ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า, การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตรา 1564, ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง

 ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

 

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

 •  การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่าในกฎหมายไทย

•  กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 

    การอุปการะเลี้ยงดูบุตร

•  ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง

•  ความรับผิดชอบของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูบุตร

•  คำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องการดูแลบุตรผู้เยาว์

•  การแบ่งค่าเลี้ยงดูบุตรระหว่างพ่อแม่หลังหย่า

•  สิทธิการใช้อำนาจปกครองบุตรในกรณีหย่าร้าง

สรุปย่อ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2567 ดังนี้

โจทก์และผู้คัดค้านหย่าขาดกันโดยมีข้อตกลงให้ผู้คัดค้านดูแลบุตรเพียงฝ่ายเดียว และโจทก์ต้องชำระค่าเลี้ยงดูบุตร 20,000 บาทต่อเดือน แต่ต่อมา บุตรย้ายมาอยู่กับโจทก์ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งผู้คัดค้านไม่ได้มีส่วนช่วยในการดูแลบุตร ทำให้โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนการใช้อำนาจปกครองและให้ผู้คัดค้านรับผิดชอบค่าเลี้ยงดูแทน

ศาลชั้นต้นตัดสินให้ทั้งสองฝ่ายมีอำนาจปกครองร่วมกัน โดยให้ผู้คัดค้านจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรแก่โจทก์ 10,000 บาทต่อเดือน ส่วนศาลอุทธรณ์ปรับลดเป็น 5,000 บาท ศาลฎีกาตัดสินว่าโจทก์ไม่ค้างค่าเลี้ยงดูระหว่างที่บุตรอยู่กับตน และเห็นพ้องให้ผู้คัดค้านจ่ายค่าเลี้ยงดูเดือนละ 5,000 บาท ตามฐานะทางการเงินของทั้งสองฝ่าย

หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 กำหนดหน้าที่ของบิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งมีเนื้อความว่า "บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์"

ความสำคัญของมาตรา 1564 ในคดีนี้

หลักกฎหมายนี้ระบุให้ทั้งบิดาและมารดาต้องร่วมกันรับผิดชอบในการดูแลบุตร ไม่ใช่ความรับผิดชอบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว หน้าที่นี้ครอบคลุมทั้งการเลี้ยงดู การจัดหาความจำเป็นในการดำรงชีวิต และการให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร ในคดีนี้ เมื่อบุตรได้ย้ายไปอยู่กับโจทก์ ฝ่ายผู้คัดค้านจึงมีหน้าที่ต้องช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูตามกำลังและฐานะทางการเงินของตน ซึ่งศาลพิจารณากำหนดให้ผู้คัดค้านจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่โจทก์เป็นจำนวน 5,000 บาทต่อเดือน เพื่อแบ่งเบาภาระของโจทก์ที่รับผิดชอบดูแลบุตรเป็นหลัก

การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่าในกฎหมายไทย, กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564,  การอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง, ความรับผิดชอบของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูบุตร, คำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องการดูแลบุตรผู้เยาว์, การแบ่งค่าเลี้ยงดูบุตรระหว่างพ่อแม่หลังหย่า, สิทธิการใช้อำนาจปกครองบุตรในกรณีหย่าร้าง,

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2567

ข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบของผู้ร้อง ซึ่งผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่าบุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้องเป็นการถาวรตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นแม้ในหนังสือข้อตกลงหย่า ข้อ 1.2 ระบุว่า ฝ่ายชายยินดีให้ค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่า โดยจะแบ่งจ่ายเป็นรายอาทิตย์ทั้งนี้ไม่เกิน 20,000 บาท ต่อเดือน โดยโอนเข้าบัญชีฝ่ายหญิงทุกครั้ง... ก็ตาม แต่เหตุที่ตกลงเช่นนั้นก็เนื่องมาจากขณะนั้นบุตรผู้เยาว์พักอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเมื่อปรากฏว่าข้อเท็จจริงได้เปลี่ยนแปลงไปโดยบุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้อง ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องเป็นผู้ชำระทั้งสิ้น ทั้งผู้คัดค้านก็ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าตั้งแต่บุตรผู้เยาว์ย้ายมาพักอาศัยกับผู้ร้องแล้วผู้คัดค้านได้ใช้จ่ายสิ่งใดที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ไปบ้าง ดังนั้น หากให้ผู้ร้องต้องชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านตามข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 อีก ก็เท่ากับว่าผู้ร้องต้องชำระเงินเพิ่มจากที่ตกลงกันไว้ ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์ของคู่สัญญาที่ประสงค์จะให้ข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 เป็นไปเพื่อการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อย่างแท้จริง

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว และให้บุตรผู้เยาว์มาอยู่อาศัยกับผู้ร้องโดยผู้ร้องไม่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านอีกต่อไป กับบังคับให้ผู้คัดค้านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท แก่ผู้ร้อง และให้ผู้คัดค้านคืนบ้านดิ เออร์เบิร์น แก่ผู้ร้องเพื่อให้ผู้ร้องกับบุตรผู้เยาว์ใช้อยู่อาศัยต่อไป

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านและฟ้องแย้งขอให้ยกคำร้องขอและบังคับให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ 475,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน กับให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อีกเดือนละ 20,000 บาท แก่ผู้คัดค้านนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือมีงานทำ

ผู้ร้องให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าให้ผู้ร้องกับผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป. บุตรผู้เยาว์ร่วมกัน โดยให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเฉพาะในส่วนการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (1) และให้ผู้คัดค้านมีสิทธิติดต่อเยี่ยมเยียนบุตรผู้เยาว์กับรับบุตรผู้เยาว์ไปดูแลในวันหยุดราชการตามควรแก่พฤติการณ์ตามมาตรา 1584/1 ทั้งนี้ ตามความยินยอมของบุตรผู้เยาว์ และให้ผู้คัดค้านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 10,000 บาท แก่ผู้ร้อง นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา (ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564) เป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ กับให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ 49,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้ง (ฟ้องแย้งวันที่ 14 กันยายน 2563) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้ปรับเปลี่ยนลดลงหรือเพิ่มขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอท้ายฟ้องแย้ง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

ผู้คัดค้านอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้คัดค้านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ป. บุตรผู้เยาว์ เดือนละ 5,000 บาท แก่ผู้ร้อง นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา (ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564) เป็นต้นไปจนกว่าบุตรผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะ และให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ค้างชำระแก่ผู้คัดค้าน 542,740 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 262,740 บาท นับแต่วันฟ้องแย้ง (ฟ้องแย้งวันที่ 14 กันยายน 2563) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปีหรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอท้ายฟ้องแย้ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

ผู้ร้องและผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติว่า ผู้ร้องกับผู้คัดค้านเคยจดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550 มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ป. เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2550 ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ผู้ร้องกับผู้คัดค้านจดทะเบียนการหย่ากันโดยทำหนังสือข้อตกลงหย่า โดยให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว และผู้ร้องตกลงให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่าโดยโอนเข้าบัญชีผู้คัดค้าน ชื่อบัญชีนางศิภาพัชร์ ยกเว้นผู้คัดค้านมีครอบครัวใหม่จะเปลี่ยนเป็นโอนเข้าบัญชีบุตรทันที จนกว่าบุตรจะมีงานทำ ต่อมาวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้ร้องรับบุตรผู้เยาว์มาอยู่อาศัยกับผู้ร้องตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป.บุตรผู้เยาว์ร่วมกันโดยให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเฉพาะในส่วนการกำหนดที่อยู่ของบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อแรกว่า ผู้ร้องค้างชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ช่วงระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2561 จนถึงวันที่ 12 กันยายน 2562 หรือไม่ เห็นว่า ตามหนังสือข้อตกลงหย่า ข้อ 1.2 ระบุว่า ฝ่ายชายยินดีให้ค่าเลี้ยงดูบุตรเดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่า โดยจะแบ่งจ่ายเป็นรายอาทิตย์ ทั้งนี้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อเดือน โดยโอนเข้าบัญชีฝ่ายหญิงทุกครั้ง ชื่อบัญชีนางศิภาพัชร์ ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องไม่ได้ค้างชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามฟ้องแย้งโดยมีหลักฐานการโอนเงินผ่านระบบธนาคาร ก. เอกสารหมาย ร.7 มาแสดงซึ่งเมื่อพิจารณาเอกสารหมาย ร.7 ประกอบรายการโอนเงินเอกสารหมาย ค.19 ซึ่งมียอดวัน เวลา จำนวนเงินที่โอนตรงกันแล้ว ปรากฏว่าตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561 อันเป็นวันที่ข้อตกลงหย่ามีผลบังคับถึงวันที่ 12 กันยายน 2562 มีรายการโอนเงินจากบัญชีของผู้ร้องเข้าบัญชีของผู้คัดค้านทั้งสิ้น 163,260 บาท เข้าบัญชีของนางมาลี มารดาผู้ร้อง 15,000 บาท และเข้าบัญชีของบุตรผู้เยาว์ 5,000 บาท ซึ่งผู้ร้องและบุตรผู้เยาว์เบิกความตรงกันว่า เหตุที่โอนเงินเข้าบัญชีของนางมาลีเนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่บุตรผู้เยาว์ไปพักอาศัยอยู่กับนางมาลี ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ผู้ร้องได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ไปแล้วทั้งสิ้น 183,260 บาท ที่ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องยังได้ชำระค่าไฟฟ้าและค่าสัญญาณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายจำนวน 1,245 บาท และ 1,495 บาทตามลำดับ ซึ่งถือเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูส่วนหนึ่ง จึงต้องรวมไว้ในส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ผู้ร้องได้ชำระแล้วด้วยนั้น เห็นว่า เป็นข้ออ้างลอย ๆ ของผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว ผู้คัดค้านมิได้ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย ทั้งผู้ร้องก็มิได้มีหลักฐานมาแสดงยืนยันว่าได้ชำระค่าไฟฟ้าและค่าสัญญาณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายดังกล่าวไปเพื่อประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์จริง จึงรับฟังไม่ได้ตามที่อ้างและส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเงินสดให้แก่บุตรผู้เยาว์ในช่วงเดือนมิถุนายน 2561 ถึงเดือนกันยายน 2562 เป็นจำนวน 50,000 บาท และ 80,000 บาท นั้น ก็ไม่ปรากฏหลักฐานแต่อย่างใด แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของบุตรผู้เยาว์ว่า ช่วงที่ผู้ร้องให้เงินสดแก่บุตรผู้เยาว์โดยตรงนั้น ผู้ร้องจะให้ในวันเสาร์ที่พบกัน โดยจะให้ครั้งละ 2,000 บาท ต่อหนึ่งอาทิตย์ ที่เหลือ 3,000 บาท ผู้ร้องจะฝากไว้ให้ในบัญชีธนาคาร แต่บุตรผู้เยาว์ยังไม่เห็นบัญชีธนาคารดังกล่าวเนื่องจากผู้ร้องเป็นคนเก็บไว้ก็ตาม จึงยังไม่แน่ชัดว่าผู้ร้องให้เงินบุตรผู้เยาว์ในช่วงเวลาใด เป็นจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ดังนั้นเมื่อนำเงินที่ผู้ร้องชำระตามเอกสารหมาย ร.7 ซึ่งมียอดตรงกับเอกสารหมาย ค.19 ไปหักออกจากจำนวนเงินที่ผู้ร้องต้องชำระระหว่างเดือนมิถุนายน 2561 ถึงวันที่ 12 กันยายน 2562 เป็นเวลา 15 เดือน 2 สัปดาห์ คิดเป็นเงิน 310,000 บาท แล้วคงเป็นเงินที่ผู้ร้องค้างชำระแก่ผู้คัดค้านจำนวน 126,740 บาท ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังไม่ขึ้น แต่เนื่องจากคดีนี้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้ผู้ร้องชำระเงินในยอดดังกล่าวแก่ผู้คัดค้าน จำนวน 122,740 บาท และผู้คัดค้านมิได้รับอนุญาตให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ความรับผิดของผู้ร้องจึงมีเพียงเท่าที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษามาเท่านั้น ศาลฎีกาไม่อาจพิพากษาให้ผู้ร้องรับผิดเกินกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษได้

ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องข้อต่อไปว่า ผู้ร้องต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ช่วงระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือไม่ เห็นว่า ข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบของผู้ร้องซึ่งผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า บุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้องเป็นการถาวรตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นแม้ในหนังสือข้อตกลงหย่า ข้อ 1.2 ระบุว่า ฝ่ายชายยินดีให้ค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 20,000 บาท นับแต่วันหย่า โดยจะแบ่งจ่ายเป็นรายอาทิตย์ทั้งนี้ไม่เกิน 20,000 บาท ต่อเดือน โดยโอนเข้าบัญชีฝ่ายหญิงทุกครั้ง... ก็ตาม แต่เหตุที่ตกลงเช่นนั้นก็เนื่องมาจากขณะนั้นบุตรผู้เยาว์พักอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเมื่อปรากฏว่าข้อเท็จจริงได้เปลี่ยนแปลงไปโดยบุตรผู้เยาว์ได้ย้ายมาอยู่อาศัยกับผู้ร้องตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงปัจจุบัน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องเป็นผู้ชำระทั้งสิ้น ทั้งผู้คัดค้านก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าตั้งแต่บุตรผู้เยาว์ย้ายมาพักอาศัยกับผู้ร้องแล้ว ผู้คัดค้านได้ใช้จ่ายสิ่งใดที่เกี่ยวกับบุตรผู้เยาว์ไปบ้าง ดังนั้นหากให้ผู้ร้องต้องชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านตามข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 อีก ก็เท่ากับว่าผู้ร้องต้องชำระเงินเพิ่มจากที่ตกลงกันไว้ ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์ของคู่สัญญาที่ประสงค์จะให้ข้อตกลงหย่าในข้อ 1.2 เป็นไปเพื่อการเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อย่างแท้จริง ที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษาให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์แก่ผู้คัดค้านตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 จนถึงวันฟ้องแย้งและจากวันที่ฟ้องแย้งไปจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษารวมจำนวน 420,000 บาทนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องข้อนี้ฟังขึ้น

มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องและผู้คัดค้าน ซึ่งศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไปพร้อมกันในคราวเดียวว่า ผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ให้ผู้ร้องหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์..." ดังนั้นหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จึงเป็นของบิดาและมารดา มิใช่หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งศาลอาจกำหนดให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ตามมาตรา 1598/38 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากทางนำสืบของผู้ร้องและผู้คัดค้านว่า ผู้ร้องเป็นพนักงานธนาคาร ก. ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย มีอัตราเงินเดือน 108,060 บาท และค่าครองชีพเดือนละ 1,500 บาท แต่มีรายจ่ายที่ต้องผ่อนชำระหนี้ธนาคารจำนวนมาก ส่วนผู้คัดค้านประกอบอาชีพอิสระ ขายสินค้าออนไลน์ เป็นนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ รับจ้างทั่วไป และช่วยดูแลสวนยางพาราของบิดามารดามีรายได้รวมกันไม่น้อยกว่า 300,000 บาท ต่อปี ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษกำหนดให้ผู้คัดค้านชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์เดือนละ 5,000 บาท นั้นเหมาะสมแล้วและไม่เกินคำขอแต่อย่างใด ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องและผู้คัดค้านข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ผู้ร้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ค้างชำระแก่ผู้คัดค้าน 122,740 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องแย้ง (วันที่ 14 กันยายน 2563) เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ตามที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้คัดค้าน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
สิทธิและหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร,
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การคำนวณค่าเลี้ยงดูบุตร, สิทธิเลี้ยงดูบุตร หลังการหย่า,
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร, การรับรองบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตร, การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสิทธิเลี้ยงดูบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร,
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร