ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  6471/2548

จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์จำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้และเมื่อจำเลยมีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้

บุตรผู้เยาว์อยู่กับโจทก์ตลอดมา และโจทก์ประสงค์จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียว ประกอบกับจำเลยรับราชการเป็นอาจารย์ 2 ระดับ 7 ซึ่งถือว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะให้ความช่วยเหลือค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ จึงเห็นควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ผู้เดียว และกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 3,000 บาท”

  โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยากัน โดยได้จดทะเบียนสมรสเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2533 มีบุตรด้วยกัน 1 คน ต่อมาจำเลยประพฤติตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาเป็นเหตุให้ทะเลาะกับโจทก์อยู่ประจำ เมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน 2540 จำเลยได้แกล้งกล่าวหาร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่า โจทก์ประพฤติตัวไม่เหมาะสมและมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับชายอื่นซึ่งเป็นความเท็จ เพื่อจะให้ผู้บังคับบัญชาของโจทก์หลงเชื่อและลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ ทำให้โจทก์เดือดร้อนเสียหายได้รับความดูถูก เกลียดชัง และอับอาย กระทบกระเทือนต่อหน้าที่การงานของโจทก์ และเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2540 โจทก์กับจำเลยตกลงสมัครใจแยกกันอยู่และจำเลยได้ขนย้ายทรัพย์สินออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่น ไม่ได้ติดต่อไปมาหาสู่กับโจทก์และช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์และบุตรอีกจนถึงปัจจุบันเกินกว่า 3 ปีแล้ว โจทก์ประสงค์จะหย่าจากจำเลย ขอให้พิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน

          จำเลยให้การว่า เมื่อปี 2540 จำเลยมีหนังสือถึงผู้บังคับบัญชาของโจทก์เพื่อให้ว่ากล่าวตักเตือนเกี่ยวกับความประพฤติของโจทก์ มิได้เป็นการหมิ่นประมาทหรือทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังแต่ประการใด และโจทก์ฟ้องหย่าโดยเหตุดังกล่าวเกินกว่า 1 ปี จึงขาดอายุความ จำเลยไม่สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์ เหตุที่ไม่ได้อยู่ร่วมกับโจทก์เนื่องจากโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาและโจทก์ไล่จำเลยออกจากบ้านพักที่อยู่ร่วมกัน จำเลยจึงออกไปอยู่อาศัยที่อื่นไปพลางก่อน จำเลยไม่ได้ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา โจทก์เป็นข้าราชการ การที่ไม่ได้อยู่ร่วมกันไม่ได้ทำให้โจทก์เดือดร้อนเกินควร จำเลยได้อุปการะเลี้ยงดูบุตรโดยให้เงินเดือนละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท เพื่อให้บุตรใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น โจทก์ไม่มีเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ค่าฤชาธรรมเนียมเห็นสมควรให้เป็นพับ

          จำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 1,000 บาท แทนโจทก์

          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามใบสำคัญการสมรสเอกสารหมาย จ.1 ในปี 2539 โจทก์จำเลยมีเรื่องไม่เข้าใจกันทะเลาะกันเกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์คบกับนายธนวัฒน์ เที่ยงศักดิ์ ต่อมาวันที่ 13 มิถุนายน 2540 โจทก์และจำเลยนำญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายมาเจรจาตกลงกันในที่สุดตกลงกันว่าต่างฝ่ายต่างแยกกันอยู่ และจำเลยได้ขนย้ายทรัพย์สินของจำเลยออกไปจากบ้านบิดามารดาโจทก์ ซึ่งเป็นบ้านที่อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา โดยจำเลยกลับไปอยู่บ้านบิดามารดาจำเลย หลังจากนั้นจำเลยไม่เคยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์อีกเลย มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เป็นเวลาเกิน 3 ปี อันเป็นเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (4/2) หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้สมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์แต่เพราะโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยอยู่ร่วมกับโจทก์ฉันสามีภริยาจนวันที่ 13 มิถุนายน 2540 ญาติของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายได้มาช่วยเจรจาให้โจทก์จำเลยปรองดองกัน แต่ไม่เป็นผล เพราะโจทก์ประสงค์จะหย่าสถานเดียว เมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยอยู่ร่วมด้วย จำเลยจึงแยกกันอยู่กับโจทก์ เห็นว่า หลังจากที่มีการเจรจาให้ปรองดองกันแต่ไม่เป็นสำเร็จ และจำเลยแยกไปอยู่ที่อื่นแล้วระยะหนึ่ง ต่อมาในปลายปีนั้นเอง จำเลยทำหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.2 ว่า โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจทำให้โจทก์ถูกลงโทษทางวินัย และย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นหญิงได้รับความอับอายขายหน้าต่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้านหรือบุคคลทั่วไป แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้ขวนขวายที่จะให้มีการอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ต่อไปจึงได้กระทำการอันก่อให้เกิดความบาดหมางกันยิ่งขึ้นสุดที่จะอยู่กินด้วยกันได้อีก และนับแต่วันที่แยกกันอยู่ดังกล่าวจนถึงวันฟ้อง (วันที่ 31 กรกฎาคม 2544) เป็นเวลานานถึง 4 ปี จำเลยไม่ได้ส่งเสียงอุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือกลับไปหาโจทก์อีกเลย พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์จำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (4/2) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น และเมื่อจำเลยมีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชายเกริกเกียรติ เกตุษา ซึ่งเกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2534 ตามสำเนาทะเบียนบ้านเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 วรรคสอง บัญญัติว่า “ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด...” และมาตรา 1522 วรรคสอง บัญญัติว่า “ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด” ดังนี้ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยในเรื่องด้งกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไข เมื่อได้ความจากพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยที่นำสืบมาว่า หลังจากแยกกันอยู่ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2540 บุตรผู้เยาว์อยู่กับโจทก์ตลอดมา และโจทก์ประสงค์จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียว ประกอบกับจำเลยรับราชการเป็นอาจารย์ 2 ระดับ 7 ซึ่งถือว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะให้ความช่วยเหลือค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ จึงเห็นควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ผู้เดียว และกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 3,000 บาท”

          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชายเกริกเกียรติ  ผู้เยาว์แต่ผู้เดียว และให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน จนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่กับโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์จำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยได้และเมื่อจำเลยมีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน 1 คน ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวได้และให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้ด้วย

 

หลังจากโจทก์และจำเลยแยกกันอยู่บุตรผู้เยาว์อยู่กับโจทก์ตลอดมา และโจทก์ประสงค์จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวจำเลยรับราชการถือว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะให้ความช่วยเหลือค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้พิพากษาให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่ผู้เดียว และกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 3,000 บาท

 

 

มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้.. (4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี  หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี  ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร