ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

  (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE

QR CODE

 ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1556 ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ว่าการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่เด็กเป็นผู้เยาว์ถ้าเด็กมีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน  ดังนั้นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจกระทำในนามส่วนตัวได้แต่กระทำการในฐานะผู้ฟ้องแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3290/2545

   เด็กหญิง อ. เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับจำเลย แม้มิได้จดทะเบียนสมรสกัน เด็กหญิง อ. ก็เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 แม้เด็กหญิง อ. จะอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของ น. กับ ป. ซึ่งเป็นบิดามารดาของโจทก์ที่ 1 หรือต่อมาหลังจากฟ้องคดีนี้แล้วน. กับ ป. จะไปจดทะเบียนรับเด็กหญิง อ. เป็นบุตรบุญธรรมก็ตามก็หากระทบกระทั่งถึงสิทธิของเด็กหญิง อ. โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมในการนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนรับรองเด็กหญิง อ. เป็นบุตรตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ เพราะการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรานี้ระบุให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทนผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจกระทำในนามส่วนตัวได้ แต่กระทำการในฐานะผู้ฟ้องแทนได้ ดังนั้น โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้อง

   โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 กับจำเลยจัดพิธีมงคลสมรสตามประเพณีของคนเชื้อสายอินเดีย และอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผยแต่มิได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินด้วยกันมีบุตร 1 คน คือ เด็กหญิงอังคณา จาวลา เกิดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม2535 ต่อมาเมื่อประมาณปี 2536 โจทก์ที่ 1 และจำเลยมีปากเสียงกันรุนแรงเนื่องจากจำเลยไม่พอใจที่โจทก์ที่ 1 คลอดบุตรคนโตเป็นหญิง ในที่สุดโจทก์ที่ 1 ต้องย้ายออกจากบ้านของจำเลยซึ่งเคยอาศัยอยู่ด้วยกันไปอาศัยอยู่ที่บ้านบิดามารดาของโจทก์ที่ 1 ที่จังหวัดชลบุรีตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โจทก์ที่ 1 พาเด็กหญิงอังคณาไปอยู่ด้วย จำเลยไม่เคยเหลียวแลหรือห่วงใยเด็กหญิงอังคณา และไม่เคยไปเยี่ยมเยียนทั้งที่รู้ว่าโจทก์ที่ 1 และเด็กหญิงอังคณาพักอยู่ที่ใด ทั้งไม่ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่เด็กหญิงอังคณาแต่อย่างใดโจทก์ที่ 1 เคยติดต่อทวงถามให้จำเลยช่วยเหลือเลี้ยงดูเด็กหญิงอังคณา แต่จำเลยเพิกเฉยโจทก์ที่ 1 มอบหมายให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิงอังคณาเป็นบุตร และให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูในอัตราเดือนละ 50,000 บาท จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วเพิกเฉย ขอให้จำเลยจดทะเบียนรับรองเด็กหญิงอังคณา จาวลาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย หากจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนรับรองบุตร ขอให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย และให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่เด็กหญิงอังคณาในอัตราเดือนละ 50,000 บาท นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

   จำเลยให้การว่า เด็กหญิงอังคณาไม่ใช่บุตรของจำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและรับเด็กหญิงอังคณาเป็นบุตร จำเลยไม่มีฐานะที่จะอุปการะเลี้ยงดูใครได้ในอัตราเดือนละ 50,000 บาท หากพอจ่ายได้ก็ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง

   ระหว่างพิจารณา โจทก์ทั้งสองและจำเลยยินยอมไปตรวจดีเอ็นเอเพื่อทราบว่าโจทก์ที่ 1 และเด็กหญิงอังคณากับจำเลยมีความเกี่ยวพันทางสายโลหิตกันหรือไม่ผลการตรวจดีเอ็นเอ แพทย์ผู้ทำการตรวจให้ความเห็นว่า เด็กหญิงอังคณาน่าจะเป็นบุตรของจำเลย ตามรายงานการตรวจวัตถุพยานภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เอกสารหมาย จ.1

  ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เด็กหญิงอังคณาเป็นบุตรของจำเลยกับให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่เด็กหญิงอังคณาเดือนละ 20,000 บาท นับตั้งแต่คำพิพากษาถึงที่สุดจนกว่าเด็กหญิงอังคณาจะบรรลุนิติภาวะ

   จำเลยอุทธรณ์

   ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่เด็กหญิงอังคณา จาวลา เดือนละ 5,000 บาท ภายในกำหนดระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่คำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป และเดือนละ 6,000 บาท นับถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลา 5 ปีแรกเป็นต้นไปมีกำหนดระยะเวลา 5 ปี เดือนละ 7,000 บาท นับถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลา 5 ปีแรกเป็นต้นไปมีกำหนดระยะเวลา 5 ปี เดือนละ 7,000 บาท นับถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลา 5 ปีที่สอง จนกว่าเด็กหญิงอังคณาจะบรรลุนิติภาวะให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 2,000 บาทแก่เด็กหญิงอังคณา ยกฟ้องโจทก์ที่ 1 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

   โจทก์ทั้งสองและจำเลยฎีกา

   ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความทั้งสองฝ่ายไม่โต้เถียงกันรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ที่ 1 แต่งงานอยู่กินกับจำเลยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน เด็กหญิงอังคณาเป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับจำเลย เกิดเมื่อวันที่ 26ตุลาคม 2535 ระหว่างพิจารณาคดี นายนารินเดอร์ซิงห์ มาลโฮตรากับนางปาวิตร์กอร์มาลโฮตรา บิดามารดาของโจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนรับเด็กหญิงอังคณาเป็นบุตรบุญธรรมมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่าขณะยื่นฟ้องคดีโจทก์ที่ 2 มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างได้เสมอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเด็กหญิงอังคณาเป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 กับจำเลย แม้มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกันก็ต้องถือว่าเด็กหญิงอังคณาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 อย่างไรก็ตามแม้จะได้ความว่าเด็กหญิงอังคณาไปอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของนายนารินเดอร์ซิงห์กับนางปาวิตร์กอร์ ก็ดี หรือต่อมาภายหลังเมื่อมีการฟ้องคดีแล้ว นายนารินเดอร์ซิงห์กับนางปาวิตร์กอร์ไปจดทะเบียนรับเด็กหญิงอังคณาเป็นบุตรบุญธรรมก็ดี ก็หากระทบกระทั่งถึงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ซึ่งนำคดีมาฟ้องตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1556 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ เพราะการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1556 นั้น บัญญัติให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ดังนั้นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงไม่อาจกระทำในนามส่วนตัวได้แต่กระทำการในฐานะผู้ฟ้องแทนได้โจทก์ที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองและจำเลยมีว่า สมควรกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูเพียงใดในข้อนี้โจทก์ทั้งสองนำสืบว่า ปัจจุบันเด็กหญิงอังคณาเรียนอยู่โรงเรียน เอ็ม.ไอ.เอส.ที่ประเทศอินเดีย ค่าเล่าเรียนตกปีละ 150,000 บาท ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 5 จากนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 170,000 บาท ค่าเครื่องบินเดินทางไปกลับช่วงปิดเทอมปีละประมาณ 80,000 บาท ค่าเสื้อผ้าปีละประมาณ 30,000 บาท และค่าเบ็ดเตล็ดอื่นอีกปีละ 10,000 บาทเศษ ส่วนจำเลยประกอบธุรกิจเปิดบริษัทใช้ชื่อว่า71 ไบรท์ เซ็นเตอร์ จำหน่ายรถจักรยานยนต์เปิดร้านขายผ้าที่ศูนย์การค้า เอ ที เอ็มและเปิดร้านตัดสูทที่เกาะสมุย เห็นว่า การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ต้องคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณีโดยเฉพาะการส่งเด็กหญิงอังคณาไปศึกษาเล่าเรียนที่ประเทศอินเดียนั้นค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จะให้จำเลยรับผิดชอบทั้งหมดเพียงผู้เดียวคงเป็นไปไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้นก็น้อยเกินไป ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่เด็กหญิงอังคณาเสียใหม่ให้เหมาะสมตามสถานภาพของทั้งสองฝ่ายและพฤติการณ์แห่งกรณี ฎีกาของโจทก์ทั้งสองฟังขึ้นบางส่วน ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น"

   พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่เด็กหญิงอังคณา จาวลาเดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไปจนกว่าเด็กหญิงอังคณาจาวลา จะบรรลุนิติภาวะ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 




บิดามารดา กับ บุตร - คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร

บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะบุตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย