ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร

ขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร

เด็กเป็นบุตรสืบสายโลหิตของบิดา และบิดาแสดงออกต่อญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของมารดาเด็ก แต่มิได้แสดงออกต่อญาติข้างบิดาหรือเพื่อนบ้านแถวบ้านพักของบิดา ซึ่งอยู่ต่างท้องที่กันว่าเด็กเป็นบุตร ก็ถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดเวลาว่าเด็กเป็นบุตรของบิดา 

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2549 

 

 

การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร ฟ้องคดีเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่บรรลุนิติภาวะ อายุความฟ้องคดีมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย

 พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น ให้พิจารณา ข้อเท็จจริงที่แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตร ซึ่งปรากฏในระหว่าง ตัวเด็กกับครอบครัวที่เด็กอ้างว่าตนสังกัดอยู่ เช่น บิดาให้การศึกษาให้ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตนหรือโดย เหตุประการอื่น

 ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ถ้าปรากฏว่าชายไม่อาจเป็น บิดาของเด็กนั้นได้ ให้ยกฟ้องเสีย

ผู้ร้องเกิดเมื่อกลางปี 2516 นับถึงวันยื่นคำร้องเป็นเวลาเกือบ 30 ปี เหตุการณ์ในช่วงเวลาจัดพิธีสมรสและการตั้งครรภ์ไม่มีหลักฐานปรากฏวันเดือนปีที่แน่นอนเป็นเรื่องคาดคะเนเอาโดยประมาณจึงอาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปได้บ้าง ทั้งร้องขอแก้ไขคำร้องขอโดยอ้างเหตุพิมพ์ข้อความผิดพลาดเล็กน้อยเพื่อให้ตรงตามความเป็นจริง จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยทั้งมีเหตุผลสมควร ผู้ร้องมีสิทธิขอแก้ไขคำร้องได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องขอชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 180 ตอนท้ายแล้ว 

 เดิมผู้คัดค้านมิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ในคำคัดค้านเพิ่งมายื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้เมื่อผู้ร้องอายุ 28 ปี เป็นการฟ้องคดีเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่บรรลุนิติภาวะ คดีของผู้ร้องขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสาม หลังจากมีการสืบพยานผู้ร้องเสร็จไปบางส่วนแล้ว อ้างเหตุผลว่าเป็นทนายความคนใหม่ของผู้คัดค้านเพิ่งได้รับการแต่งตั้งและตรวจสำนวนพบคำคัดค้านยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ จึงเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านหลังจากพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดคือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เหตุที่อ้างก็ไม่ใช่เหตุผลอันสมควรตามกฎหมายและการขอแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นเรื่องกำหนดเวลาฟ้องคดีตามมาตรา 1556 วรรคสามเป็นอายุความฟ้องคดีซึ่งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ทั้งมิใช่การแก้ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 แล้ว จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความให้ศาลจำต้องวินิจฉัยและเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์

ผู้ร้องเป็นบุตรสืบสายโลหิตของ ป. ป. แสดงออกต่อญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของมารดาผู้ร้อง มิได้แสดงออกต่อญาติข้างบิดาหรือเพื่อนบ้านแถวบ้านพักของ ป. ซึ่งอยู่ต่างท้องที่กันว่าผู้ร้องเป็นบุตร ก็ถือได้ว่าพฤติกรรมที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดเวลาว่าผู้ร้องเป็นบุตร ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555 (7) แล้ว 

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอและแก้ไขคำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นบุตรของนายประสิทธิ์ ผู้ตาย และนางมยุรา ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โดยนายประสิทธิ์และนางมยุราสมรสกันตามประเพณีเมื่อปี 2514 อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ต่อมาปี 2516 เมื่อนางมยุราตั้งครรภ์ผู้ร้องได้ 7 เดือน ผู้ตายกับนางมยุราแยกทางกัน หลังจากนั้นนางมยุราคลอดผู้ร้อง แต่นางมยุราเกรงว่าผู้ร้องจะมีปมด้อยเรื่องบิดามารดาแยกทางกัน จึงแจ้งในใบสูติบัตรว่าผู้ร้องบุตรของนายโอฬาร  หรือในขณะนั้นใช้ชื่อว่านายเต๊ก  ซึ่งเป็นพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกับนางมยุรา และแจ้งว่านางอรุณ  ภริยาของนายโอฬาร เป็นมารดา โดยหลังจากผู้ร้องคลอด นายประสิทธิ์ผู้ตายได้แสดงออกโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปว่าผู้ร้องเป็นบุตรโดยให้การอุปการะส่งเสียเลี้ยงดูตลอดมา ต่อมาวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 นายประสิทธิ์ถึงแก่กรรม ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายประสิทธิ์  ผู้ตาย 

 ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนายประสิทธิ์ ผู้ตาย และเป็นทายาทของผู้ตาย นายประสิทธิ์เป็นโสดไม่มีภริยา ไม่มีบุตร ผู้ร้องไม่ใช่บุตรของนายประสิทธิ์ นายประสิทธิ์ไม่เคยส่งเสียเลี้ยงดู ไม่เคยแสดงออกโดยเปิดเผยต่อญาติพี่น้องและคนอื่น ๆ ว่าผู้ร้องเป็นบุตร เมื่อนายประสิทธิ์ถึงแก่กรรม ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดงานศพแต่เพียงผู้เดียว ไม่ปรากฏตัวผู้ร้องในงานศพ นายประสิทธิ์ไม่ได้อยู่กินฉันสามีภรรยากับนางมยุรา โดยเลิกร้างกันมา 30 ปีแล้ว ไม่เคยติดต่อกับนางมยุราตลอดมา ขอให้ศาลยกคำร้องขอ

 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายประสิทธิ์ ผู้ตาย ค่าฤชา ธรรมเนียมให้เป็นพับ

 ผู้คัดค้านอุทธรณ์

 ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

 ผู้คัดค้านฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาผู้คัดค้านข้อแรกว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขปี พ.ศ.ตามคำร้องเดิมที่ว่า เมื่อประมาณปี 2515 นางมยุรา  มารดาผู้ร้องตั้งครรภ์ผู้ร้องได้ประมาณ 7 เดือน เป็นประมาณปี 2516 นับถึงวันยื่นคำร้องคดีนี้เป็นเวลาเกือบ 30 ปี เหตุการณ์ในช่วงเวลาจัดพิธีสมรสและการตั้งครรภ์กดังกล่าวไม่มีหลักฐานเอกสารปรากฏวันเดือนปีที่แน่นอนเป็นเรื่องคาดคะเนเอาโดยประมาณจึงผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปได้บ้าง เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นนานมาแล้ว ทั้งผู้ร้องขอแก้ไขโดยอ้างเหตุพิมพ์ข้อความผิดพลาดเล็กน้อยเพื่อให้ตรงตามความเป็นจริง จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย ทั้งมีเหตุผลสมควร ผู้ร้องมีสิทธิขอแก้ไขคำร้องได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องขอชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ตอนท้ายแล้ว ฎีกาของผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น 

ปัญหาตามฎีกาผู้คัดค้านข้อที่สองว่า ประเด็นข้อพิพาทเรื่องคดีของผู้ร้องขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า เดิมผู้คัดค้านมิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ในคำคัดค้านเพิ่งมายื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้เมื่อผู้ร้องอายุ 28 ปี เป็นการฟ้องคดีเมื่อเกิน 1 ปีนับแต่บรรลุนิติภาวะ คดีของผู้ร้องขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556 วรรคสาม หลังจากมีการสืบพยานผู้ร้องเสร็จไปบางส่วนแล้วอ้างเหตุผลว่าเป็นทนายความคนใหม่ของผู้คัดค้านเพิ่งได้รับการแต่งตั้งและตรวจสำนวนพบคำค้านยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ จึงเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านหลังจากพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดคือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ทั้งเหตุที่อ้างไม่ใช่เหตุอันสมควรตามกฎหมาย และการขอแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นเรื่องกำหนดเวลาฟ้องคดีตามมาตรา 1556 วรรคสามดังกล่าวเป็นอายุความฟ้องคดีมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ทั้งมิใช่การแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 แล้ว จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความให้ศาลจำต้องวินิจฉัยและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงชอบแล้ว ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น

 ปัญหาตามฎีกาผู้คัดค้านข้อที่สามมีว่า ผู้ร้องเป็นบุตรนายประสิทธิ์  ผู้ตายหรือไม่ ได้ความว่าเมื่อนายประสิทธิ์ถูกคนร้ายฆ่าชิงทรัพย์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 นายปรีชาหรือหมึก พุฒใจบุญ ไปบอกนางมยุรามารดาผู้ร้องว่า ผู้คัดค้านทราบเรื่องนายประสิทธิ์ทางวิทยุข่าว จ.ส.100 จึงมาแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าเป็นพี่ชายนายประสิทธิ์เก็บเอกสารและทรัพย์สินของนายประสิทธิ์ไปโดยจะรีบเผาศพนายประสิทธิ์วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 นางมยุราจึงไปแจ้งความเป็นหลักฐานว่าผู้ร้องเป็นบุตรของนายประสิทธิ์ และขอให้แพทย์ตรวจพิสูจน์ความเป็นทายาทตามรายงานประจำวันเอกสารหมาย ร.14 พันตำรวจโทพรชัย สุธีรคุณแพทย์ประจำสถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานแพทย์ใหญ่ กรมตำรวจเบิกความว่า พันตำรวจโทภานุวัฒน์ ฐิตะมาดี ส่งศพนายประสิทธิ์มาพร้อมตัวอย่างเลือดของนางมยุราและผู้ร้องเพื่อให้ตรวจยีนพันธุกรรม พยานตรวจเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกทั้งสามคนแล้วได้ผลการตรวจสารพันธุกรรมเปรียบเทียบสรุปได้ว่าบุคคลทั้งสามมีความสัมพันธ์เป็นพ่อแม่ลูกกัน ตามรายงานตรวจพิสูจน์เอกสารหมาย ร.9 นางมยุรา นายโอฬาร  พี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกับนางมยุรา นางสาวเนียนนารถ คนหาร บุตรนางเนืองซึ่งบิดานายประสิทธิ์ยกนายประสิทธิ์ให้นางเนืองเลี้ยงดูมาแต่เล็กและร่วมกันไปสู่ขอจัดพิธีแต่งงานให้นายประสิทธิ์กับนางมยุราเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงตรงกันว่าผู้ร้องเป็นบุตรนายประสิทธิ์และนางมยุรา นอกจากนี้นายประวิทย์ แซ่ลิ้ม เพื่อนบ้านรู้จักนางมยุรามาแต่รุ่นบิดามารดานางมยุรานานประมาณ 30 ปี เบิกความว่าเห็นนายประสิทธิ์มาหาผู้ร้องเรียกกันว่าพ่อลูก นายปรีชาน้องนางสาวเนียนนารถซึ่งเคยทำงานและพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกับนายประสิทธิ์เบิกความว่านายประสิทธิ์เคยใช้ให้พยานเอาเงินไปให้ผู้ร้องในฐานะที่เป็นบุตรประจำ ส่วนผู้คัดค้านนำพยานมาเบิกความรับว่านายประสิทธิ์เคยแต่งงานกับนายมยุราแต่ไม่นานก็เลิกกัน นายประสิทธิ์ไม่มีบุตรและอยู่คนเดียวมาตลอด พยานผู้คัดค้านส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเป็นญาติกับผู้คัดค้าน แต่ไม่คุ้นเคยกับผู้ร้องกับนางมยุราเพื่อนบ้านที่อ้างเป็นพยานคนกลางก็จะเบิกความทำนองว่านายประสิทธิ์ไม่เคยเล่าเรื่องส่วนตัวของนายประสิทธิ์ให้ฟัง เห็นนายประสิทธิ์อยู่บ้านคนเดียวไม่มีครอบครัว ซึ่งไม่ใช่ข้อพิสูจน์ว่าผู้ร้องมิใช่บุตรนายประสิทธิ์ ข้อฎีกาของผู้คัดค้านเกี่ยวกับเรื่องการแจ้งข้อมูลการตรวจพิสูจน์หลักฐานเกี่ยวกับบุคคลและความเป็นพ่อแม่ลูกของนางมยุราซึ่งอ้างว่ามีข้อพิรุธรวมทั้งความเห็นของแพทย์อื่นตามเอกสารที่อ้างมาท้ายฎีกานั้นผู้คัดค้านมิได้ถามค้านให้ปรากฏเมื่อพันตำรวตโทพรชัยพยานโจทก์มาเบิกความ ศาลฎีกาจึงไม่รับฟังข้ออ้างของผู้คัดค้านดังกล่าว พยานหลักฐานของผู้ร้องที่นำสืบมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของผู้คัดค้าน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นบุตรสืบสายโลหิตของนายประสิทธิ์  ผู้ตาย สำหรับพฤติการณ์ที่นายประสิทธิ์แสดงออกโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปรับรองว่าผู้ร้องเป็นบุตรนั้น เห็นว่า บิดานายประสิทธิ์ยกนายประสิทธิ์ให้นางเนืองไปเลี้ยงดูแต่เด็ก เมื่อมารดาถึงแก่ความตายนายประสิทธิ์มิได้พักอาศัยอยู่กับบิดาญาติพี่น้องข้างบิดารวมทั้งผู้คัดค้านเป็นเวลาหลายปี แม้ไม่ปรากฏขอเท็จจริงชัดเจนว่านายประสิทธิ์มีพฤติการณ์แสดงออกต่อญาติข้างบิดาและเพื่อนบ้านแถวบ้านพักนายประสิทธิ์ซึ่งอยู่ต่างท้องที่กันรับรองว่าผู้ร้องเป็นบุตร แต่นายประสิทธิ์ได้แสดงออกต่อญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านของนางมยุราที่แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของนางมยุราถึงพฤติการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่ามีพฤติการณ์ที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดมาว่าผู้ร้องเป็นบุตรนายประสิทธิ์แล้ว ส่วนฎีกาข้ออื่นของผู้คัดค้านไม่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้ผลการวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของผู้คัดค้านทุกข้อฟังไม่ขึ้น”

 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  มาตรา 1555 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้มีได้แต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขัง หญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้ง ครรภ์ได้
(2) เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาว หรือมีการล่อลวง ร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(3) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
(4) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐาน ว่าบิดาเป็นผู้แจ้งเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
(5) เมื่อบิดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิง มารดาอาจตั้งครรภ์ได้
(6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิง นั้นอาจตั้งครรภ์ได้และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของ ชายอื่น
(7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร

 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

 มาตรา 180 การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อ ศาลไว้แล้ว ให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อน วันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ใน กรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่ มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็น การ แก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อย

 

 




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
สิทธิและหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร,
การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า, การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตรา 1564, ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การคำนวณค่าเลี้ยงดูบุตร, สิทธิเลี้ยงดูบุตร หลังการหย่า,
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร, การรับรองบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตร, การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสิทธิเลี้ยงดูบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร,
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร