สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย -ปรึกษาทนายความ (นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ ID line : (1) @leenont หรือ (2) @peesirilaw -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย คำพิพากษาฎีกาที่ 9210/2556 ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม กำหนดให้ผู้ทำละเมิดในกรณีทำให้เขาถึงแก่ความตายรับผิดต่อบุคคลที่ต้องขาดไร้อุปการะเฉพาะที่ผู้ตายมีหน้าที่อุปการะตามกฎหมายเท่านั้น แต่โจทก์ร่วมเป็นบุตรของผู้ตายกับ ป. ให้การชั้นสอบสวนว่า ผู้ตายกับ ป. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แม้ผู้ตายแจ้งการเกิดของโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมเป็นบุตรของผู้ตาย และตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าผู้ตายยินยอมให้โจทก์ร่วมใช้ชื่อสกุลอันถือว่าโจทก์ร่วมเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตามมาตรา 1627 ก็ตาม แต่ตามมาตรา 1563 และมาตรา 1564 ที่บัญญัติให้บุตรและบิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูกันนั้นหมายถึงบุตรและบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่มีบทบัญัติกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย ดังนั้น แม้โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วจะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้ แต่ก็ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดา โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลย ซึ่งเป็นผู้ทำละเมิดให้บิดาของตนถึงแก่ความตายได้ คงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพและค่าเสียหายแก่จักรยานยนต์ของผู้ตาย ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ที่เป็นทายาทที่จะเรียกร้อวเอาแก่ผู้ทำละเมิดให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้น บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรอง, ยังเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การรับรองว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายนั้นทำให้บุตรเกิดสิทธิเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่จะอาศัยข้อเท็จจริงดังกล่าวฟังว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1555 จะต้องมีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่อย่างไรก็ดีข้อเท็จจริงที่ปรากฏแล้วดังกล่าวแม้จะฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่ผู้ตายอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาให้ผู้ร้องใช้นามสกุลและผู้ตายแสดงต่อบุคคลอื่น ๆ ว่าผู้ร้องเป็นบุตรก็ฟังได้ว่าผู้ตายรับรองว่าผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ผู้ร้องจึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2529 การที่จะอาศัยข้อเท็จจริงตามพฤติการณ์ฟังว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 จะต้องมีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย เท่านั้น แต่พฤติการณ์ที่ผู้ตายอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา ให้ผู้ร้องใช้นามสกุล และผู้ตายแสดงต่อบุคคลอื่น ๆ ว่า ผู้ร้องเป็นบุตร ก็ฟังได้ว่าผู้ตายรับรองว่าผู้ร้องเป็นบุตร นอกกฎหมายของตนตามมาตรา 1627 ผู้ร้องจึงเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1713 ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 กำหนดถึงตัวบุคคลว่าผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกมิได้มีการบังคับว่าต้องยื่นบัญชีแสดงเครือญาติโดยละเอียดและ ถือว่าการยื่นบัญชีเครือญาติเป็นสาระสำคัญ การที่ผู้ร้องยื่นบัญชีเครือญาติของตนแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ยื่นบัญชีเครือญาติของผู้คัดค้านทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นทายาทของผู้ตายนั้นเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงอื่น ๆ นำมาให้รับฟังโดยแจ้งชัดว่าผู้ร้องมีเจตนาจะปิดบังมิให้ทายาทอื่นรับมรดก ซึ่งผู้ร้องไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมิให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก เดิมศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกต่อมาผู้คัดค้านมาร้องคัดค้านโดยอาศัยอำนาจตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 ขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้คัดค้านทั้งสองฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายว่า "มีปัญหาว่าผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นบุตรที่ผู้ตายรับรองและมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายหรือไม่ ผู้คัดค้านนำสืบว่าผู้ร้องเป็นบุตรคนหนึ่งในจำนวน 8 คน ของผู้ตายกับนางวิมล โรจน์วิถีผู้ตายและนางวิมลไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันสำหรับผู้คัดค้านทั้งสองเป็นบุตรของผู้ตายกับนางวานยูร์ ปากิริจิอุมมาลจดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายที่ประเทศอินเดีย ผู้ตายกับนางวานยูร์มีบุตรด้วยกัน 6 คน รวมทั้งผู้คัดค้านทั้งสอง ผู้คัดค้านที่ 1ได้เดินทางจากประเทศอินเดียมาอยู่บ้านเดียวกับผู้ตายนางวิมล ผู้ร้อง และพี่น้องผู้ร้องผู้ตายเป็นผู้เสียค่าเล่าเรียนให้ผู้ร้องและพี่น้องของผู้ร้องทุกคนรวมทั้งผู้คัดค้านที่ 1 และให้ผู้ร้องกับพี่น้องผู้ร้องใช้นามสกุลมาริกันของผู้ตาย ผู้ตายเคยพานางวิมลและผู้ร้องไปพักที่บ้านนางวานยูร์ที่ประเทศอินเดียแนะนำผู้ร้องต่อนางวานยูร์ผู้คัดค้านที่ 2 และญาติพี่น้องผู้คัดค้านว่าผู้ร้องเป็นบุตรของตน พิเคราะห์แล้วคดีนี้ผู้ร้องมิได้นำสืบให้ปรากฏว่าผู้ตายได้จดทะเบียนรับรองว่าผู้ร้องเป็นบุตร ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพฤติการณ์ที่ผู้ตายให้การศึกษาให้ความอุปการะเลี้ยงดูยอมให้ผู้ร้องใช้นามสกุลและกล่าวแสดงต่อบุคคลอื่น ๆ ว่าผู้ร้องเป็นบุตรนั้นฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ถูกต้องตามที่ผู้คัดค้านที่ 2 ฎีกา เพราะการที่จะอาศัยข้อเท็จจริงดังกล่าวฟังว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1555 จะต้องมีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่อย่างไรก็ดีข้อเท็จจริงที่ปรากฏแล้วดังกล่าวแม้จะฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่ผู้ตายอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาให้ผู้ร้องใช้นามสกุลและผู้ตายแสดงต่อบุคคลอื่น ๆ ว่าผู้ร้องเป็นบุตรก็ฟังได้ว่าผู้ตายรับรองว่าผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ผู้ร้องจึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ได้ ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าผู้ร้องมิใช่บุตรที่บิดารับรองไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟังไม่ขึ้น มีปัญหาต่อไปว่า การที่ผู้ร้องไม่แสดงบัญชีเครือญาติของผู้คัดค้านต่อศาลในการขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าผู้คัดค้านและพี่น้องผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายและผู้ร้องแสดงบัญชีเครือญาติฝ่ายผู้ร้องว่าผู้ตายมีทายาทดังกล่าวเท่านั้นกรณีจะฟังได้หรือไม่ว่าผู้ร้องมีเจตนาปิดบัง เพื่อมิให้ทายาทอื่นรับมรดกผู้ตาย ผู้ร้องจึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก เห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 กำหนดถึงตัวบุคคลว่าผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกมิได้มีการบังคับว่าต้องยื่นบัญชีแสดงเครือญาติโดยละเอียด และถือว่าการยื่นบัญชีเครือญาติเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น ที่ผู้ร้องยื่นบัญชีเครือญาติของตนแต่ฝ่ายเดียว โดยไม่ยื่นบัญชีเครือญาติของผู้คัดค้านทั้งสองทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นทายาทของผู้ตายนั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงอื่น ๆ นำมาให้รับฟังโดยแจ้งชัดว่าผู้ร้องมีเจตนาจะปิดบังมิให้ทายาทอื่นรับมรดกซึ่งผู้ร้องไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมิให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำร้องคัดค้านจึงชอบแล้ว ฎีกาผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น" พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น ให้พิจารณา ข้อเท็จจริงที่แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตร ซึ่งปรากฏในระหว่าง ตัวเด็กกับครอบครัวที่เด็กอ้างว่าตนสังกัดอยู่ เช่น บิดาให้การศึกษาให้ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตนหรือโดย เหตุประการอื่น ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ถ้าปรากฏว่าชายไม่อาจเป็น บิดาของเด็กนั้นได้ ให้ยกฟ้องเสีย มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้อง ต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้ การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร มาตรา 1727 ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือ เพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดก เสร็จสิ้นลง แม้ถึงว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี ผู้จัดการมรดกจะลาออกจากตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล กฎหมายที่เกี่ยวข้อง บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองโดยพฤตินัยมีสิทธิรับมรดกบิดา ... แต่บิดาไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรนั้น บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย ... หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ... เทา มีสิทธิรับมรดกของบิดาได้เพราะบิดาได้รับรองโดยพฤตินัยว่าเป็นบุตรของตนแล้ว แต่ เด็กชาย ... จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ... โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ ... สำหรับกรณีของเด็กที่เกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันนั้น เด็กย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงเท่านั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับบิดานั้น เด็กมีสถานะเป็นบุตรนอกกฎหมายซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้มีวิธีการเปลี่ยนสถานะของเด็กนอกสมรสนี้ ให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายได้สามวิธีคือ การที่ บิดามารดาสมรสกันในภายหลัง บิดาจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร และมีคำพิพากษาของศาลว่าเด็กเป็นบุตร เมื่อได้กระทำการตามวิธีใดวิธีหนึ่งแล้ว บุตรนอกสมรสจะกลับมีสถานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามีสิทธิและหน้าที่ต่อบิดาเช่นเดียวกับบุตรที่เกิดในสมรสทุกประการ
รับสมอ้างไปแจ้งเกิดเป็นบิดาในสูติบัตรให้ใช้นามสกุล หากชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีได้กระทำการบางอย่างอันเป็นการยอมรับโดยปริยายว่าเด็กนั้นเป็นบุตร จะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรนายภายหลังไม่ได้ ดังนั้นหากชายผู้เป็นหรือ เคยเป็นสามี เป็นผู้แจ้งจดทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรของตนด้วยตัวเองหรือ จัดให้บุคคลอื่นแจ้ง ตลอดจนยินยอมให้มีการแจ้งทะเบียนคนเกิดดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำอันตระหนักได้โดยปริยายว่า ชายผู้เป็นสามียอมรับว่าเด็กนั้นเป็นบุตรที่แท้จริง จึงไม่อาจปฏิเสธในภายหลังได้ว่าเด็กนั้นมิใช่บุตรของตน กฎหมายถือว่าการที่ชายใดจะจดทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรของตนย่อมต้องแน่ใจและเชื่อมั่นอยู่แล้วว่าเด็กนั้นเป็นผู้สืบสายโลหิตของตนจริงๆ จึงไม่อาจปฏิเสธในภายหลังได้ เรื่องนี้เป็นหลักกฏหมายปิดปากอย่างหนึ่ง ข้อห้ามในการฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตรในกรณีนี้ไม่นำมาบังคับใช้ หากการแจ้งเกิดของเด็กเป็นการกระทำของบุคคลอื่นโดยชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามี มิได้ยินยอมหรือจัดให้มีการแจ้งดังกล่าว เช่น มารดาเด็กหรือญาติพี่น้องของมารดาเด็ก เป็นผู้แจ้งการเกิดของเด็กเอง ในกรณีนี้ ชายผู้เป็นสามียังมีสิทธิฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรได้ แต่หากการแจ้งเกิดเด็กนั้นเป็นการกระทำของชายที่มิใช่บิดาที่แท้จริงและขณะเดียวกันชายผู้นั้นก็มิใช่บิดาตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายของเด็ก กรณีจึงเป็นคนละเรื่องกับการแจ้งเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรของตนตามมาตรา 1541 และเมื่อเด็กมิใช่บุตรที่แท้จริงของชายที่แจ้งเกิดว่าเด็กเป็นบุตร ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วเด็กจึงมิใช่บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว อันจะทำให้เกิดสิทธิในการรับมรดกของบิดาในฐานะผู้สืบสันดานซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม ลำดับที่ 1 ตามมาตรา 1627 และมาตรา 1629 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2542 บทบัญญัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1541 หมายถึงชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1539 ซึ่งเป็นกรณีที่สันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีตามมาตรา 1536 และ 1537 หรือมาตรา 1538 โจทก์เป็นบุตรของร.และอ.ซึ่งมีตัวตนแน่นอนส.และสค. ไม่ใช่บิดามารดาผู้ให้กำเนิดโจทก์โดยแท้จริง การที่ ส.ไปแจ้งการเกิดลงในสูติบัตรของโจทก์ว่า บิดาโจทก์เป็นคนไทย มารดาเป็นคนกัมพูชาเมื่อมีบุตรขึ้นมาก็แจ้งเกิดไม่ได้ ส. จึงรับสมอ้างไปแจ้งเกิดแทน โดยระบุว่าเป็นบิดาดังนี้ เป็นคนละเรื่องกับกรณีการแจ้งเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1541 เมื่อโจทก์ไม่ใช่บุตรที่แท้จริงของ ส. จึงไม่ใช่บุตรนอกกฎหมายตามความเป็นจริงที่บิดาได้รับรองแล้ว ทั้งไม่ใช่ ผู้สืบสันดานและไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 และ 1629(1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของส. ผู้ตาย และไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งปันทรัพย์มรดกให้โจทก์กึ่งหนึ่งเป็นเงิน316,500 บาท หากไม่ปฏิบัติตามให้นำทรัพย์มรดกออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้โจทก์ตามส่วน จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า นายสมพรและนางสมคิดเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส นายชายเป็นบุตรของนายสมพรและนางสมคิด เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2525 นายสมพรไปแจ้งการเกิดในสูติบัตรว่า โจทก์เป็นบุตรของนายสมพรและนางสมคิด จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นบุตรของนายชายอันเกิดจากนางเกษรและนางบุญยงค์ตามลำดับ โดยจำเลยที่ 1 เป็นบุตรนอกกฎหมายที่นายชายได้รับรองแล้ว นายชายถึงแก่ความตายก่อนนายสมพร ส่วนนางสมคิดถึงแก่ความตายหลังนายสมพร ตามมรณบัตรเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 นายสมพรถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2538 มีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินจำนวน 4 แปลง และอาคารพาณิชย์ 3 ห้อง หลังจากนายสมพรและนางสมคิดถึงแก่ความตายแล้วนางเพิ่มยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งนางเพิ่มเป็นผู้ปกครองของโจทก์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งให้นางเพิ่มเป็นผู้ปกครองของโจทก์ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ประการแรกว่าสูติบัตรตามเอกสารหมาย จ.10 ซึ่งออกโดยผู้ช่วยนายทะเบียนตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งเป็นกำนันท้องที่ที่รับแจ้งเป็นเอกสารราชการมีน้ำหนักน่าเชื่อถือและรับฟังยันจำเลยทั้งสองได้หรือไม่นั้น เห็นว่า สูติบัตรเอกสารหมาย จ.10ซึ่งนางสายใจ สุทธิวารี ปลัดอำเภอ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มาเบิกความว่านางสายใจเป็นผู้รับรองสำเนาถูกต้องเอกสารดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.10 ลำดับ 4.4 ระบุว่านายสมพร รำไพ เป็นผู้แจ้งการเกิด แต่ไม่เคยเห็นลายมือชื่อนายสมพรจึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นลายมือชื่อของนายสมพรหรือไม่ ส่วนตามเอกสารหมาย ล.1ในช่องลายมือชื่อ นายสมพร รำไพ เมื่อเปรียบเทียบกับลายมือชื่อนายสมพร รำไพ ในเอกสารหมาย จ.10 น่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ตามเอกสารหมาย จ.10 ลำดับ 5 ระบุว่าแจ้งเกิดวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2525 ส่วนเอกสารหมาย ล.1 ระบุว่าสั่งไว้ ณ (สั่งไว้นะ) วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2535 และตอนท้ายของเอกสารหมาย ล.1 ระบุว่าข้าพเจ้าในนามนายสมพร รำไพ สั่งไว้นะ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2535 เมื่อได้พิเคราะห์เอกสารดังกล่าวแล้ว เห็นว่า ตามเอกสารดังกล่าวแม้จะไม่ใช่พินัยกรรมแต่ข้อความเป็นการระบุบอกไว้ได้ความชัดเจนว่า นายสมพร มีทายาทชั้นบุตรเพียงคนเดียวชื่อนายชายหรือสมชาย รำไพ และมีผู้มาอาศัยฝากรับให้ใช้นามสกุลรำไพนี้หนึ่งคน บิดาเป็นไทยมารดาเป็นคนกัมพูชา เมื่อมีบุตรขึ้นมาก็แจ้งเกิดไม่ได้ นายสมพรจึงรับสมอ้างไปแจ้งเกิดแทนโดยระบุว่าเป็นบิดา จากข้อความตามเอกสารหมาย ล.1 เป็นการยืนยันว่าโจทก์ไม่ใช่บุตรโดยแท้จริงของนายสมพรและนางสมคิด แต่เป็นบุตรของนายสุรินทร์และนางอ้อน นางอ้อนเป็นคนกัมพูชาอพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย เมื่อโจทก์เกิดจึงไปแจ้งเกิดไม่ได้เพราะมารดาเป็นคนต่างด้าว ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนนายสมพรจึงรับสมอ้างและไปแจ้งการเกิดต่อผู้ช่วยนายทะเบียนตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด ว่าโจทก์เป็นบุตรของนายสมพรและนางสมคิด การที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของนายสมพรและนางสมคิด ที่บิดารับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ฟังข้อเท็จจริงได้ตามฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมามีเพียงคำเบิกความของนางเพิ่ม บุญตูบ ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์เพียงปากเดียวมาเบิกความลอย ๆอ้างว่า ขณะที่นายสมพรและนางสมคิดยังมีชีวิตอยู่ได้ให้ความอุปการะเลี้ยงดูโดยให้การศึกษาแก่โจทก์ ให้ใช้นามสกุล เพียงเท่านี้ไม่เพียงพอ ไม่มีน้ำหนักรับฟังให้เชื่อว่าโจทก์เป็นบุตรที่แท้จริงของนายสมพรและนางสมคิดแต่อย่างใด ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าตามเอกสารหมาย จ.10 เป็นเอกสารที่นายสมพรไปแจ้งการเกิดของโจทก์ในสูติบัตรหรือทะเบียนการเกิดว่าเป็นบุตรของนายสมพรและนางสมคิดดังกล่าวเท่ากับเป็นการรับรองแล้วว่าโจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสมพรและนางสมคิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1541 นั้น เห็นว่า บทบัญญัติตามกฎหมายดังกล่าวหมายถึงชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1539 ซึ่งเป็นกรณีที่สันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีตามมาตรา 1536 และ 1537 หรือมาตรา 1538 แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่วินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้วว่า โจทก์เป็นบุตรของนายสุรินทร์และนางอ้อนซึ่งมีตัวตนแน่นอน นายสมพรและนางสมคิดไม่ใช่บิดามารดาผู้ให้กำเนิดโจทก์โดยแท้จริง การที่นายสมพรได้ไปแจ้งการเกิดลงในสูติบัตรของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.10 นั้น เป็นคนละเรื่องกับกรณีการแจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1541 ซึ่งกรณีตามฎีกาของโจทก์ข้อเท็จจริงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ใช่บุตรที่แท้จริงของนายสมพรกรณีจึงไม่ใช่บุตรนอกกฎหมายตามความเป็นจริงที่บิดาได้รับรองแล้วทั้งไม่ใช่ผู้สืบสันดานและไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของนายสมพรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 และ 1629(1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของนายสมพรผู้ตายและไม่มีอำนาจฟ้องดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น" พิพากษายืน มาตรา 1541 ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1539 ไม่ได้ ถ้าปรากฏว่าตนเป็นผู้แจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน หรือจัดหรือยอมให้มีการแจ้งดังกล่าว
***ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ 0859604258 |