สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้ -ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) @leenont หรือ (2) @leenont1 หรือ (3) @peesirilaw หรือ (4) peesirilaw (5) leenont -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้ กฎหมายห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา เมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ที่นำที่ดินของโจทก์ไปขายให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 นำที่ดินไปจำนองไว้กับจำเลยที่ 3 ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้ และฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ในคดีเดียวกันนั้นต่อไปได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2549 ตามคำฟ้องโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 195 ต. เขาทราย อ. ทับคล้อ จ. พิจิตร โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินแปลงดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ทำเกินขอบอำนาจโดยจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 จำนองต่อจำเลยที่ 3 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว แม้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะเป็นการฟ้องบุพการีต้องห้ามตาม ป.พ.พ. 1562 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปได้ มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันส่งมอบที่ดิน ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 195 ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร พร้อมบ้านเลขที่ 947 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวคืนโจทก์ และให้จำเลยที่ 2 และบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 2 ให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง วันนัดชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นสอบถามโจทก์แล้ว โจทก์แถลงว่าจำเลยที่ 1 เป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จริง และก่อนคดีนี้โจทก์ได้ร้องขอให้พนักงานอัยการจังหวัดพิจิตรฟ้องจำเลยที่ 1 ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 340/2540 ของศาลชั้นต้น และต่อมาศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดการชี้สองสถานและงดสืบพยาน ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้ตกเป็นพับ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือไม่ เห็นว่า ตามคำฟ้องโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 195 ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินแปลงดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ทำเกินขอบอำนาจโดยจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 จำนองต่อจำเลยที่ 3 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว แม้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 เพราะเป็นการฟ้องบุพการีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วยเหตุที่จำเลยที่ 1 เป็นบุพการีของโจทก์ ฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมตกไปด้วยนั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว พิพากษาใหม่ตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในชั้นนี้ให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น. ( เฉลิมชัย จารุไพบูลย์ - พิชิต คำแฝง - สุรภพ ปัทมะสุคนธ์ ) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้
-มาตรา 21 อนึ่ง ในฟ้องนั้นเป็นคนอุทลุม มิได้รู้คุณพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย อันหาความแก่พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ก็ดี ให้ยกฟ้องเสีย -มาตรา 25 ผู้ใดเป็นคนอุทลุม มิได้รู้คุณบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย แลมันมาฟ้องร้องให้เรียกบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยายมัน ท่านให้มีโทษทวนมันด้วยลวดหนังโดยฉกรรจ์ อย่าให้มันคนร้ายนั้นดูเยี่ยงอย่างกันต่อไป แล้วอย่าให้บังคับบัญชาว่ากล่าวคดีของมันนั้นเลย
|