่นับแต่วันฟ้อง จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่าควรกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูเท่าไร ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ชำระตามที่ศาลล่างกำหนดคือเดือนละ 1,000 บาท นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดจนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 10 ปีบริบูรณ์ หลังจากนั้นให้ชำระเดือนละ 1,500 บาท จนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ โดยให้จำเลยชำระเป็นเงินก้อนครั้งเดียว

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์จำเลยได้มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวและร่วมประเวณีกันหลายครั้งในระยะเวลาที่โจทก์สามารถตั้งครรภ์ได้และทำให้โจทก์ตั้งครรภ์ในเวลาต่อมาโจทก์คลอดบุตรคือเด็กหญิง บ. จำเลยได้มีจดหมายถึงโจทก์ยอมรับว่าเด็กหญิง บ. เป็นบุตรของจำเลยตามเอกสารท้ายฟ้องขอให้พิพากษาว่าเด็กหญิง บ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่เด็กหญิง บ. เดือนละ 1,500 บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าเด็กหญิง บ. จะบรรลุนิติภาวะเป็นเวลา 19 ปี6 เดือน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 351,000 บาท

จำเลยให้การว่า จำเลยได้ร่วมประเวณีกับโจทก์จริง ต่อมาจำเลยสืบทราบว่าโจทก์ได้ร่วมประเวณีกับชายอื่นในระยะเวลาที่โจทก์อาจตั้งครรภ์ได้ จำเลยจึงเลิกล้มสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับโจทก์เอกสารท้ายฟ้องไม่ใช่เอกสารที่จำเลยยอมรับว่าเป็นบุตรเกิดจากจำเลย ค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นหนี้ตามศีลธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระ ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าโจทก์จำเลยได้ร่วมประเวณีกันเมื่อไร ที่ไหน ที่เป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์และไม่ได้บรรยายว่าเอกสารท้ายฟ้องจำเลยได้ยอมรับเด็กหญิง บ. เป็นบุตรอย่างไร ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เด็กหญิง บ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง บ. แก่โจทก์จำนวน 294,000 บาท (กำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมกันทั้งหมดในช่วง 10 ปีแรกเดือนละ 1,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอมาเป็นเวลา9 ปี 6 เดือน เป็นเงิน 114,000 บาท และในช่วง 10 ปีหลังเดือนละ 1,500 บาท เป็นเงิน 180,000 บาท)

จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ โดยจำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่าโจทก์จำเลยได้ร่วมประเวณีกันเมื่อไร ที่ไหน ที่เป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์ได้และโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่าเอกสารท้ายฟ้องจำเลยได้ยอมรับเด็กหญิง บ.เป็นบุตรอย่างไร เห็นว่า ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่าเมื่อระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2530 ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2531 โจทก์จำเลยได้มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวและร่วมประเวณีกันหลายครั้งในระยะเวลาที่โจทก์สามารถตั้งครรภ์ได้ และทำให้โจทก์ตั้งครรภ์ในเวลาต่อมา และโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็มีเอกสารคือจดหมายที่จำเลยเขียนถึงโจทก์โดยจำเลยยอมรับว่าเด็กหญิงที่คลอดจากโจทก์คือเด็กหญิง บ. นั้นเป็นบุตรของจำเลย ดังปรากฏตามสำเนาจดหมายที่จำเลยได้เขียนถึงโจทก์เอกสารแนบท้ายฟ้องหมายเลข 11 คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา พอที่จำเลยจะเข้าใจแล้ว และจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีมาถูกต้องตรงประเด็นส่วนที่ว่าจำเลยและโจทก์จะร่วมประเวณีกันเมื่อใด ที่ไหน ที่เป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์ และจำเลยยอมรับเด็กหญิง บ. เป็นบุตรอย่างไร เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบกันในชั้นพิจารณาต่อไปฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ฎีกาข้อต่อไปของจำเลยที่ว่าเด็กหญิง บ. เป็นบุตรของจำเลยหรือไม่ ข้อเท็จจริงได้ความในเบื้องต้นว่าโจทก์คลอดเด็กหญิง บ.เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2531 ก่อนโจทก์คลอดบุตรดังกล่าว จำเลยได้ร่วมประเวณีกับโจทก์หลายครั้ง โจทก์เบิกความยืนยันว่าระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2530 ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2531จำเลยได้ร่วมประเวณีกับโจทก์หลายครั้ง โดยโจทก์ไม่ได้ป้องกันการตั้งครรภ์เนื่องจากจำเลยต้องการมีบุตรกับจำเลยเพราะภรรยาของจำเลยไม่สามารถมีบุตรได้จนโจทก์ตั้งครรภ์และโจทก์ได้บอกให้จำเลยทราบ จำเลยเกรงว่าภรรยาของจำเลยจะทราบเรื่องจึงจัดการให้โจทก์ไปอยู่กับนายเฉลียว เพื่อนของจำเลยที่กรุงเทพมหานครจากนั้นจำเลยได้ไปเยี่ยมโจทก์หลายครั้งและพาโจทก์ไปหาแพทย์ด้วยนอกจากนี้จำเลยยังได้เขียนจดหมายถึงโจทก์หลายฉบับ ปรากฏตามเอกสารหมาย จ.2 จ.3 และ จ.8 เห็นว่า นอกจากคำเบิกความของโจทก์ดังกล่าวแล้ว ตามจดหมายที่จำเลยเขียนถึงโจทก์ฉบับลงวันที่28 พฤศจิกายน 2531 เอกสารหมาย จ.2 ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งว่า"น้องนีย์ ขอให้อดทนหน่อย อีกไม่นานพี่จะมารับไปอยู่ที่อื่นพร้อมลูก" กับอีกตอนหนึ่งว่า "ขอให้เลี้ยงลูกให้ดี เดี๋ยวนี้พี่รักนีย์ และลูกมากเลย" ซึ่งเป็นข้อความที่แสดงว่าเด็กหญิง บ.เป็นบุตรของจำเลย ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ไปร่วมประเวณีกับชายอื่น จึงมีเหตุอันสมควรเชื่อได้ว่าเด็กหญิง บ.มิได้เป็นบุตรของชายอื่น คำเบิกความของโจทก์ประกอบเอกสารดังกล่าวมีน้ำหนักรับฟังได้ว่าเด็กหญิง บ. เป็นบุตรของจำเลย ที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ได้ร่วมประเวณีกับโจทก์ในระยะเวลาที่โจทก์อาจตั้งครรภ์ได้ก็ดี หรือว่าปริมาณตัวอสุจิของจำเลยมีน้อยกว่าเกณฑ์ปกติเป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์ยากก็ดี เป็นแต่นำสืบลอย ๆมีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเด็กหญิง บ. เป็นบุตรของจำเลย

ที่จำเลยฎีกาเป็นข้อสุดท้ายว่าค่าอุปการะเลี้ยงดู ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดสูงเกินไปนั้น เห็นว่า ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยชำระเป็นเงินก้อนครั้งเดียวจำนวน 294,000 บาท โดยกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่โจทก์ขอมานับแต่วันฟ้องนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3) บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 มีผลนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ดังนั้น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจะต้องกำหนดให้นับแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันฟ้อง ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นเท่าไรนั้น จำเลยมิได้นำสืบให้เห็นว่า ควรเป็นอย่างไร จึงเห็นสมควรให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดแต่ให้เริ่มคำนวณนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดจนกว่าเด็กหญิง บ. จะบรรลุนิติภาวะ ฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น"

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง บ. เดือนละ 1,000 บาท นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด จนกว่าเด็กหญิง บ. จะมีอายุครบสิบปีบริบูรณ์หลังจากนั้นให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเดือนละ 1,500 บาทจนกว่าเด็กหญิง บ. จะบรรลุนิติภาวะ โดยให้จำเลยชำระเป็นเงินก้อนครั้งเดียว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2
 



บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร