ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร

 

 

 เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

•  อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม

•  บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครอง

•  การรับบุตรบุญธรรมและสิทธิทางกฎหมาย

•  สิทธิของผู้ปกครองหลังผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่กรรม

จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2540 ศาลฎีกาได้พิจารณาและวินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับการหมดอำนาจปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดในกรณีที่บุตรได้ถูกจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม และความจำเป็นในการตั้งผู้ปกครองใหม่ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่กรรม ดังนี้

ข้อเท็จจริง

ผู้ร้องกับนางอุมาภรณ์  เป็นบิดามารดาโดยกำเนิดของเด็กชายสุธิพงษ์ ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรีบุญเลิศ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2537 ต่อมาร้อยตรีบุญเลิศถึงแก่กรรมในวันที่ 23 กันยายน 2538 ทำให้เด็กชายสุธิพงษ์ไม่มีผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเป็นผู้ปกครองบุตร

กระบวนการในศาล

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 บัญญัติว่า เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม บิดามารดาโดยกำเนิดของบุตรบุญธรรมจะหมดอำนาจปกครองตั้งแต่วันที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม และการรับบุตรบุญธรรมยังคงอยู่แม้ว่าผู้รับบุตรบุญธรรมจะถึงแก่กรรมก็ตาม หากต้องการให้บิดามารดาโดยกำเนิดกลับมามีอำนาจปกครองอีกครั้ง จะต้องมีการเลิกรับบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1598/37 เท่านั้น

การวินิจฉัยของศาลฎีกา

ประเด็นหลักในการวินิจฉัยของศาลฎีกาคือ ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาโดยกำเนิดมีสิทธิและความจำเป็นในการขอตั้งตนเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรหรือไม่ ศาลฎีกาพิจารณาจากข้อกฎหมายมาตรา 1598/28 ซึ่งระบุชัดเจนว่า บิดามารดาโดยกำเนิดไม่มีสิทธิกลับมามีอำนาจปกครองบุตรบุญธรรมอีกครั้งโดยอัตโนมัติแม้ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่กรรมก็ตาม การกลับมามีอำนาจปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดจะเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อมีการเลิกสถานะบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1598/37 เท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้แสดงว่าเด็กชายสุธิพงษ์ยังไม่มีผู้ปกครองและบิดามารดาโดยกำเนิดก็ไม่มีสิทธิในการปกครองตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้มีอำนาจปกครองเด็กชายสุธิพงษ์ โดยศาลฎีกาพิจารณาเห็นควรตั้งให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาโดยกำเนิดและบิดาตามกฎหมายเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตร

คำพิพากษาของศาลฎีกา

ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กชายสุธิพงษ์

 

อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม

 

บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร

บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา เมื่อผู้ร้อง(เป็นบิดา) ยกเด็กชายสุธิพงษ์ให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ร้อยตรีบุญเลิศแล้ว บิดามารดาโดยกำเนิดของเด็กชายสุธิพงษ์ก็หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กชายสุธิพงษ์เป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรีบุญเลิศ และแม้ภายหลังร้อยตรีบุญเลิศถึงแก่กรรม การถึงแก่กรรมของร้อยตรีบุญเลิศผู้รับบุตรบุญธรรมก็หาได้มีผลทำให้การรับบุตรบุญธรรมต้องเลิกหรือสิ้นสุดไปด้วยไม่ เด็กชายสุธิพงษ์ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรีบุญเลิศอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2540

เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมบิดามารดาโดยกำเนิดของบุตรบุญธรรมย่อมหมดอำนาจปกครองไปตั้งแต่เวลาที่เป็นบุตรบุญธรรมแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/28 ดังนั้นเมื่อผู้ร้องยกส. ให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่บ. แล้วผู้ร้องกับอ. ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยกำเนิดของส. ก็หมดอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่ส. เป็นบุตรบุญธรรมของบ. แม้ภายหลังบ.ถึงแก่กรรมก็ไม่มีผลทำให้การรับบุตรบุญธรรมต้องเลิกหรือสิ้นสุดไปด้วยส. ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของบ. อยู่ ผู้ร้องกับอ.หาได้กลับมีอำนาจปกครองขึ้นมาใหม่ไม่อำนาจปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดจะกลับคืนมาก็ต่อเมื่อมีการเลิกรับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/37เท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าส. บุตรผู้เยาว์ไม่มีผู้ปกครองและผู้ร้องกับอ. ก็มิใช่เป็นผู้ได้อำนาจปกครองส. กลับคืนมาจึงมีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้มีอำนาจปกครองส. ได้เมื่อผู้ร้องเป็นบิดาโดยกำเนิดและโดยชอบด้วยกฎหมายของส. จึงเห็นสมควรตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้มีอำนาจปกครองส. บุตรผู้เยาว์

 

 

 

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

 

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องกับนางอุมาภรณ์ เป็นบิดามารดาของเด็กชายสุธิพงษ์  อายุประมาณ 8 ปีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2537 ร้อยตรีบุญเลิศ ได้จดทะเบียนรับเด็กชายสุธิพงษ์เป็นบุตรบุญธรรม ต่อมาวันที่23 กันยายน 2538 ร้อยตรีบุญเลิศถึงแก่กรรมทำให้เด็กชายสุธิพงษ์ไม่มีผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องในฐานะบิดาของเด็กชายสุธิพงษ์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กชายสุธิพงษ์

ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมของเด็กชายสุธิพงษ์ถึงแก่กรรม ความเป็นผู้ปกครองย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/7 (1) ให้บิดามารดาของเด็กชายสุธิพงษ์โดยกำเนิดกลับมีอำนาจปกครองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/37 กรณีผู้ร้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชายสุธิพงษ์ ย่อมมีอำนาจปกครองอยู่แล้วตามผลของกฎหมายจึงไม่จำต้องใช้สิทธิทางศาล ให้ยกคำร้อง

ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ปัญหามีว่า ผู้ร้องมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กชายสุธิพงษ์หรือไม่ ในข้อนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 บัญญัติว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้นแต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา ในกรณีเช่นนี้ให้บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม บิดามารดาโดยกำเนิดของบุตรบุญธรรมนั้นย่อมหมดอำนาจปกครองไปตั้งแต่วันเวลาที่เป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้ร้องยกเด็กชายสุธิพงษ์ให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ร้อยตรีบุญเลิศแล้ว ผู้ร้องกับนางอุมาภรณ์ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยกำเนิดของเด็กชายสุธิพงษ์ก็หมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กชายสุธิพงษ์เป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรีบุญเลิศและแม้ภายหลังร้อยตรีบุญเลิศถึงแก่กรรม การถึงแก่กรรมของร้อยตรีบุญเลิศผู้รับบุตรบุญธรรมก็หาได้มีผลทำให้การรับบุตรบุญธรรมต้องเลิกหรือสิ้นสุดไปด้วยไม่ เด็กชายสุธิพงษ์ยังคงเป็นบุตรบุญธรรมของร้อยตรีบุญเลิศอยู่ ผู้ร้องกับนางอุมาภรณ์ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยกำเนิดของเด็กชายสุธิพงษ์บุตรผู้เยาว์หาได้กลับมีอำนาจปกครองขึ้นมาใหม่ได้ไม่ อำนาจปกครองของบิดามารดาโดยกำเนิดจะกลับคืนมาก็ต่อเมื่อมีการเลิกรับบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/37 เท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้ว่าเด็กชายสุธิพงษ์บุตรผู้เยาว์ไม่มีผู้ปกครองและผู้ร้องกับนางอุมาภรณ์ก็มิใช่เป็นผู้ได้อำนาจปกครองเด็กชายสุธิพงษ์กลับคืนมาเช่นนี้ จึงมีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้มีอำนาจปกครองเด็กชายสุธิพงษ์ได้ ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องเป็นบิดาโดยกำเนิดและโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชายสุธิพงษ์บุตรผู้เยาว์ ศาลฎีกาเห็นสมควรตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กชายสุธิพงษ์บุตรผู้เยาว์ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอของผู้ร้องนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยอุทธรณ์ของผู้ร้องฟังขึ้น"

พิพากษากลับเป็นว่า ให้นายปัญญา ผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจปกครองเด็กชายสุธิพงษ์

 

 

บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
สิทธิและหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร,
การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า, การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตรา 1564, ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การคำนวณค่าเลี้ยงดูบุตร, สิทธิเลี้ยงดูบุตร หลังการหย่า,
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร, การรับรองบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตร, การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสิทธิเลี้ยงดูบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร,
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร