ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ

หน้าที่ของบิดามารดาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นให้กระทำขณะเป็นผู้เยาว์หมายความว่าการอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ ซึ่งอาจบรรลุนิติภาวะได้โดยการสมรสเมื่ออายุ 17 ปีบริบูรณ์ หรือมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ การที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นช่วงระยะเวลาจนบุตรผู้เยาว์อายุ 20 ปีนั้น ไม่ถูกต้อง เห็นควรแก้ไขให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าบุตรผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10289/2559

หน้าที่ของบิดามารดาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นให้กระทำขณะเป็นผู้เยาว์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 แสดงว่าการอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ ซึ่งอาจบรรลุนิติภาวะได้โดยการสมรสเมื่ออายุ 17 ปีบริบูรณ์ หรือมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ การที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นช่วงระยะเวลาจนบุตรผู้เยาว์อายุ 20 ปีนั้น ไม่ถูกต้อง เห็นควรแก้ไขให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าบุตรผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 155 บัญญัติว่า ในการยื่นคำฟ้องหรือคำร้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในคดีครอบครัวเพื่อเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียม จึงได้รับยกเว้นค่าขึ้นศาลและคดีไม่มีค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับไม่ชอบ และที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามานั้นจึงไม่ชอบเช่นกัน เห็นควรให้ยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ และให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาแก่จำเลย

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นเงิน 3,780,000 บาท ค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์เดือนละ 30,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนถึงอายุ 60 ปี นางสาว ว. เดือนละ 30,000 บาท เด็กชาย ภ. เดือนละ 30,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์

จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ที่ 1 เดือนละ 10,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2552 จนผู้เยาว์ที่ 1 อายุครบ 15 ปี บริบูรณ์ และเดือนละ 15,000 บาท นับตั้งแต่ผู้เยาว์ที่ 1 อายุครบ 15 ปี บริบูรณ์ ถึง 20 ปี บริบูรณ์ และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ที่ 2 เดือนละ 10,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2552 จนผู้เยาว์ที่ 2 อายุครบ 15 ปี บริบูรณ์ และเดือนละ 15,000 บาท นับตั้งแต่ผู้เยาว์ที่ 2 อายุครบ 15 ปี บริบูรณ์ถึง 20 ปี บริบูรณ์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความให้เป็นพับ และให้คำสั่งอายัดแคชเชียร์เช็คธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) เลขที่ 0212601 ฉบับลงวันที่ 8 สิงหาคม2556 จำนวน 2,708,437 บาท ยังมีผลบังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา และให้ยกเลิกคำสั่งอายัดเงินฝากในบัญชีเงินฝากธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน) สาขาตลิ่งชัน บัญชีเลขที่ 134-2-18xxx-x บัญชีเลขที่134-2-24xxx-x และบัญชีเลขที่ 134-3-31xxx-x และบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาเดอะมอลล์ บางแค บัญชีเลขที่ 238-4-41xxx-x

โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ที่ 1 เดือนละ 8,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2552 จนผู้เยาว์ที่ 1 อายุครบ 15 ปี บริบูรณ์ และเดือนละ 10,000 บาท หลังจากผู้เยาว์ที่ 1 อายุ 15 ปี บริบูรณ์ถึง 20 ปี บริบูรณ์ และให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ที่ 2 เดือนละ 8,000 บาท นับตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2552 จนผู้เยาว์ที่ 2 อายุครบ 15 ปี บริบูรณ์ และเดือนละ 10,000 บาท หลังจากผู้เยาว์ที่ 2 อายุครบ 15 ปี บริบูรณ์ ถึง 20 ปี บริบูรณ์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้พร้อมกับยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ขอให้อายัดเงินของจำเลยที่ได้รับจากการขายที่ดินโฉนดเลขที่ 9768 จำนวน 2,708,437 บาท ซึ่งเป็นแคชเชียร์เช็คของธนาคารเกียรตินาคิน และยื่นคำร้องขอขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินขอให้อายัดเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ฝากไว้ที่ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาตลิ่งชัน 3 บัญชี และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาเดอะมอลล์บางแค 1 บัญชี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดแคชเชียร์เช็คธนาคารเกียรตินาคิน เช็คเลขที่ 0212601 ฉบับลงวันที่ 8 สิงหาคม 2556 จำนวน 2,708,437 บาท จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กับให้โจทก์วางเงินประกันความเสียหาย 30,000 บาท และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดเงินให้บัญชีเงินฝาก ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)สาขาตลิ่งชัน บัญชีเลขที่ 134-2-18xxx-x บัญชีเลขที่ 134-2-24xxx-x และบัญชีเลขที่ 134-3-31xxx-x และบัญชีเงินฝาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาเดอะมอลล์บางแค บัญชีเลขที่ 238-4-41xxx-x บัญชีละกึ่งหนึ่ง จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น กับให้โจทก์วางเงินประกันความเสียหายเพิ่มอีก 10,000 บาทต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองและให้คำสั่งอายัดและแคชเชียร์เช็ค ธนาคารเกียรตินาคิน เช็คเลขที่ 0212601 ฉบับลงวันที่ 8 สิงหาคม 2556 จำนวน 2,708,437 บาท ยังมีผลบังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา และให้ยกเลิกคำสั่งอายัดเงินฝากในบัญชีธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาตลิ่งชัน ทั้งสามบัญชี และในบัญชีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาเดอะมอลล์บางแค คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ฎีกา

คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ประสงค์จะแยกกันอยู่กับโจทก์ แต่ที่ต้องออกจากบ้านไปเพราะเหตุที่โจทก์ประพฤติผิดกฎหมายและศีลธรรม ทำให้โจทก์ถูกกล่าวหาในคดีอาญากรณีทุจริตต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ จำเลยจะมีอันตรายจากการที่เข้าให้ถ้อยคำเป็นพยานในคดีอาญา กระทรวงยุติธรรมจึงจัดให้มีการคุ้มครองพยานแก่จำเลย ทำให้จำเลยไม่สามารถกลับเข้ามาพักอาศัยกับโจทก์ ทั้งโจทก์มีความสามารถและมีฐานะดีเพียงพอที่จะให้การอุปการะบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้เพราะโจทก์มีรายได้จากการประกอบกิจการ ร้านออลสตาร์คาร์เซอร์วิส ซึ่งบางเดือนรายได้เกือบถึง 1,000,000 บาท และมีบ้าน 2 หลัง ส่วนจำเลยมีรายได้จากเงินบำนาญเดือนละ 16,500 บาทเพียงทางเดียว จำเลยมีอาการเจ็บป่วยและพิการทุพพลภาพตาบอดและตาเลือนรางอยู่ในสภาพที่ไม่มีความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติได้ จำเลยมิได้ปฏิเสธที่จะชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสอง แต่จำเลยได้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูด้วยเงินสินสมรสที่หามาได้จากกิจการร้านออลสตาร์คาร์เซอร์วิส ที่จำเลยสร้างมาระหว่างสมรสและโจทก์เป็นผู้ดูแลกิจการแทนจำเลย ถือได้ว่าจำเลยในฐานะบิดาได้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูด้วยเช่นกัน หากเป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว จำเลยจะไม่มีเงินเหลือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตเลย ขอให้ยกฟ้อง เห็นว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยแยกกันอยู่ โดยไม่ได้จดทะเบียนหย่า ผู้เยาว์ทั้งสองพักอาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์ โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดามารดามีหน้าที่ต้องร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรทั้งสองในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์อยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มีทรัพย์สินมากกว่าและมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงดูผู้เยาว์ทั้งสองเพื่อปฏิเสธไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้ จำเลยฎีกาว่าร้านออลสตาร์คาร์เซอร์วิส ที่จำเลยสร้างมาระหว่างสมรสและโจทก์เป็นผู้ดูแลกิจการแทนจำเลย ถือได้ว่าจำเลยในฐานะบิดาได้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูด้วยเช่นกันนั้น จำเลยไม่สามารถอ้างได้เพราะกิจการดังกล่าวเป็นสินสมรส กรณีการแบ่งสินสมรสเป็นคนละส่วนกับความสามารถของจำเลยในการชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ทั้งสอง และที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยต้องออกจากบ้านไปเพราะความผิดของโจทก์นั้น ก็เป็นเพียงเหตุแห่งการหย่า จำเลยยังคงต้องมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์อยู่ ปัญหาว่าจำเลยต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ทั้งสองเพียงใด ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีรายได้จากเงินบำนาญเดือนละ 16,500 บาท ไม่มีรายได้อื่น จำเลยมีหนี้หลายจำนวนที่ต้องผ่อนชำระ ประกอบกับจำเลยพิการทางสายตา ตาบอดและตาเลือนราง ไม่มีความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติได้ ส่วนโจทก์ประกอบกิจการร้านออลสตาร์คาร์เซอร์วิส มีรายได้จากสินสมรสเดือนละ 300,000 บาท และเป็นผู้ดูแลบุตรทั้งสอง โดยบุตรคนแรกเรียนที่โรงเรียนนานาชาติซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และป่วยเป็นโรคซึมเศร้าต้องพักการเรียนเป็นระยะ ต้องรับการรักษาและพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง บุตรคนที่สองเรียนอยู่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการจังหวัดนนทบุรี เมื่อพิจารณาสภาวะเศรษฐกิจในขณะฟ้อง ระดับการศึกษา วัย และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นของผู้เยาว์ทั้งสองแล้ว ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองน้อยกว่าโจทก์ แต่มิได้กำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามสัดส่วนของรายได้ของโจทก์และจำเลย ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้เหมาะสม ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้นบางส่วน ส่วนฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา

อนึ่ง หน้าที่ของบิดามารดาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นให้กระทำขณะเป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 แสดงว่าการอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ ซึ่งอาจบรรลุนิติภาวะได้โดยการสมรสเมื่ออายุ 17 ปีบริบูรณ์ หรือมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ การที่ศาลล่างกำหนดให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นช่วงระยะเวลาจนบุตรผู้เยาว์อายุ 20 ปีนั้น ไม่ถูกต้อง เห็นควรแก้ไขให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูจนกว่าบุตรผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ และพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 155 บัญญัติว่า "ในการยื่นคำฟ้องหรือคำร้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในคดีครอบครัวเพื่อเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียม" จึงได้รับยกเว้นค่าขึ้นศาลและคดีไม่มีค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับไม่ชอบ และที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามานั้นจึงไม่ชอบเช่นกัน เห็นควรให้ยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ และให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาแก่จำเลย

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ผู้เยาว์ทั้งสอง เดือนละ4,000 บาทต่อคน นับตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2552 จนผู้เยาว์ทั้งสองอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ และเดือนละ 5,000 บาทต่อคน หลังจากผู้เยาว์ทั้งสองอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์จนผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่สั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ กับคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท แก่จำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

 

 

การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
สิทธิและหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร,
การเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า, การอุปการะเลี้ยงดูบุตร มาตรา 1564, ข้อตกลงการเลี้ยงดูบุตรในกรณีหย่าร้าง
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, การคำนวณค่าเลี้ยงดูบุตร, สิทธิเลี้ยงดูบุตร หลังการหย่า,
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร, การรับรองบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองบุตร, การยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสิทธิเลี้ยงดูบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
กฎหมายเรื่อง,ฟ้องร้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ฟ้องหย่า, อำนาจปกครองบุตร,
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร