สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง ทางจำเป็นคืออะไร ที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่มีความหมายอย่างไร ทางสาธารณะ หมายถึงอะไร ทำไมกฎหมายจึงต้องบัญญัติเรื่อทางจำเป็นไว้ ในเรื่องทางจำเป็นนี้ กฎหมายได้บัญญัติไว้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมและไม่มีทางออกไปสู่ถนนสาธารณะได้ โดยเพื่อให้มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ และโดยที่เจ้าของที่ดินแปลงที่ล้อมอยู่จำต้องเสียสิทธิในเรื่องแดนแห่งกรรมสิทธิ์ไป คำว่า "ทางจำเป็น" ไม่มีคำนิยามอย่างเช่นกับคำว่า "ทางสาธารณะ" แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิขชย์ มาตรา 1349 บัญญัติว่า "ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทาง สาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ ทางสาธารณะได้ ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเลหรือมีที่ชัน อันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรคต้นบังคับ ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะ ผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ เพื่อความ เสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหาย เพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็นเงินรายปี ก็ได้ " มาตรา 1350 "ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่ มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้อง เอาทางเดินตาม มาตรา ก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอน กันและไม่ต้องเสียค่าทดแทน" มาตรา 1353 บุคคลอาจพาปศุสัตว์ของตนผ่านหรือเข้าไปในที่ดินของผู้ อื่นซึ่งมิได้กั้นเพื่อไปเลี้ยง และอาจเข้าไปเอาน้ำในบ่อหรือสระในที่เช่นว่านั้น มาใช้ได้ เว้นแต่ที่ดินเป็นที่เพาะปลูก หรือเตรียมเพื่อเพาะปลูกหว่าน หรือมี ธัญชาติ ขึ้นอยู่แล้ว แต่ท่านว่าเจ้าของที่ดินย่อมห้ามได้เสมอ มาตรา 1354 ถ้ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นให้ทำได้ และถ้าเจ้าของ ไม่ห้าม บุคคลอาจเข้าไปในที่ป่า ที่ดง หรือในที่มีหญ้าเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็น ที่ดินของผู้อื่น เพื่อเก็บฟืน หรือผลไม้ป่า ผัก เห็ดและสิ่งเช่นกัน" ข้อยกเว้น ที่ใช้ผ่าน นา ผู้อื่น ซึ่งไม่ปรากฎว่าจำต้องใช้ติดต่อกับทางสาธารณะ "ไม่ใช่ทางจำเป็น" คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2500 จำเลยยินยอมให้โจทก์เดินและใช้เกวียนลากเข็นข้าวผ่านนาของจำเลยมาเป็นเวลาหลายสิบปีเฉพาะเวลาหมดฤดูทำนา ทางพิพาทนั้นก็ตกอยู่ในภาระจำยอมที่จะต้องให้โจทก์เดินผ่านได้เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วตลอดไป โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีที่ปลูกบ้านและมีนาซึ่งอยู่ห่างกัน 6 กิโลเมตร โจทก์ไปทำนา ลากข้าวและไปธุระต้องอาศัยผ่านที่จำเลยตามแผนที่ท้ายฟ้องมา 40 ปี นอกจากเส้นทางนี้ ไม่มีทางเดินไปนาโจทก์ครั้นเมื่อเดือนธันวาคม 2496 จำเลยเอาต้นผลไม้มาปลูกปิดทางทำให้โจทก์เสียหาย จึงมาฟ้องให้ศาลบังคับให้จำเลยเปิดทางนั้นให้พร้อมด้วยเรียกค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันว่าทางพิพาทไม่ใช่ที่สาธารณะ ไม่ใช่ทางจำเป็น ให้ยกฟ้องโจทก์เสีย โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาว่า พยานโจทก์ฟังได้ว่าโจทก์ใช้เกวียนและกระบือผ่านทางพิพาทซึ่งเป็นนาจำเลยเมื่อสิ้นฤดูทำนาหลายสิบปีทางรายพิพาท จึงตกเป็นภาระจำยอมเฉพาะสิ้นฤดูทำนา จำเลยไม่มีสิทธิจะปิด ให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ( นนทปัญญา - นนทประชา - ดุลยการณ์โกวิท ) คำว่า ที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ มีความหมายอย่างไร ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินแปลงที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ซึ่งความหมายดังกล่าวกินความกว้างมาก ซึ่งหมายความในทำนองว่า ที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่ง ซึ่งถูกปิดล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ เพราะที่ดินแปลงที่ถูกปิดล้อมต้องผ่านที่ดินหลายแปลงจึงสามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ดังนั้นที่กฎหมายบัญญัติว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นที่ดินแปลงเดียวเจ้าของคนเดียวกัน รวมถึงที่ดินหลาย ๆ แปลงและมีเจ้าของหลายรายต่างกันก็ได้ แต่ที่ดินแปลงที่ถูกปิดล้อมนั้นจะต้องมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ กฎหมายไม่ได้จำกัดไว้ว่าจะมีที่ดินเพียงแปลงเดียวถูกปิดล้อม ในการยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับเรื่องทางจำเป็นนั้นอาจต้องฟ้องที่ดินหลาย ๆ แปลงเพื่อขอให้เปิดทาง เมื่อไม่ยอมให้ที่ดินของตนที่ถูกปิดล้อมมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ข้อยกเว้น ในกรณีที่ หากที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน ซึ่งเป็นเหตุให้ที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางได้เฉพาะบนที่ดินที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเท่านั้นและไม่ต้องเสียค่าตอบแทน ซึ่งในความหมายนี้ต้องเข้าใจว่าที่ดินนั้นได้ถูกปิดล้อมมาก่อนหรือภายหลัง คือเดิมอาจมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว แต่ต่อมามีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันแล้วทำให้ที่ดินแปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ ในกรณีนี้ที่ดินแปลงที่ถูกปิดล้อมนั้นคงมีสิทธิฟ้องได้เฉพาะที่ดินแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนเท่านั้น แต่จะไปฟ้องเพื่อหาทางออกกับเจ้าของที่ดินแปลงอื่น ๆ ข้างเคียงย่อมไม่ได้ มาตรา 1351 "เจ้าของที่ดิน เมื่อบอกล่วงหน้าตามสมควรแล้วอาจใช้ที่ดินติดต่อเพียงที่จำเป็นในการปลูกสร้าง หรือซ่อมแซมรั้ว กำแพงหรือโรงเรือน ตรงหรือใกล้แนวเขตของตน แต่จะเข้าไปในเรือนที่อยู่ของเพื่อนบ้าน ข้างเคียงไม่ได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอม ถ้าได้ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นไซร้ ท่านว่าเพื่อนบ้านข้างเคียงจะ เรียกเอาค่าทดแทนก็ได้ " มาตรา 1352 "ท่านว่าถ้าเจ้าของที่ดินได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว ต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่าน ที่ดินของตน เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อ ซึ่งถ้าไม่ยอมให้ผ่านก็ไม่มีทางจะวาง ได้หรือถ้าจะวางได้ก็เปลืองเงินมากเกินควร แต่เจ้าของที่ดินอาจให้ยกเอา ประโยชน์ของตนขึ้นพิจารณาด้วย เมื่อมีเหตุผลพิเศษ ถ้าจะต้องวางเหนือพื้นดินไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดิน อาจเรียกให้ซื้อที่ดินของตนบางส่วนตามควรที่จะใช้ในการนั้น โดยราคาคุ้มค่า ที่ดินและค่าทดแทนความเสียหาย ซึ่งอาจมีเพราะการขายนั้นด้วย ถ้าพฤติการณ์เปลี่ยนไป เจ้าของที่ดินอาจเรียกให้ย้ายถอนสิ่งที่วางนั้นไป ไว้ ณ ส่วนอื่นแห่งที่ดินของตนตามแต่จะเหมาะแก่ประโยชน์แห่งเจ้าของที่ดิน ค่าย้ายถอนนั้นเจ้าของที่ดินติดต่อเป็นผู้เสีย แต่ถ้ามีพฤติการณ์พิเศษไซร้ ท่านว่าจะให้เจ้าของที่ดินอีกฝ่ายหนึ่งช่วยเสียค่าย้ายถอนตามส่วนอันควรก็ได้ " มาตรา 1353 "บุคคลอาจพาปศุสัตว์ของตนผ่านหรือเข้าไปในที่ดินของผู้ อื่นซึ่งมิได้กั้นเพื่อไปเลี้ยง และอาจเข้าไปเอาน้ำในบ่อหรือสระในที่เช่นว่านั้น มาใช้ได้ เว้นแต่ที่ดินเป็นที่เพาะปลูก หรือเตรียมเพื่อเพาะปลูกหว่าน หรือมีธัญชาติขึ้นอยู่แล้ว แต่ท่านว่าเจ้าของที่ดินย่อมห้ามได้เสมอ " มาตรา 1354 "ถ้ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นให้ทำได้ และถ้าเจ้าของไม่ห้าม บุคคลอาจเข้าไปในที่ป่า ที่ดง หรือในที่มีหญ้าเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็น ที่ดินของผู้อื่น เพื่อเก็บฟืน หรือผลไม้ป่า ผัก เห็ดและสิ่งเช่นกัน " มาตรา 1355 "เจ้าของที่ดินริมทางน้ำ หรือมีทางน้ำผ่าน ไม่มีสิทธิจะชัก เอาน้ำไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของตนตามควรให้เป็นเหตุเสื่อมเสียแก่ ที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ตามทางน้ำนั้น"
มาตรา 1 ในประมวลกฎหมายนี้ คำว่า "ทางสาธารณะ" ในความหมายเรื่องทางจำเป็นนั้น มีข้อยกเว้น 1. ลำห้วยซึ่งตื้นเขิน ใช้เป็นทางสัญจรไม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นทางสาธารณะ ในเรื่องทางจำเป็น
ลำห้วยซึ่งตื้นเขินใช้เป็นทางสัญจรไม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โจทก์จำเลยรับกันว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อมไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ นอกจากทางเหนือที่ดินโจทก์ที่จดลำห้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ตื้นเขินใช้เป็นทางสัญจรไม่ได้แล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศใต้ เพื่อออกสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองที่ดิน 1 แปลง ที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่โดยรอบจนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ทางสาธารณะที่ใกล้ที่สุดคือทางทิศใต้ติดที่ดินจำเลย โจทก์ใช้เป็นทางเดินและใช้รถยนต์บรรทุกสินค้าผ่านที่ดินจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะมาเป็นเวลา 6 ปีเศษจำเลยได้ไถทางเดินดังกล่าวและปักเสากั้นปิดทางเดินที่โจทก์ใช้สัญจรเข้าออก ขอให้บังคับจำเลยเปิดทางดังกล่าวและให้จำเลยรับเงินค่าทดแทน 330 บาท และให้จดทะเบียนสิทธิต่อพนักงานอำเภอท่าม่วงให้โจทก์ใช้ทางตามแผนที่ท้ายฟ้องเส้นสีแดงด้วย ก่อนสืบพยานศาลสั่งเจ้าพนักงานศาลไปทำแผนที่ศาล วันนัดตรวจดูแผนที่พิพาทคู่ความรับกันว่าที่ดินของโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อมไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะเว้นแต่ทางด้านทิศเหนือซึ่งจดลำห้วยนาคราชทางออกสู่ทางสาธารณะ นอกจากออกทางลำห้วยนาคราชแล้ว ทางออกที่ใกล้ที่สุดคือทางภายในเส้นสีแดงตามแผนที่พิพาท คู่ความรับกันอีกว่าเดิมลำห้วยนาคราชเป็นลำแม่น้ำ แต่ขณะนี้ตื้นเขินสิ้นสภาพจากเป็นแม่น้ำแล้ว ไม่มีผู้ใดใช้เป็นทางสัญจรไปมา หากโจทก์ใช้ที่พิพาทออกสู่ทางสาธารณะ ค่าทดแทนที่โจทก์จะพึงชดใช้ให้จำเลยเป็นเงินจำนวน 2,000 บาท ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน และพิพากษาว่าที่ดินของจำเลยภายในเส้นสีแดงตามแผนที่พิพาท เป็นทางจำเป็นให้จำเลยเปิดให้โจทก์ผ่านจากที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะ และให้จำเลยจดทะเบียนสิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก่โจทก์ หากไม่ยอมให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ทั้งนี้ เมื่อโจทก์ได้ชำระเงินค่าทดแทนจำนวน 2,000 บาทแก่จำเลยแล้ว จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความ โจทก์ฎีกา พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ( กฤษณ์ โสภิตกุล - อุดม เพชรคุปต์ - ชวน พูนคำ ) 2. ลำห้วยซึ่งเป็นทางน้ำไหลสาธารณะ แต่ไม่มีน้ำตลอดปี และไม่เคยมีผู้ใดใช้เรือสัญจรไปมา ถือไม่ได้ว่าเป็นทางสาธารณะในเรื่องทางจำเป็น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 919/2507 ลำห้วยซึ่งเป็นทางน้ำไหลสาธารณะ แต่ไม่มีน้ำตลอดปีและไม่เคยมีผู้ใดใช้เรือสัญจรไปมา ถือไม่ได้ว่าเป็นทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเดินท้ายฟ้องซึ่งเป็นทางจำเป็นที่โจทก์ใช้เดินเข้าออกสู่ถนนหลวง จำเลยให้การว่าไม่เคยเห็นโจทก์เดินผ่านตามเส้นทางนี้เลย โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะได้คู่ความท้ากันว่าให้ศาลไปตรวจดูที่พิพาทโดยทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ศาลชั้นต้นตรวจที่พิพาทและให้คู่ความแถลงเพิ่มเติมไว้เพื่อประกอบดุลพินิจ แล้วเห็นว่าที่ดินโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อม ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น พิพากษาให้จำเลยเปิดทางที่ปิดกั้นให้โจทก์ใช้ทางเดินนี้ต่อไป จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า ที่ดินของโจทก์ด้านตะวันออกติดลำห้วยสาธารณะและมีทางเดินสู่ทางสาธารณะได้อีกหลายทาง ทางในที่ดินของจำเลยจึงไม่ใช่ทางจำเป็นสำหรับโจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับลำห้วยนั้น แผนที่ท้ายฟ้องโจทก์ระบุว่าเป็นทางน้ำไหลสาธารณะ แต่จำเลยมิได้กล่าวไว้ในคำให้การอย่างใดเลย จำเลยให้การถึงเรื่องทางว่า เคยเห็นโจทก์เดินผ่านที่ดินผู้อื่นที่ดินโจทก์ไม่ได้ถูกล้อม โจทก์มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ซึ่งไม่ยืนยันว่าที่ดินของโจทก์ติดทางสาธารณะ เมื่อศาลไปตรวจดูที่พิพาทโจทก์แถลงว่าลำห้วยนี้เป็นลำห้วยที่ไหลไปตกลำห้วยกาเต๊ะเป็นระยะยาว 5-6 กิโลเมตร และเป็นทางน้ำไหลวกเวียนไปไกลจึงจะบรรจบกับถนนยนตรการกำธร ไม่มีน้ำตลอดปี และไม่เคยมีผู้ใดใช้เรือสัญจรไปมาจำเลยก็ยังคงไม่แถลงเกี่ยวกับลำห้วยนี้ประการใด จำเลยแถลงแต่ว่าโจทก์มีทางเดินออกไปสู่ถนนยนตรการกำธรได้ทางใดบ้างเท่านั้นคดีไม่มีทางที่จะฟังได้ว่าลำห้วยดังกล่าวเป็นทางสัญจรไปมาหรือเป็นทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(2) ดังที่จำเลยอ้าง และไม่ว่าจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) หรือไม่ก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ศาลฎีกาวินิจฉัยต่อไปว่า ทางที่พิพาทกันมีสภาพเป็นรูปถนนและเป็นเส้นทางตรงผ่านหน้าที่ดินของโจทก์ออกไปสู่ถนนยนตรการกำธรโจทก์ได้ใช้ทางนั้นมาเป็นเวลานานแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้เป็นทางจำเป็นได้ พิพากษายืน ( โพยม เลขยานนท์ - ประมูล สุวรรณศร - ยุ้ย อาตมียะนันทน์ ) ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม (คลิ๊กเลย) เหตุที่กฎหมายบัญญัติเรื่องทางจำเป็น เรื่องทางจำเป็นนั้น กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมโดยเฉพาะ ดังนั้นเจ้าของที่ดินเท่านั้นจึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2509 เรื่องทางจำเป็นนั้น กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมโดยเฉพาะ ดังนั้น เจ้าของที่ดินเท่านั้นจะมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ที่ดินของม.ที่โจทก์ปลูกเรือนอยู่อาศัยจดทางสาธารณะแต่ ม. ปลูกห้องแถวกั้นเสีย จึงเข้าออกทางนี้ไม่ได้เช่นนี้ จะถือว่าที่ดินของ ม. ตกอยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่นและมาร้องขอให้ศาลบังคับเจ้าของที่ดินให้เปิดทางจำเป็น ไม่ได้ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 133/3 ทิศใต้ติดลวดหนามหลังห้องแถวนางเรณู ทิศเหนือติดที่ดินของจำเลย ทิศตะวันออกติดรั้วสังกะสีบ้านนางสุข ด้านตะวันตกติดที่ดินของจำเลย จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่งกั้นขวางหน้าที่ดินโจทก์ จำเลยได้แบ่งที่ดินแปลงนั้นเป็น2 แปลง แปลงด้านตะวันออกกั้นลวดหนาม แปลงตะวันตกไม่ได้กั้น โจทก์ได้อาศัยเป็นทางสัญจรเข้าออกตรอกสาธารณะซึ่งเชื่อมกับถนนมาหลายปี โจทก์ไม่มีทางเข้าออกสู่ตรอกสาธารณะ จำเลยได้ปิดกั้นปากตรอกซึ่งโจทก์ใช้เข้าออกอยู่นี้ ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นตลอดถึงบ้านโจทก์ จำเลยให้การว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางจำเป็น โจทก์เข้าออกระหว่างบ้านโจทก์กับทางสาธารณะทางอื่นได้ ที่ดินแปลงที่โจทก์อยู่เป็นของนางเมี้ยน ไม่ใช่ของโจทก์ ตามแผนที่ท้ายฟ้องก็ปรากฏว่าที่ดินของนางเมี้ยนทั้ง 2 แปลงมี เนื้อที่ติดต่อกัน โจทก์อาศัยนางเมี้ยนอยู่โจทก์ชอบที่จะเดินเข้าออกระหว่างบ้านโจทก์กับทางสาธารณะทางเดียวกับที่นางเมี้ยนเดิน ในวันชี้สองสถาน โจทก์รับว่าที่ดินที่โจทก์อยู่นี้มีโฉนดแล้วแต่มีชื่อนางเมี้ยนน้าภริยาโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ นางเมี้ยนได้ปลูกห้องแถวไว้ทางด้านตะวันออกหลายห้อง นางเมี้ยนอยู่บ้านหลังห้องแถวนี้ ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องตั้งสิทธิมาเป็นทางจำเป็น โจทก์เป็นผู้อาศัย มิได้เป็นเจ้าของที่ดินไม่มีอำนาจฟ้อง และที่ดินของนางเมี้ยนที่โจทก์อาศัยอยู่ติดทางสาธารณะทั้งถนนหลวงและทางเดินสู่ถนนหลวงอย่างสะดวก แต่นางเมี้ยนปลูกห้องแถวกั้นเสีย จะถือว่าที่ดินของนางเมี้ยนที่โจทก์อาศัยนี้ตกอยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่น และมาร้องขอผ่านโดยอ้างว่าเป็นทางจำเป็นไม่ได้ พิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาเห็นว่า ในเรื่องทางจำเป็นนั้น กฎหมายได้บัญญัติไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมโดยเฉพาะ ดังนั้นเจ้าของที่ดินเท่านั้นมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นได้คดีนี้โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน จึงไม่มี สิทธิที่จะฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นได้ นอกจากนั้นข้อเท็จจริงแห่งคดีนี้ได้ความว่า ที่ดินของนางเมี้ยนที่โจทก์ปลูกเรือนอยู่อาศัยนี้จดทางสาธารณะ แต่นางเมี้ยนได้ปลูกห้องแถวกั้นเสีย จึงเข้าออกทางนี้ไม่ได้ กรณีนี้จะถือว่าที่ดินของ นางเมี้ยนที่โจทก์ปลูกเรือนอาศัยอยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่นและมาร้องขอให้ศาลบังคับเจ้าของที่ดินให้เปิดทางจำเป็นไม่ได้ พิพากษายืน ( อรุณ ตินทุกะสิริ - โพยม เลขยานนท์ - สวัสดิ์ พานิชอัตรา ) ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร 085-9604258 สำนักงานพีศิริ ทนายความ
หัวข้อ/ ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้ทางใดบ้าง? ทางจำเป็น ในทางกฎหมายต้องมีขนาดกว้างยาวเท่าใด? เงินค่าทดแทนในการใช้ทางจำเป็น? การใช้รถยนต์ผ่านทางเกินความจำเป็นหรือไม่? ผู้มีสิทธิฟ้องศาลขอให้เปิดทางจำเป็นมีใครบ้าง? สิทธิของผู้รับโอนกับทางจำเป็น? ที่ดินคลองตื้นเขินไม่สามารถใช้เป็นทางสัญญาจรขอเปิดทางจำเป็นได้หรือไม่? "ทางจำเป็น" ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานที่ดินหรือไม่ ?
|