สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย) -ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE
การฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตายต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอ เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยทำเป็นคำฟ้อง การฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2544 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตายต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอ เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยทำเป็นคำฟ้อง การฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยทำเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(1) ดังนั้น เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ส่วนบทบัญญัติมาตรา 1558 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร มิใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรของนายอนุวัติ กับนางคำเปา ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน นายอนุวัติรับราชการครู เป็นสมาชิกช.พ.ค. ครุสภา เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 นายอนุวัติถึงแก่ความตายระหว่างมีชีวิตนายอนุวัติได้รับรองต่อบุคคลทั่วไปว่าโจทก์เป็นบุตร นายอนุวัติได้เลิกร้างกับมารดาโจทก์แล้วสมรสกับจำเลย หลังจากนายอนุวัติถึงแก่ความตาย สำนักงาน ช.พ.ค. สอบสวนแล้วได้พิจารณาว่าโจทก์เป็นทายาทนายอนุวัติ จึงได้จ่ายเงินสงเคราะห์ครอบครัวในส่วนของโจทก์จำนวน 28,561.58 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์มีข้อขัดข้องในการรับเงินบำเหน็จตกทอดของทายาท นายอนุวัติที่ทางราชการได้กันไว้เป็นส่วนของโจทก์จำนวน 110,000 บาท ซึ่งมีระเบียบของกรมบัญชีกลางว่าต้องมีคำพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายอนุวัติแล้วโจทก์จึงจะได้รับเงินจำนวนดังกล่าว ขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายอนุวัติ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของนายอนุวัติ ผู้ตาย ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายอนุวัติได้หรือไม่ เห็นว่า การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1555 หากบิดามีชีวิตอยู่ต้องดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทคือฟ้องบิดาโดยเสนอข้อหาทำเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แต่ถ้าบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือให้เริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(1) เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ตายซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว โจทก์จึงต้องดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทคือเริ่มคดีโดยยื่นคำร้องขอ มิใช่เสนอคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาท ส่วนกรณีที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1558 บัญญัติว่า "การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตายที่ได้ฟ้องภายในอายุความมรดก ถ้าศาลได้พิพากษาว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เด็กนั้นมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นบุตร หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้ตายเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไม่ ดังนั้นปัญหาที่ว่าตามคำให้การของจำเลยได้แสดงการโต้แย้งสิทธิว่าโจทก์มิใช่เป็นผู้สืบสันดานของนายอนุวัติและนายอนุวัติไม่เคยอุปการะเลี้ยงดูตามที่โจทก์กล่าวอ้าง ย่อมเป็นที่ชัดแจ้งว่าจำเลยมีการกระทำการอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์นั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะโจทก์มิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังที่กล่าวมาแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ศาลฎีกาเห็นด้วยในผลฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น" พิพากษายืน แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ( สมชัย เกษชุมพล - ชวลิต ศรีสง่า - สุวัตร์ สุขเกษม ) *** ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ 085-960 4258
ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรเกิดหน้าที่แก่บิดา เมื่อศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรแล้ว หน้าที่ของบิดาก็เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายคือหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ นอกจากนั้นเกิดสิทธิในการใช้อำนาจปกครองด้วยซึ่งรวมถึงสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตรได้ด้วย ในคดีนี้สามีฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้เด็กหญิง ญ. (บุตรนอกกฎหมาย)เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตน และขอให้ตนเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร และอุปการะเลี้ยงดู ส่วนภริยา(นอกกฎหมาย)ฟ้องแย้งขอให้บิดา(สามี)เด็กจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง การฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวเนื่องจากฟ้องของโจทก์ที่ขอให้เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนั่งเอง ศาลฎีกาเห็นว่าการฟ้องแย้งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะไม่จำเป็นต้องรอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนจึงจะมาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาเด็กในภายหลังเป็นการเสียเวลา
|