สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้ -ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา | ค่าขาดไร้อุปการะ ในขณะที่บุตรโจทก์เสียชีวิตยังเป็นเด็กหญิงอยู่ กฎหมายบัญญัติว่าบุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา (ชอบด้วยกฎหมาย) เมื่อจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรผู้เยาว์ของโจทก์เสียชีวิตแม้ว่าจะเป็นเด็กหญิงก็ตาม กรณีถือว่าโจทก์ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากบุตร การขาดไร้อุปการะเกิดขึ้นเนื่องจากกฎหมายบัญญัติขึ้นมาโดยไม่คำนึงว่าขณะถึงแก่ความตายบุตรผู้เยาว์ของโจทก์จะได้อุปการะโจทก์จริงหรือไม่ หรือในอนาคตบุตร(เด็กหญิง) จะอุปการะโจทก์หรือไม่ก็สามารถเรียกได้ ส่วนจะเรียกได้จำนวนเท่าใดนั้นศาลจะเป็นผู้กำหนดให้ตามสมควร ในคดีนี้ศาลกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้โจทก์จำนวน 500,000 บาท แต่สำหรังค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้ให้เงินคณะแพทย์เพื่อเป็นสินน้ำใจนั้น แพทย์ไม่ได้เรียกร้อง แต่เป็นความพอใจของโจทก์เองกฎหมายไม่รับรองให้เรียกได้ ค่าเสียหายสำหรับบุตรคนอื่นในเรื่องหน้าเสียโฉมติดตัวศาลล่างกำหนดให้ 100,000 บาท เหมาะสมแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2541 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 บัญญัติไว้ว่าบุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 3 ตาย ถือว่าโจทก์ที่ 3 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากบุตร โจทก์ที่ 3จึงชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมาย โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุหรือในอนาคตเด็กหญิง พ. จะได้อุปการะโจทก์ที่ 3 จริงหรือไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควร ค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ซึ่งโจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์ของโรงพยาบาลในการทำการฝ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กหญิง ส. นั้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสินน้ำใจที่โจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์เองโดยที่คณะแพทย์ ไม่ได้เรียกร้องเป็นความพอใจของโจทก์ที่ 4 ที่ต้องการตอบแทน คณะแพทย์ที่ช่วยเหลือบุตรสาวของตน การจ่ายนี้ไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายรองรับ จึงไม่อาจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ การที่เด็กหญิง ส. บาดเจ็บสาหัสต้องหยุดเรียนไปนานจึงเป็นการจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนพิเศษ ส่วนการเรียนเปียโนก็เป็นการฟื้นฟูจิตใจของเด็กหญิงส. ซึ่งบาดเจ็บสาหัสและต้องกระทบกระเทือนจิตใจจากใบหน้าที่เสียโฉม ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายชอบที่จะได้รับการชดใช้ จากผู้กระทำละเมิด โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดจำนวน 2,119,578 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 2,100,587 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้การต่อสู้คดี ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสี่จำนวน 370,000 บาท โจทก์ทั้งสี่จึงได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ศาลชั้นต้นอนุญาตและให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 4 ออกจากสารบบความ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน 392,224 บาท แก่โจทก์ที่ 3 เป็นเงิน 537,712 บาท และแก่โจทก์ที่ 4 เป็นเงิน 230,785 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินแต่ละจำนวนดังกล่าว นับแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2534 อันเป็นวันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 3 จำนวน 437,712 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2534 เวลาประมาณ 10 นาฬิกา โจทก์ที่ 1 ได้ขับรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ยี่ห้อเบนซ์ หมายเลขทะเบียน 3ช-6289 กรุงเทพมหานคร ไปตามถนนสายรังสิต-นครนายก มุ่งหน้าไปจังหวัดนครนายก ถึงที่เกิดเหตุระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 18 ถึง 19 ตำบลลำผักกูด อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เกิดเฉี่ยวชนกับรถบรรทุก 10 ล้อ หมายเลขทะเบียน 80-2116 นครนายก มีนายเอื้อน เป็นคนขับซึ่งแล่นสวนทางมาด้วยความประมาท ทำให้รถยนต์ของโจทก์ที่ 2 เสียหลักพลัดตกลงไปในคูน้ำข้างถนนเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 เด็กหญิงอลิษา เด็กชายต่อพงศ์ เด็กหญิงพรพัชนี และเด็กหญิงสุพินดา ซึ่งนั่งไปในรถของโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัส และต่อมาเด็กหญิงพรพัชนีได้ถึงแก่ความตาย รถบรรทุก 10 ล้อคันเกิดเหตุมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อมาจากจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประการแรกว่า นายเอื้อนคนขับรถบรรทุก 10 ล้อคันเกิดเหตุเป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 หรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อและเป็นผู้ครอบครองรถบรรทุก 10 ล้อคันเกิดเหตุ และนายเอื้อนเป็นลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 สำหรับค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 3 นั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 คาดคะเนไว้เกินความเป็นจริง เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งไม่แน่ว่าเด็กหญิงพรพัชนีจะอุปการะโจทก์ที่ 3 หรือไม่และจะอุปการะเดือนละเท่าใดเป็นเวลาถึง 10 ปีหรือไม่ เห็นว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 บัญญัติไว้ว่าบุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา การที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้บุตรของโจทก์ที่ 3 ตาย ถือว่าโจทก์ที่ 3 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมายจากบุตร โจทก์ที่ 3 จึงชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและความหวังในอนาคตโดยผลแห่งกฎหมายโดยไม่จะต้องพิจารณาว่าขณะเกิดเหตุหรือในอนาคต เด็กหญิงพรพัชนีจะได้อุปการะโจทก์ที่ 3 จริงหรือไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดให้ตามสมควร ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้เป็นเงิน 500,000 บาท มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ที่ 4 เสียหายเพียงใด สำหรับค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ซึ่งโจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์ของโรงพยาบาลวิภาวดีในการทำการผ่าตัดเพื่อช่วยชีวิตเด็กหญิงสุพินดานั้น เห็นว่า ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นสินน้ำใจที่โจทก์ที่ 4 จ่ายให้แก่คณะแพทย์เองโดยที่คณะแพทย์ไม่ได้เรียกร้องเป็นความพอใจของโจทก์ที่ 4 ที่ต้องการตอบแทนคณะแพทย์ที่ช่วยเหลือบุตรสาวของตน การจ่ายนี้ไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอน ไม่มีหลักเกณฑ์และกฎหมายรองรับ จึงไม่อาจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ มีปัญหาต้องวินิจฉัยอีกว่าเด็กหญิงสุพินดาต้องหน้าเสียโฉมติดตัวหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ใบหน้าของเด็กหญิงสุพินดาย่อมต้องเสียโฉมติดตัวไปตลอด การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์ที่ 4 จำนวน 100,000 บาท นับว่าเหมาะสมดีแล้ว สำหรับค่าจ้างครูมาสอนพิเศษแก่เด็กหญิงสุพินดาจำนวน 30,000 บาท นั้น โจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 4 เบิกความยืนยันว่าได้ว่าจ้างครูมาสอนเด็กหญิงสุพินดาเป็นพิเศษเพราะต้องหยุดเรียนไป 1 ภาคการศึกษา จะเรียนไม่ทันเพื่อน รวมทั้งครูสอนเปียโนด้วยเป็นเงิน 50,000 บาท เห็นว่า การที่เด็กหญิงสุพินดาบาดเจ็บสาหัสต้องหยุดเรียนไปนาน จึงเป็นการจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนพิเศษส่วนการเรียนเปียโนก็เป็นการฟื้นฟูจิตใจของเด็กหญิงสุพินดาซึ่งบาดเจ็บสาหัส และต้องกระทบกระเทือนจิตใจจากใบหน้าที่เสียโฉมถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายชอบที่จะได้รับการชดใช้ แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานมาแสดง แต่น่าเชื่อว่าได้ใช้จ่ายไปจริง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำนวน 30,000 บาท นับว่าเหมาะสมดีแล้ว คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองยกเว้นเฉพาะเรื่องค่าแพทย์จำนวน 40,000 บาทที่โจทก์ที่ 4 จ่ายเป็นการส่วนตัวแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 4 จำนวน 190,785 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ( สุทิน ปัทมราชวิเชียร - อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ - ศิริชัย สวัสดิ์มงคล )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8725/2561 การที่จำเลยที่ 2 ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) เพราะเหตุที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ย อ้างว่าจำเลยร่วมมีส่วนประมาทเลินเล่อและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองด้วย จำเลยร่วมให้การว่าไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อกับจำเลยที่ 2 คำให้การของจำเลยร่วมย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยที่ 2 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง และยกฟ้องจำเลยร่วม เป็นการกระทบสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยตรง แม้โจทก์ทั้งสองจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา จำเลยที่ 2 มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาให้จำเลยร่วมรับผิดได้ พฤติการณ์ที่จำเลยร่วมขับรถออกจากปากซอยเฉลิมพระเกียรติ 79 ไปจอดรอเพื่อเลี้ยวขวาไปอีกฝั่งของถนนทั้งที่บริเวณดังกล่าวมีเครื่องหมายจราจรเขตปลอดภัยเส้นทึบห้ามขับรถเข้าไปในพื้นที่ ทั้งจอดรถล้ำส่วนกระบะบางส่วนเข้าไปในทางเดินรถลงสะพานจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ หากจำเลยร่วมไม่ขับรถฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรไปจอดรอบริเวณดังกล่าว เหตุเฉี่ยวชนย่อมไม่เกิดขึ้น เช่นนี้จำเลยร่วมจึงมีส่วนขับรถโดยประมาทเลินเล่อเป็นผลให้เกิดเหตุละเมิดคดีนี้และต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในเหตุละเมิดที่เกิดขึ้น สำหรับความรับผิดของจำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมที่มีต่อโจทก์ทั้งสองนั้น เมื่อพิจารณาความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ที่ขับรถด้วยความเร็วสูงในช่องเดินรถที่ 2 นับจากซ้ายขึ้นสะพานซึ่งไม่สามารถมองเห็นทางเดินรถด้านหน้าได้อย่างชัดเจน เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่สามารถควบคุมรถเมื่อขับลงสะพานให้หยุดได้ในระยะปลอดภัยเมื่อมีรถยนต์ที่จำเลยร่วมขับจอดกีดขวางอยู่ และความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ขับรถฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจรบริเวณทางลงสะพานซึ่งเป็นจุดที่ผู้ขับขี่รถอื่นไม่สามารถมองเห็นทางเดินรถได้อย่างชัดเจนทั้งยังหยุดรถกีดขวางช่องเดินรถที่จำเลยที่ 1 ขับมาแล้ว ถือว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยร่วม แม้จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมต่างคนต่างขับรถโดยประมาทเลินเล่อ แต่ความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 ซึ่งต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองอย่างลูกหนี้ร่วม โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 กับจำเลยร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามส่วนความรับผิดหรือเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 หรือจำเลยร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชดใช้เต็มจำนวนก็ได้
โจทก์ที่ 2 เบิกความถึงค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ แต่เพียงลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานภาพถ่าย หลักฐานการชำระเงินหรือรายละเอียดค่าใช้จ่ายใด ๆ มาแสดงต่อศาล แม้โจทก์ที่ 2 อ้างว่าโจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายเดินทางมางานศพจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีก็ไม่ปรากฏรายละเอียดการเดินทางและค่าใช้จ่ายใด ๆ เมื่อพิเคราะห์ระยะเวลาจัดงานศพ 5 วัน ที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ รวมกัน 110,000 บาท จึงสูงเกินไป เห็นควรกำหนดให้ 80,000 บาท ส่วนที่จำเลยทั้งสองชำระเงิน 50,000 บาท ให้แก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงินเยียวยาเพื่อช่วยเหลือญาติผู้ตาย เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินร่วมทำบุญอันเป็นการสำนึกในศีลธรรม มิใช่กรณีที่จำเลยทั้งสองช่วยค่าทำศพโดยยอมรับผิดและมิได้มอบให้ในฐานะเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่ง จะนำมาหักกับจำนวนเงินค่าปลงศพที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกร้องไม่ได้ ฎีกาของจำเลยที่ 2 ข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน แต่ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองรวมกันนั้นไม่ถูกต้อง เพราะค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของบิดามารดาแต่ละคน ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) จึงกำหนดให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับค่าขาดไร้อุปการะคนละ 1,800,000 บาท กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยร่วมซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247 (ที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง) จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวนเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ แก่โจทก์ทั้งสอง 80,000 บาท ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 22,700 บาท ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 1,800,000 บาท และค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 1,800,000 บาท ส่วนจำเลยร่วมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 1 ใน 4 ส่วน เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ แก่โจทก์ทั้งสอง 20,000 บาท ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 5,675 บาท ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 450,000 บาท และค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 450,000 บาท *** ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์ 085 960 4258 ค่าขาดไร้อุปการะไม่ระงับเพราะความตาย ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่ 1 เป็นค่าสินไหมทดแทนที่เป็นตัวเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 จะต้องชำระทันทีที่เกิดการละเมิด สำหรับคดีนี้ โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิได้รับนับแต่วันที่ภริยาของโจทก์ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์ที่ 1 ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นในเวลาต่อมานั้น หาทำให้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องเรียกเป็นค่าขาดไร้อุปการะมาระงับไปไม่
|