สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ -ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE ค่าอุปการะเลี้ยงดู,ค่าเลี้ยงชีพ,อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ กฎหมายกำหนดให้สามีภริยามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันในขณะที่ยังเป็นสามีและภริยากัน มีหลายคนเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ฝ่ายสามีมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูฝ่ายภริยาซึ่งหากตกลงสมัครใจจดทะเบียนหย่ากันแล้วฝ่ายหญิงก็จะเรียกค่าเลี้ยงดูจากฝ่ายชายนั้น จริง ๆ แล้วคู่สมรสมีหน้าที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน แต่กฎหมายได้บัญญัติไว้เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวคือ หากสามีภริยาต้องหย่าขาดกัน แล้วทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง อีกฝ่ายต้องรับผิดจ่ายค่ายเลี้ยงชีพ สำหรับค่าเลี้ยงชีพนี้จะจ่ายต่อเมื่อมีการหย่าขาดจากกัน ค่าอุปการะเลี้ยงดู นั้นเป็นหน้าที่ของคู่สมรสที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูให้ตามหน้าที่ ฝ่ายที่ต้องได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1461 บัญญัติไว้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ เป็นหน้าที่ของบิดามารดาชอบด้วยกฎหมายจะต้องช่วยกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรืออายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งกฎหมายเรียกว่า ผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 ไม่ว่าสามีภริยาจะได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาหรือไม่ก็ตาม หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของบิดามารดาจนกว่าบุตรจะได้พ้นจากภาวะผู้เยาว์เสียก่อน สำหรับอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์นั้น หากได้ความว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหนีออกจากบ้านไปโดยละทิ้งไม่ดูแลให้ความช่วยเหลือบุตรผู้เยาว์มาโดยตลอดและให้อีกฝ่ายหนึ่งรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียว แม้จะยังคงเป็นสามีภริยาต่อกันอยู่ หากความปรากฏต่อศาลจึงเป็นเหตุผลสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 (5) ไม่ว่าจะได้หย่าขาดจากกันหรือไม่ (อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่1106/2550) และเมื่อศาลมีคำสั่งให้ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแล้ว ก็อาจสั่งให้อีกฝ่ายหนึ่งจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรผู้เยาว์เป็นรายเดือนอีกได้ (อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2548) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควร แก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะ ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้ มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของ บิดามารดาอำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้ ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กหญิง__(ชื่อตัว ชื่อสกุล) _ ผู้ร้องจึงเป็นผู้เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร บุตรผู้เยาว์อยู่กับโจทก์ตลอดมา และโจทก์ประสงค์จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียว ประกอบกับจำเลยรับราชการเป็นอาจารย์ 2 ระดับ 7 ซึ่งถือว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะให้ความช่วยเหลือค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ จึงเห็นควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ผู้เดียว ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว คดีนี้ใครควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร, บิดาหรือมารดา? จำเลย (สามี) ให้การว่า จำเลยยินดีหย่าขาดจากโจทก์แต่โจทก์ไม่เหมาะสมจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ |