ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต

 รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต

โจทก์ฟ้องขอให้ทางในที่ดินของจำเลยทั้งสอง เป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยทั้งสองรื้อประตูรั้วเหล็กหรือเปิดประตูรั้วเหล็กมิให้ปิดกั้นทางภาระจำยอมอีกต่อไป ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน เดิมโจทก์ซื้อที่ดินจากนางแตงอ่อนซึ่งตกลงให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ การตกลงกันดังกล่าวถือเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน จึงหาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของนางแตงอ่อนหรือโดยวิสาสะตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมาไม่ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ทางตกเป็นภาระจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2562

ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินของ ส. และ ต. ภายหลังแบ่งแยก ต. ผู้ขายที่ดินให้แก่โจทก์ตกลงยินยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของ ต. เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ซึ่งโจทก์และบริวารก็ได้ใช้ทางพิพาทดังกล่าวตลอดมา การตกลงกันดังกล่าวถือเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ต. หรือโดยวิสาสะไม่ ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยนิติกรรมดังกล่าว อันเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้ทางภาระจำยอมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ก็อาจได้ภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความหากโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยเจตนาให้ได้ภาระจำยอมซึ่งต้องพิจารณาจากการใช้ว่า เป็นการใช้โดยอาการที่ถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อ ต. เจ้าของที่ดินที่ตั้งทางพิพาทคนเดิมและเจ้าของที่ดินคนต่อ ๆ มาหรือไม่

โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมตลอดมา เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทย่อมตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เมื่อเป็นการได้มาซึ่งภาระจำยอมแล้ว แม้จะเป็นการได้ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ก็ไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติมาตรา 1299 วรรคสอง ดังนั้น จำเลยทั้งสองจะยกเรื่องการรับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า ทางตามรูปแผนที่สังเขปท้ายคำฟ้องเอกสารหมายเลข 12 ส่วนที่เป็นสีเหลือง กว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 120 เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 ของจำเลยทั้งสอง เป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยทั้งสองรื้อประตูรั้วเหล็กหรือเปิดประตูรั้วเหล็กมิให้ปิดกั้นทางภาระจำยอมอีกต่อไป โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งสองเอง และให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 29019 ของโจทก์

จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

โจทก์ฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 29019 เดิมที่ดินโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 โดยโจทก์ซื้อจากนายสมศักดิ์ และนางแตงอ่อน เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2537 และถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าว ต่อมาเมื่อปี 2539 โจทก์ นายสมศักดิ์และนางแตงอ่อนขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ทางราชการจึงออกโฉนดเลขที่ 29019 ให้แก่โจทก์ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 29019 ตั้งแต่เมื่อประมาณปี 2539 โดยเข้าไปปลูกสร้างบ้านเลขที่ 18/2 เพื่ออยู่อาศัย และได้ใช้ทางพิพาท ซึ่งนางแตงอ่อนทำไว้บนที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะสายนครนายก - ท่าด่าน ต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 ถูกยึดขายทอดตลาดโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประมูลซื้อได้ และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 ให้แก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556 ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2559 จำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท

คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 29019 หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้นอกจากข้อเท็จจริงจะได้ความว่า ที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 29019 แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 ซึ่งเดิมเป็นของนายสมศักดิ์และนางแตงอ่อนแล้ว ยังได้ความว่า ภายหลังจากการแบ่งแยกที่ดินเมื่อปี 2539 ซึ่งเป็นผลให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนางแตงอ่อนเพียงผู้เดียว นางแตงอ่อนตกลงยินยอมให้โจทก์ซึ่งปลูกบ้านเลขที่ 18/2 บนที่ดินโฉนดเลขที่ 29019 ใช้ทางพิพาทซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะสายนครนายก - ท่าด่าน ซึ่งโจทก์และบริวารก็ได้ใช้ทางพิพาทดังกล่าวตลอดมา การที่นางแตงอ่อนซึ่งเป็นผู้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 29019 ให้แก่โจทก์ตกลงยินยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งตัดผ่านหน้าที่ดินโฉนดเลขที่ 29019 นั้น บ่งชี้ว่านางแตงอ่อนตกลงให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ การตกลงกันดังกล่าวถือเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน จึงหาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของนางแตงอ่อนหรือโดยวิสาสะตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมาไม่ ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 29019 นั่นคือโจทก์ได้ภาระจำยอมมาโดยนิติกรรมดังกล่าว อันเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้ทางภาระจำยอมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ก็อาจได้ภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ หากโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยเจตนาให้ได้ภาระจำยอมซึ่งต้องพิจารณาจากการใช้ว่า เป็นการใช้โดยอาการที่ถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อนางแตงอ่อนเจ้าของที่ดินที่ตั้งทางพิพาทคนเดิมและเจ้าของที่ดินคนต่อ ๆ มาหรือไม่ ในประเด็นการใช้ทางพิพาทนั้น โจทก์มีนายประกรณ์ ผู้รับมอบอำนาจและเป็นสามีโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า พยานเป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงทางพิพาทซึ่งเดิมเป็นที่นาเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกบ้านโจทก์เลขที่ 18/2 โจทก์และพยานใช้ทางพิพาทมาตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน โจทก์ยังมีนางแตงอ่อนเป็นพยานเบิกความว่า พยานกันที่ดินบริเวณทางพิพาทกว้างประมาณ 2 เมตร เพื่อให้โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะสายนครนายก - ท่าด่าน ทั้งนี้เนื่องจากที่ดินที่พยานขายให้โจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกมานานแล้ว อีกทั้งพันจ่าอากาศเอกชำนาญ พยานโจทก์อีกคนหนึ่งก็เบิกความสนับสนุนว่า พยานเห็นโจทก์และบริวารขับรถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทเป็นประจำ จากข้อเท็จจริงที่โจทก์นำมาสืบดังกล่าวจะเห็นได้ว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาการที่ถือสิทธิเป็นปฏิปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินที่ตั้งทางพิพาทตลอดมา บ่งชี้ว่าเป็นการใช้โดยเจตนาให้ได้ภาระจำยอมนั่นเอง ส่วนที่จำเลยนำสืบในทำนองว่า ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 มาจากนางแตงอ่อน และจำเลยทั้งสองซึ่งรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 มาจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อีกต่อหนึ่งอนุญาตให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเพียงชั่วคราวนั้น ก็เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ขัดกับพฤติการณ์แห่งคดี จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมตลอดมา ดังนั้น แม้จะนับตั้งแต่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 มาจนถึงวันที่จำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาทก็เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทย่อมตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 29019 เมื่อเป็นการได้มาซึ่งภาระจำยอมแล้ว แม้จะเป็นการได้ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ก็ไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติ มาตรา 1299 วรรคสอง ดังนั้น จำเลยทั้งสองจะยกเรื่องการรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 มาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำแก้ฎีกาของจำเลยทั้งสองอีก ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยทั้งสองอ้างมาในคำแก้ฎีกา ข้อเท็จจริงต่างจากคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น

พิพากษากลับเป็นว่า ทางพิพาทเนื้อที่ประมาณ 37.9 ตารางวา ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 6202 ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์โฉนดเลขที่ 29019 ให้จำเลยทั้งสองเปิดประตูรั้วเหล็กมิให้ปิดกั้นทางภาระจำยอมอีกต่อไป กับให้จำเลยทั้งสองไปดำเนินการจดทะเบียนภาระจำยอม หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้รวม 20,000 บาท

 



ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

โจทก์ฟ้องขอให้ชดใช้ค่าทดแทนที่ดินเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่ถูกฟ้องเปิดทางจำเป็น
การนับเวลาการครอบครองเป็นปรปักษ์ที่งอกริมตลิ่ง
ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น
มารดาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยคำสั่งให้บุตรเป็นคนสาบสูญ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ