ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

แม้บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าจะกระทำขึ้นด้วยความสมัครใจของคู่หย่าเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ แต่ต่อมาพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีเปลียนแปลงไป ศาลก็มีอำนาจแก้ไขได้ 

อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้ (มาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง) แม้บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าจะกระทำขึ้นด้วยความสมัครใจของคู่หย่าเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ แต่ต่อมาพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีเปลียนแปลงไป ศาลก็มีอำนาจแก้ไขได้ และจากนัยมาตรา 1898/38 ที่ว่า ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณีด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ผู้ร้องตกลงให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 60,000 บาท นั้นเป็นไป

เพื่ออนาคตว่าจะให้บุตรผู้เยาว์เรียนหนังสือที่โรงเรียนนานาชาติในจังหวัดอื่น แต่เมื่อบุตรผู้เยาว์ไม่ได้ไปเข้าเล่าเรียนที่โรงเรียนในจังหวัดอื่นตามที่คาดหมายอันเป็นพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลพิพากษาให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2552

การที่บุคคลจะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งโดยการยื่นเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขออย่างหนึ่งอย่างใด มิได้พิจารณาว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่มีทุนทรัพย์

ตามคำร้องขอของผู้ร้องนอกจากมีคำขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แล้ว ยังขอให้มีคำสั่งถอนอำนาจปกครองของ ป. และแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองด้วย อันส่งผลกระทบต่อค่าอุปการะเลี้ยงดู เพราะหากศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้ร้องก็ไม่จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่ ป. ตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าอีกต่อไป ซึ่งศาลมีอำนาจแก้ไขได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และถือได้ว่าคำขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่เป็นคำขอหลัก ส่วนคำขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นคำขอรอง นอกจากนี้แม้ตามข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าจะกำหนดให้ ป. เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่ถ้าภายหลังพึงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจ ศาลก็มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566 (5) แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาล แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้โดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทและทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ด้วย ผู้ร้องจึงชอบที่จะเสนอคดีขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่โดยทำเป็นคำร้องขอ รวมทั้งชอบที่จะเสนอคดีขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งเกี่ยวเนื่องกันเข้ามาในคำร้องขอฉบับเดียวกันได้

ป.พ.พ. มาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้ ดังนั้น แม้บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าจะกระทำขึ้นโดยชอบด้วยความสมัครใจของคู่กรณี ถ้าต่อมาพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป ศาลก็มีอำนาจแก้ไขในเรื่องดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า เดิมผู้ร้องและนางปวีณาหรืออรวรรยา เป็นสามีภิริยากัน ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2546 ผู้ร้องกับนางปวีณาจดทะเบียนหย่ากันโดยบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าว่าให้เด็กชายชนาธิป และเด็กหญิงกันตา บุตรผู้เยาว์ทั้งสองอยู่ในอำนาจปกครองของนางปวีณาแต่ผู้เดียว ให้ผู้ร้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 60,000 บาท แต่ภายหลังนางปวีณาไม่ได้ประกอบอาชีพ ไม่มีรายได้และไม่ได้เลี้ยงดูอบรมสั่งสอนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามสมควร ผู้ร้องเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นส่วนใหญ่และเป็นผู้ส่งเสียบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้เล่าเรียนหนังสือ อีกทั้งผู้ร้องยังนำเงินฝากเข้าบัญชีของนางปวีณาเพื่อประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นเงิน 500,000 บาท แต่นางปวีณาถอนเงินไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวจนหมด พฤติการณ์ของนางปวีณาเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีความพร้อมและไม่สมควรจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอีกต่อไป ผู้ร้องมีความพร้อมและเต็มใจเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง และบุตรผู้เยาว์ทั้งสองก็เต็มใจอยู่ในความปกครองของผู้ร้อง นอกจากนั้นที่ผู้ร้องตกลงจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 60,000 บาท เนื่องจากนางปวีณาจะนำบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปอาศัยที่จังหวัดอื่นซึ่งไกลจากจังหวัดเลย และให้บุตรผู้เยาว์ทั้งสองเรียนที่โรงเรียนนานาชาติแต่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองยังคงอยู่อาศัยและเรียนหนังสือที่จังหวัดเลย พฤติการณ์ในเรื่องฐานะและความจำเป็นในการใช้เงินเพื่ออุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ขอให้ถอนอำนาจปกครองของนางปวีณา และแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองกับทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หากศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู ขอให้มีคำสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดู โดยให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่นางปวีณาเดือนละ 20,000 บาท

ในวันนัดไต่สวน ทนายความของนางปวีณายื่นคำร้องว่าทนายความเพิ่มได้รับการแต่งตั้งแต่ติดว่าความที่ศาลอื่นและไปดูงานราชการที่ต่างประเทศขอขยายระยะเวลายื่นคำคัดค้านและเลื่อนการพิจารณาไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่อนุญาตให้เลื่อนการยื่นคำคัดค้านและให้เลื่อนการพิจารณา จากนั้นจึงไต่สวนพยานผู้ร้องฝ่ายเดียวจนเสร็จ

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองในระหว่างเรียนชั้นอนุบาลและชั้นประถมคนละเดือนละ 10,000 บาท ในระดับชั้นมัธยมศึกษาคนละเดือนละ 15,000 บาท ในระดับชั้นอุดมศึกษาคนละเดือนละ 20,000 บาท จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยให้ผู้ร้องนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง และให้นางปวีณาหรืออรวรรยา ทำบัญชีค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเสนอต่อศาลทุกเดือนจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นกับให้ผู้ร้องมีสิทธินำบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปดูแลในวันศุกร์หลังจากบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเลิกเรียนวันเสาร์ และวันอาทิตย์โดยให้ผู้ร้องไปรับบุตรผู้เยาว์ทั้งสองที่โรงเรียนหลังเลิกเรียนและให้ผู้ร้องนำบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปส่งโรงเรียนในวันจันทร์ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

ระหว่างอุทธรณ์ ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลจังหวัดเลยแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว

ผู้ร้องและนางปวีณาหรืออรวรรยา อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

นางปวีณาหรืออรวรรยา ฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติในชั้นนี้ว่า เดิมผู้ร้องกับนางปวีณาหรืออรวรรยา เป็นสามีภริยากัน มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ เด็กชายชนาธิป และเด็กหญิงกันตา เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2546 ผู้ร้องกับนางปวีณาจดทะเบียนหย่าโดยบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าว่าให้บุตรผู้เยาว์ทั้งสองอยู่ในอำนาจปกครองของนางปวีณาแต่ผู้เดียว ให้ผู้ร้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 60,000 บาท

มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกตามฎีกาของนางปวีณาว่า คดีของผู้ร้องเป็นการร้องขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดู เป็นคดีมีทุนทรัพย์ต้องยื่นเป็นคำฟ้อง แต่ผู้ร้องยื่นเป็นคำร้องขอและศาลชั้นต้นพิจารณาต่อไป เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เบื้องแรกเห็นว่า การที่บุคคลจะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งโดยการยื่นเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขออย่างหนึ่งอย่างใดนั้น หากใช่พิจารณาว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่มีทุนทรัพย์ดังข้อฎีกาของนางปวีณาไม่ และตามคำร้องขอของผู้ร้องนี้ นอกจากมีคำขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแล้ว ยังขอให้มีคำสั่งถอนอำนาจปกครองของนางปวีณาและแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ทั้งสองด้วย อันย่อมส่งผลกระทบต่อค่าอุปการะเลี้ยงดูดังกล่าว เนื่องเพราะหากศาลมีคำสั่งตามคำร้องขอให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้ร้องก็ไม่จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่นางปวีณาตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าอีกต่อไป ซึ่งศาลมีอำนาจแก้ไขได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิใช่ไม่มีดังข้อเถียงในฎีกาและถือได้ว่าคำขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่เป็นคำขอหลัก ส่วนคำขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นคำขอรองที่เกี่ยวเนื่องกับคำขอหลัก นอกจากนี้แม้ตามข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าจะกำหนดให้นางปวีณาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองก็ตาม แต่ถ้าภายหลังพึงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง ศาลก็มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566 (5) แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาล แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้โดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทและทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ด้วยทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและรักษาประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์ผู้ร้องจึงชอบที่จะเสนอคดีขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่ โดยทำเป็นคำร้องขอ รวมทั้งชอบที่จะเสนอคดีขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองซึ่งเกี่ยวเนื่องกันเข้ามาในคำร้องขอฉบับเดียวกันได้ ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้ส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอให้แก่นางปวีณาผู้เสียสิทธิได้มีโอกาศคัดค้านแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎีกาของนางปวีณาในประการนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของนางปวีณามีว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้นางปวีณาเลื่อนการยื่นคำคัดค้านและไม่สั่งให้เลื่อนการพิจารณาชอบด้วยกระบวนพิจารณาหรือไม่ โดยนางปวีณายกเป็นข้อเถียงในฎีกาว่า นางปวีณามิได้มีเจตนาจะประวิงคดีเพราะทันทีที่ได้รับสำเนาคำร้องขอก็ได้รีบไปติดต่อกับทนายความผู้มีชื่อให้เป็นทนายแก้ต่าง แต่ต่อมาวันที่ 29 กรกฎาคม 2548 จึงเพิ่งได้รับแจ้งจากทนายความผู้มีชื่อดังกล่าวว่าไม่สามารถเป็นทนายความให้เพราะสูงวัยและอยู่ต่างท้องที่ ซึ่งนางปวีณาก็ได้ติดต่อนายอุดม เป็นทนายความแต่นายอุดมติดภาระกิจที่นัดไว้ก่อนเช่นเดียวกันนั้น เห็นว่า แม้เป็นความจริงว่า ทนายความผู้มีชื่อจะเพิ่งแจ้งให้ทราบว่าไม่สามารถเป็นทนายความให้ แต่นางปวีณาได้รับหมายนัดและสำเนาคำร้องขอก่อนวันนัดไต่สวนประมาณ 2 เดือน หากนางปวีณาใส่ใจขวนขวายติดตามเรื่องย่อมพึงทราบเรื่องที่ทนายความผู้มีชื่อไม่พร้อมมาเนิ่นนานแล้วและอยู่ในวิสัยที่จะทำคำคัดค้านเข้ามาภายในกำหนด เมื่องานปวีณาไม่ยื่นคำคัดค้านภายในกำหนด จึงต้องนับว่าเป็นความบกพร่องของนางปวีณาเอง ที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนการยื่นคำคัดค้านจึงชอบแล้ว นอกจากนี้ภายหลังศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนพยานผู้ร้องเสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นก็ได้ให้โอกาศนางปวีณาแสดงหลักฐานเอกสารเพื่อโต้แย้งคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องและสอบถามข้อเท็จจริงจากนางปวีณาด้วยเป็นการให้โอกาศนางปวีณาได้ชี้แจงแสดงข้อเท็จจริงที่ประสงค์จะไต่สวนเพื่อคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้อง ที่สำคัญศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็หาได้สั่งถอนอำนาจปกครองของนางปวีณา อันนับว่าเป็นประโยชน์แก่นางปวีณาแล้ว และที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องมีสิทธิดูแลบุตรผู้เยาว์ทั้งสองและลดค่าอุปการะเลี้ยงบุตรผู้เยาว์ทั้งสองลงมาก็เนื่องเพราะข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ในสำนวน ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งให้เลื่อนการพิจารณา จึงชอบแล้วเช่นเดียวกัน ฎีกาในประการนี้ของนางปวีณาฟังไม่ขึ้น

ปัญหาต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายตามฎีกาของนางปวีณาว่าที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองชอบแล้วหรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้ ดังนั้น แม้บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าจะกระทำขึ้นโดยชอบด้วยความสมัครใจของคู่กรณี กล่าวโดยเฉพาะเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองนี้ ถ้าต่อมาพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีเปลียนแปลงไป ศาลก็มีอำนาจแก้ไขในเรื่องดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติข้างต้น และพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีนั้นก็หาได้จำกัดหมายถึงผู้ร้องลำพังตามที่นางปวีณายกอ้างเถียงในฎีกาไม่ ดังเห็นได้จากนัยมาตรา 1898/38 ที่ว่า ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณีด้วย เช่นนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ที่ผู้ร้องตกลงให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 60,000 บาท นั้นเป็นไปในข้อไขอนาคตว่านางปวีณาจะให้บุตรผู้เยาว์ทั้งสองเรียนหนังสือที่โรงเรียนนานาชาติในจังหวัดอื่น แต่กลับปรากฎว่านางปวีณาให้บุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้าเล่าเรียนที่โรงเรียนในจังหวัดเลยซึ่งเป็นภูมิลำเนาของนางปวีณานั้นเอง อันเป็นพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองมานั้น จึงเหมาะสมแล้ว"

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ


Spousal and Child Maintenance- Section 1598/38-ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามี ภริยา หรือบุตร-มาตรา1598/38


*Spousal and Child Maintenance*

Section 1598/38.  Maintenance may be claimed between husband and wife or parent and child when the party entitled tomaintenance has not been furnished with the maintenance or has been furnished with the maintenance insufficient to his condition in life.

How much and to what extend the maintenance would be granted or not will be decided by the Court, by taking account of the ability of the person bound to furnish the maintenance, the condition in life of the receiver and the circumstances of the case.




บิดามารดา กับ บุตร

กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร, article
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว article
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร article
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร