ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว

 ครอบครองที่ดินโดยใช้เป็นสุสานฝังศพหรือฮวงซุ้ยเป็นเวลา 10 ปีแล้วจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์

สัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดิน ระบุว่าผู้จะขายจะไปยื่นคำขอแบ่งขายให้แก่ผู้ซื้อที่สำนักงานที่ดินภายในกำหนดสองปีนับแต่วันทำหนังสือสัญญานี้ก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยปล่อยเวลาล่วงเลยไปนานโดยมิได้ดำเนินการเพื่อแบ่งแยกโฉนดที่ดินแต่อย่างใด แสดงว่าคู่กรณีไม่ได้คำนึงถึงการที่จะทำการแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป การที่จำเลยรับเงินค่าซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญา และยินยอมให้โจทก์นำศพญาติของโจทก์ฝังไว้ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2506 ตามพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยเด็ดขาด การครอบครองของโจทก์เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ ครอบครองที่ดินพิพาทโดยใช้เป็นสุสานฝังศพหรือฮวงซุ้ยติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7780/2551

แม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตอนท้ายระบุว่า ผู้จะขายจะไปยื่นคำขอแบ่งขายให้แก่ผู้จะซื้อที่สำนักงานที่ดินภายในกำหนดสองปีนับแต่วันทำหนังสือก็ตาม แต่โจทก์ที่ 2 และ บ. กับจำเลยทั้งห้าปล่อยเวลาล่วงเลยไปนานโดยมิได้ดำเนินการเพื่อแบ่งแยกโฉนด แสดงว่าคู่กรณีไม่ได้คำนึงถึงการที่จะทำการแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป ก่อนทำหนังสือสัญญาดังกล่าวจำเลยทั้งห้านำศพมารดาและบิดาไปฝังไว้ในบริเวณที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์ที่ 2 และ บ. นำศพญาติของโจทก์ทั้งสองจำนวน 15 ศพ ไปฝังไว้เป็นแนวเดียวกัน ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทข้อ 1 ระบุไว้ชัดว่าจำเลยทั้งห้าแบ่งขายที่ดินทางด้านทิศใต้ตามที่ทำฮวงซุ้ยไว้แล้วอยู่ตรงกลางใกล้กับทางด้านทิศตะวันตก (ไม่สุดแนวเขต) จำนวน 2 ไร่ถ้วน แสดงว่าก่อนหน้านี้จำเลยทั้งห้าใช้บริเวณที่ดินพิพาทเป็นสุสานฝังศพบิดามารดาจำเลยทั้งห้าอยู่แล้ว ทั้งตามลักษณะบริเวณที่ดินพิพาทซึ่งทำฮวงซุ้ยไว้แล้วนั้นเป็นที่ฝังศพเฉพาะคนตระกูลของโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งห้า โดยฝังศพไว้ในลักษณะถาวร บนหลุมฝังศพมีการก่อปูนซีเมนต์ไว้อย่างมั่นคงแข็งแรง เมื่อถึงวันเช็งเม้งอันเป็นวันเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ญาติผู้ตายคือฝ่ายโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งห้าต่างไปเคารพศพทุกปี อันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ชาวจีนทั่วไปต้องปฏิบัติตลอดไป โดยสภาพย่อมไม่มีการขุดศพออกจากที่ดินพิพาทแต่อย่างใด จึงไม่อาจให้ความยินยอมหรืออนุญาตกันได้ เพราะหากเจ้าของที่ดินไม่ยินยอมหรือไม่อนุญาตเมื่อใดก็จะต้องขุดศพออกจากที่ดินเมื่อนั้น ซึ่งจำเลยทั้งห้ารู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวอยู่แล้ว การที่จำเลยทั้งห้ารับเงินค่าซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 2 และ บ. ครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญา และยินยอมให้โจทก์ที่ 2 และ บ. นำศพญาติของโจทก์ที่ 2 และ บ. ฝังไว้ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2506 ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าสละการครอบครองที่ดินพิพาทแก่โจทก์ที่ 2 และ บ. โดยเด็ดขาด โจทก์ที่ 2 และ บ. ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อ บ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 ร่วมกับโจทก์ที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทโดยใช้เป็นสุสานฝังศพหรือฮวงซุ้ยติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาท เนื้อที่ 2 ไร่ เป็นของโจทก์ทั้งสองโดยสัญญาซื้อขายและครอบครองปรปักษ์ ให้จำเลยทั้งห้าไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกับจำเลยทั้งห้าในที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 864 เลขที่ดิน 99 ตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม แล้วให้จำเลยทั้งห้ารังวัดและแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งห้าไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา และให้จำเลยทั้งห้าส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 864 ให้แก่โจทก์ทั้งสอง

จำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การและแก้ไขคำให้การในทำนองเดียวกันขอให้ยกฟ้อง โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ฟ้องแย้งในทำนองเดียวกันขอให้โจทก์ทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 เป็นเงิน 175,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ให้โจทก์ทั้งสองขุดศพบิดามารดาและญาติของโจทก์ทั้งสองออกจากที่ดินพิพาทแล้วส่งมอบที่ดินคืน คิดเป็นเนื้อที่สำหรับโจทก์ที่ 1 จำนวน 45 ตารางเมตร หรือประมาณ 12 ตารางวา สำหรับโจทก์ที่ 2 จำนวน 30 ตารางเมตร หรือประมาณ 8 ตารางวา พร้อมกับปรับปรุงที่ดินให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย หากโจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน

โจทก์ทั้งสองให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ขอให้ยกฟ้องแย้ง

โจทก์ที่ 1 ไม่ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ไม่ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์ที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 ออกจากสารบบความ

โจทก์ที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3

 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทตามกรอบเส้นสีเขียวในแผนที่วิวาท ในโฉนดเลขที่ 864 ตำบลบ่อพลับ (พระปฐมเจดีย์) อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เนื้อที่ 2 ไร่ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 คำขออื่นให้ยก ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

    จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์

  ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
 จำเลยทั้งห้าฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า... โจทก์ทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หรือไม่ โจทก์ทั้งสองนำสืบว่า เมื่อปี 2506 โจทก์ที่ 2 และนายบุญชัยบิดาโจทก์ที่ 1ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งห้าตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งจำเลยทั้งห้าให้การยอมรับว่าจำเลยทั้งห้าทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ที่ 2 และนายบุญชัยจริงแต่นำสืบบ่ายเบี่ยงว่าจำเลยทั้งห้าไม่ได้รับเงินตามสัญญาดังกล่าว เห็นว่า หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นพยานเอกสาร โดยเฉพาะสัญญาข้อ 3 ระบุไว้ชัดว่าผู้จะซื้อได้ชำระและผู้จะขายได้รับเงินไปแล้วในวันทำหนังสือสัญญานี้เป็นเงิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) และในตอนท้ายของสัญญาก็ระบุว่าทั้งสองฝ่ายต่างทราบข้อความตามหนังสือสัญญานี้ดีตลอดแล้ว มิได้บังคับขู่เข็ญหรือสำคัญผิดแต่อย่างใด หากจำเลยทั้งห้าไม่ได้รับเงิน 10,000 บาท ตามสัญญาแล้ว จำเลยทั้งห้าคงไม่ยอมลงลายมือชื่อเป็นผู้ขายเป็นแน่เพราะเป็นการกระทำให้ตนต้องเสียผลประโยชน์ และเป็นการนำสืบขัดกับพยานเอกสารจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เชื่อได้ว่าโจทก์ที่ 2 และนายบุญชัยชำระราคาค่าซื้อที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งห้าครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญา แม้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ข้อ 1 ตอนท้ายระบุว่าผู้จะขายจะไปยื่นคำขอแบ่งขายให้แก่ผู้ซื้อที่สำนักงานที่ดินภายในกำหนดสองปีนับแต่วันทำหนังสือสัญญานี้ก็ตาม แต่โจทก์ที่ 2 และนายบุญชัยกับจำเลยทั้งห้าปล่อยเวลาล่วงเลยไปนานโดยมิได้ดำเนินการเพื่อแบ่งแยกโฉนดที่ดินแต่อย่างใด แสดงว่าคู่กรณีไม่ได้คำนึงถึงการที่จะทำการแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป ข้อเท็จจริงได้ความจากข้อนำสืบของจำเลยทั้งห้าว่า ก่อนทำหนังสือสัญญาดังกล่าว จำเลยทั้งห้านำศพมารดาและบิดาไปฝังไว้ในบริเวณที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์ที่ 2 และนายบุญชัยนำศพญาติของโจทก์ทั้งสองจำนวน 15 ศพ ไปฝังไว้เป็นแนวเดียวกัน เห็นว่า ตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ข้อ 1 ระบุไว้ชัดว่า จำเลยทั้งห้าแบ่งขายที่ดินทางด้านทิศใต้เฉพาะตามที่ทำฮวงซุ้ยไว้แล้วอยู่ตรงกลางใกล้กับทางด้านทิศตะวันตก (ไม่สุดแนวเขต) จำนวน 2 ไร่ถ้วน แสดงว่าก่อนหน้านี้จำเลยทั้งห้าใช้บริเวณที่ดินพิพาทเป็นสุสานฝังศพบิดามารดาจำเลยทั้งห้าหรือฮวงซุ้ยอยู่แล้ว หนังสือสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จึงได้ระบุว่าจำเลยทั้งห้าแบ่งขายเฉพาะตรงที่ทำฮวงซุ้ยไว้แล้ว ทั้งตามลักษณะบริเวณที่ดินพิพาทซึ่งทำฮวงซุ้ยไว้แล้วนั้นเป็นที่ฝังศพเฉพาะคนในตระกูลของโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งห้า โดยฝังศพไว้ในลักษณะถาวร ส่วนบนหลุมฝังศพมีการก่อปูนซีเมนต์ไว้อย่างมั่นคงแข็งแรง เมื่อถึงวันเช็งเม้งอันเป็นวันเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ญาติผู้ตายคือฝ่ายโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งห้าต่างไปเคารพศพทุกปี อันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ชาวจีนทั่วไปต้องปฏิบัติตลอดไป โดยสภาพย่อมไม่มีการขุดศพออกจากที่ดินพิพาทแต่อย่างใด จึงไม่อาจให้ความยินยอมหรืออนุญาตกันได้เพราะหากเจ้าของที่ดินไม่ยินยอมหรือไม่อนุญาตเมื่อใดก็จะต้องมีการขุดศพออกจากที่ดินเมื่อนั้น ซึ่งจำเลยทั้งห้ารู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวอยู่แล้ว การที่จำเลยทั้งห้ารับเงินค่าซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 2 และนายบุญชัยครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญา และยินยอมให้โจทก์ที่ 2 และนายบุญชัยนำศพญาติของโจทก์ที่ 2 และนายบุญชัยฝังไว้ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2506 ตามพฤติการณ์ของจำเลยทั้งห้าดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งห้าสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 และนายบุญชัยโดยเด็ดขาด การครอบครองของโจทก์ที่ 2 และนายบุญชัยเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ หาใช่เป็นการครอบครองตามสัญญาจะซื้อจะขายดังที่จำเลยทั้งห้าฎีกาไม่ เมื่อนายบุญชัยถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 ร่วมกับโจทก์ที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทโดยใช้เป็นสุสานฝังศพหรือฮวงซุ้ยติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ส่วนคำพิพาษาศาลฎีกาที่มีจำเลยทั้งห้าอ้างมาในฎีกานั้นข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งห้าในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน

             พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบ ครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกัน เป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

 เบิกความอันเป็นเท็จเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน

ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ หลงเชื่อและมีคำสั่งให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ สำหรับความผิดฐานเบิกความเท็จได้ความว่าจำเลย กระทำผิดฐานเบิกความเท็จพร้อมกันไปกับการกระทำความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี และฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม โดยกระทำในวันเวลาและคดีเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

 




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

ทำให้สิทธิภาระจำยอมเสื่อมความสะดวก, บังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, การเพิกถอนภาระจำยอม,
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนทางจำเป็น, อายุความฟ้องร้องค่าทดแทน 10 ปี, หลักเกณฑ์การเปิดทางจำเป็น,
การคัดค้านการรังวัดแนวเขตที่ดิน, ครอบครองปรปักษ์, ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ
ภาระจำยอมไม่มีการใช้ประโยชน์เกินกว่า 10 ปีย่อมระงับสิ้นไป
โจทก์ฟ้องขอให้ชดใช้ค่าทดแทนที่ดินเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่ถูกฟ้องเปิดทางจำเป็น
การนับเวลาการครอบครองเป็นปรปักษ์ที่งอกริมตลิ่ง
ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น
มารดาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยคำสั่งให้บุตรเป็นคนสาบสูญ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม