สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล ถอนอำนาจปกครอง -ปรึกษากฎหมาย ทนายความ (นายลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ) โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ ID line : (1) @leenont หรือ (2) @peesirilaw -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE
เมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรไปอยู่กับใคร , การตั้งผู้ปกครองคนใหม่ การถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล ผู้ร้องเป็นป้าขอตั้งผู้ปกครอง ผู้เยาว์เป็นบุตรของน้องชายซึ่งได้หย่ากับน้องสใภ้ โดยมีข้อตกลงเรื่องการใช้อำนาจปกครองว่าให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของน้องชาย และเป็นผู้มีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามข้อสัญญา มิใช่เป็นกรณีที่น้องสใภ้หรือมารดาของผู้เยาว์ถูกถอนอำนาจปกครองเพราะการถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล และจะต้องมีเหตุตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อน้องชายถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จึงกลับมาเป็นของมารดาฝ่ายเดียว ป้าจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ผู้เยาว์เป็นบุตรของ ว. กับผู้คัดค้าน ต่อมา ว. หย่ากับผู้คัดค้านโดยมีข้อตกลงเรื่องการใช้อำนาจปกครองว่าให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของ ว. บิดา ว. จึงเป็นผู้มีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามข้อสัญญาดังกล่าวซึ่งสามารถใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1566 วรรคสอง (6) และมิใช่เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านถูกถอนอำนาจปกครองเพราะการถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาลและจะต้องมีเหตุตามมาตรา 1582 ดังนั้น เมื่อ ว. ถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จึงกลับมาเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียวตามมาตรา 1566 วรรคสอง (1) กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง อันจะทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นป้ามีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามมาตรา 1585 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1586 วรรคหนึ่ง มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา มาตรา 1585 บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้วนั้น จะจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ก็ได้ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นมารดาของเด็กชายพงศ์พิพัฒน์ ผู้เยาว์ ภายหลังบิดาผู้เยาว์ถึงแก่กรรม ผู้คัดค้านก็รับตัวผู้เยาว์มาอยู่ในความปกครองและได้อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา ผู้เยาว์ไม่ได้ขาดผู้ปกครอง (ที่ถูกเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง) ขอให้ยกคำร้องขอ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดไต่สวนพยานของผู้ร้องและผู้คัดค้านแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาตามฎีกาของผู้ร้องว่า ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองเด็กชายพงศ์พิพัฒน์ ผู้เยาว์หรือไม่ ในประเด็นนี้ข้อเท็จจริงยุติฟังได้ว่า ผู้เยาว์เป็นบุตรของนายวาทิต กับผู้คัดค้าน ต่อมานายวาทิต หย่ากับผู้คัดค้านโดยมีข้อตกลงเรื่องการใช้อำนาจปกครองว่าให้ผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของนายวาทิต บิดา นายวาทิตจึงเป็นผู้มีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงผู้เดียวตามข้อสัญญาดังกล่าวซึ่งสามารถใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1566 วรรคสอง (6) และมิใช่เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านถูกถอนอำนาจปกครองเพราะการถอนอำนาจปกครองเป็นอำนาจของศาล และจะต้องมีเหตุตามมาตรา 1582 ดังนั้น เมื่อนายวาทิตเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวตามที่ตกลงกันขณะที่จดทะเบียนหย่า ถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จึงกลับมาเป็นของผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียวตามมาตรา 1566 วรรคสอง (1) กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง อันจะทำให้ผู้ร้องซึ่งเป็นป้ามีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามมาตรา 1585 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1586 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องชอบแล้ว ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นฎีกาให้เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2537 ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของนาย ก. กับนางสาว ส.ซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกัน จึงมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนาย ก.ผู้ร้องซึ่งเป็นน้องของบิดาของนายก. จึงมิใช่ญาติของผู้เยาว์ทั้งสองตามความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1582และมาตรา 1586 ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองของมารดาผู้เยาว์ทั้งสอง และไม่อาจขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสองได้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอ ขอให้ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งถอนนางสำเนียง ทำที่พึ่งมารดาของผู้เยาว์ทั้งสองออกเสียจากการเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง และมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสองตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นประกาศคำร้องและกำหนดนัดไต่สวนตามระเบียบแล้วไม่มีผู้ใดคัดค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่า ผู้ร้องเป็นญาติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลถอนอำนาจปกครองและร้องขอตั้งผู้ปกครอง มีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "เห็นว่า เด็กชายเสกสรรค์ มีสัตย์ และเด็กหญิงสุนิสา มีสัตย์ ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของนายโกศลมีสัตย์ กับนางสาวสำเนียง ทำที่พึ่งซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกันจึงมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายโกศลดังนั้นผู้ร้องซึ่งเป็นน้องของนายแสง มีสัตย์ บิดาของนายโกศลจึงมิใช่ญาติของผู้เยาว์ทั้งสอง ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1582 และมาตรา 1586 ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองของมารดาของผู้เยาว์ทั้งสอง และไม่อาจขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์ทั้งสองได้ที่ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องชอบแล้ว อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น" พิพากษายืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2515 แม้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยต่อศาลขอให้เพิกถอน อำนาจปกครองบุตรและศาลได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คดีถึงที่สุดไปแล้ว แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่ามีการใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวเด็กโดยมิชอบ หรือจัดการทรัพย์สินของเด็กในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัยศาลก็มีอำนาจสั่งถอนอำนาจปกครองหรืออำนาจจัดการทรัพย์เสียบางส่วนหรือทั้งหมดได้ โดยศาลจะสั่งเองหรือผู้มีสิทธิร้องขอก็ได้ โดยจะร้องขอมาในคดีเดิมหรือจะฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ก็ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเหตุที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ต่างกันคนละประเด็นกับคดีก่อน โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เคยฟ้องจำเลยให้เพิกถอนการเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตร 5 คนซึ่งเป็นผู้เยาว์ และศาลได้พิพากษาไปตามที่โจทก์จำเลยประนีประนอมยอมความกันแล้ว ต่อมาจำเลยได้ผิดข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาของศาล คือ ไม่ได้อุดหนุนเจือจานผู้เยาว์ทั้งสี่คน ไม่ส่งเสียเลี้ยงดูโจทก์ ทอดทิ้งเด็กชายเกรียงศักดิ์จนต้องหนีมาอยู่กับโจทก์ ใช้ทรัพย์สินของผู้เยาว์หาประโยชน์เข้าตนเอง จำเลยจึงไม่ควรจะเป็นผู้ดูแลครอบครองทำประโยชน์รายได้ในทรัพย์สินของผู้เยาว์ต่อไป ขอศาลสั่งเพิกถอนการเป็นผู้ใช้สิทธิปกครองดูแลหาประโยชน์ในที่ดิน และตั้งโจทก์เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์แทน จำเลยให้การปฏิเสธ วันชี้สองสถาน คู่ความแถลงรับกันว่าโจทก์เคยฟ้องจำเลยให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ต่อศาล ศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 140/2511 ศาลเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ดำเนินการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จำเลยฎีกา ศาลฎีกาปรึกษาเห็นว่า แม้โจทก์จะเคยฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตร และศาลได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชายเกรียงศักดิ์ คดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่ามีการใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวเด็กโดยมิชอบ หรือจัดการทรัพย์สินของเด็กในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัย ศาลก็มีอำนาจสั่งถอนอำนาจปกครอง หรืออำนาจจัดการทรัพย์สินเสียบางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งในกรณีเหล่านี้ศาลจะสั่งเองหรือผู้มีสิทธิร้องขอก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1552 โดยจะร้องขอมาในคดีเดิม ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499 นางปาน จำปาทาสี มารดาและผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงจำนวน จำปาทาสี กับพวก ผู้ร้อง นายสุบิน ยิงรัมย์ ผู้คัดค้าน ที่ศาลอุทธรณ์อ้าง หรือจะฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทเช่นที่โจทก์ฟ้องนี้ ก็ย่อมมีอำนาจทำได้ และไม่เป็นการฟ้องซ้ำ เพราะเหตุที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ต่างกันคนละประเด็นกันในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 140/2511
พิพากษายืน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2511
กรณีที่เกี่ยวกับผู้เยาว์อันว่าด้วยเรื่องอำนาจปกครองและความปกครองนั้นไม่เหมือนกับคดีธรรมดาสามัญอื่นทั่วไป.บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 2 หมวด 2 และ 3 ให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ ในอันที่จะป้องกันสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ แม้ผู้เยาว์นั้นจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมด และจะสั่งถอนผู้ปกครองเสียก็ได้ อำนาจเช่นว่านี้ศาลจะสั่งเองโดยไม่จำต้องมีใครร้องขอก็ได้ในเมื่อมีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว หรือจะสั่งในเมื่อมีบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาก็ได้ตามมาตรา 1552, 1574 และ 1575 เพราะอำนาจควบคุมและคุ้มครองของศาลยังคงมีอยู่เรื่อยไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499)
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล และตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองแทน การฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้เยาว์ เมื่อปรากฏเรื่องการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครอง ศาลมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดีและเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ได้ แม้โจทก์จะถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีศักดิ์เป็นตาเด็กชายวีระ เกณฑ์กระโหก นายผ่องนางสาครบิดามารดาของเด็กชายวีระถึงแก่กรรมหมด จำเลยซึ่งเป็นพี่นางสาครได้ยื่นคำร้องเท็จต่อศาลขออำนาจเป็นผู้ปกครองศาลหลงเชื่อจึงมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้ปกครองเด็กชายวีระและให้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินแทน จำเลยได้เบียดบังทรัพย์มรดกของเด็กชายวีระ และใช้อำนาจปกครองเป็นปฏิปักษ์ต่อเด็กอย่างร้ายแรงจึงขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองและตั้งโจทก์เป็นแทน
จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยมิได้ประพฤติชั่วหรือเป็นภัยอย่างใดต่อการปกครองและกองทรัพย์สิน ผู้อำนวยการสถานพินิจฯ สืบเสาะข้อเท็จจริงแล้ว รายงานความเห็นว่า คดีควรได้รับการพิจารณาจากศาลโดยตรง ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จ โจทก์ถึงแก่กรรม ศาลจึงเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจฯ เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ต่อไปแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยบกพร่องในเรื่องความสามารถ ละเลยและเลินเล่ออย่างร้ายแรงในหน้าที่ หากปล่อยให้จำเลยเป็นผู้ปกครองต่อไป ประโยชน์ของเด็กชายวีระจะต้องเป็นอันตราย จึงพิพากษาให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองเด็กชายวีระผู้เยาว์ และตั้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กจังหวัดนครราชสีมาเป็นผู้ปกครองแทนตั้งแต่วันพิพากษาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1574, 1555, 1556 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนพ.ศ. 2494 มาตรา 70 ให้จำเลยทำบัญชีทรัพย์สินและส่งมอบทรัพย์สินของเด็กชายวีระแก่ผู้อำนวยการสถานพินิจฯ ผู้ปกครองใหม่ภายใน20 วัน จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีเด็กและเยาวชนวินิจฉัยว่า ตามที่จำเลยฎีกาว่าคดีนี้เป็นคดีเฉพาะตัวนายคง สุบงกช เมื่อนายคงตาย คดีย่อมระงับด้วยเหตุแห่งการตายของนายคงโดยสิ้นเชิง หาอาจมีตัวแทนเข้ามาแทนที่ได้อีกต่อไปไม่ และต้องถือว่าสิทธิที่จะฟ้องร้องว่ากล่าวเพิกถอนอำนาจจำเลยได้ระงับลงทันที อำนาจและสิทธิของจำเลยย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนไม่ได้ถูกฟ้องร้อง จะนำบทบัญญัติมาตรา1552 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้ในฎีกาที่ 797/2499 คดีระหว่างนางปานจำปาทาสี มารดาและผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงจำนวน จำปาทาสี ฯลฯผู้ร้อง นายสุบิน ยิงรัมย์ ผู้คัดค้าน แล้วว่ากรณีที่เกี่ยวกับผู้เยาว์อันว่าด้วยเรื่องอำนาจปกครองและความปกครองนี้ ไม่เหมือนกับคดีธรรมดาสามัญอื่นทั่วไป ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติต่าง ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 2 และหมวด 3 ซึ่งให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ ในอันที่จะป้องกันสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ แม้ผู้เยาว์นั้นจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมด และจะสั่งถอนผู้ปกครองเสียก็ได้ อำนาจเช่นว่านี้ ศาลจะสั่งเองโดยไม่จำต้องมีใครร้องขอก็ได้ ในเมื่อมีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว หรือจะสั่งในเมื่อมีบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาก็ได้ตามมาตรา 1552, 1574 และ 1575 เพราะอำนาจควบคุมและคุ้มครองของศาลยังคงมีอยู่เรื่อยไป
คดีนี้ก็ฟังได้ดังศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาว่า นายคงโจทก์มิได้ฟ้องเพียงแต่ขอให้ตั้งนายคงเป็นผู้ปกครองเด็กชายวีระเท่านั้น แต่ยังฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองเด็กชายวีระด้วย อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของเด็กชายวีระ ดังนั้นเห็นได้ว่าได้มีเรื่องการใช้อำนาจปกครองเด็กปรากฏขึ้นต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลจึงมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดี และศาลชอบที่จะเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจ ฯ เข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ทั้งนี้แม้ศาลล่างจะใช้คำว่าให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนนายคง ก็ถือได้ว่า เป็นการดำเนินการส่วนหนึ่งในการไต่สวนนั่นเอง ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาฟังว่า พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการส่อแสดงถึงความประพฤติมิชอบหรือการหย่อนความสามารถของจำเลยในหน้าที่ผู้ปกครองตามมาตรา 1574 ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยศาลล่างที่พิพากษาให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองเด็กชายวีระ
พิพากษายืน.
|