ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

-บุตรนอกกฎหมาย   บุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายโดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน

ในกรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายโดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ถ้าภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน ให้จ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีตายดังนี้... (2) เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน

 

 

เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ รวมถึงบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2545

ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "บุตร" ว่ามีความหมายอย่างไร เมื่อพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีฐานะด้อยในทางสังคมเพื่อให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนส่วนใหญ่มักจะอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ดังนั้น คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและรวมถึงบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนด้วยเมื่อโจทก์เป็นบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตายโจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณี ส. ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ มาตรา 73(2)

โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของผู้อำนวยการสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 6 หนังสือที่ รส 0725/19576 ลงวันที่ 22 กันยายน 2543 และคำวินิจฉัยคณะกรรมการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ 164/2544 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2544 และให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายให้แก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงว่า นายสมบูรณ์  ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2542 ด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ผู้ประกันตนอยู่กินกับนางสาวเพ็ญจันทร์  โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรหนึ่งคนคือโจทก์ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 6 สั่งจ่ายเงินค่าทำศพ30,000 บาท แต่ปฏิเสธการจ่ายเงินสงเคราะห์กรณีตาย เพราะโจทก์มิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาแล้วให้ยกอุทธรณ์ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์ซึ่งมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายหรือไม่ พิเคราะห์แล้ว พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 73 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายโดยมิใช่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ถ้าภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือน ให้จ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีตายดังนี้... (2) เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่สามีภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน" เห็นว่า พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "บุตร" ว่ามีความหมายอย่างไร ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็เขียนคำว่าบุตรไว้สองแบบคือ ตามมาตรา 73(2) ที่กล่าวมาใช้คำว่า "บุตร"ส่วนในมาตรา 75 ตรี เกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร และในมาตรา 77จัตวา (1) เกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพใช้คำว่า "บุตรชอบด้วยกฎหมาย"เมื่อใช้คำต่างกันในพระราชบัญญัติเดียวกันเช่นนี้ แสดงว่ามีความประสงค์จะให้ความหมายของคำว่า "บุตร" แตกต่างไปจากคำว่า "บุตรชอบด้วยกฎหมาย" โดยคำว่าบุตรนั้นถือเอาบุตรตามสภาพความเป็นจริง ซึ่งรวมถึงบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยเมื่อพิจารณาประกอบเหตุผลว่าบทกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีฐานะด้อยในทางสังคม เพื่อให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนส่วนใหญ่มักจะอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ดังนั้น ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติประกันสังคมดังกล่าวคำว่า "บุตร"ตามมาตรา 73 จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และรวมถึงบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรอันแท้จริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายสมบูรณ์  ผู้ประกันตน ซึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณีนายสมบูรณ์  ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 73(2) ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้นชอบแล้วอุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  963/2539   การที่ผู้ประกันตนและมารดาทำหนังสือแจ้งความประสงค์ไม่ใช้สิทธิประกันสังคมกับโรงพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมทำความตกลงไว้ เนื่องจากเลือกใช้สิทธิให้ผู้ทำละเมิดเป็นผู้ออกค่ารักษาพยาบาลซึ่งมีมาตรฐานการรักษาพยาบาลสูงกว่าสิทธิที่จะได้รับจากการประกันสังคมนั้นไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

สามีภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนประกันสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2535

คำว่า คู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533มาตรา 65 วรรคแรก หมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ. 2533 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2534 โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร ต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุโขทัยแต่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุโขทัย มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าคลอดบุตรเนื่องจากมิได้เป็นคู่สมรสของผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 65 วรรคแรก เพราะจดทะเบียนสมรสภายหลังการคลอดบุตร โจทก์จึงยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2535 โจทก์ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ว่า คณะกรรมการอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุโขทัย โจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวคลาดเคลื่อนต่อข้อกฎหมาย เพราะคำว่าคู่สมรสตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 นั้น มีความหมายเพียงว่า ชายหญิงที่อยู่กินเป็นสามีภริยากันตามประเพณีเท่านั้น ไม่จำต้องจดทะเบียนสมรสคำสั่งของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลย และให้จำเลยจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่โจทก์ เป็นเงินจำนวน 2,500 บาท

จำเลยให้การด้วยวาจาว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินประโยชน์ทดแทนค่าคลอดบุตรให้แก่โจทก์ เนื่องจากขณะที่ภริยาโจทก์คลอดบุตรภริยาของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคู่สมรสของโจทก์ตามกฎหมาย

วันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์และจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า ขณะที่โจทก์ยื่นคำขอรับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัทนิมิตสุโขทัย จำกัดและโจทก์เป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533โดยจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 210 วันและโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ตามที่พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 65 กำหนดไว้ สำหรับกรณีคลอดบุตร คณะกรรมการแพทย์กำหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนอัตราเหมาจ่ายเป็นเงิน 2,500 บาท เมื่อวันที่21 ตุลาคม 2534 โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรเนื่องจากนางนฤมล ทีปกรวรกุล ภริยาของโจทก์คลอดบุตรตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุโขทัยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2534 ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิรับเงินประโยชน์ทดแทน กรณีคลอดบุตรตามคำขอเนื่องจากนางนฤมลมิได้เป็นคู่สมรสของผู้ประกันตน รายละเอียดตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม2535 โจทก์ได้รับทราบคำสั่งคณะกรรมการอุทธรณ์ซึ่งได้วินิจฉัยยืนตามคำสั่งของสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุโขทัยว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบคำสั่งของคณะกรรมการอุทธรณ์ โจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกับนางนฤมลเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2534 และนางนฤมลคลอดบุตรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม2534 โจทก์และจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า นางนฤมลภริยาโจทก์คลอดบุตรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2534 และโจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกับนางนฤมลเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2534 ดังนั้น ขณะที่นางนฤมลคลอดบุตรจึงยังถือไม่ได้ว่านางนฤมลเป็นคู่สมรสของโจทก์ตามกฎหมายโจทก์ไม่อาจใช้สิทธิรับประโยชน์ทดแทนในกรณีที่นางนฤมลคลอดบุตรได้ไม่มีเหตุเพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลย พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว โจทก์อุทธรณ์ว่าพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มิได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ที่บัญญัติอยู่ในมาตรา 65 วรรคแรก ไว้โดยเฉพาะจึงต้องมีความหมายตามที่เข้าใจกันตามธรรมดาคือมีความหมายเพียงว่าชายหญิงที่อยู่กินเป็นสามีภริยากันตามประเพณีเท่านั้น มิได้หมายความว่าต้องผ่านการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยการจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 แต่อย่างใด เห็นว่าแม้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 จะไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "คู่สมรส" ว่ามีความหมายอย่างไรดังที่โจทก์อุทธรณ์ก็ตามแต่เนื่องจากเป็นถ้อยคำในกฎหมายจึงต้องแปลความหมายโดยเทียบเคียงกับคำว่า "คู่สมรส" ในกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามบทบัญญัติมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในกรณีนี้ก็คือบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว ซึ่งมีบทบัญญัติถึงคำว่า "คู่สมรส" อยู่ในมาตรา 1452, 1453 และมาตรา 1459 ในหมวดที่ 2 ว่าด้วยเงื่อนไขการสมรสโดยมาตรา 1452 บัญญัติว่า "ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้" มาตรา 1453 บัญญัติว่า "หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่...(2)สมรสกับคู่สมรสเดิม..." และมาตรา 1459บัญญัติว่า "การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้ ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ให้พนักงานทูตหรือกงสุลไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน"ซึ่งคำว่า "คู่สมรส" ในบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่าหมายถึงชายหญิงที่ทำการสมรสกันและการสมรสที่ว่านั้นจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1457 ที่บัญญัติว่า "การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น" ดังนี้ จะเห็นได้ว่าชายหญิงที่จะเป็นคู่สมรสกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นจะต้องสมรสกันโดยจดทะเบียนสมรสด้วย ดังนั้นคำว่า "คู่สมรส"ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กล่าวมาแล้วจึงหมายถึงสามีภริยาซึ่งจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเท่านั้น คำว่า"คู่สมรส" ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 65 วรรคแรกจึงต้องหมายถึงสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายด้วยเช่นกันขณะที่นางนฤมลภริยาโจทก์คลอดบุตร โจทก์และนางนฤมลยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นางนฤมลจึงไม่ใช่คู่สมรสของโจทก์ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 65 วรรคแรกโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีที่นางนฤมลคลอดบุตรที่ศาลแรงงานกลางพิพากษามานั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยอุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

 




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
สิทธิและหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร,
การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า, การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตรา 1564, ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การคำนวณค่าเลี้ยงดูบุตร, สิทธิเลี้ยงดูบุตร หลังการหย่า,
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร, การรับรองบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตร, การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสิทธิเลี้ยงดูบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร,
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร