ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้

ฟ้องทางจำเป็นแต่ได้ทางภาระจำยอม

ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้

โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยอ้างว่าที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ระหว่างพิจารณาคดี โจทก์ได้เจรจากับเจ้าของที่ดินแปลงอื่นจนตกลงจดภาระจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ เมื่อที่ดินของโจทก์ได้ทางภาระจำยอมออกสู่ถนนสาธารณะแล้ว จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะขอเปิดทางจำเป็นตามคำฟ้องแล้ว อำนาจฟ้องจึงหมดไป แม้ต่อมาโจทก์ได้แบ่งขายที่ดินบางส่วนของโจทก์ให้กับผู้อื่นไปและทำให้ที่ดินของโจทก์ถูกปิดกั้นจากที่ดินที่แบ่งแยกก็ตาม ทางภาระจำยอมเดิมก็ยังคงตกอยู่ในบังคับภาระจำยอมของที่ดินโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1395

มาตรา 1395 ถ้ามีการแบ่งแยกสามยทรัพย์ ท่านว่าภารจำยอมยังคงมี อยู่เพื่อประโยชน์แก่ทุกส่วนที่แยกออกนั้น แต่ถ้าภารจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ ไม่ได้ตามรูปการเพื่อประโยชน์แก่ส่วนใดไซร้ ท่านว่าเจ้าของภารยทรัพย์ จะเรียกให้พ้นจากภารจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนนั้นก็ได้

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2537/2549

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทเพื่อให้โจทก์ใช้ออกสู่ทางสาธารณะ โดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งที่ดินของโจทก์จะต้องไม่มีทางออกถึงสาธารณะโดยทางอื่นได้ เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมที่จะผ่านทางในที่ดินข้างเคียงแปลงอื่นออกสู่ทางสาธารณะได้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินจำเลยเป็นทางจำเป็นเพื่อออกสู่ทางสาธารณะตามกฎหมาย อำนาจฟ้องเอาทางจำเป็นของโจทก์ตามมาตรา 1349 ย่อมหมดสิ้นไป ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าขณะฟ้องโจทก์ไม่มีทางอื่นนอกจากทางพิพาทสู่ทางสาธารณะหรือไม่

  โจทก์ได้แบ่งขายที่ดินส่วนที่ติดทางภาระจำยอมให้แก่บุคคลอื่นไปในเวลาต่อมา แม้จะเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ถูกปิดกั้นในการออกไปยังทางภาระจำยอมเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ แต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ต่างจากเหตุที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องอันเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้อง โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นโดยอาศัยคำฟ้องเดิมหาได้ไม่ ส่วนโจทก์จะมีสิทธิตามกฎหมายในกรณีดังกล่าวอย่างไรต้องว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

   โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ขอให้ศาลพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ประสงค์ให้เปิดทางพิพาทในฐานะเป็นทางจำเป็นแต่ประการเดียว มิได้อ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมด้วย การที่โจทก์ฎีกาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม จึงเป็นฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7

    โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 16825 ซึ่งแบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1554 ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของบุคคลอื่นล้อมรอบทั้งสี่ด้านไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดเลขที่ 16975 อยู่ติดต่อทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์ ซึ่งแบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1553 เดิมโจทก์และคนในครอบครัวใช้ทางผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 1553 ดังกล่าวออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ ต่อมาเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1553 ออกเป็นแปลงย่อย ทางดังกล่าวอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 16975 ทางด้านทิศเหนือของที่ดินจากทางด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก โจทก์และคนในครอบครัวได้ใช้ทางดังกล่าวต่อมารวมเวลา 30 ปีเศษ โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน เดิมเป็นคันดินเล็ก ๆ ต่อมาได้ขยายกว้างขึ้นรถยนต์แล่นเข้าออกได้ประมาณ 5 ถึง 6 ปี แล้ว โดยทางดังกล่าวมีความกว้าง 3 เมตร ยาว 7 เมตร และมีสะพานข้ามคลองกว้าง 3 เมตร ยาว 7 เมตร ออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ (ถนนเศรษฐกิจ 1) จนกระทั่งจำเลยทั้งสามได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 16975 ดังกล่าว ต่อมาจำเลยทั้งสามปักเสาปูนปิดกั้นทางดังกล่าวทำให้โจทก์ไม่สามารถเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ได้ ขอให้พิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 16975 ตำบลคลองมะเดื่อ (คลองกระทุ่มแบน) อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร บางส่วนของจำเลยทั้งสามทางด้านทิศเหนือเป็นถนนกว้าง 3 เมตร ยาว 7 เมตร สะพานกว้าง 3 เมตร ยาว 7 เมตร เป็นทางจำเป็นของที่ดินโฉนดเลขที่ 16825 ตำบลคลองมะเดื่อ (คลองกระทุ่มแบน) อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนสิ่งกีดกั้นออกจากทางดังกล่าว

   จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินของโจทก์ไม่ได้ถูกที่ดินของจำเลยทั้งสามปิดล้อม ที่ดินของโจทก์มีทางผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นได้ โดยเจ้าของที่ดินบริเวณนั้นพร้อมใจกันให้ใช้แนวแบ่งเขตระหว่างที่ดินเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 1554 ของมารดาโจทก์ใช้แนวแบ่งเขตที่ดินทางทิศตะวันตกกว้างประมาณ 1 เมตร ด้านทิศใต้กว้างประมาณ 1.5 เมตร ไปจนถึงสะพานไม้ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเป็นทางเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์ ต่อมาโจทก์ได้รับมรดกที่ดินจากมารดาได้แบ่งแยกที่ดินกับนายอุดม  และนางบังเอิญ เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม ทำให้ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินของนายอุดม และนางบังเอิญปิดล้อม แต่โจทก์ยังสามารถใช้แนวแบ่งเขตที่ดินเดิมเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นเดิม หากโจทก์เห็นว่าที่ดินของโจทก์ถูกปิดล้อมหลังจากแบ่งแยกที่ดินโจทก์ก็ชอบที่จะขอใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินที่แบ่งแยก โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ขอให้ยกฟ้อง

 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท
  โจทก์อุทธรณ์

  ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
  โจทก์ฎีกา

 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน โฉนดเลขที่ 16825 ตำบลคลองมะเดื่อ (คลองกระทุ่มแบน) อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1554 ของมารดาโจทก์ ซึ่งเป็นที่ดินไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทางสาธารณะ โดยตกอยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่นมาแต่เดิม ต่อมามารดาโจทก์ยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์กับพี่น้อง 3 คน และมีการแบ่งแยกที่ดิน โดยโจทก์ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 16825 ดังกล่าว ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของที่ดินแปลงเดิม ส่วนจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดเลขที่ 16975 ติดกับที่ดินโจทก์ทางด้านทิศตะวันตก ทางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งสามกว้าง 3 เมตร จากเขตที่ดินด้านทิศตะวันออกติดกับที่ดินโจทก์ไปตามแนวเขตด้านทิศเหนือของที่ดินจำเลยทั้งสามตลอดแนวจนถึงคลองสาธารณประโยชน์ซึ่งปัจจุบันไม่มีสภาพใช้เป็นทางสัญจรติดกับที่ดินจำเลยทั้งสามด้านทิศตะวันตก โดยคลองดังกล่าวคั่นระหว่างที่ดินของจำเลยทั้งสามกับถนนเศรษฐกิจ 1 ซึ่งเป็นถนนสาธารณประโยชน์ และมีสะพานไม้เชื่อมระหว่างทางพิพาทกับถนนดังกล่าว จำเลยทั้งสามนำเสาปูนซีเมนต์มาปักปิดกั้นทางพิพาทไม่ให้โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ตกลงกับนายสำรอง  เจ้าของที่ดินติดต่อด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์ให้นายสำรองจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินของนายสำรองให้โจทก์ใช้ถนนในที่ดินของนายสำรองติดกับที่ดินโจทก์เพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ซึ่งโจทก์สามารถใช้ถนนดังกล่าวจากที่ดินโจทก์ผ่านไปออกสู่ถนนเศรษฐกิจ 1 ทางด้านทิศใต้ได้ ต่อมาซึ่งยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ขายที่ดินบางส่วนที่อยู่ติดกับทางภาระจำยอมดังกล่าวให้แก่นางจินตนา  และแบ่งแยกที่ดินที่ขายเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 43942 โอนให้แก่นางสาวจินตนาตามสำเนาโฉนดที่ดินและบันทึกข้อตกลงเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเอกสารหมาย ล. 10 ถึง ล. 12 ทำให้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือกลับมาถูกที่ดินโฉนดเลขที่ 43942 ดังกล่าวปิดกั้นในการออกไปยังทางภาระจำยอมเพื่อไปสู่ทางสาธารณะอีกครั้ง คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโจทก์เพื่อออกสู่ทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า ที่ดินของโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยใช้ทางในที่ดินของนายสำรองได้อยู่แล้ว แม้ภายหลังโจทก์จะแบ่งขายที่ดินให้แก่ผู้อื่นเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะก็ตามทางในที่ดินของนายสำรองซึ่งเป็นทางภาระจำยอมของที่ดินโจทก์ก็ยังคงอยู่ในบังคับภาระจำยอมของที่ดินโจทก์ซึ่งเป็นสามยทรัพย์ในอันที่จะใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะดังเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1395 และโจทก์มีสิทธิขอให้เปิดทางในที่ดินที่แบ่งขายเพื่อให้โจทก์ใช้ทางภาระจำยอมได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินของบุคคลอื่นปิดล้อมทุกด้าน โจทก์ไม่สามารถใช้ทางอื่นเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้โดยสะดวก และโจทก์ไม่เคยใช้ทางอื่นนอกจากทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามกฎหมาย เห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามเปิดทางพิพาทเพื่อให้โจทก์ใช้เป็นทางผ่านออกสู่ทางสาธารณะ โดยอ้างว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยทั้งสามและที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ อันเป็นการอ้างสิทธิที่จะผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสามโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งการที่โจทก์จะมีสิทธิตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ที่ดินของโจทก์จะต้องไม่มีทางออกถึงสาธารณะโดยทางอื่นได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมที่จะผ่านทางในที่ดินข้างเคียงแปลงอื่นออกสู่ทางสาธารณะได้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินจำเลยทั้งสามเป็นทางจำเป็น เพื่อออกสู่ทางสาธารณะตามกฎหมาย อำนาจฟ้องเอาทางจำเป็นของโจทก์ที่มีต่อจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ซึ่งโจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาย่อมหมดสิ้นไป เพราะไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะขอให้ศาลจะพิพากษาบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ต่อไป ศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ โดยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าขณะฟ้องโจทก์ไม่มีทางอื่นนอกจากทางพิพาทสู่ทางสาธารณะตามข้ออ้างของโจทก์หรือไม่ต่อไป ส่วนที่ได้ความว่าต่อมาโจทก์ได้แบ่งขายที่ดินส่วนที่ติดทางภาระจำยอมให้แก่บุคคลอื่นไป แม้จะเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ถูกปิดกั้นในการออกไปยังทางภาระจำยอมเพื่อออกสู่ทางสาธารณะก็ตาม แต่เหตุดังกล่าวเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ต่างจากเหตุที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องอันเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องโจทก์ โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามเปิดทางจำเป็น เนื่องจากการแบ่งขายที่ดินของโจทก์เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยอาศัยคำฟ้องเดิมหาได้ไม่ ส่วนโจทก์จะมีสิทธิตามกฎหมายในกรณีดังกล่าวอย่างไรก็เป็นข้อที่จะต้องว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวแม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า แม้จะฟังว่าโจทก์ไม่มีสิทธิใช้ทางพิพาทในฐานะเป็นทางจำเป็น แต่ข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โจทก์จึงได้สิทธิในทางพิพาทตามกฎหมาย เป็นทำนองว่าทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมของที่ดินโจทก์นั้น เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ โดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน เดิมเป็นคันดินเล็ก ๆ ต่อมาได้ขยายกว้างขึ้นจนมีความกว้าง 3 เมตร รถยนต์แล่นเข้าออกได้มาประมาณ 5 ? 6 ปีแล้ว และขอให้ศาลพิพากษาว่าทางพิพาทกว้าง 3 เมตร ดังกล่าวเป็นทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้เปิดทางพิพาทในฐานะเป็นทางจำเป็นแต่ประการเดียว มิได้อ้างว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมด้วย ซึ่งในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่เท่านั้น และโจทก์มิได้โต้แย้งไว้ การที่โจทก์ฎีกาว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม จึงเป็นฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว แต่ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

 




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

ทำให้สิทธิภาระจำยอมเสื่อมความสะดวก, บังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, การเพิกถอนภาระจำยอม,
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนทางจำเป็น, อายุความฟ้องร้องค่าทดแทน 10 ปี, หลักเกณฑ์การเปิดทางจำเป็น,
การคัดค้านการรังวัดแนวเขตที่ดิน, ครอบครองปรปักษ์, ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ
ภาระจำยอมไม่มีการใช้ประโยชน์เกินกว่า 10 ปีย่อมระงับสิ้นไป
โจทก์ฟ้องขอให้ชดใช้ค่าทดแทนที่ดินเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่ถูกฟ้องเปิดทางจำเป็น
การนับเวลาการครอบครองเป็นปรปักษ์ที่งอกริมตลิ่ง
ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น
มารดาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยคำสั่งให้บุตรเป็นคนสาบสูญ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม