ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เจตนาหมิ่นประมาท, การโฆษณาใส่ร้าย, คดีหมิ่นประมาทบนโซเชียลมีเดีย

 ท นาย อาสา ฟรี

เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

•  หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

•  คำพิพากษาศาลฎีกา 418/2567

•  เจตนาหมิ่นประมาท

•  กฎหมายหมิ่นประมาท มาตรา 328

•  การโฆษณาใส่ร้าย

•  มาตรา 329 (1) ความคิดเห็นโดยสุจริต

•  การคำนวณโทษตามมาตรา 21

•  คดีหมิ่นประมาทบนโซเชียลมีเดีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2567 เกี่ยวกับคดีที่จำเลยโพสต์ข้อความและตัดต่อรูปของโจทก์ลงในเพจเฟซบุ๊กขององค์กรพลังชาวพุทธ โดยมีเนื้อหาให้ประชาชนเข้าใจว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับกลุ่ม BRN ซึ่งเป็นขบวนการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การกระทำดังกล่าวทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และเกลียดชัง โดยศาลเห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการใส่ร้ายและยืนยันข้อเท็จจริงต่อสาธารณชน ซึ่งขัดต่อ ป.อ. มาตรา 328

ศาลพิจารณาว่าข้อความที่จำเลยโพสต์ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์มีความเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อการร้าย แม้จำเลยอ้างว่าเป็นการตั้งคำถามเพื่อแสดงความคิดเห็น แต่พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาใส่ร้ายโดยไม่สุจริตและไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม

*คำตัดสินของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตัดสินจำคุกจำเลย 8 ปี ลดเหลือ 5 ปี 4 เดือน เนื่องจากการนำสืบเป็นประโยชน์ ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และแก้ไขวิธีการคำนวณโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยลดโทษกระทงละ 1 ปี 4 เดือน รวม 4 กระทงเป็นจำคุก 4 ปี 16 เดือน

*หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญามีดังนี้:

1.ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง: กำหนดหลักการคำนวณโทษในกรณีที่ผู้กระทำความผิดหลายกรรม โดยการลดโทษนั้นต้องทำในแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษเข้าด้วยกัน การไม่ดำเนินการตามลำดับนี้อาจเป็นผลเสียต่อผู้กระทำความผิด ซึ่งศาลมีหน้าที่พิจารณาแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อย

2.ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328: กล่าวถึงความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา หากผู้ใดเผยแพร่ข้อความอันเป็นเท็จไปยังสาธารณชนในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จะถือเป็นความผิดตามมาตรานี้ ข้อความที่เผยแพร่นั้นต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงต่อบุคคลที่สามและมีเจตนาที่ชัดเจนในการทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียชื่อเสียง

3.ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1): กำหนดข้อยกเว้นในกรณีการหมิ่นประมาท หากผู้กระทำมีเจตนาแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อปกป้องประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือเพื่อการติชมโดยสุจริต จะไม่ถือว่ามีความผิดตามมาตรา 328 อย่างไรก็ตาม หากพิสูจน์ได้ว่าการแสดงความคิดเห็นนั้นมีเจตนาแอบแฝงหรือไม่สุจริต จะไม่สามารถใช้ข้อยกเว้นนี้ได้

*ในการอธิบายบทความนี้ การกระทำของจำเลยที่ศาลพิจารณาแล้วว่ามีเจตนาใส่ร้ายโจทก์ ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตตามมาตรา 329 (1) จึงถือเป็นความผิดตามมาตรา 328 และการคำนวณโทษในหลายกรรมต้องเป็นไปตามมาตรา 21 วรรคสอง

 

•  หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา •  คำพิพากษาศาลฎีกา 418/2567 •  เจตนาหมิ่นประมาท •  กฎหมายหมิ่นประมาท มาตรา 328 •  การโฆษณาใส่ร้าย •  มาตรา 329 (1) ความคิดเห็นโดยสุจริต •  การคำนวณโทษตามมาตรา 21 •  คดีหมิ่นประมาทบนโซเชียลมีเดีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2567

จำเลยโพสต์ในเพจองค์กรพลังชาวพุทธว่า "#ข่าวนี้จริงหรือไม่? มีมูลหรือเปล่า? สาเหตุแท้จริงเรื่องนี้มาจากอะไร? ทำไมท่านวันนอร์?? ถึงได้ทำแบบนี้? ท่านวันนอร์? จะชี้แจงสังคมอย่างไร? #สังคมไทยกำลังเคลือบแคลง?? และจำเลยตัดต่อข้อความลงบนรูปโจทก์มีข้อความว่า "จริงหรือไม่? วันนอร์นำทีมกลุ่มวาดะห์รับบริจาคเงินช่วยเหลือโจรใต้..." จำเลยโพสต์ในเพจองค์กรพลังชาวพุทธว่า "#มันแปลกดีนะ?? เป็นไปได้อย่างไร? ท่านวันนอร์!! มีบ้านใหญ่โตสุดหรู?? แต่อยู่อย่างปลอดภัย!! อยู่อย่างเป็นสุข!! โจรชั่วมุสลิม BRN!! ไม่เคยไปรบกวน?? เป็นเพราะอะไร? เป็นเพราะอะไร?" "#มันแปลกดีนะ!! เป็นเพราะอะไร? นายวันนอร์ปลอดภัย!! ตลอด 20 ปี?? ทหาร, พระ, ผู้บริสุทธิ์ตาย! เกือบหมื่นศพ? นายวันนอร์มีวิธีอย่างไร? ถึงปลอดภัย? #ไม่เคยมีข่าวถูกคุกคามสักครั้ง "#แปลกไหมครับ? เป็นไปได้อย่างไร? ใครอธิบายได้บ้าง? โจรชั่วกบฏมุสลิม Brn!! ก่อเหตุฆ่าพระ ทหารและผู้บริสุทธิ์ ฯลฯ เกือบหมื่นศพ!!.. มาเกือบ 20 ปี!! แต่ไม่เคยเกิดเหตุร้ายใดใดกับนายวันนอร์ ครอบครัวและบริวาร รวมทั้งทรัพย์สินเลยสักครั้ง?????...." เห็นว่า การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 นั้น ผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนาใส่ความผู้อื่นในลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ด้วยการเผยแพร่ข้อความไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป และข้อความนั้นตามความรู้สึกของวิญญูชนโดยทั่วไปถึงขั้นทำให้ผู้อื่นนั้นน่าจะเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อความที่จำเลยโพสต์และข้อความที่จำเลยนำมาใส่บนรูปโจทก์ในเพจเฟซบุ๊กของจำเลยและองค์กรพลังชาวพุทธแล้ว ทำให้วิญญูชนโดยทั่วไปที่พบเห็นและอ่านแล้ว มีความรู้สึกหรือเข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นคนไม่ดี เกี่ยวข้องกับขบวนการ BRN ซึ่งเป็นขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันส่งผลให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้ ลักษณะการใส่ความของจำเลยก็เป็นการโพสต์ข้อความซ้ำแล้วซ้ำอีก บ่งชี้ถึงเจตนาของจำเลยว่าเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงตามที่โพสต์ไป ที่จำเลยอ้างว่า การโพสต์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการตั้งคำถามต่อโจทก์ ไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง และเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม เห็นว่า แม้จำเลยจะเพิ่มข้อความว่า จริงหรือไม่ ในลักษณะเป็นคำถามก็ตาม พฤติการณ์เช่นนี้บ่งชี้ได้ว่า จำเลยตั้งคำถามโดยไม่สุจริตใจและมีเจตนาเพื่อจะหลีกเลี่ยงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 จึงมิใช่กรณีไม่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงตามที่จำเลยต่อสู้ ส่วนเรื่องการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมนั้น เมื่อจำเลยได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวโจทก์และต้องการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่จำเลยนำสืบ แต่จำเลยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แน่นอนก่อนที่จะโพสต์ข้อความ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยสอบถามปัญหาดังกล่าวต่อโจทก์โดยตรงมาก่อน จำเลยก็ยังมีวิธีการที่จำเลยจะดำเนินการหรือร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบได้อีกหลากหลายวิธี โดยไม่มีเหตุที่จะต้องตั้งคำถามในลักษณะกล่าวหาใส่ร้ายโจทก์เช่นนี้ การกระทำของจำเลยเห็นได้ว่ามีเจตนาที่ต้องการประจานโจทก์ให้ได้รับความอับอายขายหน้า จึงเป็นการใส่ความโจทก์ในประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 หาใช่มีเจตนาเพียงต้องการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม อันจะทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) ไม่

*อนึ่ง คดีนี้จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลย แทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่าการลดโทษแต่ละกระทงเสียก่อนแล้วจึงรวมโทษเข้าด้วยกันตาม ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง


****โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 326, 328 ให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ หน้า 1 และในเฟซบุ๊กของจำเลยและองค์กรพลังชาวพุทธเป็นเวลา 7 วัน ติดต่อกัน

ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง

*จำเลยให้การปฏิเสธ

*ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 4 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 8 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 5 ปี 4 เดือน และให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาโดยย่อพอได้ใจความในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและเดลินิวส์เป็นเวลา 3 วัน ติดต่อกันโดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

*จำเลยอุทธรณ์

*ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน

*จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

*ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้เปิดใช้เฟซบุ๊กชื่อ อ. อีกทั้งเป็นผู้สร้างและเปิดเพจองค์กรพลังชาวพุทธ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 เวลากลางวัน จำเลยโพสต์ในเพจองค์กรพลังชาวพุทธว่า "#ข่าวนี้จริงหรือไม่? มีมูลหรือเปล่า? สาเหตุแต่ (ที่ถูก แท้) จริงเรื่องนี้มาจากอะไร? ทำไมท่านวันนอร์?? ถึงได้ทำแบบนี้ ? ท่านวันนอร์? จะชี้แจงสังคมอย่างไร? #สังคมไทยกำลังเคลือบแคลง?? และจำเลยตัดต่อข้อความลงบนรูปโจทก์มีข้อความว่า "จริงหรือไม่? วันนอร์นำทีมกลุ่มวาดะห์รับบริจาคเงินช่วยเหลือโจรใต้..." วันที่ 16 พฤษภาคม 2563 เวลากลางวัน จำเลยโพสต์ในเพจองค์กรพลังชาวพุทธว่า "#มันแปลกดีนะ?? เป็นไปได้อย่างไร? ท่านวันนอร์!! มีบ้านใหญ่โตสุดหรู?? แต่อยู่อย่างปลอดภัย!! อยู่อย่างเป็นสุข!! โจรชั่วมุสลิม BRN!! ไม่เคยไปรบกวน?? เป็นเพราะอะไร? เป็นเพราะอะไร?" และจำเลยตัดต่อข้อความลงบนรูปโจทก์มีข้อความว่า "บ้านหรูอลังการ" "ปลอดภัย" "โจรชั่ว..." "โจร BRN ไม่รบกวน?" เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 เวลากลางวัน จำเลยโพสต์ในเพจองค์กรพลังชาวพุทธว่า "#มันแปลกดีนะ!! เป็นเพราะอะไร? นายวันนอร์ปลอดภัย!! ตลอด 20 ปี?? ทหาร, พระ, ผู้บริสุทธิ์ตาย! เกือบหมื่นศพ? นายวันนอร์มีวิธีอย่างไร? ถึงปลอดภัย? #ไม่เคยมีข่าวถูกคุมคามสักครั้ง??" และจำเลยตัดต่อข้อความลงบนรูปโจทก์มีข้อความว่า "แปลกมั้ย...." "โจรชั่ว...." และวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เวลากลางวัน จำเลยโพสต์ในเพจองค์กรพลังชาวพุทธว่า "#แปลกไหมครับ? เป็นไปได้อย่างไร? ใครอธิบายได้บ้าง? โจรชั่วกบฏมุสลิม Brn!! ก่อเหตุฆ่าพระ ทหารและผู้บริสุทธิ์ ฯลฯ เกือบหมื่นศพ!!.. มาเกือบ 20 ปี!! แต่ไม่เคยเกิดเหตุร้ายใดใดกับนายวันนอร์ ครอบครัวและบริวาร รวมทั้งทรัพย์สินเลยสักครั้ง?????...." และจำเลยตัดต่อข้อความลงบนรูปโจทก์มีข้อความว่า "แปลกมั้ย...." "โจรชั่ว...."

*คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 หรือไม่ โจทก์มีตัวโจทก์อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความได้ความว่า โจทก์เป็นหัวหน้าพรรคประชาชาติ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย อีกทั้งเคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี การที่จำเลยโพสต์ข้อความและนำข้อความมาใส่บนรูปโจทก์ในเพจเฟซบุ๊กของจำเลยและองค์กรพลังชาวพุทธรวม 4 ครั้ง นั้นเป็นความเท็จและเป็นการใส่ร้ายโจทก์เพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนชั่ว เป็นโจรมุสลิม BRN ซึ่งเป็นขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกี่ยวข้องกับการฆ่าประชาชน ทหาร พระ และผู้บริสุทธิ์เกือบหมื่นศพ ความจริงแล้วโจทก์ไม่ได้กระทำตามที่จำเลยใส่ร้าย โจทก์ไม่เคยถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับขบวนการก่อการร้าย การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง และไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต หลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วจำเลยยังได้โพสต์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์อีกหลายครั้ง นอกจากนี้โจทก์ยังมีนายสุรพล นายทะเบียนพรรคประชาชาติ พลตำรวจเอกปรุง ผู้เคยทำงานร่วมกับโจทก์และนายมูฮัมหมัดรุสดี รองโฆษกพรรคประชาชาติ เป็นพยานเบิกความทำนองเดียวกันได้ความว่า โจทก์ไม่เคยมีประวัติเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่ออ่านข้อความที่จำเลยโพสต์ แล้วเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลตามที่จำเลยใส่ร้าย การกระทำของจำเลยไม่ใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เห็นว่า การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 นั้น ผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนาใส่ความผู้อื่นในลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ด้วยการเผยแพร่ข้อความไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป และข้อความนั้นตามความรู้สึกของวิญญูชนโดยทั่วไปถึงขั้นทำให้ผู้อื่นนั้นน่าจะเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อความที่จำเลยโพสต์และข้อความที่จำเลยนำมาใส่บนรูปโจทก์ในเพจเฟซบุ๊กของจำเลยและองค์กรพลังชาวพุทธแล้ว ทำให้วิญญูชนโดยทั่วไปที่พบเห็นและอ่านแล้ว มีความรู้สึกหรือเข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นคนไม่ดี เกี่ยวข้องกับขบวนการ BRN ซึ่งเป็นขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันส่งผลให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้ และลักษณะการใส่ความของจำเลยก็เป็นการโพสต์ข้อความซ้ำแล้วซ้ำอีกในทำนองเดียวกันว่า โจทก์เกี่ยวข้องกับขบวนการก่อความไม่สงบดังกล่าว บ่งชี้ถึงเจตนาของจำเลยว่าเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงตามที่โพสต์ไป อีกทั้งการโพสต์ของจำเลยตามฟ้องก็เป็นการเผยแพร่ข้อความไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป เจือสมกับที่จำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า มีผู้ติดตามเพจเฟซบุ๊กของจำเลยประมาณ 4,000 ถึง 5,000 คน และเพจองค์กรพลังชาวพุทธประมาณ 40,000 ถึง 50,000 คน คนติดตามมีทั่วทุกภาคของประเทศ รวมทั้งคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือได้ว่าจำเลยได้เผยแพร่ข้อความ โดยการโฆษณา เมื่อจำเลยได้เผยแพร่ข้อความซึ่งวิญญูชนโดยทั่วไปที่พบเห็นและอ่านแล้วมีความรู้สึกหรือเข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นคนไม่ดีเกี่ยวข้องกับขบวนการ BRN ซึ่งเป็นขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อันส่งผลให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้ ด้วยการยืนยันข้อเท็จจริงต่อบุคคลที่สาม โดยการโฆษณาไปยังสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ที่จำเลยนำสืบและอ้างในฎีกาว่า การโพสต์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการตั้งคำถามต่อโจทก์ ไม่ได้ยืนยันข้อเท็จจริง และเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม เห็นว่า จำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า จำเลยนำรูปมาจากสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งมีการแชร์กัน เมื่อนำมาแล้วก็ได้เพิ่มข้อความว่า จริงหรือไม่ เพราะข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่ใส่ร้ายโจทก์ แสดงว่าจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าข้อความบนรูป ที่ว่า วันนอร์นำทีมกลุ่มวาดะห์รับบริจาคเงินช่วยเหลือโจรใต้ เป็นข้อความที่ใส่ร้ายโจทก์ ประกอบกับที่วินิจฉัยมาแล้วข้างต้นว่าจำเลยโพสต์ข้อความซ้ำแล้วซ้ำอีกในทำนองเดียวกันว่า โจทก์เกี่ยวข้องกับขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้จำเลยจะเพิ่มข้อความว่า จริงหรือไม่ ในลักษณะเป็นคำถามก็ตาม พฤติการณ์เช่นนี้บ่งชี้ได้ว่า จำเลยตั้งคำถามโดยไม่สุจริตใจและมีเจตนาเพื่อจะหลีกเลี่ยงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 อันมีผลพลอยให้เชื่อได้ว่าการโพสต์ข้อความของจำเลย ก็เป็นการตั้งคำถามโดยไม่สุจริตใจไปด้วย จึงมิใช่กรณีไม่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงตามที่จำเลยต่อสู้ ส่วนเรื่องการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมนั้น จำเลยเบิกความว่า ข้อมูลที่เกี่ยวกับความไม่สงบดังกล่าวจำเลยได้รับมาหลายทาง คำถาม เป็นคำถามมาจากหลายแหล่ง จำเลยได้รับข่าวสารว่าโจทก์ถูกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรดำเนินคดีในข้อหายุยงปลุกปั่น บางเรื่องโจทก์มีความสัมพันธ์กับกลุ่มก่อการร้าย บางเรื่องที่โจทก์เรียกร้องก็ไปเกี่ยวโยงกับกลุ่มก่อการร้ายที่เคยเรียกร้องมาก่อน จำเลยจึงต้องโพสต์ถามโจทก์ แต่จำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า จำเลยไม่เคยทำหนังสือสอบถามพรรคประชาชาติและกรรมาธิการจริยธรรมของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อสอบถามและตรวจสอบว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับขบวนการโจร BRN หรือไม่ จำเลยไม่ได้นำข้อมูลที่ได้รับทราบเกี่ยวข้องกับตัวโจทก์ไปให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาแก่โจทก์ แสดงว่าเมื่อจำเลยได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับตัวโจทก์มาแล้ว จำเลยไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แน่นอนก่อนที่จะโพสต์ข้อความตามฟ้อง ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยสอบถามปัญหาดังกล่าวต่อโจทก์โดยตรงมาก่อน แม้หากจำเลยได้ข้อมูลดังกล่าวมาและต้องการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่จำเลยนำสืบ จำเลยก็ยังมีวิธีการที่จำเลยจะดำเนินการหรือร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบได้อีกหลากหลายวิธี โดยไม่มีเหตุที่จะต้องตั้งคำถามในลักษณะกล่าวหาใส่ร้ายโจทก์เช่นนี้ จึงไม่มีความจำเป็นใดเลยที่จำเลยจะต้องโพสต์ข้อความดังกล่าวให้สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไปได้รับทราบ การกระทำของจำเลยเห็นได้ว่ามีเจตนาที่ต้องการประจานโจทก์ให้ได้รับความอับอายขายหน้า จึงเป็นการใส่ความโจทก์ในประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หาใช่มีเจตนาเพียงต้องการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม อันจะทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 (1) ไม่ ข้อนำสืบและข้ออ้างดังกล่าวของจำเลยไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ส่วนข้ออ้างอื่นในฎีกาของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่มีความผิดนั้น ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

*ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อมามีว่า กรณีมีเหตุให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า เมื่อพิจารณาระวางโทษของความผิดที่จำเลยได้กระทำตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ประกอบกับพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี ก่อนลดโทษนั้นนับว่าเหมาะสมแก่สภาพความผิดของจำเลยแล้ว ส่วนเรื่องรอการลงโทษจำคุก เห็นว่า การกระทำความผิดของจำเลยสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากแก่ชื่อเสียงของโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งสำคัญของประเทศ อีกทั้งยังสร้างปัญหาความขัดแย้งและบาดหมางกันระหว่างคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธกับศาสนาอิสลามเป็นวงกว้างโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศประกอบกับจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้รวมถึง 4 กระทง บ่งชี้ได้ว่าจำเลยไม่ยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุอันควรปรานีแก่จำเลยด้วยการรอการลงโทษจำคุก ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

*อนึ่ง คดีนี้จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลย แทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่าการลดโทษแต่ละกระทงเสียก่อนแล้วจึงรวมโทษเข้าด้วยกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 ก็มิได้แก้ไขในส่วนนี้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่การคำนวณลดโทษไม่ถูกต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

*พิพากษาแก้เป็นว่า เมื่อลดโทษให้กระทงละหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุกกระทงละ 1 ปี 4 เดือน รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 4 ปี 16 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9


*บทความที่เกี่ยวกับประเด็นทางกฎหมายในคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ มีสรุปได้ดังนี้:

1. การรอการลงโทษคืออะไร และเหตุผลที่ศาลจะรอการลงโทษจำเลย

*การรอการลงโทษ หมายถึง การที่ศาลตัดสินให้จำเลยมีความผิดแต่เลือกที่จะไม่ลงโทษจำคุกทันที โดยให้โทษรอการบังคับไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น ไม่กระทำความผิดซ้ำ ศาลอาจใช้วิธีนี้เมื่อเห็นว่าจำเลยสำนึกผิด ประพฤติดีมาตลอด หรือเป็นความผิดครั้งแรก และไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสาธารณะ การใช้ดุลพินิจนี้อยู่ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ซึ่งให้ศาลพิจารณาเหตุผลต่าง ๆ เช่น ความเป็นอยู่ของจำเลยและพฤติการณ์ที่ทำให้เกิดความผิด

2. ความผิดหลายกรรม กับความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท

ความผิดหลายกรรม หมายถึง การกระทำผิดที่เกิดขึ้นหลายครั้งซึ่งเป็นอิสระต่อกัน เช่น จำเลยกระทำการหมิ่นประมาทหลายครั้งต่อเนื่อง ซึ่งศาลต้องลงโทษแยกเป็นแต่ละกระทงตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งเกี่ยวกับการคำนวณโทษในกรณีหลายกรรม โดยโทษรวมต้องเหมาะสมและมีความยุติธรรม

*ความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท หมายถึง การกระทำหนึ่งแต่มีความผิดตามหลายบทกฎหมาย เช่น การโพสต์ข้อความที่เป็นทั้งหมิ่นประมาทและดูหมิ่นในเวลาเดียวกัน ศาลจะเลือกใช้บทที่มีโทษหนักที่สุดตาม มาตรา 90 ซึ่งกำหนดให้ลงโทษเพียงบทเดียวที่มีโทษสูงสุดเพื่อไม่ให้จำเลยถูกลงโทษซ้ำซ้อน

3. ความผิดฐานหมิ่นประมาทและการดูหมิ่น

หมิ่นประมาท (มาตรา 326 และ 328) เป็นการกล่าวถึงผู้อื่นในลักษณะที่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่อาจทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณามีโทษหนักขึ้น

*การดูหมิ่น (มาตรา 393) เป็นการแสดงออกในลักษณะที่ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นต่อหน้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความแตกต่างหลักคือ การหมิ่นประมาทต้องเกี่ยวข้องกับการยืนยันข้อเท็จจริง ส่วนการดูหมิ่นเป็นการแสดงออกต่อหน้าเท่านั้น

4. การยืนยันข้อเท็จจริงในการทำผิดฐานหมิ่นประมาท กับการตั้งคำถามที่ไม่มีความผิด

*การยืนยันข้อเท็จจริง หมายถึง การกล่าวหาหรือให้ข้อมูลที่สามารถทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าผู้ที่ถูกกล่าวหามีความผิดหรือเป็นบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดหมิ่นประมาทตาม มาตรา 328

การตั้งคำถามที่ไม่มีความผิด ต้องมีเจตนาที่สุจริต เช่น การวิพากษ์วิจารณ์เพื่อประโยชน์สาธารณะตาม มาตรา 329 (1) ซึ่งไม่ถือเป็นความผิดหากทำโดยสุจริต แต่หากมีเจตนาแอบแฝงหรือนำเสนอในลักษณะที่เป็นการใส่ร้ายเพื่อหลีกเลี่ยงความผิด ศาลจะพิจารณาจากพฤติการณ์และหลักฐานต่าง ๆ

*บทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง:

•มาตรา 21 วรรคสอง: เรื่องการลดโทษและการคำนวณโทษในหลายกรรม

•มาตรา 328: ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

•มาตรา 329 (1): ข้อยกเว้นในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต

ศาลจะพิจารณาว่าการกระทำนั้นมีเจตนาใส่ร้ายหรือไม่โดยดูจากลักษณะคำถาม การยืนยันข้อเท็จจริง และเจตนาของผู้กระทำ หากศาลพบว่าเป็นการทำเพื่อประจานหรือทำให้เสียชื่อเสียง แม้เป็นคำถาม ก็ถือว่าผิดตามกฎหมายหมิ่นประมาท 




หมวด 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท (มาตรา 326 ถึง มาตรา 333)

หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา, ความคิดเห็นโดยสุจริต, คดีหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่รัฐ
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา, คดีหมิ่นประมาทในเฟซบุ๊กและยูทูบ, สิทธิการฟื้นฟูชื่อเสียงตามกฎหมาย