ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

ขอจดทะเบียนรับรองบุตร, บุตรนอกสมรส-ขอรับเด็กเป็นบุตร

กฏหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนรับรองบุตร

การจดทะเบียนรับรองบุตร ทำไมต้องจดทะเบียนรับรองบุตร? เมื่อบุตรที่เกิดมาจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเกิดบุตรขึ้นมา กฎหมายให้ถือว่าเป็นบิดานอกกฎหมาย หรือบุตรนอกกฎหมาย ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่มีสิทธิในการเป็นบิดากับบุตรชอบด้วยกฎหมาย เช่น  สิทธิที่จะได้รับการอุปการะเลี้ยงดู เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้ผูกพันกันตามกฎหมาย ผู้เป็นบิดาจึงต้องไปทำการยื่นคำขอจดทะเบียนรับรองบุตรอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตนเอง

การจดทะเบียนรับรองบุตร ต้องได้รับความยินยอมจากตัวบุตรด้วยอันเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุตรผู้เยาว์

ขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตร

1. ให้บิดาไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต กรณีที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

2. เด็กและมารดาของเด็กต้องให้ความยินยอมในการจดทะเบียนรับรองบุตรด้วย คือการจดทะเบียนรับรองบุตรจะต้องได้รับความยินยอมจากทั้งมารดา และตัวเด็กด้วยพร้อมกัน ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคนใดคนหนึ่งไม่ให้ความยินยอมในการจดทะเบียนรับรองบุตร หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น เด็กยังเล็กเกินไปที่จะให้ความยินยอมให้บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร หรือมารดาเด็กตาย เป็นต้น กรณีนี้การจดทะเบียนรับรองบุตรนั้นจะต้องมีคำพิพากษาของศาลเสียก่อนจึงจะนำคำพิพากษาไปจดทะเบียนรับรองบุตรได้

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการจดทะเบียนรับรองบุตร

-บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่เกี่ยวข้อง
-ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของผู้ที่เกี่ยวข้อง
-ใบสูติบัตรของบุตร
-หนังสือแสดงความยินยอมของบุตรและของมารดาที่ยินยอมให้จดทะเบียนรับรองบุตรได้
-พยานบุคคล 2 คน

 การรับรองบุตรเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้, การรับรองบุตรในกรณีที่ตัวเด็กเองอายุยังนัอยไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ตัวผู้ร้องซึ่งเป็นบิดานอกสมรสจะต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งรับรองบุตร เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นบิดานอกสมรสได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อศาลแล้ว ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องประมาณ 45 วัน ในระหว่างนี้ผู้ร้องต้องนำบุตรและผู้ที่เกี่ยวข้องไปให้ถ้อยคำที่สถานพินิจเพื่อรายงานเสนอความเห็นต่อศาลประกอบการพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ในกรณีนี้คำสั่งศาลแทนการให้ความยินยอมของเด็กได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

จดทะเบียนรับรองบุตร
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนเด็กหญิง ป. ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง ผู้คัดค้าน(ผู้เป็นมารดา) ยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาล ไม่ได้ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรผู้เยาว์ต่อนายทะเบียนเพื่อให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนเป็นหนังสือไปยังผู้คัดค้านและผู้เยาว์ เมื่อผู้คัดค้านคลอดบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องไม่ช่วยอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่บุตร ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียว ผู้คัดค้านเลี้ยงดูผู้เยาว์มาโดยตลอด ไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะจดทะเบียนรับรองบุตรอีก ขอให้ยกคำร้อง

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5982/2551

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1548  บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก
ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน
*ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล
เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้
 
พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 19 วรรคสอง
มาตรา 19  ในกรณีที่บิดามาขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ถ้าเด็กและมารดาเด็กอยู่ในฐานะให้ความยินยอมได้และได้มาให้ความยินยอมด้วยตนเองแล้วก็ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียน
*ถ้าเด็กและมารดาเด็กคนหนึ่งคนใดหรือทั้งสองคนไม่มาให้ความยินยอมด้วยตนเอง ให้นายทะเบียนมีหนังสือสอบถามไปยังผู้ที่ไม่มาว่าจะให้ความยินยอมหรือไม่  เมื่อนายทะเบียนได้รับหนังสือแจ้งความยินยอมจากบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลดังกล่าวได้มาให้ความยินยอมด้วยตนเองแล้ว ก็ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียน แต่ถ้านายทะเบียนไม่ได้รับแจ้งความยินยอมภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้นายทะเบียนแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบถึงเหตุที่ไม่อาจรับจดทะเบียนได้โดยไม่ชักช้า
บิดาจะร้องขอให้นายทะเบียนไปจดทะเบียนนอกสำนักทะเบียนก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

       ป.พ.พ. มาตรา 1548 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ส่วนวรรคสามและวรรคสี่บัญญัติว่า ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดาหรือไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่าประสงค์ให้เด็กเป็นผู้ให้ความยิมยอมเป็นการเฉพาะตัว การที่นายทะเบียนแจ้งแก่ผู้ร้องว่าไม่สามารถรับจดทะเบียนให้ได้โดยไม่แจ้งการขอจดทะเบียนของผู้ร้องไปยังผู้คัดค้านและเด็กก่อนตาม มาตรา 1548 วรรคสอง หรือตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 19 วรรคสอง เพราะปรากฏว่าขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนขอจดทะเบียนนั้น เด็กหญิง ป. อายุเพียง 3 ปีเศษ ยังไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้ จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 19 แล้ว ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้พิพากษาให้ผู้ร้องจดทะเบียนเด็กหญิง ป. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้
 
          ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนเด็กหญิง ป. ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง

          ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาล เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยไม่ได้ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองผู้เยาว์ต่อนายทะเบียนเพื่อให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนเป็นหนังสือไปยังผู้คัดค้านและผู้เยาว์ระหว่างตั้งครรภ์ ผู้ร้องไม่สนใจหรือเอาใจใส่เกื้อกูลความเป็นอยู่ของผู้คัดค้าน ไม่เคยจ่ายเงินเดือนหรือค่าใช้จ่ายในครัวเรือนแก่ผู้คัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านคลอดผู้เยาว์ ผู้ร้องไม่ช่วยอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่บุตร ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านแต่เพียงผู้เดียว ผู้คัดค้านเลี้ยงดูผู้เยาว์มาโดยตลอดและผู้เยาว์เริ่มเข้ารับการศึกษาเป็นอย่างดีแล้วไม่มีความจำเป็นที่ผู้ร้องจะจดทะเบียนรับรองบุตรอีก ขอให้ยกคำร้อง

          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนเด็กหญิง ป. ผู้เยาว์ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง ให้ผู้ร้องมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ยกคำคัดค้าน ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความทั้งสองฝ่ายให้ตกเป็นพับ

          ผู้คัดค้านอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          ผู้คัดค้านฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติในชั้นนี้ว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านอยู่กินฉันสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตั้งแต่ปี 2539 มีบุตรด้วยกัน 1 คน เด็กหญิง ป. ซึ่งเกิดวันที่ 5 พฤษภาคม 2543 วันที่ 30 เมษายน 2547 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเด็กหญิง ป. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อนายทะเบียน แต่ผู้ร้องไม่สามารถนำตัวผู้คัดค้านและเด็กหญิง ป. มาให้ความยินยอมได้ นายทะเบียนจึงแจ้งให้ผู้ร้องไปยื่นคำร้องขอต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ โดยผู้คัดค้านฎีกาว่า นายทะเบียนไม่ได้แจ้งการขอจดทะเบียนของผู้ร้องไปยังผู้คัดค้านและเด็กหญิง ป. ก่อนตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคสอง พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 มาตรา 19 บัญญัติ ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาล เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก และวรรคสามและวรรคสี่บัญญัติว่า ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้ จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เป็นชัดเจนว่าประสงค์ให้เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมเป็นการเฉพาะตัว เมื่อปรากฏว่าขณะที่ผู้ร้องไปยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนขอจดทะเบียนว่าเด็กหญิง ป. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนั้น เด็กหญิง ป. อายุเพียง 3 ปีเศษ ยังไร้เดียงสายังไม่สามารถให้ความยินยอมได้ แม้นายทะเบียนจะแจ้งไปยังผู้คัดค้านและเด็กหญิง ป. ตามมาตรา 1548 วรรคสอง หรือตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 มาตรา 19 วรรคสอง ก็ไม่เกิดประโยชน์เพราะเด็กหญิง ป. ไม่สามารถให้ความยินยอมได้ดังวินิจฉัยมาแล้ว การที่นายทะเบียนแจ้งแก่ผู้ร้องว่าไม่สามารถรับจดทะเบียนได้ จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พุทธศักราช 2478 มาตรา 19 ด้วย ดังนั้นผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้พิพากษาให้ผู้ร้องจดทะเบียนเด็กหญิง ป. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น”

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
 

บุตรนอกสมรสเรียกค่าอุปการะเลียงดูบุตรมิได้ฟ้องคดีขอให้บิดารับเด็กเป็นบุตรมาด้วย 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2537

บุตรที่จะมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูและการให้การศึกษาจากบิดามารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคแรกจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกหรือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในภายหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 3 คน ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะขณะอยู่กินกับจำเลยได้ให้การรับรองบุตรทั้งสาม ต่อมาจำเลยได้ขอหย่าขาดกับโจทก์และมอบบุตรทั้งสามให้อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเพียง 2 คนจำนวนเงิน 349,400 บาท พร้อมดอกเบี้ย

จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยเป็นบิดาตามความเป็นจริง มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคแรก โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลยนั้น เห็นว่า บุตรที่จะมีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูและการให้การศึกษาจากบิดามารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคแรก จะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดามาแต่แรกหรือเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายในภายหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547และหากเป็นบุตรนอกสมรสโดยบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันและแล้ว จะฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาจากบิดาไม่ได้ ข้อเท็จจริงในคดีนี้ได้ความว่า โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยรับเด็กเป็นบุตรมาด้วยดังนั้น ในชั้นนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าการศึกษาจากจำเลย

 พิพากษายืน

 

 

จำเลยให้การยอมรับว่าจำเลยกับโจทก์เป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส เกิดบุตรด้วยกัน ๔ คนจริง ต่อสู้เพียงว่าจำเลยมีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสี่โดยโจทก์ตกลงยกบุตรทั้งสี่ให้จำเลยเป็นผู้เลี้ยงดูแต่ผู้เดียว

บุตรนอกสมรสอำนาจปกครองอยู่กับมารดา

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2652/2516

           โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับโจทก์อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งมีผลตามกฎหมายว่า บุตรผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรนอกสมรส อำนาจปกครองอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดา จำเลยให้การรับว่า จำเลยกับโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสจริง ต่อสู้เพียงว่าจำเลยมีอำนาจปกครองบุตรทั้งสี่โดยโจทก์ตกลงยกบุตรทั้งสี่ให้จำเลยเลี้ยงดูแต่ผู้เดียว เช่นนี้ ประเด็นที่ว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่ นั้น จึงเป็นอันยุติต้องฟังว่าผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ฝ่ายเดียวการที่จำเลยแถลงต่อศาลในภายหลังว่าจำเลยมีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งศาล และได้จดทะเบียนรับรองบุตรด้วยนั้น ไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นขึ้นอีก

           โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรส เกิดบุตรด้วยกัน ๔ คนซึ่งเป็นผู้เยาว์ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงเลิกจากการเป็นสามีภริยากัน โจทก์ยอมให้จำเลยรับบุตรไปเลี้ยงดูชั่วคราว แต่ต้องอยู่ในนครหลวง แต่จำเลยกลับนำบุตรไปอยู่จังหวัดเชียงรายและปล่อยให้บุตรไปอยู่ในความดูแลของผู้อื่น บุตรทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ อำนาจปกครองอยู่กับโจทก์ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยส่งมอบบุตรทั้งสี่คืนให้โจทก์

          จำเลยให้การว่า จำเลยกับโจทก์เป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสจริง เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินเป็นภริยาจำเลยต่อไปโจทก์จำเลยได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ ให้ทำบันทึกข้อตกลงไว้ว่าโจทก์ยินดียกบุตรทั้งสี่ให้จำเลยเลี้ยงดูแต่ผู้เดียว จำเลยเลี้ยงดูให้การศึกษาบุตรสมฐานะ โจทก์ไม่มีอาชีพเป็นหลักฐาน ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร

          วันชี้สองสถานจำเลยแถลงรับว่าไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตรทั้งสี่คนว่าเป็นบุตร ศาลให้เลื่อนการชี้สองสถานรอรายงานการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติ ในวันนัดต่อมาจำเลยส่งสำเนาคำสั่งศาลจังหวัดเชียงรายกับสำเนาทะเบียนการรับรองบุตรต่อศาลพร้อมกับแถลงว่าหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยได้ไปร้องขอต่อศาลจังหวัดเชียงรายให้สั่งแสดงว่าบุตรทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย เมื่อศาลจังหวัดเชียงรายสั่งแสดงให้แล้วจำเลยได้ไปจดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร โจทก์แถลงคัดค้านว่าการที่จำเลยไปยื่นคำร้องต่อศาลภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

          ศาลชั้นต้นให้งดการชี้สองสถาน และการสืบพยานทั้งสองฝ่ายแล้วพิพากษาให้จำเลยส่งมอบบุตรทั้งสี่คนให้แก่โจทก์

          จำเลยอุทธรณ์

           ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          จำเลยฎีกา

           ศาลฎีกาแผนกคดีเด็กและเยาวชนวินิจฉัยว่า ตามฟ้องโจทก์ตั้งประเด็นกล่าวหาว่าจำเลยกับโจทก์อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งมีผลตามกฎหมายว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรนอกสมรส จำเลยไม่มีอำนาจปกครอง อำนาจปกครองอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๓๘(๕)จำเลยให้การยอมรับว่าจำเลยกับโจทก์เป็นสามีภริยากันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส เกิดบุตรด้วยกัน ๔ คนจริง ต่อสู้เพียงว่าจำเลยมีอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสี่โดยโจทก์ตกลงยกบุตรทั้งสี่ให้จำเลยเป็นผู้เลี้ยงดูแต่ผู้เดียว ฉะนั้น ประเด็นที่ว่าผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยหรือไม่ นั้น จึงเป็นอันยุติต้องฟังว่า ผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรนอกสมรสของจำเลย การที่จำเลยเพียงแต่แถลงต่อศาลในภายหลังว่าจำเลยมีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งศาลและได้จดทะเบียนรับรองบุตรด้วยนั้น ไม่ก่อให้เกิดประเด็นวินิจฉัยขึ้นอีกผู้เยาว์ทั้งสี่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ฝ่ายเดียวอำนาจปกครองอยู่กับโจทก์ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยตามที่จำเลยอ้างไม่มีผลให้อำนาจปกครองบุตรทั้งสี่ตกอยู่กับจำเลย

          พิพากษายืน

 ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าเป็นบุตรของผู้ตาย

ฟ้องให้จดทะเบียนรับรองบุตร-กรณีร่วมประเวณีกับมารดาเด็กในระยะตั้งครรภ์ได้

ใครควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร, บิดาหรือมารดา ?

การจดทะเบียนรับรองบุตร ขณะที่บุตรไม่อาจให้ความยินยอมได้เองต้องมีคำพิพากษาของศาล

คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร

ข้อ ๑. ผู้ร้องเป็นบิดาของเด็กชายอาทิตย์ ซึ่งเกิดกับ นางสาวลำดวน ภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน กล่าวคือ ผู้ร้องได้สมรสกับ นางสาวลำดวน เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๗ แต่มิได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย จึงเป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้อยู่กินฉันสามีภริยาโดยเปิดเผยต่อสายตาของสาธารณชนทั่วไป ว่าเป็นสามีภริยากัน ในระหว่างอยู่กินด้วยกันนั้นได้มีบุตรด้วยกัน ๑ คน คือ เด็กชายอาทิตย์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๘ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาสูติบัตร และสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารท้ายคำร้องหมายเลข ๑ ปัจจุบันผู้ร้องอยู่กินร่วมบ้านเรือนเดียวกับนางสาวลำดวน และร่วมกันให้การอุปการะเลี้ยงดูเด็กชายอาทิตย์ ผู้เยาว์ตลอดมา โดยผู้ร้องยอมให้ระบุในสูติบัตรว่าผู้ร้องเป็นบิดาของผู้เยาว์ ให้เรียกพ่อ แสดงออกเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าผู้ร้องและเด็กชายอาทิตย์ เป็นบิดาและบุตรของกันและกัน

ข้อ ๒. ผู้ร้องมีความประสงค์จะจดทะเบียนรับรองบุตรรับเด็กชายอาทิตย์ ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องและให้ผู้เยาว์ใช้นามสกุลของผู้ร้อง โดยที่นางสาวลำดวน ให้ความยินยอมและเห็นชอบด้วย ผู้ร้องและนางสาวลำดวน ได้ไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่แล้ว แต่เจ้าหน้าที่จัดการให้ไม่ได้ โดยแจ้งว่าผู้เยาว์มีอายุน้อยไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะให้ความยินยอมได้ เว้นแต่จะมีคำสั่งศาลอนุญาตให้จดทะเบียนได้ไปแสดงเสียก่อนจึงจะจัดการให้ได้

ด้วยเหตุผลดังได้กราบเรียนมาข้าต้น จึงขอความกรุณาต่อศาลขอได้โปรดไต่สวนและมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องจดทะเบียนรับเด็กชายอาทิตย์ ผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อไปด้วย

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ........นายทองดี........ผู้ร้อง
คำร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้า นาย ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ ทนายความผู้ร้อง เป็นผู้เรียงและพิมพ์

ลงชื่อ.........ลีนนท์...... ผู้เรียงและพิมพ์

 




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร article
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร