ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส

หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าโจทก์กับจำเลยร่วมกันซื้อที่ดินแปลงพร้อมบ้าน ในราคา 7,460,000 บาท และนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคาร ระหว่างที่โจทก์กับจำเลยสมรสกัน โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสินสมรส ในข้อนี้จำเลยเบิกความว่า จำเลยนำเงินที่ได้จากการขายตึกแถวจำนวน 6,656,135.65 บาท ไปชำระหนี้เงินกู้ยืมและไถ่ถอนจำนองที่ดิน ทั้งโจทก์และจำเลยต่างไม่ได้ทำงานและไม่ปรากฏว่ามีรายได้จากแหล่งอื่นเป็นเงินจำนวนมากพอที่จะนำมาชำระหนี้จำนวนนี้ได้ ศาลรับฟังได้ว่า จำเลยนำเงินที่ได้จากการขายตึกแถวทั้ง 2 คูหาซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนางสาว พ. ที่ตกทอดแก่จำเลยอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยไปชำระหนี้เงินกู้ยืมทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมบ้าน เมื่อที่ดินพร้อมเป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยใช้เงินที่ได้มาระหว่างสมรสซึ่งเป็นสินสมรสผ่อนชำระหนี้เงินกู้ยืมไปบางส่วนในระยะแรกและนำเงินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลยไปชำระหนี้เงินกู้ยืมที่คงเหลือทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองที่ดินออกมาแยกได้เป็นสัดส่วนจากกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์กับจำเลยหย่ากันจึงต้องแบ่งทรัพย์สินในส่วนนี้ โจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสเป็นเงินที่ได้จากที่ดินและบ้าน จำเลยจะต้องคืนเงินสินสมรสที่โจทก์กับจำเลยร่วมกันผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ในระยะแรกแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้จำเลยคืนเงินสินสมรสในส่วนนี้จำนวน 453,774 บาท ให้แก่โจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3927/2562

โจทก์ฟ้องจำเลย ขอหย่า แบ่งสินสมรส เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร และเรียกทรัพย์คืน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันด้วยเหตุที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูและยกย่องผู้อื่นฉันภริยา ในเรื่องหย่ายุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ถึงแก่ความตาย ร. มารดาของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ สำหรับประเด็นที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าเลี้ยงชีพ ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ผู้เป็นภริยาจะเรียกร้องจากจำเลยได้ เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย จึงไม่จำต้องวินิจฉัยในส่วนนี้ ส่วนประเด็นเกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตร เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดาถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรย่อมตกแก่จำเลยที่เป็นบิดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 (1) กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยในเรื่องอำนาจปกครองอีกต่อไป ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ในประเด็นดังกล่าว จึงไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะในประเด็นค่าเลี้ยงชีพ ค่าอุปการะ และอำนาจปกครองบุตร คงอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่เฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรส และการเรียกทรัพย์คืนเท่านั้น

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกัน ให้บังคับจำเลยชำระเงิน 53,508,822 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ส. ให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ส. จนกว่าเด็กชาย ส. จะบรรลุนิติภาวะ ให้จำเลยแบ่งดอกผลค่าเช่าเดือนละ 90,000 บาท 45,000 บาท และ 52,500 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือจนกว่าโจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน ให้จำเลยจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์เดือนละ 30,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือจนกว่าโจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน ให้จำเลยส่งคืนทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวตามรายการที่ 14 ถึง 21 แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 1,205,000 บาท

จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกัน ให้จำเลยชำระเงิน 453,774 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 23 เมษายน 2558) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยแบ่งรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ด รุ่นเอเวอเรส แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง การแบ่งรถยนต์ดังกล่าวให้โจทก์กับจำเลยตกลงกันเองก่อน หากตกลงกันไม่ได้ให้นำรถยนต์คันดังกล่าวขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน และให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรเพียงคนเดียว โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะเยี่ยมเยียนบุตรผู้เยาว์ได้ตามสมควร คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกาโดยได้รับอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตาย นาง ร. มารดาของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ จำเลยไม่ค้าน เห็นว่า สำหรับประเด็นเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าเลี้ยงชีพ ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ผู้เป็นภริยาจะเรียกร้องจากจำเลยได้ ในส่วนประเด็นเกี่ยวกับอำนาจปกครองบุตร เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นมารดาถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรย่อมตกแก่จำเลยที่เป็นบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 (1) ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ในประเด็นดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่ คงอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่เฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการแบ่งสินสมรส และการเรียกทรัพย์คืนเท่านั้น

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาชอบด้วยกฎหมาย จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2544 มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ส. ก่อนที่โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันจำเลยได้รับมรดกจากนางสาว พ. มารดาบุญธรรม เป็นตึกแถว 11 คูหา และหอพัก 4 ชั้น จำนวน 30 ห้อง เดิมนางสาว พ. ให้ผู้อื่นเช่าตึกแถวและหอพักดังกล่าว ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 วันที่ 15 ธันวาคม 2549 วันที่ 14 ธันวาคม 2550 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 วันที่ 29 สิงหาคม 2551 จำเลยขายตึกแถวรวม 4 คูหา รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 37,000,000 บาท หลังจากโจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกัน โจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำงานคงมีรายได้จากเงินค่าเช่าตึกแถวและหอพักมาใช้จ่ายภายในครอบครัว สำหรับประเด็นเรื่องหย่านั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันด้วยเหตุที่จำเลยอุปการะเลี้ยงดูและยกย่องผู้อื่นฉันภริยา กับทรัพย์รายการที่ 5 ที่ 12 และที่ 13 คู่ความมิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนทรัพย์รายการที่ 6 และที่ 7 โจทก์ไม่ฎีกาจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า จำเลยต้องแบ่งทรัพย์สินตามฟ้องรายการที่ 1 คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 3785 พร้อมบ้าน ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง เป็นเงิน 5,000,000 บาท หรือไม่ ปัญหาข้อนี้ปรากฏจากสารบัญจดทะเบียนในสำเนาโฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาขายที่ดินว่า โจทก์กับจำเลยร่วมกันซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมบ้านจากบริษัทดุสิตพร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 ในราคา 7,460,000 บาท และนำไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ระหว่างที่โจทก์กับจำเลยสมรสกัน โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคสอง จำเลยมีภาระการพิสูจน์ ในข้อนี้จำเลยเบิกความว่า จำเลยนำเงินที่ได้จากการขายตึกแถวเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550 และวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 จำนวน 6,656,135.65 บาท ไปชำระหนี้เงินกู้ยืมและไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 3785 พร้อมบ้าน ซึ่งโจทก์ก็เบิกความรับว่า ในวันที่ 14 ธันวาคม 2550 และวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 ดังกล่าว จำเลยขายตึกแถวไปในราคาคูหาละ 7,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 14,000,000 บาท จริง อันเป็นการเจือสมกับคำเบิกความจำเลย ประกอบกับใบนำฝากระบุว่า เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2550 และวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 จำเลยนำฝากเงิน 3,000,000 บาท และ 3,656,135.65 บาท ตามลำดับ ให้แก่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม ซึ่งวันที่จำเลยชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวแต่ละครั้งเป็นเวลาที่ต่อเนื่องภายหลังจากวันที่จำเลยขายตึกแถวทั้ง 2 คูหา เพียงไม่กี่วันเท่านั้น ทั้งโจทก์และจำเลยต่างไม่ได้ทำงานและไม่ปรากฏว่ามีรายได้จากแหล่งอื่นเป็นเงินจำนวนมากพอที่จะนำมาชำระหนี้จำนวนนี้ได้ คำเบิกความของจำเลยจึงสมเหตุผลและมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้ว่า จำเลยนำเงินที่ได้จากการขายตึกแถวทั้ง 2 คูหาดังกล่าวซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนางสาว พ. ที่ตกทอดแก่จำเลยอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยไปชำระหนี้เงินกู้ยืมทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมบ้านตามที่จำเลยนำสืบจริง เมื่อที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยใช้เงินที่ได้มาระหว่างสมรสซึ่งเป็นสินสมรสผ่อนชำระหนี้เงินกู้ยืมไปบางส่วนในระยะแรกและนำเงินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลยไปชำระหนี้เงินกู้ยืมที่คงเหลือทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองที่ดินออกมาแยกได้เป็นสัดส่วนจากกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์กับจำเลยหย่ากันจึงต้องแบ่งทรัพย์สินในส่วนของที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าว และเนื่องจากโจทก์ฟ้องขอแบ่งสินสมรสเป็นเงินที่ได้จากที่ดินและบ้านดังกล่าว กรณีเช่นนี้จำเลยจะต้องคืนเงินสินสมรสที่โจทก์กับจำเลยร่วมกันผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในระยะแรกแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้จำเลยคืนเงินสินสมรสในส่วนนี้จำนวน 453,774 บาท ให้แก่โจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการต่อไปว่า จำเลยต้องแบ่งทรัพย์สินตามฟ้องรายการที่ 2 คือ เงินที่ได้จากการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 8905 ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง เป็นเงิน 1,250,000 บาท ทรัพย์สินตามฟ้องรายการที่ 3 คือ ทองคำแท่ง น้ำหนัก 200 บาท ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง เป็นเงิน 2,000,000 บาท และทรัพย์สินตามฟ้องรายการที่ 4 คือ รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง เป็นเงิน 500,000 บาท หรือไม่ เห็นว่า ในขณะที่จำเลยซื้อทรัพย์สินทั้งสามรายการดังกล่าวมานั้นโจทก์เบิกความว่าซื้อที่ดินมาในราคา 1,700,000 บาท ทองคำแท่งราคา 400,000 บาท และรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์มีราคา ณ วันฟ้อง 1,000,000 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าทรัพย์แต่ละรายการมีมูลค่าเป็นเงินจำนวนมากและไม่ปรากฏว่าเป็นการซื้อโดยวิธีผ่อนชำระแต่อย่างใด แม้จะปรากฏตามสารบัญจดทะเบียนในสำเนาโฉนดที่ดินว่า จำเลยซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 8905 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 หลังจากจำเลยขายตึกแถวคูหาสุดท้ายเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2551 เป็นระยะเวลาถึงปีเศษ ส่วนทองคำแท่งกับรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยซื้อมาเมื่อวันใดก็ตาม แต่การซื้อทรัพย์ทั้งสามรายการดังกล่าวต้องใช้เงินจำนวนมาก ดังนั้น ลำพังรายได้จากค่าเช่าตึกแถวและหอพักที่จำเลยได้รับในแต่ละเดือนระหว่างอยู่กินกับโจทก์ ซึ่งปกติต้องนำมาเป็นค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวและอุปการะเลี้ยงดูกันส่วนหนึ่งด้วยนั้น น่าเชื่อว่าจะมีเงินรายได้เหลือไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ซื้อทรัพย์แต่ละรายการดังกล่าวได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยได้เงินจำนวนมากจากการขายตึกแถวที่ได้รับมรดกมารวมเป็นเงิน 37,000,000 บาท ตามที่กล่าวข้างต้น จึงเชื่อว่าจำเลยนำเงินจำนวนนี้ส่วนหนึ่งซึ่งมีจำนวนมากพอไปใช้ซื้อทรัพย์ทั้งสามรายการดังกล่าวตามที่จำเลยนำสืบจริง ทรัพย์ทั้งสามรายการนี้จึงยังคงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยหาใช่สินสมรสที่โจทก์จะมีสิทธิขอแบ่งไม่ ประกอบกับได้ความจากทางนำสืบของจำเลยว่า ระหว่างอยู่กินกันฉันสามีภริยา โจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำงานโดยมีรายได้จากค่าเช่าตึกแถวกับหอพักเท่านั้น โจทก์กับจำเลยมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย รับประทานอาหารนอกบ้านเกือบทุกวัน จ้างแม่บ้านทำงานบ้าน ท่องเที่ยวไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้จำเลยยังอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และช่วยเหลือดูแลบุคคลในครอบครัวของโจทก์ รวมทั้งอุปการะเลี้ยงดูกับออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียนของเด็กชาย ส. ยิ่งไปกว่านั้นจำเลยให้เงินโจทก์ไปศัลยกรรมหน้าอกตามความประสงค์ของโจทก์ ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องที่จำเลยจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ คิดคำนวณรวมกันแล้วต้องใช้เงินค่อนข้างสูงจำนวนหลายแสนบาทต่อเดือนหรือหลายล้านบาทต่อปี กรณีมีเหตุน่าเชื่อว่า จำเลยใช้เงินที่ได้จากการขายที่ดิน ทองคำแท่ง และรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ดังกล่าวหมดไปแล้วตามที่จำเลยนำสืบจริง ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการต่อไปว่า จำเลยต้องแบ่งทรัพย์สินตามฟ้องรายการที่ 8 ค่าเช่าตึกแถว รวม 6 คูหา รายการที่ 9 ค่าเช่าตึกแถว รวม 3 คูหา รายการที่ 10 ค่าเช่าตึกแถว และดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารที่ได้จากเงินที่ขายตึกแถว และรายการที่ 11 ค่าเช่าหอพัก ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งหรือไม่ เห็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยมีรายได้จากค่าเช่าตึกแถวกับหอพักดังกล่าว ทั้งมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารที่จำเลยนำเงินที่ได้จากการขายตึกแถวรวม 5 คูหาไปฝากไว้ตามที่โจทก์ขอมาในฟ้อง จำเลยปฏิเสธว่า มีรายได้น้อยกว่าที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นข้อนี้ แต่โจทก์เบิกความกล่าวอ้างลอย ๆ ว่า โจทก์เคยช่วยจำเลยเก็บค่าเช่าตึกแถวกับหอพักดังกล่าวในอัตราและจำนวนเงินตามฟ้อง โดยโจทก์ไม่มีหลักฐานการรับค่าเช่าตึกแถวกับหอพักของจำเลยตามที่โจทก์อ้างมาแสดงต่อศาล แม้โจทก์จะมีคลิปเสียง วัตถุพยาน ซึ่งบันทึกการสนทนาระหว่างบุคคลหนึ่งกับบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าของร้านทองซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับตึกแถวของจำเลย เกี่ยวกับอัตราค่าเช่าตึกแถวและหอพักของจำเลยก็เป็นเพียงการคาดคะเนเอาเองเท่านั้น ทั้งตามปกติทั่วไปการให้เช่าตึกแถวกับหอพักอาจมีคนเช่าไม่ครบทั้งหมดและไม่ต่อเนื่องกันในแต่ละช่วงเวลา และยังต้องมีช่วงเวลาที่ปิดซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานอีกด้วย ส่วนจำเลยมีหลักฐานหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมาแสดงว่า ได้รับค่าเช่าตึกแถวตามที่จำเลยนำสืบ และมีภาพถ่ายมาแสดงให้เห็นถึงสภาพของหอพักที่ทรุดโทรม รวมทั้งค่าซ่อมแชมตึกแถวเป็นจำนวนหลายรายการตามสำเนาราคาประเมินค่าซ่อมแซมตึก กรณีจึงมีเหตุน่าเชื่อว่าจำเลยได้รับค่าเช่าตึกแถวกับหอพักดังกล่าวตามข้อต่อสู้ของจำเลยซึ่งไม่มากเท่ากับที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารจากเงินที่จำเลยขายตึกแถวรวม 5 คูหา ก็เป็นเรื่องที่โจทก์คิดคำนวณโดยคาดคะเนเอาเองทั้งสิ้น โดยโจทก์ไม่มีหลักฐานทางการเงินของจำเลยมาแสดงให้เห็นว่า หลังจากจำเลยขายตึกแถวดังกล่าวแล้ว จำเลยนำเงินเข้าฝากธนาคารเมื่อใดเป็นจำนวนเงินเท่าใด และปัจจุบันจำเลยยังคงเหลือเงินฝากอยู่ในธนาคารเท่าใด นอกจากนี้ดังที่ได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นแล้วว่า จำเลยขายตึกแถวซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนางสาว พ. ที่ตกทอดแก่จำเลยและเป็นสินส่วนตัวของจำเลยแล้วนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้ยืมและไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 3785 พร้อมบ้าน จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จำเลยยังใช้เงินที่ได้จากการขายตึกแถวมรดกทั้ง 5 คูหาอีกส่วนหนึ่งซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 8905 ซื้อทองคำแท่งและรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ ตลอดจนนำมาเป็นค่าใช้จ่ายและค่าอุปการะเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ย่อมทำให้เงินที่ได้จากการขายตึกแถวดังกล่าวลดจำนวนลงตามที่จำเลยได้ใช้ไป จึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารจากเงินที่จำเลยขายตึกแถวรวม 5 คูหา ดังกล่าวเป็นจำนวนมากดังที่โจทก์อ้าง นอกจากนี้ในส่วนรายจ่ายต่าง ๆ จำเลยก็นำสืบโดยมีพยานเอกสารมาแสดงว่า ระหว่างที่โจทก์กับจำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยา โจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำงานโดยมีรายได้จากค่าเช่าตึกแถวกับหอพักเท่านั้น โจทก์กับจำเลยรับประทานอาหารนอกบ้านเกือบทุกวัน ท่องเที่ยวไปทั้งในประเทศกับต่างประเทศ โจทก์กับจำเลยจ้างแม่บ้านทำงานบ้าน และจำเลยยังอุปการะเลี้ยงดูโจทก์กับช่วยเหลือดูแลบุคคลในครอบครัวของโจทก์ อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กชาย ส. ดังที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วในประเด็นข้างต้น ทั้งยังต้องซ่อมแซมตึกแถวกับหอพักที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมแล้วนำออกให้เช่าเพื่อนำรายได้ใช้จ่ายในครอบครัว จึงถือเป็นการจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวนี้ย่อมผูกพันสินสมรสและสินส่วนตัวของสามีภริยาและถือเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 (1) นอกจากนี้จำเลยยังนำเงินไปชำระหนี้กองมรดกของนางสาว พ. ซึ่งถือว่าจำเลยดำเนินการดังกล่าวในฐานะทายาทผู้รับมรดกของนางสาว พ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 และมาตรา 1601 โดยโจทก์เองก็เบิกความยอมรับในเรื่องนี้ไว้เช่นกัน ซึ่งเงินที่จำเลยใช้จ่ายในครอบครัวและเงินที่จำเลยชำระหนี้แทนกองมรดกของนางสาว พ. ดังกล่าวรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนหลายสิบล้านบาท กรณีจึงน่าเชื่อว่า จำเลยใช้เงินที่ได้จากการขายตึกแถวซึ่งเป็นทรัพย์มรดกและสินส่วนตัวกับเงินที่ได้มาจากค่าเช่าตึกแถวกับหอพักดังกล่าวระคนปนกันไปจนมิอาจแยกออกเป็นสัดส่วนจากกันได้ เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานมาแสดงยืนยันว่า จำเลยยังคงมีเงินค่าเช่าตึกแถวกับหอพักเหลืออยู่หลังจากหักค่าใช้จ่ายในครอบครัวแล้วเป็นเงินเท่าใด จึงต้องรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ใช้จ่ายเงินเหล่านี้ไปโดยไม่มีเงินค่าเช่าตึกแถวกับหอพักรวมทั้งดอกเบี้ยเงินฝากอันเป็นสินสมรสเหลืออยู่ที่จะแบ่งให้แก่โจทก์ได้ ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการสุดท้ายว่า จำเลยต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินตามฟ้องรายการที่ 14 ถึง 21 ให้แก่โจทก์หรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยไม่ได้เก็บทรัพย์สินตามฟ้องรายการที่ 14 ถึง 18 ไว้ ส่วนทรัพย์สินตามฟ้องรายการที่ 19 และ 20 ไม่ใช่ของโจทก์ และจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงิน 600,000 บาท อันเป็นทรัพย์สินตามฟ้องรายการที่ 21 จากโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจเรียกให้จำเลยคืนทรัพย์สินดังกล่าวหรือใช้ราคาได้ ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

ส่วนประเด็นเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเลี้ยงชีพ และอำนาจปกครองบุตร เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตาย กรณีเป็นสิทธิเฉพาะตัว ทั้งอำนาจปกครองบุตรตกแก่จำเลยซึ่งเป็นบิดาตามกฎหมาย เมื่อศาลฎีกาไม่อนุญาตผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ทั้งสามประเด็นนี้ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวอีกต่อไป

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 

สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
สิทธิและหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร,
การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า, การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตรา 1564, ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การคำนวณค่าเลี้ยงดูบุตร, สิทธิเลี้ยงดูบุตร หลังการหย่า,
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร, การรับรองบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตร, การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสิทธิเลี้ยงดูบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร,
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร