ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletคำพิพากษาศาลฎีกา
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย

 ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ-ปรึกษากฎหมาย ทนายความ (นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  ID line  :

         (1) @leenont หรือ (2)  @peesirilaw  

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

 

QR CODE 

บุตรนอกสมรสถึงแก่ความตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย

ขณะเกิดเหตุละเมิดผู้ตาย เป็นบุตรนอกสมรสของผู้คัดค้าน(บิดา)ซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยากับนางสาวคำนึง มารดาของผู้ตาย หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านจึงได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้ตาย เป็นผลให้ผู้ตายเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้คัดค้านกับมารดาของผู้ตาย การทำละเมิดเป็นเหตุผู้คัดค้านซึ่งเป็นบิดาขาดไร้อุปการะ ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะแก่ผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6436/2562

ขณะเกิดเหตุละเมิด จ. ผู้ตาย เป็นบุตรนอกสมรสของผู้คัดค้านซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ค. มารดาของผู้ตาย หลังจาก จ. ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้ตาย เป็นผลให้ จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้คัดค้านกับมารดาของผู้ตาย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1557 บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวมีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด ดังนั้น แม้เหตุละเมิดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2559 ขณะนั้น จ. มีอายุ 21 ปีเศษ และถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านและ ค. บิดามารดาของ จ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ย่อมมีผลให้ จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันที่ จ. เกิด คือตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2537 จ. จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานับแต่นั้น การทำละเมิดเป็นเหตุให้ จ. ถึงแก่ความตายย่อมทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบิดาขาดไร้อุปการะ การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดที่ให้ผู้ร้องชำระเงินแก่ผู้คัดค้านไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และให้อนุญาโตตุลาการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความหรือยกคำเสนอข้อพิพาทที่ 1 และให้ผู้คัดค้านผู้เสนอข้อพิพาทที่ 1 คืนเงินจำนวน 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันรับเงินจากผู้ร้องแก่ผู้ร้อง

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ผู้ร้องเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 2 กร 314 กรุงเทพมหานคร ขณะเกิดเหตุ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ยังมีผลคุ้มครอง ส่วนผู้คัดค้านกับนางสาวคำนึง อยู่กินฉันสามีภรรยามีบุตร 2 คน คือ นางสาวจีรนันท์ และนายจักรพันธุ์ เวลา 22.30 นาฬิกา รถยนต์คันที่ผู้ร้องรับประกันภัยชนกับรถจักรยานยนต์ที่มีนายปฏิภาณขับขี่โดยนางสาวจีรนันท์บุตรของผู้คัดค้านนั่งโดยสาร นางสาวจีรนันท์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2559 ต่อมาวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนสมรสกับนางสาวคำนึง ผู้คัดค้านและนางสาวคำนึงในฐานะบิดามารดาของนางสาวจีรนันท์ผู้ตายจึงใช้สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยวิธีระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ ต่อมาอนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดให้ผู้ร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะแก่ผู้คัดค้านคนละ 800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ขณะเกิดเหตุละเมิดนางสาวจีรนันท์ ผู้ตาย เป็นบุตรนอกสมรสของผู้คัดค้านซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยากับนางสาวคำนึง มารดาของผู้ตาย หลังจากนางสาวจีรนันท์ ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านจึงได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้ตาย เป็นผลให้นางสาวจีรนันท์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้คัดค้านกับมารดาของผู้ตาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวมีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด ดังนั้น แม้เหตุละเมิดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2559 ซึ่งขณะนั้นนางสาวจีรนันท์มีอายุ 21 ปีเศษ และถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านและนางสาวคำนึง บิดามารดาของนางสาวจีรนันท์ จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ย่อมมีผลให้นางสาวจีรนันท์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันที่นางสาวจีรนันท์เกิดคือตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2537 นางสาวจีรนันท์จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานับแต่นั้น การทำละเมิดเป็นเหตุให้นางสาวจีรนันท์ถึงแก่ความตายย่อมทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบิดาขาดไร้อุปการะ การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา

 ป.พ.พ. ม. 1557

 พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ม. 40

แหล่งที่มา

 กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

บุตรนอกสมรสมีสิทธิรับมรดกแต่ร้องขอเพิกถอนการสมรสซ้อนของบิดาไม่ได้

บุตรนอกกฎหมายแม้บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ชอบด้วยกฎหมายแล้วก็ตามบุตรเช่นว่านี้ก็มีสิทธิแต่เพียงรับมรดกของบิดากับมารดาของตนเมื่อบุคคลทั้งสองถึงแก่ความตาย แล้วเท่านั้น ฉะนั้น การที่บิดาจดทะเบียนสมรสซ้อนจึงไม่ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสิทธิของบุตร ไม่อยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสซ้อนของบิดาเป็นโมฆะ




บิดามารดา กับ บุตร - คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร

การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ article
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว