ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย

ทนายความ ฟ้องหย่า lawyer

การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้อยู่ร่วมกับมารดาเด็กในเวลาตั้งครรภ์

กฎหมายกำหนดข้อสันนิษฐานความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองเด็กในเบื้องต้น แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด ฉะนั้น หากปรากฏในภายหลังว่าเด็กมิใช่บุตร ชายผู้ถูกสันนิษฐานว่าเป็นบิดาย่อมฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรได้ โดยต้องมีหลักฐานหรือข้ออ้างตามกฎหมายที่จะนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรนั้น  นอกเหนือจากชายผู้เป็นบิดาเด็กตามข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายจะฟ้องคดีได้แล้ว กฎหมายยังให้อำนาจแก่ทายาทของชายผู้เป็นบิดาตามข้อสันนิษฐานที่จะฟ้องคดีแทนในกรณีที่ชายผู้เป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปแล้วได้อีกด้วย

 เด็กที่เกิดระหว่างการสมรส หรือภายใน 310 วัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง หรือนับแต่วันมีคำพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ ซึ่งกฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นหรือเคยเป็น สามี ตาม มาตรา 1536 เด็กที่เกิดภายใน 310 วัน นับแต่การสมรสเดิมสิ้นสุดลง ในกรณีที่หญิงมารดาทำการสมรสใหม่ภายใน 310 วัน นับแต่วันที่ขาดจากการสมรสครั้งก่อน ซึ่งกฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่ ตาม มาตรา 1537 ตลอดจนเด็กที่เกิดระหว่างการสมรสซ้อนของหญิงมารดา หรือเกิดภายใน 310 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาว่าการสมรสซ้อนนั้นเป็นโมฆะ ซึ่งถูกสันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีที่ได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง ตาม มาตรา 1538 นั้น ชายผู้เป็นหรือ เคยเป็นสามีซึ่งต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามกฏหมายว่าเป็นบิดาเด็ก ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรได้โดยมีหลักเกณฑ์การยื่นฟ้องดังนี้

ก. ฟ้องเด็กและมารดาเป็นจำเลยร่วมกัน เพราะถือว่าบุคคลทั้งสองเป็นคู่พิพาทโดยตรง

ข. ฟ้องเด็กแต่ผู้เดียว หากขณะยื่นฟ้องมารดาเด็กไม่มีชีวิตอยู่ ก็ให้ฟ้องเด็กเป็นจำเลยแต่ผู้เดียวเพราะเด็กเป็นคู่กรณีโดยตรง

ค. ยื่นเป็นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าเด็กนั้นไม่ใช่บุตร เป็นการยื่นคำร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ถ้าเด็กไม่มีชีวิตอยู่ไม่ว่ามารดาเด็กจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ ให้ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามียื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าเด็กไม่เป็นบุตรของตน หากมารดาเด็กหรือทายาทของเด็กยังมีชีวิตอยู่ ศาลจะต้องส่งสำเนาคำร้องนี้ไปให้มารดาเด็กและทายาทของเด็กด้วย นอกจากนี้ ศาลจะส่งสำเนาคำร้องไปให้อัยการพิจารณาเพื่อดำเนินคดีแทนเด็กก็ได้ ถ้าศาลเห็นสมควร

       ในการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรนี้ ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะต้องพิสูจน์ลบล้างข้อสันนิษฐานความเป็นบุตร โดยจะต้องพิสูจน์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

ก. ตนไม่ได้อยู่ร่วมกับมารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรภ์ คือระหว่าง 180 วันถึง 310 วันก่อนเด็กเกิด

ข้อเท็จจริงที่ว่า "ต้นไม่ได้อยู่ร่วมกับมารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรภ์" ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้ว่าตลอดระยะเวลาดังกล่าวตนไม่อาจไปมาหาสู่มารดาเด็กได้อย่างเด็ดขาด เช่น ไปต่างประเทศและมิได้เดินทางกลับมาในระยะเวลาที่มารดาเด็กอาจตั้งครรภ์ได้ หรือถูกจำคุกหรือกักขังเป็นต้น การนำสืบแต่เพียงว่าไม่ได้ร่วมประเวณีกับมารดาเด็กตั้งแต่เมื่อใดเป็นต้นมา เป็นการนำสืบลอยๆ จึงไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้

ข. ต้นไม่สามารถเป็นบิดาของเด็กได้เพราะเหตุอย่างอื่น

       กรณีนี้ ชายผู้เป็นสามีอาจอยู่ร่วมกับมารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรภ์ จึงไม่อาจพิสูจน์ในข้อแรกได้ แต่อาจพิสูจน์ได้ว่าตนไม่สามารถเป็นบิดาของเด็กได้ เพราะเหตุประการอื่น เช่น พิสูจน์ว่าตนเป็นหมันหรือมีอวัยสืบพันธุ์พิการ ไม่อาจมีบุตรกับใครได้ หรือเป็นโรคกามตายด้าน หรือการพิสูจน์หมู่เลือดของตนและเด็กว่าอยู่คนละกลุ่มกัน หรือพิสูจน์ถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรมระหว่างตนกับเด็ก เช่น รูปร่างหน้าตา หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของเด็กแตกต่างจากของชายผู้เป็นสามีโดยสิ้นเชิง เหล่านี้เป็นต้น

       ในการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร หากศาลเคยพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าเด็กเป็นบุตรชาย ผู้เป็นบิดาจะนำคดีมาฟ้องใหม่เพื่อให้ศาลพิพากษาว่าเด็กมิใช่บุตรของตน แม้จะอ้างพยานหลักฐานใหม่เพื่อพิสูจน์ว่าเด็กมิใช่บุตรก็เป็นเพียงการอ้างพยานหลักฐานใหม่เพื่อนำสืบในประเด็นเดิมจึงเป็นการฟ้องซ้ำ

         ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ที่โจทก์ฟ้องคดีไม่รับจำเลยที่ 2 เป็นบุตร โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าโจทก์ไม่ได้อยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 มารดาจำเลยที่ 2 ในเวลาตั้งครรภ์คือระหว่างหนึ่งร้อยแปดสิบวันถึงสามร้อยสิบวันก่อนจำเลยที่ 2 เกิดหรือโจทก์ไม่สามารถเป็นบิดาของจำเลยที่ 2 ได้เพราะเหตุอย่างอื่น โจทก์สืบแต่เพียงว่าไม่ได้ร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา อันเป็นการนำสืบลอย ๆ การนำสืบของโจทก์ยังไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานที่ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  116/2547

 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ การที่โจทก์จะฟ้องคดีไม่รับจำเลยที่ 2 เป็นบุตร โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าโจทก์ไม่ได้อยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 มารดาจำเลยที่ 2 ในเวลาตั้งครรภ์คือระหว่างหนึ่งร้อยแปดสิบวันถึงสามร้อยสิบวันก่อนจำเลยที่ 2 เกิดหรือโจทก์ไม่สามารถเป็นบิดาของจำเลยที่ 2 ได้เพราะเหตุอย่างอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1539 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2542 แต่โจทก์สืบแต่เพียงว่าไม่ได้ร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา อันเป็นการนำสืบลอย ๆ การนำสืบของโจทก์ยังไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1539 วรรคหนึ่ง ที่ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์

 ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 ในข้อหาเป็นเจ้าของผู้ดูแลและผู้จัดการสถานการค้าประเวณีและข้อหาขายหรือให้บริการเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งขณะนั้นโจทก์เป็นปลัดอำเภอในจังหวัดสงขลา จำเลยที่ 1 เป็นภริยาโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ แต่จำเลยที่ 1 กลับกระทำความผิดในข้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและเสื่อมเสียศีลธรรมอันดีของประชาชน จนศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ถือว่าทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง กับได้รับความดูถูกเกลียดชัง นับเป็นเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (2) (ก) (ข)

          ปัจจุบันเด็กชาย อ. อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แล้วเด็กชาย อ. ได้มาพักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าเล่าเรียนทั้งหมดก่อนหน้านี้ก็เคยอยู่กับจำเลยที่ 1 และย่าที่บ้านของย่าที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ยิ่งกว่านั้นตามรายงานแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เยาว์ของพนักงานคุมประพฤติ ระบุว่าเด็กชาย อ. ประสงค์จะอยู่กับจำเลยที่ 1 มากกว่าอยู่กับโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจะไม่ปรากฏว่ามีความประพฤติเสียหายหรือไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. แต่โจทก์เป็นข้าราชการต้องย้ายไปรับราชการในที่ต่าง ๆ ตลอดมา ทั้งเด็กชาย อ. ผู้เยาว์อายุประมาณ 12 ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 เมื่อคำนึงถึงความผาสุก ความผูกพันระหว่างมารดากับบุตร การที่ผู้เยาว์อยู่กับจำเลยที่ 1 จะมีผลดีต่อสุขภาพของผู้เยาว์ เห็นควรให้จำเลยที่ 1 ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. แต่เพียงผู้เดียว
 
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย อ. ต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกัน ระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันนั้น โจทก์รับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอซึ่งต้องย้ายไปรับราชการในอำเภอต่าง ๆ หลายแห่ง ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ติดตามไปอยู่อาศัยกับโจทก์ ส่วนเด็กชาย อ. พักอาศัยอยู่ที่บ้านอีกหลังหนึ่ง โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่เคยได้ร่วมประเวณี เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้ย้ายติดตามไป จึงเป็นไปไม่ได้ที่จำเลยที่ 1 จะตั้งครรภ์กับโจทก์ แต่ช่วงดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง กล่าวคือ จำเลยที่ 1 คบชู้กับชายอื่นจนกระทั่งจำเลยที่ 1 มีครรภ์และคลอดเด็กหญิง ว. จำเลยที่ 2 โดยแจ้งเท็จต่อนายทะเบียนเทศบาลนครหาดใหญ่ว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังได้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง กล่าวคือ ถูกนางสาวลักษ์ พุฒแก้ว แจ้งความร้องทุกข์ในข้อหายักยอกทรัพย์ และต่อมาถูกจับกุมในข้อหาค้าประเวณี และถูกแจ้งความร้องทุกข์ในข้อหาลักทรัพย์ ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง โดยที่โจทก์มิได้รู้เห็นในการกระทำของจำเลยที่ 1 หากโจทก์ต้องอยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ก็จะเป็นเหตุให้โจทก์ต้องถูกดูหมิ่นเกลียดชังอาจถูกดูหมิ่นเยียดหยาม สำหรับเด็กชาย อ. โจทก์ได้อุปการะเลี้ยงดูมาโดยตลอด ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา ให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่บุตรของโจทก์ ส่วนเด็กชาย อ. ให้อยู่ในความปกครองดูแลของโจทก์เพียงฝ่ายเดียว

          จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยา มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย อ. ต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย ขณะที่จำเลยที่ 1 อยู่กินกับโจทก์นั้น ได้ประพฤติตนในฐานะภริยาที่ดีมาโดยตลอด ไม่เคยประพฤติชั่วหรือกระทำการใดอันเป็นการปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรงแก่โจทก์ และในขณะที่โจทก์ย้ายไปรับราชการในอำเภอต่าง ๆ จำเลยที่ 1 ไปมาหาสู่ในฐานะภริยาโจทก์มาโดยตลอด ได้ร่วมหลับนอนและได้ร่วมประเวณีกับโจทก์เช่นสามีภริยาโดยทั่วไปจนคลอดเด็กหญิง ว. จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่เคยคบชู้กับชายอื่น แต่โจทก์เองกลับประพฤติชั่วร้ายแรงโดยการอุปการะเลี้ยงดูยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาและจดทะเบียนสมรสกับนางสาว ป. เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 กับโจทก์ทะเลาะกัน นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ไม่เคยกระทำความผิดอาญาใดอันต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องหย่า ขอให้ยกฟ้อง

   ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันและให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. ผู้เยาว์ร่วมกัน แต่ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิกำหนดที่อยู่ผู้เยาว์ คำขออื่นให้ยก
  โจทก์และจำเลยที่ 1 อุทธรณ์

 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกคำขอที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันด้วย ส่วนการใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

โจทก์ฎีกา

 ศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัววินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการแรกว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์หรือไม่ ได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ว่า โจทก์อยู่กินกับจำเลยที่ 1 เมื่อราวปี 2533 มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือเด็กชาย อ. ต่อมาโจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2538 หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเรื่องผิดใจกัน จึงไม่มีการหลับนอนด้วยกัน ในปี 2540 โจทก์ได้ย้ายไปรับราชการที่กิ่งอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำเลยที่ 1 ได้ไปส่งโจทก์ด้วย โดยพักอาศัยอยู่กับโจทก์ 2 ถึง 3 วัน แต่ไม่ได้หลับนอนด้วยกัน ครั้นปี 2540 มารดาโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีครรภ์ โจทก์เชื่อว่าจำเลยที่ 1 มีครรภ์กับบุคคลอื่นจึงขอหย่าขาดจากจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 คลอดจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2542 ปรากฏตามสูติบัตรเอกสารหมาย จ.5 จำเลยที่ 2 ไม่ใช่บุตรของโจทก์ ส่วนจำเลยทั้งสองนำสืบว่า จำเลยที่ 1 อยู่กินกับโจทก์ฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี 2532 จนกระทั่งปี 2538 จึงได้จดทะเบียนสมรสกันและอยู่กินฉันสามีภริยากันเรื่อยมา โจทก์เคยพาจำเลยที่ 1 ออกงานสังคม ในปี 2538 โจทก์เข้าโรงเรียนนายอำเภอ จำเลยที่ 1 ได้ไปส่งโจทก์และได้ไปเยี่ยมเยียนโจทก์ด้วย ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2540 โจทก์ไปรับราชการที่กิ่งอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำเลยที่ 1 ได้ร่วมหลับนอนกับโจทก์ด้วย จากนั้นจำเลยที่ 1 เดินทางกลับจังหวัดสงขลา โจทก์เคยเดินทางมาหาจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดสงขลาด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 ก็ไปหาโจทก์ที่กิ่งอำเภอฆ้องชัยอีก 2 ครั้ง ส่วนโจทก์นั้นมาหาจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดสงขลาเป็นประจำ ขณะนั้นจำเลยที่ 1 ตั้งครรภ์จำเลยที่ 2 แล้ว เห็นว่า โจทก์อ้างว่าโจทก์ผิดใจกับจำเลยที่ 1 เมื่อปี 2538 โจทก์ไม่ได้หลับนอนกับจำเลยที่ 1 แต่จากการนำสืบของจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าในช่วงปี 2538 เมื่อโจทก์เข้าโรงเรียนนายอำเภอ จำเลยที่ 1 ได้ไปส่งโจทก์และต่อมาได้ไปเยี่ยมเยียนโจทก์ที่โรงเรียนนายอำเภอด้วยกัน กับได้เดินทางไปต่างประเทศกับโจทก์ ปรากฏตามภาพถ่ายหมาย ล.5 และ ล.6 แสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความรักใคร่กันดีหลังจากเข้ารับการอบรมที่โรงเรียนนายอำเภอ โจทก์ย้ายมารับราชการที่อำเภอระโนด ในปี 2539 โจทก์ย้ายไปรับราชการที่อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ตามคำเบิกความของนางถนอม ---------- มารดาโจทก์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยังคงติดต่อกับโจทก์อยู่ ครั้นโจทก์ย้ายไปรับราชการที่กิ่งอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อปี 2540 จำเลยก็ตามไปส่งโจทก์ด้วยโดยจำเลยพักอาศัยอยู่กับโจทก์ประมาณ 2 ถึง 3 วัน จะเห็นได้ว่าแม้โจทก์จะอ้างว่าเริ่มผิดใจกับจำเลยเมื่อปี 2538 ไม่ได้หลับนอนด้วยกัน แต่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังติดต่อกันเรื่อยมา โจทก์อ้างว่าหลังจากโจทก์ไปรับราชการที่กิ่งอำเภอฆ้องชัยแล้ว โจทก์ไม่ได้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 อีก ปี 2542 โจทก์ย้ายมารับราชการที่กิ่งอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ในระหว่างที่โจทก์รับราชการที่กิ่งอำเภอฆ้องชัยนี้ โจทก์เคยเดินทางมาหาจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดสงขลา ส่วนจำเลยที่ 1 เดินทางไปหาโจทก์ที่กิ่งอำเภอฆ้องชัยอีก 2 ครั้ง ส่วนโจทก์นั้นมาหาจำเลยที่ 1 เป็นประจำ เห็นว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เชื่อว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังติดต่อกันเรื่อยมาดังข้อนำสืบของจำเลยทั้งสอง โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากัน นอกจากโจทก์กับจำเลยที่ 1 ติดต่อกันแล้ว เชื่อว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังคงร่วมประเวณีกันฉันสามีภริยาอีกด้วย ที่โจทก์อ้างว่าตั้งแต่ปี 2538 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมประเวณีกันเลยไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง จำเลยที่ 2 เกิดแต่จำเลยที่ 1 ขณะเป็นภริยาของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ การที่โจทก์จะฟ้องคดีไม่รับจำเลยที่ 2 เป็นบุตร โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าโจทก์ไม่ได้อยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 มารดาจำเลยที่ 2 ในระยะเวลาตั้งครรภ์ คือระหว่างหนึ่งร้อยแปดสิบวันถึงสามร้อยสิบวันก่อนจำเลยที่ 2 เกิด หรือโจทก์ไม่สามารถเป็นบิดาของจำเลยที่ 2 ได้เพราะเหตุอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1539 วรรคหนึ่ง ปรากฏตามสูติบัตรเอกสารหมาย จ. 9 จำเลยที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2542 แต่โจทก์สืบแต่เพียงว่าไม่ได้ร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา อันเป็นการนำสืบลอย ๆ การนำสืบของโจทก์ยังไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1539 วรรคหนึ่ง ที่ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

   คดีมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ฐานจำเลยที่ 1 ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงหรือไม่ โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 ในข้อหาเป็นเจ้าของผู้ดูแลและผู้จัดการสถานการค้าประเวณีและข้อหาขายหรือให้บริการเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต เห็นว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวเมื่อเดือนมกราคม 2540 ขณะนั้นโจทก์เป็นปลัดอำเภออยู่ที่อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ขณะจำเลยที่ 1 กระทำความผิด จำเลยที่ 1 เป็นภริยาโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัด แต่จำเลยที่ 1 กลับกระทำความผิดในข้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและเสื่อมเสียศีลธรรมอันดีของประชาชน จนศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ถือว่าทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงกับได้รับความดูถูกเกลียดชัง นับเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (2) (ก) (ข) โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ได้ ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้น

          คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการสุดท้ายว่า สมควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. แต่เพียงผู้เดียวหรือไม่ เห็นว่า แม้นางถนอม อุไรรัตน์ ย่าของเด็กชาย อ. จะเบิกความว่า เด็กชาย อ. อยู่ในความดูแลของนางถนอมตลอดมา แต่ปัจจุบันปรากฏว่าเด็กชาย อ. อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้ยังได้ความจากคำเบิกความของเด็กชาย อ. ว่า หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แล้ว เด็กชาย อ. ได้มาพักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าเล่าเรียนทั้งหมด ก่อนหน้านี้ก็เคยอยู่กับจำเลยที่ 1 และย่าที่บ้านของย่าที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ยิ่งกว่านั้นตามรายงานแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เยาว์ของพนักงานคุมประพฤติ ระบุว่าเด็กชาย อ. ประสงค์จะอยู่กับจำเลยที่ 1 มากกว่าอยู่กับโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจะไม่ปรากฏว่ามีความประพฤติเสียหาย หรือไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. แต่โจทก์เป็นข้าราชการต้องย้ายไปรับราชการในที่ต่าง ๆ ตลอดมา ทั้งเด็กชาย อ. ผู้เยาว์อายุประมาณ 12 ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 เมื่อคำนึงถึงความผาสุก ความผูกพันระหว่างมารดากับบุตร การที่ผู้เยาว์อยู่กับจำเลยที่ 1 จะมีผลดีต่อสุขภาพของผู้เยาว์ เห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. แต่เพียงผู้เดียว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          อนึ่ง เห็นว่าจำเลยที่ 2 เป็นน้องเด็กชาย อ. การที่พี่น้องได้อยู่ด้วยกันน่าจะมีความอบอุ่นกว่า สมควรให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวด้วย”
          พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. และจำเลยที่ 2 ผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9

มาตรา 1516  เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1536  เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี
ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่บุตรที่เกิดจากหญิงก่อนที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ หรือภายในระยะเวลาสามร้อยสิบวันนับแต่วันนั้น

มาตรา 1539  ในกรณีที่สันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีตามมาตรา 1536 มาตรา 1537 หรือมาตรา 1538 ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะไม่รับเด็กเป็นบุตรของตนก็ได้ โดยฟ้องเด็กกับมารดาเด็กร่วมกันเป็นจำเลยและพิสูจน์ได้ว่าตนไม่ได้อยู่ร่วมกับมารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรภ์คือระหว่างหนึ่งร้อยแปดสิบวันถึงสามร้อยสิบวันก่อนเด็กเกิด หรือตนไม่สามารถเป็นบิดาของเด็กได้เพราะเหตุอย่างอื่น
แต่ถ้าในขณะยื่นฟ้องมารดาเด็กไม่มีชีวิตอยู่ จะฟ้องเด็กแต่ผู้เดียวเป็นจำเลยก็ได้ถ้าเด็กไม่มีชีวิตอยู่ไม่ว่ามารดาของเด็กจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าเด็กนั้นไม่เป็นบุตรก็ได้ ในกรณีที่มารดาของเด็กหรือทายาทของเด็กยังมีชีวิตอยู่ ให้ศาลส่งสำเนาคำร้องนี้ไปให้ด้วย และถ้าศาลเห็นสมควรจะส่งสำเนาคำร้องไปให้อัยการพิจารณาเพื่อดำเนินคดีแทนเด็กด้วยก็ได้

มาตรา 1566  บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา
อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มารดาหรือบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
(3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
(6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้

 ในการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร-การฟ้องซ้ำ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2541

คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นโมฆะ และขอให้พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มิใช่บุตรโจทก์ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที 1 สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ตั้งครรภ์ภายหลังได้เสียกับโจทก์และจำเลยที่ 2 เกิดแต่จำเลยที่ 1 ขณะเป็นภริยาโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุตรโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้วการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เฉพาะประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 2 มิใช่บุตรโจทก์อีก แม้โจทก์จะอ้างพยานหลักฐานใหม่ คือ ระบบการตรวจเลือด ดี.เอ็น.เอ. เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรโจทก์หรือไม่เป็นเพียงการกล่าวอ้างพยานหลักฐานใหม่เพื่อนำสืบในประเด็นซึ่งคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าว ก็หาอาจทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปไม่ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมในคดีนี้จึงชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ร้องเรียนต่อสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ว่า โจทก์ไม่เลี้ยงดูจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยจำเลยที่ 1 ได้ขอให้ทางสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะ เลี้ยงดูจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ไม่สามารถเบิกจ่ายจาก ทางราชการได้ เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีให้สิทธิสามีเป็น ผู้เบิกเงินค่าช่วยเหลือบุตร แต่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้สมาคมฯ จึงแนะนำให้จำเลยที่ 1 ร้องต่อศาลขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวเพื่อใช้สิทธิเบิกเงินค่าช่วยเหลือบุตรจากทางราชการ การที่จำเลยที่ 1ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาโจทก์และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ดังกล่าวเป็นการร้องขอความช่วยเหลือตามสิทธิแห่งกฎหมาย เนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นสามีไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการประพฤติชั่วอันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ได้

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนหย่ากับโจทก์หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาและพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่บุตรโจทก์

จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์และจำเลยที่ 1ร่วมประเวณีกันเกิดบุตรคือจำเลยที่ 2 และศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรโจทก์ การที่โจทก์ฟ้องไม่รับจำเลยที่ 2เป็นบุตรในคดีนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำเหตุที่จำเลยที่ 1 ไปปรึกษาข้อกฎหมายกับสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพราะโจทก์ไม่ยอมอุปการะเลี้ยงดูจำเลยทั้งสองและโจทก์ดำเนินคดีฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 กับฟ้องขอให้การสมรสเป็นโมฆะมาแล้วถึง 3 ครั้ง จำเลยที่ 1 ยังรักและห่วงใยโจทก์ไม่ต้องการหย่ากับโจทก์ แต่ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 และเพิกถอนอำนาจปกครองของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2เพื่อจำเลยที่ 1 จะได้ใช้สิทธิเบิกเงินช่วยเหลือบุตรจากทางราชการขอให้ยกฟ้อง และบังคับโจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2นับแต่แรกเกิดจนถึงวันฟ้องแย้งเป็นเงิน 200,000 บาท กับจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 อีกเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจำเลยที่ 2 จะบรรลุนิติภาวะ และให้ถอนอำนาจปกครองของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2 โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้งจำเลยที่ 1

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 แก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 200,000 บาท และอีกเดือนละ 3,500 บาท นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2537 จนกว่าจำเลยที่ 2 จะบรรลุนิติภาวะกับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 2 แต่เพียงฝ่ายเดียว

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2522จำเลยที่ 1 คลอดจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2523 ระหว่างที่จดทะเบียนสมรสกับโจทก์และศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3471/2526 ว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรโจทก์ โจทก์ฎีกาว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างข้อเท็จจริงใหม่ที่จะพิสูจน์ตามหลักทางแพทย์ คือระบบการตรวจเลือด ดี.เอ็น.เอ. เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปโดยถูกต้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรโจทก์หรือไม่ โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม2538 เพื่อประกอบการนำสืบในข้อดังกล่าวโดยโจทก์ไม่ทราบว่าพยานหลักฐานดังกล่าวได้มีอยู่และต้องนำสืบเพื่อประโยชน์ของโจทก์โจทก์เพิ่งทราบเมื่อศาลชี้สองสถานแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่ นั้นเห็นว่า คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3471/2526 ของศาลฎีกา โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นโมฆะ และจำเลยที่ 2 มิใช่บุตรโจทก์ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 ตั้งครรภ์ภายหลงได้เสียกับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เกิดแต่จำเลยที่ 1 ขณะเป็นภริยาโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุตรโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้วการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้เฉพาะประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 2มิใช่บุตรโจทก์นั้น เป็นประเด็นเกี่ยวกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่3471/2526 ของศาลฎีกา ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยที่ 2เป็นบุตรโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างพยานหลักฐานใหม่คือ ระบบการตรวจเลือด ดี.เอ็น.เอ.เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรโจทก์หรือไม่ ก็เป็นเพียงการกล่าวอ้างพยานหลักฐานใหม่เพื่อนำสืบในประเด็นเกี่ยวกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3471/2526ของศาลฎีกา ซึ่งได้รับการวินิจฉัยมาแล้วในคดีดังกล่าวและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3471/2526 ของศาลฎีกาดังกล่าว ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ดังนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก็หาอาจทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปไม่ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว

ที่โจทก์ฎีกาเป็นประการสุดท้ายว่า การที่จำเลยที่ 1ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาโจทก์และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นการประพฤติชั่วทำให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงถูกดูถูกเกลียดชังเป็นเหตุให้ฟ้องหย่าได้ นั้น เห็นว่า โจทก์เบิกความว่า จำเลยที่ 1 ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาโจทก์ เพราะประสงค์จะได้เงินเดือนโจทก์ครึ่งหนึ่ง และตอบทนายจำเลยถามค้านว่า จำเลยที่ 2ร้องเรียนต่อสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ว่า โจทก์ไม่เลี้ยงดูจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรซึ่งรองศาสตราจารย์วิมลศิริ ชำนาญเวช นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ พยานจำเลยเบิกความว่า จำเลยที่ 12 ได้ขอให้ทางสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปภัมภ์ช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ไม่สามารถเบิกจ่ายจากทางราชการได้ เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีให้สิทธิสามีเป็นผู้เบิกเงินค่าช่วยเหลือบุตร แต่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้จึงแนะนำให้จำเลยที่ 1 ร้องต่อศาลขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวเพื่อใช้สิทธิเบิกเงินค่าช่วยเหลือบุตรจากทางราชการ การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาโจทก์และสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ดังกล่าวเป็นการร้องขอความช่วยเหลือตามสิทธิแห่งกฎหมาย ซึ่งสืบเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด หาได้เป็นประการประพฤติชั่วอันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ได้ไม่

พิพากษายืน




บิดามารดา กับ บุตร

เปลี่ยนสิทธิดูแลบุตรจากมารดาเป็นบิดา
ฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร-มารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้
การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล
ส่วนแบ่งสินสมรสและความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อำนาจศาลเพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับการให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน
ให้ใช้นามสกุลในสูติบัตรยังไม่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
หน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรยุติไปด้วยความตายไม่ตกทอดเป็นมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
หน้าที่ตามกฎหมายบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
อายุความฟ้องขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
ฟ้องขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ค่าเลี้ยงชีพ อำนาจปกครองบุตร
อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมีได้ในกรณีใดบ้าง
รับสมอ้างว่าเป็นบุตรในการแจ้งเกิด, บิดาในสูติบัตร
ทำสัญญาประนีประนอมแทนผู้เยาว์ต้องขออนุญาตศาล
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรแต่บิดาปฏิเสธว่าเป็นบุตร
เรียกบุตรคืนจากสามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, บิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง
บิดาลงชื่อในใบแต่งทนายความแทนบุตรที่บรรละนิติภาวะแล้ว
การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร (เด็กและมารดาของเด็กถึงแก่ความตายแล้ว)
ค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าเลี้ยงชีพ, การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์
การถอนอำนาจปกครองบิดา ตั้งน้าสาวเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แทน
บุตรนอกกฎหมายเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่?
บุตรนอกกฎหมาย สิทธิประกันสังคม
บุตรจำต้องเลี้ยงดูบิดามารดา เรียกค่าขาดไร้อุปการะจากจำเลยได้
ข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
เพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สิน
ขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
ฟ้องบุพการี,คดีอุทลุม,การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้
อำนาจศาลสั่งให้บิดาหรือมารดาใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว
ศาลชอบที่จะสั่งให้แก้ไขความบกพร่องเรื่องความสามารถเสียก่อนยกฟ้อง
บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบิดาไม่เป็นคดีอุทลุม
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (คดีขาดอายุความ)
ใช้สิทธิทางศาลขอเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมาย
บิดาขอจดทะเบียนรับรองบุตรกรณีเด็กถึงแก่ความตายแล้ว
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร (บิดาถึงแก่ความตาย)
อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ขอจดทะเบียนรับรองบุตร,ขอรับเด็กเป็นบุตร บุตรนอกสมรส
ไม่มีกฎหมายให้บิดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนอกกฎหมาย
ฟ้องให้บิดารับรองบุตร เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
การนับอายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เยาว์
จำเลยตั้งครรภ์ด้วยวิธีการผสมเทียมโดยไม่ใช่อสุจิของโจทก์
สามีนำเงินสินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินสินสมรส
ละเมิดเรียกค่าขาดแรงงานในครัวเรือนของบิดามารดา
ศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามสัญญายอมความได้
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะได้ทั้งการสมรสหรือมีอายุครบ 20 ปี
คำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
สามีภริยาสมัครใจมีบุตรร่วมกันโดยการทำกิ๊ฟท์
การอุปการะเลี้ยงดูบุตรต้องกระทำจนถึงบุตรบรรลุนิติภาวะ
เงินที่มีผู้ช่วยทำศพผู้ตายนำมาบรรเทาความรับผิดไม่ได้
บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตร
โจทก์เป็นบุตรมีอำนาจฟ้องบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา
บุตรขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้ตายในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ถือหุ้นฟ้องปู่ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่เป็นคดีอุทลุม
คดีอุทลุมคือการห้ามฟ้องบุพการี
ฟ้องให้รับรองบุตรเมื่อเด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
กฎหมายไม่บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา
สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร
ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากไม่ใช่บุตรที่แท้จริง
เด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอมจดทะเบียนรับรองบุตรได้หรือไม่
ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเป็นบุตรเพราะมิใช่บิดาแท้จริง
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว
บุตรนอกสมรสตาย บิดามารดาจดทะเบียนสมรสภายหลังการตาย
เมื่อศาลได้พิพากษาแล้วไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับเป็นบุตรอีก
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน
เพิกถอนอำนาจปกครองเกี่ยวกับการกำหนดที่อยู่ของบุตร