ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน

 อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน               

อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้ว แต่ทางราชการไม่มาดำเนินการสร้างถนนตามเจตนาของผู้อุทิศ เพียงแต่วางท่อประปาและปักเสาไฟฟ้าไว้เท่านั้น กรณีอย่างนี้ สามารถเรียกคืนที่ดินดังกล่าวได้หรือไม่??
ศาลฎีกาพิพากษาว่า การที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการวางท่อประปาและปักเสาไฟฟ้านั้น เป็นการที่เจ้าของที่ดินสละการครอบครองที่ดินในส่วนนั้นแล้ว และการที่ทางราชการได้วางท่อประปาและปักเสาไฟฟ้าก็เป็นการเข้าครอบครองที่ดินแล้ว แม้ยังไม่ได้ทำถนนก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ตกเป็นทางสาธารณะอันเป็นสมบัติของแผ่นดินแล้ว
 
 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1305/2527

  ตามบันทึกคำแสดงเจตนาอุทิศที่พิพาทให้เป็นถนนสาธารณประโยชน์มีข้อความชัดเจนว่าจำเลยยินยอมให้นายกเทศมนตรีเมืองกระบี่เข้าไปดำเนินการสร้างถนนผ่านที่ดินได้โดยตลอดและยอมมอบที่ดินที่ใช้สร้างถนนให้เป็นทางสาธารณะและเทศบาลเมืองกระบี่โจทก์ได้ปักเสาพาดสายไฟฟ้าและวางท่อประปาตามแนวเขตที่พิพาทแม้โจทก์จะยังมิได้ทำถนนตามแนวที่พิพาทที่พิพาทก็ตกเป็นทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วการที่จำเลยขอให้ทางการออกโฉนดทับแนวที่พิพาทจึงเป็นการไม่ชอบ

  โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทตามเขตภายในเส้นสีแดงตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของถนนสาธารณะของโจทก์ โจทก์ครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของเกิน 10 ปีแล้วที่ดินดังกล่าวนี้จำเลยตกลงยินยอมมอบให้โจทก์ใช้สร้างถนนสาธารณะตามบันทึกของจำเลยลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2511 นับจากวันที่จำเลยยินยอมให้โจทก์สร้างถนนดังกล่าวจำเลยมิได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาท โดยได้สละสิทธิครอบครองและที่พิพาทตกเป็นที่สาธารณะตามเจตนาของจำเลยแล้ว โจทก์ปักเสาไฟฟ้า พากสายไฟฟ้ากับวางท่อประปาไปตามแนวเขตถนนที่จำเลยยอมให้โจทก์สร้าง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2519 จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินของจำเลยและนำเจ้าพนักงานรังวัดชี้เขตที่ดินถนนสาธารณะของโจทก์ โจทก์คัดค้านขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง

    จำเลยให้การว่า เมื่อ พ.ศ. 2511 เทศมนตรีเมืองกระบี่ขออนุญาตทำถนนผ่านที่ดินจำเลยตรงที่เป็นที่พิพาท และให้จำเลยมอบให้เป็นทางสาธารณะ แต่จนบัดนี้โจทก์มิได้ทำที่พิพาทให้เป็นถนนหรือทางสาธารณะ จำเลยเห็นว่าโจทก์ไม่ต้องการที่พิพาททำถนนหรือทางสาธารณะแล้ว จำเลยจึงมีหนังสือถึงโจทก์บอกว่าไม่ยินยอมให้โจทก์ทำถนนหรือทางสาธารณะในที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินของจำเลยต่อไปและให้โจทก์รื้อสายไฟฟ้าออกไป ต่อมาปี พ.ศ. 2519 จำเลยขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่พิพาทและนอกเขตที่พิพาทโจทก์มิได้คัดค้านว่าที่พิพาทเป็นถนนหรือทางสาธารณะ แต่คัดค้านว่าจำเลยนำชี้ที่ดินขอออกโฉนดทับทางน้ำสาธารณะขอให้ยกฟ้อง

    ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้อง

  จำเลยอุทธรณ์

    ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
    จำเลยฎีกา

  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามบันทึกคำแสดงเจตนาอุทิศที่พิพาทให้เป็นถนนสาธารณประโยชน์มีข้อความชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยยินยอมให้นายกเทศมนตรีเมืองกระบี่เข้าไปดำเนินการสร้างถนนผ่านที่ดินได้โดยตลอด และยอมมอบที่ดินที่ใช้สร้างถนนให้เป็นทางสาธารณะและเทศบาลเมืองกระบี่โจทก์ได้ปักเสาไฟฟ้า พาดสายไฟฟ้า และวางท่อประปาตามแนวเขตที่พิพาท แสดงว่าได้เข้าครอบครองที่พิพาทแล้วถือได้ว่าจำเลยสละการครอบครองที่พิพาทตั้งแต่นั้น แม้โจทก์จะยังมิได้ทำถนนตามแนวที่พิพาท ที่พิพาทก็ตกเป็นทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว การที่จำเลยขอให้ทางการออกโฉนดทับแนวที่พิพาทย่อมเป็นการไม่ชอบ

          พิพากษายืน

อุทิศที่ดินเพื่อใช้เป็นที่สร้างวัดที่ดินย่อมตกเป็นของแผ่นดินทันทีตามเจตนาของผู้อุทิศ

โจทก์ที่ 2(เจ้าอาวาสวัด) ซื้อที่ดินพิพาทจากผู้อื่นแล้วยกให้วัด (โจทก์ที่ 1)  ขณะที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล ต่อมาเมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดโดยมีโจทก์ที่ 2 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส โจทก์ที่ 2 ก็ได้แสดงเจตนายืนยันว่าได้มีการยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ตลอดมาโดยมีการทำบันทึกถ้อยคำ ถือได้ว่ามีเจตนาอุทิศที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็นที่สร้างวัด ที่ดินย่อมตกเป็นของแผ่นดินสำหรับใช้เป็นที่สำหรับสร้างวัด ตามเจตนาของผู้อุทิศทันทีโดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ที่ดินจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของวัด โดยสมบูรณ์ตั้งแต่บัดนั้น เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของวัดแล้วจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น การมอบอำนาจให้จำเลยไปรับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของวัดมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนซึ่งมีผลทำให้การโอนที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  9543/2551

          โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากผู้อื่นแล้วยกให้วัดโจทก์ที่ 1 ขณะที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคล ต่อมาเมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2513 โดยมีโจทก์ที่ 2 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส โจทก์ที่ 2 ก็ได้แสดงเจตนายืนยันว่าได้มีการยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ตลอดมาโดยมีการทำบันทึกถ้อยคำว่า โจทก์ที่ 1 มีความประสงค์ขอรับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 2 นับแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2513 ถือได้ว่ามีเจตนาอุทิศที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็นที่สร้างวัดที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของแผ่นดินสำหรับใช้เป็นที่สำหรับสร้างวัดโจทก์ที่ 1 ตามเจตนาของผู้อุทิศทันทีโดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 เมื่อสร้างวัดโจทก์ที่ 1 เสร็จเรียบร้อย กระทรวงศึกษาธิการและมหาเถรสมาคมเห็นชอบให้ตั้งวัดโจทก์ที่ 1 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2513 ที่ดินพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โดยสมบูรณ์ตั้งแต่บัดนั้น เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของโจทก์ที่ 1 แล้วตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่โจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยไปรับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ที่ 1 มาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนซึ่งมีผลทำให้การโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยไปยังจำเลยร่วมที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย 

          โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มีโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าอาวาสมีอำนาจกระทำการแทน เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2508 โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6696 ตำบลแสนสุข (หนองมน) อำเภอเมืองชลบุรี (บางพระ) จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 7 ตารางวา จากนายไฝ โดยเจตนาอุทิศให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ปลูกสร้างกุฏิสงฆ์เลขที่ 373/37 บนที่ดินแปลงดังกล่าวและครอบครองแทนโจทก์ที่ 1 โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสิบปีที่ดินแปลงดังกล่าวจึงเป็นที่ธรณีสงฆ์ โจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยไปดำเนินการรับโฉนดที่ดินเลขที่ 6696, 533, 3150 และ 6736 จากเจ้าพนักงานที่ดินที่จังหวัดชลบุรี และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ที่ 1 แต่จำเลยกลับปลอมหนังสือมอบอำนาจเป็นว่า โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 6696 ให้จำเลยและยึดหน่วงโฉนดที่ดินเลขที่ 533, 3150 และ 6736 ของโจทก์ที่ 1 ไว้ ต่อมาจำเลยรื้อถอนกุฏิสงฆ์เลขที่ 373/37 ราคาประมาณ 400,000 บาท ของโจทก์ที่ 1 ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 6696 ตำบลแสนสุข (หนองมน) อำเภอเมืองชลบุรี (บางพระ) จังหวัดชลบุรี ตามหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับลงวันที่ 21 เมษายน 2530 ระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยและพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 6696 โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 6696, 533, 3150 และ 6736 ตำบลแสนสุข (หนองมน) อำเภอเมืองชลบุรี (บางพระ) จังหวัดชลบุรี ให้โจทก์ทั้งสอง หากจำเลยไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทน ให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6696 ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสอง นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ 

          จำเลยให้การว่า โจทก์ที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดและเริ่มมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2513 ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2514 ดังนั้นขณะที่โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทในปี 2508 โจทก์ที่ 1 จึงยังไม่มีสภาพบุคคลจึงเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์ที่ 2 จะครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ที่ 1 หรือเจตนาจะอุทิศที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดและเริ่มมีฐานะเป็นนิติบุคคลโจทก์ที่ 1 ไม่เคยครอบครองหรือมอบหมายให้โจทก์ที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ที่ธรณีสงฆ์ โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 2 โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โดยโจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนโอนขายด้วยความสมัครใจ โรงเรือนเลขที่ 373/37 ไม่ใช่กุฏิสงฆ์แต่เป็นบ้านพักที่จำเลยก่อสร้างในราคา 100,000 บาท จำเลยจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และมีอำนาจรื้อถอน จำเลยมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินเลขที่ 533, 3150 และ 6736 ไว้จนกว่าโจทก์ที่ 1 จะชำระเงินจำนวน 45,000 บาท ที่จำเลยทดรองจ่ายในการดำเนินการจดทะเบียนให้ที่ดินทั้งสามแปลงแก่โจทก์ที่ 1 ขอให้ยกฟ้อง

          ระหว่างพิจารณาโจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เรียกนายบัณฑิตกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด เข้ามาเป็นจำเลยร่วมศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตโดยให้เรียกนายบัณฑิต เริงนภดล เป็นจำเลยร่วมที่ 1 และธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นจำเลยร่วมที่ 2 

          จำเลยร่วมที่ 1 ให้การว่า โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากนายไฝตั้งแต่ปี 2508 และครอบครองเพื่อตนเองมาโดยตลอดไม่เคยครอบครองแทนโจทก์ที่ 1 และไม่เคยยกให้โจทก์ที่ 1 อีกทั้งโจทก์ที่ 1 ไม่ได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 2 โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต หนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 20 เมษายน 2530 ไม่ใช่เอกสารปลอม โรงเรือนเลขที่ 373/37 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทไม่ใช่กุฏิสงฆ์แต่เป็นบ้านพักที่จำเลยปลูกสร้างขึ้นเอง และมีราคาไม่เกิน 50,000 บาท จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์แทนเพื่อขอกู้ยืมเงินจากจำเลยร่วมที่ 2 ไปใช้ในการเผยแพร่และพัฒนาพุทธศาสนา ขอให้ยกฟ้อง 

          จำเลยร่วมที่ 2 ให้การว่า จำเลยร่วมที่ 2 รับจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์ทั้งสองมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันเป็นเวลากว่าสิบปี จึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ ขอให้ยกฟ้อง

          ระหว่างพิจารณาจำเลยถึงแก่มรณภาพ โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมที่ 1 ในฐานะทายาทจำเลยเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งบุคคลผู้ถูกเรียกเป็นคู่ความแทน

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า โจทก์ที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 6696 ตำบลแสนสุข (หนองมน) อำเภอเมืองชลบุรี (บางพระ) จังหวัดชลบุรี โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 6696 ตำบลแสนสุข (หนองมน) อำเภอเมืองชลบุรี (บางพระ) จังหวัดชลบุรี ตามหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับลงวันที่ 21 เมษายน 2530 ระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลย ให้เพิกถอนการจดทะเบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 6696 ระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมที่ 1 ตามสัญญาให้ที่ดินฉบับลงวันที่ 18 กันยายน 2533 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 6696 ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน ฉบับลงวันที่ 18 กันยายน 2533 ให้จำเลยส่งมอบโฉนดเลขที่ 6696, 533, 3150, 6736 ตำบลแสนสุข (หนองมน) อำเภอเมืองชลบุรี (บางพระ) จังหวัดชลบุรี ให้แก่โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6696 ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินของโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยชำระค่าเสียหาย 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2533 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 1 กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท เฉพาะค่าฤชาธรรมเนียม (ที่ถูกค่าขึ้นศาล) ให้ใช้แทนเท่าจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยร่วมทั้งสองให้เป็นพับ ยกเว้นค่าทนายความ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท

          จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ฎีกา 

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความไม่โต้แย้งฟังเป็นยุติว่า เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2508 โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 6696 ตำบลแสนสุข (หนองมน) อำเภอเมืองชลบุรี (บางพระ) จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 7 ตารางวา จากนายไฝ แล้วยกให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งขณะนั้นยังมีสถานะเป็นเพียงสำนักสงฆ์ ต่อมาวันที่ 13 กรกฎาคม 2513 กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งโจทก์ที่ 1 เป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนาตามสำเนาประกาศกระทรวงศึกษาธิการเอกสารหมาย จ.1 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2530 จำเลยรับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ให้ไปรับโฉนดที่ดิน 6696, 533, 3150 และ 6736 จากสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีตามเอกสารหมาย จ.9 และในวันเดียวกันนั้นจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจฉบับลงวันที่ 20 เมษายน 2530 เอกสารหมาย จ.18 ที่โจทก์ที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจโดยจำเลยเป็นผู้รับมอบอำนาจไปดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้แก่ตนเอง วันที่ 18 กันยายน 2533 จำเลยจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยร่วมที่ 1 และในวันเดียวกันจำเลยร่วมที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันการกู้ยืมเงินไว้แก่จำเลยร่วมที่ 2 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ว่า ขณะที่โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้อื่นแล้วยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1ระหว่างนั้นโจทก์ที่ 1 ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและยังไม่มีการสร้างวัด ข้ออ้างของโจทก์ที่ 2 ที่ว่าได้ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ที่ 1 จึงเลื่อนลอยและไม่มีเหตุผล โจทก์ที่ 1 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แต่อย่างใดนั้น เห็นว่า แม้โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากผู้อื่นแล้วยกให้โจทก์ที่ 1 ตั้งแต่ปี 2508 ขณะที่โจทก์ที่ 1 ยังไม่เป็นนิติบุคคลก็ตาม แต่ต่อมาเมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2513 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเอกสารหมาย จ.1 โดยมีโจทก์ที่ 2 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ก็ได้แสดงเจตนายืนยันว่าได้มีการยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ตลอดมาโดยมีการทำบันทึกถ้อยคำตามเอกสารหมาย จ.25 ว่า โจทก์ที่ 1 มีความประสงค์ขอรับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 2 นับแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2513 ที่ดินพิพาทที่โจทก์ที่ 2 ยกให้โจทก์ที่ 1 ถือได้ว่ามีเจตนาอุทิศที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็นที่สร้างวัด ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นของแผ่นดินสำหรับใช้เป็นที่สำหรับสร้างวัดโจทก์ที่ 1 ตามเจตนาของผู้อุทิศทันทีโดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 เมื่อสร้างวัดโจทก์ที่ 1 เสร็จเรียบร้อย กระทรวงศึกษาธิการและมหาเถรสมาคมเห็นชอบให้ตั้งวัดโจทก์ที่ 1 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2513 ที่ดินพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดโจทก์ที่ 1 โดยสมบูรณ์ตั้งแต่บัดนั้น เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของวัดโจทก์ที่ 1 แล้วตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น ประเด็นที่ว่า โจทก์ที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยไปรับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะถึงอย่างไรจำเลยไม่มีสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของวัดโจทก์ที่ 1 มาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ซึ่งมีผลทำให้การโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยไปยังจำเลยร่วมที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย ส่วนที่จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ฎีกาประการสุดท้ายว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาเกินคำขอ เพราะคำฟ้องของโจทก์ไม่มีคำขอให้บังคับจำเลยร่วมที่ 1 คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่อาจบังคับแก่จำเลยร่วมที่ 1 ด้วยนั้น เห็นว่า เมื่อโจทก์ทั้งสองขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้วโดยมีคำฟ้องเดิมเป็นหลัก หนี้ตามคำฟ้องเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างจำเลยและจำเลยร่วม คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงบังคับและมีผลผูกพันจำเลยร่วมด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน ให้จำเลยและจำเลยร่วมที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความให้ 5,000 บาท

 




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

โจทก์ฟ้องขอให้ชดใช้ค่าทดแทนที่ดินเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่ถูกฟ้องเปิดทางจำเป็น
การนับเวลาการครอบครองเป็นปรปักษ์ที่งอกริมตลิ่ง
ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น
มารดาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยคำสั่งให้บุตรเป็นคนสาบสูญ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ