

นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้ การครอบครองปรปักษ์ ผู้รับโอนจะนับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้น รวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้ การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์ คำถาม นายเอกครอบครองที่ดินมีโฉนดของนายตรี โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 5 ปี แล้วนายเอก ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่นายโทโดยการส่งมอบการครอบครองนายโทครอบครองที่ดินดังกล่าวต่อมาอีก 6 ปี ต่อมาในวันที่ 15 มกราคม 2549 นายโทยื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งว่า นายโทมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลประกาศและนัดไต่สวนวันที่ 15 มีนาคม 2549 นายตรีเจ้าของโฉนดไม่ทราบจึงไม่ได้มาศาล ถึงวันที่นัดไม่มีผูใดคัดค้าน ศาลมีคำสั่งว่า นายเอกครอบครองที่ดินมา 5 ปี นายโทครอบครองต่อมาอีก 6 ปี นายโทจึงได้กรรมสิทธ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ คำถามว่า คำสั่งศาลที่ว่า นายเอกครอบครองที่ดินมา 5 ปี นายโทครอบครองต่อมาอีก 6 ปี นายโทจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบคองปรปักษ์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ คำตอบ นายเอกครอบครองที่ดินมีโฉนดของนายตรีโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แล้วนายเอกขายที่ดินดังกล่าวให้แก่นายโทโดยส่งมอบการครอบครอง เป็นการโอนการครอบครองแก่กัน ผู้รับโอนจะนับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้น รวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งแลพาณิขย์ มมาตรา 1385 นายโทจึงนับระยะเวลาที่นายเอกครอบครองมา 5 ปี รวมกับเวลาที่ตนครอบครองมา 6 ปีได้ รวมเป็นระยะเวลาในการครอบครองปรปักษ์ 11 ปี เมื่อนายโทครอบครองที่ดินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ของนายตรี โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี นายโทจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ตามมาตรา 1382 คำสั่งศาลที่ว่านายเอกครอบครองที่ดินมา 5 ปี นายโทครอบครองต่อมาอีก 6 ปี นายโทจึงได้กรรมสิทธ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ จึงชอบด้วยกฎหมาย คำถาม (ต่อ) นายเอกครอบครองที่ดินมีโฉนดของนายตรี โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 5 ปี แล้วนายเอก ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่นายโทโดยการส่งมอบการครอบครองนายโทครอบครองที่ดินดังกล่าวต่อมาอีก 6 ปี ต่อมาในวันที่ 15 มกราคม 2549 นายโทยื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งว่า นายโทมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลประกาศและนัดไต่สวนวันที่ 15 มีนาคม 2549 นายตรีเจ้าของโฉนดไม่ทราบจึงไม่ได้มาศาล ถึงวันที่นัดไม่มีผูใดคัดค้าน ศาลมีคำสั่งว่า นายเอกครอบครองที่ดินมา 5 ปี นายโท ครอบครองต่อมาอีก 6 ปี นายโท จึงได้กรรมสิทธ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ โดยศาลมีคำสั่งในวันนัดไต่สวน ต่อมาวันที่ 20 มีนาคม 2549 นายตรีนำที่ดินที่นายโทครอบครองไปทำสัญญาจะขายให้แก่นายจัตวา โดยนายจัตวา ชำระเงินไปทั้งหมดแล้วโดยไม่ทราบว่าที่ดินดังกล่าวนายโทครอบครองอยู่ ต่อมานายตรีผิดสัญญาไม่ไปจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญา นายจัตวาจึงฟ้องนายตรีเป็นจำเลยขอให้ศาลบังคับให้นายตรีโอนที่ดิน แล้วนายจัตวากับนายตรีทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล ศาลได้พิพากษาตามยอมให้นายตรีจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่นายจัตวาภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2549 หากไม่ไปโอนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา เมื่อถึงกำหนดนายตรีไม่ยอมไปโอนที่ดิน ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน 2549 นายโทนำคำสั่งของศาลแพ่งซึ่งถึงทีสุดแล้วไปยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอจดทะเบียนสิทธิในที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ และในวันเดียวกันนั้นนายจัตวาได้ยื่นคำขอจดทะเบียนโอนขายที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ต่อศาล โดยถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของนายตรี เจ้าพนักงานที่ดินพิจารณาคำของของนายโทพร้อมคำสั่งศาลที่แสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และคำขอของนายจัตวาพร้อมคำพิพากษาตามยอม แล้วจดทะเบียนสิทธิจากการครอบครองปรปักษ์ให้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของนายโท คำถามว่า เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนสิทธิในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ให้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของนายโท ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ คำตอบ ** การที่นายจัดวาจะซื้อที่ดินจากนายตรีและชำระเงินไปทั้งหมด และมีการฟ้องคดีจนนายจัตวากับนายตรีทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลแม้ศาลได้พิพากษาตามยอมให้นายตรคีจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่นายจัตวาในวันที่ 20 พฤษภาคม 2549 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันที่นายโทได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินไปแล้วนั้น แม้นายจัตวาก็อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ตามมาตรา 1300 แต่การได้สิทธิดังกล่าวมาก็เป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์เมื่อยังไม่ได้จดทะเบียนย่อมไม่บริบูรณ็เป็นทรัพยสิทธิ ตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง สิทธิดังกล่าวบริบูรณ์เป็นเพียงบุคลสิทธิผูกพันเฉพาะนายตรี และนายจัตวาซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น เมื่อนายโทได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามมาตรา 1299 วรรคสอง ซึ่งเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นด้วยผลของกฎหมาย เมื่อศาลมีคำสั่งถึงที่สุดยืนยันสิทธิดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันนายตรีเจ้าของที่ดินและนายจัตวาซึ่งเป็นบุคคลภายนอกการได้กรรมสิทธิ์ของนายโทจึงบริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิตามกฎมายสามารถยกขึ้นต่อสู้ทุกคนได้ การที่เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนสิทธิในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ให้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของนายโท จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว** ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 "ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเยียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรพัย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว" มาตรา 1382 "บุคคลใดครอบครองทรัพย็สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์" มาตรา 1300 " ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทนซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนทะเบีนนไม่ได้ มาตรา 1385 "ถ้าโอนการครอบครองแก่กัน ผู้รับโอนจะนับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้ ถ้าผู้รับโอนนันรวมเช่นนั้น และ ถ้ามีข้อบกพร่องในระหว่างครอบครองของผู้โอนไซร้ ท่านว่าข้อบกพร่องนั้นอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนได้" คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10872/2546 สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับ ส. เป็นเพียงบุคคลสิทธิผูกพันเฉพาะคู่กรณีแม้ศาลจะพิพากษาตามสัญญาประนีประนอยอมความ โจทก์ก็พียงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนเท่านั้น แต่สิทธิของผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นด้วยผลของกฎหมาย เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดยืนยันสิทธิดังกล่าว ผลของคำพิพากษาย่อมผูกพัน ส. กับพวกซึ่งถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกันทุกคน และผลของคำพิพกาษานั้นใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นคุคคลภายนอกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) คำสั่งของจำเลยทั้งสองที่ให้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ก่อนการจดทะเบียนสิทธิแก่โจทก์จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว** ประมาลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 "ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกา และการพิจารณใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใดๆ ให้ถือว่า ผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง นับตั้งแต่วันที่ ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสียถ้าหากมี ถึงแม้ศาลจะได้กล่าวไว้โดยทั่วไปว่าให้ใช้คำพิพากษาบังคับแก่บุคคลภายนอก ซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลด้วยก็ดี คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมไม่ผูกพันบุคคลภายนอก เว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 142(1), 245 และ 274 และในข้อต่อไปนี้ ข้อสังเกต การได้มาโดยทางนิติกรรมซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง คำว่า "ไม่บริบูรณ์" ตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง หมายถึงไม่บริบูรณ็์เป็นทรัพยสิทธิ แต่บริบูรณ์เป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา เช่น คู่สัญญาตกลงทำสัญญาเรื่องภาระจำยอมแต่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงดังกล่าวใชับังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา เพราะข้อตกลงดังกล่าวบริบูรณ์เป็นบุคคลสิทธิแล้ว แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิ หากเจ้าของภารยทรัพย์โอนที่ดินไป ข้อตกลงดังกล่าวก็ยังมีผลบังกันได้ระหว่างคู่สัญญา แต่ไม่สามารถใช้ยันต่อผู้รับโอนได้ ผลก็คือเจ้าของสามยทรัพย์ไม่สามารรถใช้ทางภาระจำยอมต่อไป แต่สามารถเรียกค่าเสียหายจากผู้ผิดสัญญาได้ การได้มาโดยทางนิติกรรมซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนการได้มา แต่บริบูรณ์เป็นบุคคลสิทธิ เช่น ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ ประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือการไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝาก เพราะการได้มาโดยนิติกรรมดังกล่าวเป็นนิติกรรมที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องแบบไว้ แต่ถ้าเป็นนิติกรรมที่กฎหมายบัญญัติเรื่องแบบไว้ เช่น สัญญาซื้อขาย ขายฝาก (เฉพาะการขายฝาก ส่วนการไถ่พรัพย์สินซึ่งขายฝากไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องแบบ) แลกเปลี่ยน หรือให้ อสังหาริมทรัพย์ ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ สัญญาดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะตามกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะและไม่บริบูรณ์เป็นบุคคลสิทธิด้วย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2548 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า หนังสือสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ฮ. เป็นสัญญาขายฝากที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด การทำสัญญาซื้อขายกันเองเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ซื้อขายกันตามสัญญาขายฝากดังกล่าวได้ ส่วนหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่กรมประชาสงเคราะห์ตกลงยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ มีลักษณะเป็นสัญญาเช่าทรัพย์สิน ซึ่งเป็นบุคคลสิทธิ โจทก์ไม่อาจบังคับผู้อื่นนอกจากคู่สัญญาได้ จำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทอยู่ก่อนโดยโจทก์ยังมิได้เข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท ถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญาเช่าของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า อ. ผู้ให้จำเลยเช่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาท มิได้รับโอนสิทธิและได้รับอนุญาตจากกรมประชาสงเคราะห์การครอบครองของ อ. จึงเป็นการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ต้น การเข้าอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์นั้น มิได้เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่วินิจฉัยมาแต่อย่างใด เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ฮ. เป็นสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง จึงต้องทำตามแบบตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะ ขณะที่ ฮ. โอนสิทธิในบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และกรมประชาสงเคราะห์ทำหนังสืออนุญาตให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินและบ้านดังกล่าว โจทก์ไม่อาจเข้าครอบครองทำประโยชน์ได้เนื่องจากจำเลยครอบครองอยู่ แสดงว่าโจทก์ไม่เคยเข้าไปยึดถือครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทเลย โจทก์ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 การที่จำเลยยังคงครอบครองและทำประโยชน์อยู่ในบ้านและที่ดินอยู่นั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ที่ดินพิพาทอยู่ในนิคมสร้างตนเองและอยู่ในความดูแลครอบครองของกรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งได้จัดสรรให้ ฮ. ทำสัญญาขายฝากบ้านพิพาทพร้อมสิทธิในที่ดินแก่โจทก์ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง แม้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะปลูกสร้างบนที่ดินของทางราชการก็ตามการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง เช่นกัน แต่เมื่อสัญญาระหว่าง ฮ. กับโจทก์เป็นการซื้อขายกันเองจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอ้างกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทได้ และแม้กรมประชาสงเคราะห์จะทำหนังสืออนุญาตให้โจทก์ใช้ประโยขน์ในบ้านและที่ดินพิพาทในลักษรณะเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ก็ตาม ก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิ โจทก์ก็ไม่อาจบังคับบุคคลอื่นนอกจากคู่สัญญาได้ เมื่อจำเลยยังคงครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทและโจทก์ยังไม่อาจเข้าครอบครองทรัพย์สินดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมยังไม่ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในบ้านและที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 การที่จำเลยยังคงครอบครองและทำประโยชขน์ในบ้านและที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของ โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินพิพาทได้
|