ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี

 ฟ้องโจทก์เป็นคดีอุทลุม การห้ามฟ้องบุพการีดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด บุตรที่ต้องห้ามใช้สิทธิจึงต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น 

--ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าผู้ตายไม่ได้มีเจตนาทำพินัยกรรม แต่ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงให้ลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรม ในขณะนอนป่วยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล โดยหลอกลวงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือมอบอำนาจการขอรับเงินค่าเวนคืนที่ดิน พินัยกรรมจึงเสียเปล่าเป็นโมฆะ เช่นนี้จึงเป็นคำฟ้องว่า การแสดงเจตนาของผู้ตายในการลงลายพิมพ์นิ้วมือในเอกสารดังกล่าวเกิดขึ้นโดยสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ ไม่ใช่คำฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมที่หมายถึงผู้ตายมีเจตนาทำพินัยกรรมและได้ทำพินัยกรรมแล้ว แต่มีเหตุตามกฎหมายที่จะขอให้เพิกถอนข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้น ซึ่งต้องฟ้องภายในกำหนด 3 เดือน ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2554

การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีทุกประเด็นแต่ไม่ได้มีคำพิพากษาในคำขอเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 โอนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์จึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องให้ครบทุกข้อ โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

การบรรยายฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับพินัยกรรมทั้งสองฉบับว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 และไม่ว่าจะฟังข้อเท็จจริงอย่างไรพินัยกรรมฉบับนี้ก็ถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 เมษายน 2545 เป็นการบรรยายฟ้องตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ซึ่งจำเลยก็เข้าใจสภาพแห่งข้อหาไม่ได้หลงต่อสู้ คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม

การห้ามฟ้องบุพการีเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิจำต้องตีความโดยเคร่งครัดว่า กรณีของผู้สืบสันดานชั้นบุตรหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562

ตามฟ้องโจทก์อ้างว่า ผู้ตายลงลายมือชื่อในพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 โดยผู้ตายสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมซึ่งถือเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 กรณีมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1710 จึงไม่อยู่ในบังคับกำหนดอายุความตามมาตรา 1710

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้อง ขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมของผู้ตายฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 ที่ยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะหรือเป็นอันถูกเพิกถอนไปโดยพินัยกรรมของผู้ตายฉบับลงวันที่ 2 เมษายน 2545 ที่ยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่โจทก์ กับให้พิพากษาว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 เมษายน 2545 เป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมายและโจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรม กับห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้ทำการรบกวนสิทธิการครอบครองอาคารและที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย กับขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ 10,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 1 โอนหุ้นของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทกรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) คืนแก่โจทก์พร้อมดอกผลที่เกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 รับโอนไป หากจำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนหุ้นคืนแก่โจทก์ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ในการรับโอนหุ้นคืนจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หากไม่สามารถโอนคืนแก่โจทก์ได้ ให้จำเลยทั้งสองใช้ราคาหุ้นจำนวน 29,262,742 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องหมายเลข 6 อันดับที่ 1 ถึงอันดับที่ 28 คืนโจทก์ มิฉะนั้นให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ในการจดทะเบียนโอนคืนและขอให้มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนนิติกรรมใดเกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์มรดก

จำเลยทั้งสองให้การกับแก้ไขคำให้การและจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้อง และขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 จำนวน 2,100,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลยที่ 1

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า พินัยกรรมของนางเจือจันทร์ ผู้ตาย ฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 ที่ยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 8 ตุลาคม 2545) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 1 โอนหุ้นของธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หุ้นของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และหุ้นของบริษัทกรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตามที่ศาลมีคำสั่งอายัดไว้คืนให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนหุ้นคืน ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 50,000 บาท ฟ้องแย้งและคำขออื่นของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก

โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า พินัยกรรมของผู้ตายฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 ไม่ตกเป็นโมฆะ แต่เป็นอันถูกเพิกถอนไป พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 เมษายน 2545 ของผู้ตายเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้ทำการรบกวนสิทธิครอบครองอาคารและที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย แต่จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมและฟ้องแย้งในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยที่ 1 และโจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามฎีกาของของจำเลยที่ 1 และของโจทก์มีประเด็นที่เห็นสมควรวินิจฉัยเรียงตามลำดับดังต่อไปนี้

1. อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลฎีกาจึงต้องสั่งยกอุทธรณ์ของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาหรือไม่

2. ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาหรือไม่

3. ฟ้องโจทก์เป็นคดีอุทลุมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาหรือไม่

4. ฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1710 ตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาหรือไม่

สำหรับปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นข้อที่ 1 คือ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลฎีกาจึงต้องสั่งยกอุทธรณ์ของโจทก์หรือไม่นั้น เห็นว่า โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยในการฟังข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นที่เชื่อพยานหลักฐานโจทก์ในทุกประเด็นและให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่า ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาที่ไม่ครบถ้วนชัดเจนโดยไม่ได้สั่งคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ให้ครบถ้วนทุกข้อ จึงอาจเกิดปัญหาในการตีความต่อไปได้ โจทก์จึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยขอให้สั่งคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ให้ครบถ้วนทุกข้อ ดังนี้ อุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้จึงไม่ถือเป็นอุทธรณ์คดีอย่างมีทุนทรัพย์ โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ ชอบแล้ว ฎีกาจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นข้อที่ 2 คือ ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ เห็นว่า คำฟ้องโจทก์บรรยายยืนยันข้อเท็จจริงชัดเจนว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 โดยหลอกลวงผู้ตายให้ลงลายพิมพ์นิ้วมือ โดยอ้างว่าเป็นเอกสารเกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รับเงินค่าเวนคืนที่ดิน ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปด้วยในทำนองว่า ต่อมาคือวันที่ 2 เมษายน 2545 ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้โจทก์ ส่วนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 ไม่ว่าจะฟังข้อเท็จจริงได้อย่างไรก็เป็นอันถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 เมษายน 2545 แล้ว ดังนี้ เป็นการบรรยายฟ้องตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ทั้งจำเลยทั้งสองเข้าใจสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว ดังปรากฏตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองที่ให้การต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้หลอกลวงผู้ตาย ผู้ตายเต็มใจยกทรัพย์มรดกให้จำเลยที่ 1 จึงได้ทำพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 ส่วนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 2 เมษายน 2545 กลับเป็นพินัยกรรมที่ผู้ตายไม่ได้ทำโดยมีสติสัมปชัญญะเพราะขณะนั้นผู้ตายป่วยหนักใกล้ตายไม่รู้สึกตัว ไม่อาจที่จะแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้ เห็นได้ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้หลงต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ฎีกาจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นข้อที่ 3 คือ ฟ้องโจทก์เป็นคดีอุทลุม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 หรือไม่ เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ยกข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุพการีของโจทก์ แต่การห้ามฟ้องบุพการีดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิ ต้องตีความโดยเคร่งครัด บุตรที่ต้องห้ามใช้สิทธิจึงต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ยกข้อเท็จจริงที่จำกัดสิทธิของโจทก์ดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้าง จำเลยที่ 1 จึงต้องมีภาระการพิสูจน์ให้ศาลเห็นโดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานพิสูจน์ ข้อเท็จจริงจึงไม่ปรากฏตามที่อ้าง ไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์อันจะทำให้ฟ้องโจทก์เป็นคดีอุทลุม ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับมารดาโจทก์ในภายหลังนั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากันมาก่อนแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งโจทก์ก็คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ ฎีกาจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นข้อที่ 4 คือ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1710 หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าผู้ตายไม่ได้มีเจตนาทำพินัยกรรม แต่ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงให้ลงลายพิมพ์นิ้วมือในพินัยกรรม ในขณะนอนป่วยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล โดยหลอกลวงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือมอบอำนาจการขอรับเงินค่าเวนคืนที่ดิน พินัยกรรมจึงเสียเปล่าเป็นโมฆะ เช่นนี้จึงเป็นคำฟ้องว่า การแสดงเจตนาของผู้ตายในการลงลายพิมพ์นิ้วมือในเอกสารดังกล่าวเกิดขึ้นโดยสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ไม่ใช่คำฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1710 ที่หมายถึงผู้ตายมีเจตนาทำพินัยกรรมและได้ทำพินัยกรรมแล้ว แต่มีเหตุตามกฎหมายที่จะขอให้เพิกถอนข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้น ซึ่งต้องฟ้องภายในกำหนด 3 เดือน ตามมาตรา 1710 (1) หรือ 1710 (2) ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาจำเลยที่ 1 ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า พินัยกรรมของนางเจือจันทร์ ผู้ตายฉบับลงวันที่ 2 มีนาคม 2545 ตกเป็นโมฆะ และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์จำนวน 3,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ในรายการจดทะเบียนในโฉนดทุกฉบับ ทั้งในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะผู้รับมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้จำนวน 50,000 บาท

 

อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
สิทธิและหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร,
การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า, การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตรา 1564, ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การคำนวณค่าเลี้ยงดูบุตร, สิทธิเลี้ยงดูบุตร หลังการหย่า,
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร, การรับรองบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตร, การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสิทธิเลี้ยงดูบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร,
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร