สำนักงานพีศิริ ทนายความ ตั้งอยู่เลขที่ 34/159 หมู่ 8 ซอยบางมดแลนด์ แยก 13 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 ติดต่อทนายความ 085-9604258 สำหรับแผนที่การเดินทาง กรุณาคลิ๊กที่ "ที่ตั้งสำนักงาน" ด้านบนสุด ทนายความ ทนาย สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ ปรึกษากฎหมายกับทนายความลีนนท์ โทรเลย ปรึกษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ

ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258 -ติดต่อทางอีเมล : leenont0859604258@yahoo.co.th -ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์ (5) ID line : (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3) peesirilaw หรือ (4) @peesirilaw (5) @leenont1 -Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย QR CODE
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี | ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้ทางใดบ้าง? ทางจำเป็น ในทางกฎหมายต้องมีขนาดกว้างยาวเท่าใด? เงินค่าทดแทนในการใช้ทางจำเป็น? การใช้รถยนต์ผ่านทางเกินความจำเป็นหรือไม่? ผู้มีสิทธิฟ้องศาลขอให้เปิดทางจำเป็นมีใครบ้าง? สิทธิของผู้รับโอนกับทางจำเป็น? ที่ดินคลองตื้นเขินไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรขอเปิดทางจำเป็นได้หรือไม่? "ทางจำเป็น" ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานที่ดินหรือไม่ ? ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้ 3 วิธีคือ 1. เกิดมีขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิขย์ (มาตรา 1349 ) ทางจำเป็นที่เกิดมีขึ้นโดยนิติกรรมสัญญา ในการเดินสายไฟฟ้า หรือท่อระบายน้ำผ่านที่ดิน หรือในการขอผ่านทาง ซึ่งเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมอาจตกลงกับเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ขอเช่าเป็นทางผ่านก็ได้ เพื่อทำถนนเนื่องในการจัดสรรที่ดินซึ่งต้องทำถนนผ่านที่ดินหลาย ๆ เจ้าของผู้ทำทางผ่านอาจตกลงขอให้เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่นั้นยอมจดทะเบียนภาระจำยอมให้โฉนดทุกแปลงที่จัดสรรผ่านทางถนนได้ ทางจำเป็นที่เกิดมีขึ้นโดยจารีตประเพณีของท้องถิ่น การที่เจ้าของที่ดินไม่ห้าม บุคคลอาจเข้าไปในที่ป่า ที่ดง หรือในท่หญ้าเลี้ยงสัตว์เพื่อเก็บของป่า ผลไม้ป่า ผักทั่วไปตามป่า เห็ด เก็บฟืน ซึ่งในบางท้องที่เจ้าของที่ดินที่นายอมให้ยอมให้บุคคลภายนอกทั่วไปเข้าไปเก็บข้าวตกหลังฤดูเก็บเกี่ยวได้เพราะภายหลังฤดูเก็บเกี่ยวจะมีรวงข้าวที่ตกหล่นจากการเก็บเกี่ยวอย่างนี้เป็นต้น ทางจำเป็น ในทางกฎหมายต้องมีขนาดกว้างยาวเท่าใด สำหรับความยาวนั้น จะต้องยาวจนสามารถเดินทางออกไปสู่ถนนสาธารณะได้ ดังนั้นความยาวของทางจึงไม่อาจจำกัดได้ สำหรับความกว้างของทางนั้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 เปิดทางกว้าง 8เมตร แต่ตามหลักบทบัญญัติของกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 บัญญัติไว้ว่าในทำนองว่า ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอสมควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด เปิดทางกว้าง 5 เมตร เหมาะสมแล้วจะนำประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 มาบังคับให้เปิดทางกว้าง 8 เมตร มาอ้างไม่ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2520) ที่ดินที่ถูกล้อมอยู่อาจถูกล้อมอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่ต้น หรืออาจถูกล้อมเพราะมีการแบ่งแยกในภายหลังก็ได้ ถ้าที่ดินถูกล้อมในภายหลัง เพราะมีกรแบ่งแยก จะมีสิทธิใช้ทางจากแปลงที่มีการแบ่งแยกเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิที่จะใช้ทางในที่ดินแปลงอื่นได้ สิทธิใช้ทางจำเป็นจากแปลงที่แบ่งแยก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2439/2538 ที่ดินของโจทก์แยกออกมาจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ปัจจุบันรถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์เป็นผู้ที่มีอาชีพหาซื้อสุกรมาชำระแหละเนื้อสุกรขาย การใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทมิได้เป็นเรื่องเกินความจำเป็น โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดตราจองที่ 6413ที่ดินดังกล่าวแบ่งแยกของที่ดินโฉนดตราจองที่ 4944 ของจำเลยที่ 1ทำให้ที่ดินโฉนดตราจองที่ 6413 ถูกที่ดินอื่นล้อมรอบจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เจ้าของที่ดินเดิมได้ใช้ที่ดินของจำเลยที่ 1เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะกว้างประมาณ 2 เมตรครึ่ง โดยจำเป็นตลอดมาหลายสิบปี จนได้ภารจำยอม โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวเมื่อปี 2527 แล้วใช้รถยนต์ปิกอัพผ่านทางดังกล่าวในการขนส่งสุกรเพื่อซื้อขายตลอดมา เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2532 จำเลยทั้งสองปลูกต้นไม้และปักหลักไม้เพื่อให้ทางดังกล่าวแคบเข้าเป็นแนวยาวประมาณ 6 เมตร ทำให้โจทก์ไม่สามารถนำรถยนต์ปิกอัพเข้าออกได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนต้นไม้และหลักไม้ออกจากทางพิพาทให้ กว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตรครึ่ง ตลอดแนวทาง จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดตราจองที่ 4944 จริง เจ้าของที่ดินติดต่อกันใช้ที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นทางเดินกว้างเพียงประมาณ 1 เมตรเศษ จำเลยทั้งสองไม่เคยปลูกต้นไม้และปักหลักไม้ตาม ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนต้นไม้และหลักไม้ออกจากทางพิพาทให้กว้าง 2 เมตรครึ่งตลอดแนว ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่กรรม นางมาลี หลวงฤทธิ์ภรรยาของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลฎีกาอนุญาต ประเด็นที่ 2 จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองมิใช่เป็นผู้ปักหลักไม้และปลูกต้นไม้ในทางพิพาทเพื่อใช้ทางพิพาทแคบกว่าเดิมนั้น เห็นว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 วรรคสาม บัญญัติว่า "ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้"ในเรื่องนี้โจทก์นำสืบว่า โจทก์นำรถยนต์กระบะเข้าออกทางพิพาทเพื่อประกอบการค้าเกี่ยวกับการซื้อสุกรมาฆ่า และนำสุกรชำแหละไปขายที่ตลาด ความจำเป็นของโจทก์ดังกล่าว ก่อนวันที่ 28 ตุลาคม2532 ไม่ทำให้ที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียหายเพิ่มขึ้น หากแต่จำเลยทั้งสองนำหลักไม้มาปักขวางและนำต้นไม้มาปลูกทำให้ทางพิพาทแคบลงกว่าเดิม จึงต้องพิเคราะห์ว่า ฝ่ายใดเป็นผู้ทำให้ทางพิพาทแคบลงกว่าที่เคยเป็นอยู่ นอกจากนี้มีนายประวิทย์ ชูกำเหนิดรักษาการจ่าศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากศาลให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในชั้นโจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา เบิกความประกอบรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่8 มกราคม 2533 ว่า เมื่อไปยังบ้านโจทก์เห็นรถยนต์กระบะจอดอยู่ในบ้าน นำออกมาไม่ได้ต้องถอนหลักไม้ และต้นไม้ออกก่อนจึงจะนำรถยนต์ออกมาได้ ลักษณะของต้นไม้ดูแล้วเพิ่งปลูกไม่นานนัก และหากปลูกไว้นานจริงรถยนต์กระบะของโจทก์จะไม่สามารถเข้าสู่บ้านของโจทก์ได้ และเพียงแต่ถอนเสาหลักออกอย่างเดียวโดยไม่ถอนต้นไม้ หากขับรถยนต์กระบะออกมาก็จะทับต้นไม้ดังกล่าวนั้นน่าเชื่อว่าหลักไม้และต้นไม้นั้นปลูกปักเมื่อโจทก์นำรถยนต์กระบะเข้าไปในบ้านแล้ว ที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า คืนวันที่ 28 ตุลาคม2532 เห็นรถยนต์กระบะของโจทก์แล่นเข้าไปในบ้านโจทก์โดยมีชายคนหนึ่งถอนหลักไม้ออกแล้วปักไว้อย่างเดิมนั้น หากเป็นเช่นนั้นจริงรถยนต์กระบะก็จะต้องทับต้นไม้ด้วยที่จำเลยทั้งสองอ้างในฎีกาว่า รถยนต์กระบะแล่นคร่อมต้นไม้เหล่านั้น เมื่อพิเคราะห์ถึงความสูงของต้นไม้ตามภาพถ่ายหมาย ล.4 ไม่น่าจะลู่เอนแล้วตั้งตรงได้อย่างเดิม จนกระทั่งจำเลยทั้งสองไม่พบเห็นความเสียหายของการกระทำดังกล่าวได้ ตามภาพถ่ายหมาย ป.ล.1 และหมาย ล.7ที่แสดงให้เห็นถึงความชำรุดเสียหายของทางพิพาท เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายหมาย ล.5 และ ล.6 ซึ่งไม่ปรากฏร่องรอยรถยนต์นั้นหากเป็นฤดูฝนย่อมจะทำให้ทางพิพาทชำรุดเสียหาย แต่หากเป็นฤดูแล้งก็จะไม่ปรากฏความเสียหายให้เห็นได้ ส่วน รถยนต์ในภาพที่ 6และ 7 ตามภาพถ่ายหมาย ล.7 เป็นรถยนต์ที่มีหลังคาสูงซึ่งแตกต่างจากรถยนต์กระบะของโจทก์ในภาพที่ 4 และ 5 จึงน่าเชื่อว่าโจทก์นำรถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทในช่วงความกว้าง 2 เมตรครึ่งตามที่นายประวิทย์ไปรื้อถอนแล้ว ฝ่ายจำเลยปลูกต้นไม้ปักหลักไม้ทำให้ทางพิพาทแคบลงกว่าที่เคยเป็นอยู่ และปัจจุบันนี้รถยนต์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในความเป็นอยู่ของประชาชนโดยทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอาชีพหาซื้อสุกรมาฆ่าชำแหละเนื้อสุกรขายการใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกทางพิพาทมิได้เป็นเรื่องเกินความจำเป็นส่วนความเสียหายของจำเลยที่ 1 ก็มิได้เสียหายเพิ่มขึ้นหากมิได้นำสิ่งกีดขวางไปปลูกปักในทางพิพาทไว้ 2 พิพากษายืน
ผู้มีสิทธิฟ้องศาลขอให้เปิดทางจำเป็นมีใครบ้าง ผู้ที่จะเป็นผู้มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นได้แก่บุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้ ผู้มีสิทธิในการใช้ทางจำเป็นมีขอบเขตอย่างไร
ผู้มีสสิทธิใช้ทางจำเป็น มีสิทธิใช้ยานพาหนะ ผ่านทางจำเป็นในสภาพที่เป็นถนนได้ ไม่ถูกจำกัดให้ใช้เป็นทางเดินอย่างเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2516
โจทก์ฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันจัดสรรที่ดินที่ตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร และจำเลยได้ทำถนนขึ้นในที่ดินจัดสรรเพื่อให้ผู้ซื้อที่ดินได้ใช้เป็นทางรถยนต์เข้าออก เรียกว่า "ซอยรุ่งเรือง" โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินจากผู้ที่ซื้อมาจากจำเลยโจทก์ต้องใช้ถนนซอยรุ่งเรืองเป็นทางเดินเข้าออกตลอดมา เพราะมีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบไม่มีทางอื่นออกไปสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวด้วยต่อมาได้ให้มิสเตอร์เว้นท์กับครอบครัวเช่าอยู่จนถึงวันฟ้องเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2508 จำเลยใช้ให้ลูกจ้างของจำเลยทำคานเหล็กปิดกั้นกลางถนนซอยรุ่งเรือง ระหว่างเวลา 7.00 นาฬิกา ถึง 18.00 นาฬิกา โจทก์และมิสเตอร์เว้นท์ไม่สามารถใช้รถยนต์เข้าออกติดต่อสู่ถนนลาดพร้าวได้ก่อนหรือหลังเวลานั้นขอให้บังคับจำเลยเปิดถนนซอยรุ่งเรืองให้โจทก์และผู้เช่าบ้านโจทก์ใช้รถยนต์เข้าออกได้ตลอดเวลาให้จำเลยรื้อถอนคานเหล็กซึ่งปิดกั้นถนนออก จำเลยที่ 1 ให้การว่า ที่ดินแปลงของโจทก์มีทางเข้าออกต่างหากทางซอยรุ่งทิวาโดยเจ้าของเดิมไม่เคยใช้ซอยรุ่งเรืองเลย และตัดฟ้องว่า โจทก์ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในซอยรุ่งเรืองโจทก์เพียงต้องการให้จำเลยเปิดทางให้ผู้ซื้อ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ซอยรุ่งเรืองเป็นทางจำเป็น พิพากษาให้จำเลยเปิดซอยรุ่งเรืองให้โจทก์ และผู้เช่าบ้านโจทก์ใช้รถยนต์เข้าออกสู่ถนนลาดพร้าวได้ตลอดเวลา โดยให้จำเลยรื้อถอนคานเหล็กที่ปิดกั้นออกไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สภาพแห่งทางจำเป็นดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรค 3 มีว่า "ที่และวิธีทำทางผ่านนั้น ต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านกับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้" ซึ่งหมายความว่า เมื่อที่ดินตกอยู่ในที่ล้อม โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองเพื่อการใช้ยานพาหนะผ่านทางในสภาพที่เป็นถนนได้มิได้จำกัดเฉพาะให้ใช้ทางเดินด้วยเท้าแต่อย่างเดียว เมื่อซอยรุ่งเรืองเป็นทางลาดยางที่ใช้การได้ดี ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่โจทก์ในการใช้รถยนต์ผ่านได้อยู่แล้ว โดยโจทก์ได้ใช้ทางร่วมกับจำเลยผู้เป็นเจ้าของทางมาก่อนเช่นนี้ต้องถือว่า โจทก์มีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะใช้ซอยรุ่งเรืองเป็นทางจำเป็นเข้าออกได้ พิพากษายืน
สิทธิของผู้รับโอนที่จะใช้ทางจำเป็นเช่นเจ้าของเดิม ผู้รับโอนที่ดิน ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมมีสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ที่จะขอผ่านทางที่สะดวก และใกล้ทางสาธารณะเหมาะสมกับความจำเป็นกว่าทางอื่น ซึ่งเจ้าของที่ดินเคยใช้มาก่อน คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2516 ผู้รับโอนที่ดินซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ที่จะขอผ่านทางที่สะดวกและใกล้ทางสาธารณะเหมาะสมกับความจำเป็นกว่าทางอื่น ซึ่งเจ้าของที่ดินผู้โอนเคยใช้มาก่อน โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะที่ดินของจำเลยอยู่ติดทางสาธารณะทางทิศใต้ของที่ดินโจทก์ จำเลยเคยยอมให้โจทก์เดินผ่านไปออกทางสาธารณะเกินกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยได้ขุดทางเดินเอาต้นไม้มาปลูกทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อน จึงขอให้พิพากษาบังคับให้จำเลยเปิดทางให้โจทก์เดินอย่างเดิมและห้ามปลูกพืชผลตามทางเดินนั้น จำเลยให้การว่า ทางเดินตามที่โจทก์ฟ้องกว้างเพียง 1 ศอกเท่านั้นโจทก์ได้อาศัยเดินไปตักน้ำบ่อกินในที่ดินของจำเลย เมื่อประมาณปีเศษมานี้โจทก์ได้ขุดบ่อน้ำของโจทก์แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำในบ่อของจำเลยอีกต่อไป ที่ดินของโจทก์ โจทก์เพิ่งซื้อจากนายเกตุ เมื่อประมาณปีเศษมานี้ เดิมโจทก์เช่าจากนายเกตุปลูกลูกยาและผักขาย โจทก์อยู่ในที่บ้านของโจทก์ไม่ถึง 10 ปี ไม่ได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของจำเลย ทางเดินดังกล่าว โจทก์อาศัยเดินโดยไม่มีค่าตอบแทน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกเสียเมื่อใดก็ได้ ขอให้พิพากษายกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อมของที่ดินแปลงอื่น ทางในที่ดินของจำเลยซึ่งโจทก์ใช้เข้าออกไปสู่ถนนสาธารณะ ถือได้ว่าเป็นทางจำเป็น และโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทนี้มาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงเป็นทางภารจำยอม พิพากษาให้จำเลยเปิดทางให้โจทก์อย่างเดิม (กว้าง 6 ศอก) และห้ามปลูกพืชผลตามทางเดินนั้น จำเลยอุทธรณ์ จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องของโจทก์
ฎีกาของจำเลยอีกข้อหนึ่งที่ว่าโจทก์ขอใช้ทางเดินตามสิทธิที่ได้ครอบครองมา (หมายถึงภารจำยอม) ไม่ได้ตั้งใจขอสิทธิที่ไม่มีทางออก(ทางจำเป็น) ศาลจะพิพากษาให้ไม่ได้นั้น ข้อนี้ศาลฎีกาเห็นว่า ฟ้องของโจทก์ได้กล่าวอ้างถึงสิทธิของโจทก์มาทั้งในทางจำเป็นและในภารจำยอม เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าทางพิพาทเป็นทั้งทางจำเป็นและทางภารจำยอม จำเลยก็ได้อุทธรณ์คัดค้านรวมมาทั้งสองประเด็น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาถึงสิทธิของโจทก์ในทางจำเป็นได้ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน พิพากษายืน
ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน คำพิพากษาฎีกาที่ 814/2554 ช.ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทแก่ อ. เมื่อ ช. ตายที่ดินพิพาทตกเป็นของ อ. ต่อมา อ.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของตนทั้งหมดแก่โจทก์ทั้งห้า เมื่อ อ.ตาย ที่ดินพิพาทตกเป็นของโจทก์ทั้งห้า แม้ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. จำเลยที่ 1 ก็เพียงแต่มีอำนาจจัดการทรัพย์มรดกของ ช. แทนทายาททุกคนเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคน ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทที่ตกเป็นของโจทก์ทั้งห้าไปขายโดยทายาทผู้ได้รับมรดกไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งห้า แม้จำเลยที่ 2 แม้จะซื้อที่ดินโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ทั้งห้าย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทคืนอันเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 กรณีไม่ใช่เรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 เพราะการจะเป็นเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลได้ จำเลยที่ 1 ผู้โอนต้องมีสิทธิโอนอยู่แล้ว และการโอนทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ
เมื่อจำเลยรับซื้อรถยนต์พิพาทจากบุคคลซึ่งฉ้อโกงรถยนต์พิพาทจากโจทก์ จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท เพราะผู้ขายรถยนต์พิพาทไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์นั้น เข้าหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยซื้อรถดังกล่าวจากผู้ที่ฉ้อโกงเอามาขายที่ร้านของจำเลยในบริเวณชุมนุมการค้ารถยนต์ไม่ใช่ซื้อจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งที่อยู่ในชุมนุม การค้ารถยนต์นั้น จึงไม่ใช่เป็นการซื้อในท้องตลาด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ดังนั้น จำเลยจะสุจริตหรือไม่ ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยขายรถยนต์แก่บุคคลภายนอกไปแล้วไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ได้ จำเลยจึงต้องใช้ราคารถแก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์ซื้อมาพร้อมด้วยค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถและค่าเสื่อมสภาพรถคันพิพาท
คลองตื้นเขินไม่สามารถใช้เป็นทางสัญญาจรได้ ที่ดินจดคลอง แต่คลองตื้นเขินประชาชนไม่สามารถใช้เป็นทางสัญจรไปมานานแล้วทางอื่นออกไม่ได้จึงใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินที่ล้อมนั้นได้ คลองที่ขาดความสะดวกใช้สอยเป็นทางสัญจร คลองบางไผ่น้อยบริเวณพิพาท แม้ใช้เรือสัญจรเข้าออกได้ แต่ก็ ขาดความสะดวกที่จะใช้สอยเป็นทางสาธารณะได้ตามปกติ จึงยังไม่พอ ที่จะถือได้ว่าเป็นทางสาธารณะตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 โจทก์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งล้อมอยู่ ไปสู่ทางสาธารณะโดยใช้ทางเดินพิพาทผ่านเข้าออกเป็นทางจำเป็นได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800 - 801/2544 คดีทั้งสองสำนวนมีศาลชั้นต้นสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกันโดยให้เรียกโจทก์สำนวนแรกว่า โจทก์ที่ 1 เรียกโจทก์ที่ 1 และที่ 2 สำนวนหลังว่า โจทก์ที่ 2 และที่ 3 โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามและบริวารใช้ที่ดินของจำเลยทางทิศตะวันตกเป็นทางเดินผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะกว้างประมาณ 1เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร และใช้ทางเดินผ่านที่ดินของนายสุวิช รังศาสตร์และนางทองหล่อ รุจิเลข ออกสู่ทางสาธารณะด้วย โดยสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาใช้เป็นทางจำเป็นเนื่องจากเป็นทางเดียวที่จะสามารถใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ในทางบกสืบต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 50 ปี จนกระทั่งได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความแล้ว ดังนั้นทางเดินบนที่ดินของจำเลย กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร จึงเป็นทางจำเป็นและตกเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์ของที่ดินของโจทก์ที่ 1 ของโจทก์ที่ 2 และ ของโจทก์ที่ 3 โดยอายุความตามกฎหมายแล้ว ต่อมาจำเลยเปิดประกาศแจ้งว่า "ทางส่วนบุคคลห้ามบุคคลภายนอกผ่านเข้าออกเพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดินบริเวณนี้ของข้าฯ ขอให้รื้อสะพานของท่านออกภายใน 7 วัน" การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม ขอให้พิพากษาว่าทางเดินกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร ดังกล่าวเป็นทางภารจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสามโดยอายุความและให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมแก่ที่ดินทั้งสี่แปลง หากไม่ไปให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนเจตนาของจำเลยและขอให้มีคำสั่งห้ามจำเลยและบริวารรื้อสะพานไม้ของโจทก์ทั้งสามหรือให้เสื่อมสภาพหรือปิดกั้นทางภารจำยอมและห้ามกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งทางภารจำยอมต้องลดไปหรือเสื่อมความสะดวก จำเลยให้การว่า โจทก์ทั้งสามไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางจำเป็นหรือไปจดทะเบียนภารจำยอมได้ที่ดินที่โจทก์ทั้งสามอ้างว่าเป็นของตนมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ทางคูน้ำสาธารณะและคลองบางไผ่น้อย การที่โจทก์ทั้งสามหรือบิดามารดาโจทก์ทั้งสามเดินผ่านที่ดินพิพาทอันเป็นของจำเลยก็เนื่องจากฝ่ายโจทก์และจำเลยเป็นญาติพี่น้องกัน บิดาจำเลยและจำเลยอนุญาตให้ใช้ทางเดินพิพาทได้ มิใช่กรณีที่บิดามารดาโจทก์ทั้งสามหรือโจทก์ทั้งสามใช้ทางเดินพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาใช้เป็นทางจำเป็นดังนั้น แม้จะใช้มานานเท่าใดก็ไม่ทำให้ทางเดินพิพาทตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความ ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางเดินตามเส้นสีน้ำเงินในแผนที่เอกสารหมาย จ.4 ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร แนวทางขนานเลียบกับแนวที่ดินด้านทิศตะวันตกจากใต้ขึ้นเหนือซึ่งอยู่ในโฉนดที่ดินเลขที่ 145958ตำบลบางไผ่(บางไผ่น้อย) อำเภอเมืองนนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรีของจำเลยเป็นทางจำเป็นของที่ดินรวม 4 แปลง คือ ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4793ตำบลบางไผ่ (บางไผ่น้อย) อำเภอเมืองนนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรีของโจทก์ที่ 1ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 118567 ตำบลบางไผ่ (บางไผ่น้อย)อำเภอเมืองนนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรี ของโจทก์ที่ 2 ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 118571 ตำบลบางไผ่ (บางไผ่น้อย) อำเภอเมืองนนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรี ของโจทก์ที่ 3 และที่ดินโฉนดเลขที่ 118570 ตำบลบางไผ่ (บางไผ่น้อย) อำเภอเมืองนนทบุรี (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรี ของโจทก์ที่ 2และที่ 3 ให้จำเลยเปิดทางเดินพิพาทห้ามจำเลยและบริวารรื้อสะพานไม้ในทางเดินพิพาททำให้เสื่อมสภาพหรือปิดกั้นทางจำเป็นดังกล่าว คำขออื่นของโจทก์นอกจากนี้ให้ยก โจทก์ทั้งสามและจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสามทั้งสี่แปลงด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4793 โดยได้รับมรดกจากมารดาเมื่อปี 2523 เดิมมีนางเจือ โพธิ์เปรม มารดาโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของรวมต่อมาได้มีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2524 ทำให้ที่ดินทางทิศตะวันตกเป็นของนางเจือ คือที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 3165 และ 3168 ซึ่งต่อมาตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 และบุตรคือ โจทก์ที่ 3 โดยต่อมาเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 118567 และ 118570 ส่วนที่ดินทางทิศตะวันออกเป็นของโจทก์ที่ 1 ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ก่อนแบ่งแยก ทิศตะวันออกจดที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 145958 ของจำเลยซึ่งแยกมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 4794 ทิศตะวันตกจดที่ดินของบุคคลอื่น ซึ่งมีคูน้ำขวางกั้น ทิศเหนือจดที่ดินจำเลย และบุคคลอื่นมีคูน้ำขวางกั้นเช่นกัน ทางทิศใต้จดคลองบางไผ่น้อยทำให้ที่ดินของโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะที่เป็นทางบกได้เพียงทางเดียว คือ ทางเดินพิพาทซึ่งต้องผ่านที่ดินของจำเลย และของบุคคลอื่นรวม 3 แปลง สำหรับคลองบางไผ่น้อยใช้เป็นทางเข้าออกทางน้ำโดยใช้เรือในการสัญจรออกสู้แม่น้ำเจ้าพระยา ครั้นถึงปลายปี 2528 ทางฝ่ายโจทก์ได้สร้างสะพานไม้ข้ามคูน้ำผ่านทางเดินพิพาทเนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีน้ำท่วม ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 4793 และ 4794 เดิมเป็นที่ดินซึ่งมีตราจองชั่วคราวสองแปลงติดต่อกัน ที่อำเภอแดงจันและนายศุข สิบตรี บรรพบุรุษของโจทก์ทั้งสามและจำเลยได้ซื้อมาพร้อมกันและต่อมาได้ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่ 4793 และ 4794 ตามเอกสารหมาย จ.39 ที่ดินทั้งสองแปลงจึงตกทอดมาถึงโจทก์ทั้งสามและจำเลยซึ่งล้วนแต่เป็นญาติกันทั้งสิ้น เหตุแห่งคดีนี้สืบเนื่องจากจำเลยห้ามโจทก์ทั้งสามผ่านเข้าออกทางเดินพิพาท และให้โจทก์ทั้งสามรื้อสะพานไม้ที่สร้างในทางเดินพิพาทออก แต่โจทก์ทั้งสามโต้แย้งว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิผ่านเขาออกทางเดินพิพาท เพราะเป็นทางจำเป็น และทางเดินพิพาทตกเป็นภารจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเป็นประการแรกว่า ทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์ทั้งสามหรือไม่ เห็นว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสามและของจำเลยมิได้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาแต่เดิม หากแต่เป็นที่ดินซึ่งบรรพบุรุษของโจทก์ทั้งสามและของจำเลยต่างซื้อมาคนละแปลง แต่ปรากฏว่าที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ติดกัน จึงไม่เข้าลักษณะของที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1350 คงมีปัญหาว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสามมีที่ดินของจำเลยและที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 อันทำให้ต้องใช้ทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ เห็นว่า ตามพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสามและจำเลยรับกันว่ามีคลองบางไผ่น้อยซึ่งเป็นทางสาธารณะที่ใช้สัญจรเข้าออกมาแต่เดิม ทั้งนี้โดยโจทก์ทั้งสามนำสืบโต้แย้งว่าคลองดังกล่าวใช้เข้าออกไม่สะดวกในช่วงฤดูแล้ง เพราะคลองตื้นเขิน ซึ่งข้อนี้นายเนตร ปิ่นแก้ว กำนันและผู้ใหญ่บ้านตำบลบางไผ่และมิได้เกี่ยวข้องเป็นญาติของโจทก์ทั้งสามและจำเลยไม่ว่าทางหนึ่งทางใดได้เบิกความเป็นพยานโจทก์รับรองว่าสภาพคลองไม่สามารถใช้เรือสัญจรได้ในขณะน้ำลงเพราะน้ำแห้ง ปัจจุบันชาวบ้านริมคลองไม่มีเรือใช้แล้ว พยานเองก็ไม่เคยใช้เรือในการสัญจร คงใช้สัญจรทางบกโดยตลอด จึงเจือสมกับคำเบิกความของนายพจน์ รังศาสตร์ พยานจำเลยซึ่งเป็นบิดาจำเลยและเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่มีทางเดินพิพาทมาแต่เดิมได้ตอบคำถามค้านของทนายความโจทก์ทั้งสามว่า ชาวบ้านที่อาศัยในละแวกนั้น ส่วนใหญ่เลิกใช้เรือเป็นพาหนะมาประมาณ 20 ปีแล้วเหตุที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากในช่วงน้ำลงคลองบางไผ่น้อยน้ำแห้งเรือผ่านเข้าออกไม่สะดวก แม้จำเลยอ้างภาพถ่ายน้ำในคลองบางไผ่น้อยเป็นพยานหลักฐาน ตามภาพถ่ายหมาย ล.7 ถึง ล.11 ก็ไม่อาจยืนยันได้ แน่ชัดว่าขณะน้ำลงสภาพคลองเป็นอย่างไร จึงไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสามได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าคลองบางไผ่น้อย แม้ใช้เรือสัญจรเข้าออกได้ แต่ก็ขาดความสะดวกที่จะใช้สอยเป็นทางสาธารณะได้ตามปกติ จึงยังไม่พอที่จะถือได้ว่าเป็นทางสาธารณะตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 เหตุนี้โจทก์ทั้งสามจึงมีความจำเป็นที่จะต้องผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะโดยใช้ทางเดินพิพาทผ่านเข้าออกได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ทั้งสามใช้ทางเดินพิพาทเป็นทางจำเป็นนั้นชอบแล้วฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกาเป็นประการต่อไปว่า ทางเดินพิพาทไม่ตกเป็นภารจำยอมของที่ดินของโจทก์ทั้งสามโดยอายุความนั้น เห็นว่า โจทก์ทั้งสามยอมรับว่าได้ใช้ทางเดินพิพาทเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมา สืบทอดตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษของโจทก์ทั้งสามและของจำเลยที่เป็นญาติใกล้ชิดมาแต่เดิม ดังจะเห็นได้จากการที่บรรพบุรุษของโจทก์ทั้งสามและของจำเลยต่างซื้อที่ดินติดต่อกัน จนกระทั่งปลายปี 2528 น้ำท่วมทางพิพาท ทางฝ่ายโจทก์จึงได้จัดสร้างสะพานไม้ข้ามคูน้ำในทางเดินพิพาทโดยบิดาจำเลยยินยอมให้ดำเนินการในลักษณะของความอะลุ่มอล่วยฉันเครือญาติ จึงเป็นการแสดงออกโดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งสามได้ใช้ทางเดินพิพาทด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย โดยถือว่าเป็นกันเองอย่างเช่นเครือญาติที่ผูกพันกันมานานสืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษของทั้งสองฝ่าย อันเป็นการใช้ทางเดินพิพาทโดยถือวิสาสะและเอื้อเฟื้อต่อกัน ทางเดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ทางเดินพิพาทตกเป็นภารจำยอมนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังขึ้น" พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ( วิชา มหาคุณ - พูนศักดิ์ จงกลนี - ปัญญา สุทธิบดี )
บุคคลอาจพาปศุสัตว์ของตน ผ่านเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งมิได้กั้นเพื่อไปเลี้ยงและอาจไปเอาน้ำในบ่อ สระ ยกเว้นที่ดินที่เพาะปลูกหรือเตรียมเพื่อเพาะปลูก หรือมีธัญชาติเจ้าของที่ดินย่อมห้ามได้ ถ้ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นให้ทำได้ ถ้าเจ้าของไม่ห้าม อาจเข้าไปในที่ป่าหรือในที่มีหญ้าเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นที่ดินของผู้อื่น เพื่อเก็บฟืนหรือผลไม้ป่า ผัก เห็ด และสิ่งเช่นกัน สิทธิได้รับเงินทดแทน ในเรื่องค่าทดแทน เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มีสิทธิในอันที่จะได้รับเงินทดแทนจากเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมซึ่งขอเปิดทาง แต่มีข้อยกเว้นคือ ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือโอนกัน เป็นเหตุให้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นซึ่งถูกล้อม มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินเฉพาะบนที่ดินแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอน และไม่ต้องเสียค่าตอบแทน "ทางจำเป็น" ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานที่ดินหรือไม่ ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็น สามารถใช้ทางได้โดยอำนาจของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โดยไม่ต้องจดทะเบียน ดังนั้นในคดีฟ้องแย้ง จำเลยจะฟ้องแย้งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมค่าภาษี กับค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนทางจำเป็นหาได้ไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2549 โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 2068 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร และที่ดินโฉนดเลขที่ 2095 ตำบลลาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ทั้งสี่ด้านไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ที่ดินของจำเลยอยู่ติดที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงด้านทิศเหนือ มีลักษณะเป็นถนนมีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จำเป็นต้องผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะ ขอให้บังคับจำเลยเปิดทางในที่ดินโฉนดเลขที่ 128706 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร กว้างแปลงละประมาณ 8 เมตร ยาวตลอดไปถึงถนนสาธารณะ โดยโจทก์ยินยอมจ่ายค่าผ่านทางให้จำเลยเป็นเงิน 100,000 บาท โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายในการเปิดทางสูงเกินความจริง ขอให้ยกฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลย โฉนดเลขที่ 128706 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร โดยกำหนดความกว้าง 6 เมตร จากแนวเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์ โฉนดเลขที่ 2068 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร และโฉนดเลขที่ 2095 ตำบลบาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร ด้านละ 3 เมตร ให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยเป็นเงิน 300,000 บาท กับให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียม ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจดทะเบียนทางจำเป็น ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองฝ่ายให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 8,000 บาท ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า โจทก์มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยได้หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า เดิมที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 113160 ของนายสุปรีดี นิมิตรกุล สามารถออกสู่ถนนสาธารณะได้ โดยผ่านที่ดินของจำเลยที่เป็นภารยทรัพย์ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะบนที่ดินโฉนดเลขที่ 113160 ที่ได้แบ่งแยกและโอนกันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อขอใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโฉนดเลขที่ 128706 และที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกติดคลองชลประทานซึ่งเป็นทางสาธารณะตามกฎหมาย จึงไม่ใช่กรณีที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ เพียงแต่โจทก์ใช้คลองชลประทานซึ่งเป็นทางสาธารณะไม่สะดวกเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์ไม่เข้าองค์ประกอบตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โจทก์จึงไม่มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยได้นั้น โจทก์มีตัวโจทก์และนายสุปรีดีเบิกความเป็นพยานว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงมีที่ดินของบุคคลอื่นล้อมรอบอยู่ ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ หากจะอาศัยคลองชลประทานเป็นทางสัญจรไปมาก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว และถ้าโจทก์จะต้องออกไปสู่ทางสาธารณะจะต้องอาศัยที่ดินของจำเลย เห็นว่า คำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวสอดคล้องกับรายงานกระบวนพิจารณา ฉบับลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 ที่องค์คณะผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไปเผชิญสืบที่ดินพิพาทโดยมีคู่ความทั้งสองฝ่ายนำชี้ว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงทิศเหนือติดถนนคอนกรีตซึ่งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 128706 ของจำเลย มีรั้วคอนกรีตสูงประมาณ 1.5 เมตร กั้นตลอดแนว ทิศตะวันตกติดที่ดินโฉนดเลขที่ 113160 ของนายสุปรีดี มีรั้วสังกะสีสูงประมาณ 2 เมตร กั้นเป็นแนว ทิศใต้ติดที่ดินโฉนดเลขที่ 2642 และ 2641 ซึ่งเป็นที่ดินของผู้อื่น มีรั้วคอนกรีตของโจทก์สูงประมาณ 2 เมตร กั้นตลอดแนว ทางทิศตะวันออกติดคลองเปรมประชากร แต่ระหว่างที่ดินของโจทก์และคลองเปรมประชากรมีบ้านพักอาศัยเป็นชุมชนปลูกสร้างบนที่ดินของกรมชลประทานตลอดแนว มีรั้วคอนกรีตของโจทก์สูงประมาณ 2 เมตร กั้นตลอดแนวความกว้างระหว่างรั้วคอนกรีตของโจทก์ถึงคลองเปรมประชากรประมาณ 7 เมตร มีทางเดินกว้างประมาณ 1 เมตร ตลอดแนวคลอง ประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกดังกล่าวใช้เป็นทางเดินและทางรถจักรยานยนต์ ส่วนรถยนต์ไม่สามารถแล่นผ่านเข้าออกได้ จากที่ดินโจทก์ไม่สามารถเดินออกไปยังทางเท้าดังกล่าวได้เนื่องจากตลอดแนวรั้วมีบ้านปลูกอยู่ และทิศใต้ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ดังนั้น พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาจึงมีน้ำหนักน่ารับฟังมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงดังกล่าวมีที่ดินของจำเลยและบุคคลอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงที่ถูกปิดล้อมทิศเหนือติดถนนคอนกรีตซึ่งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 128706 ของจำเลย และมีรั้วคอนกรีตสูงประมาณ 1.5 เมตร กั้นตลอดแนว การเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยดังกล่าวย่อมเหมาะสมที่สุด เพราะเพียงแต่ทุบรั้วคอนกรีตออกเท่านั้น ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงก็จะมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกที่สุด หากจะเปิดทางจำเป็นด้านที่ติดที่ดินโฉนดเลขที่ 113160 ของนายสุปรีดีตามที่จำเลยฎีกานั้นก็ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากหนังสือข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระหว่างจำเลยและนายสิน ผลช่วย กับนายสุปรีดี เอกสารหมาย จ.7 กำหนดไว้ว่า ทางภาระจำยอมที่จำเลยและนายสินยินยอมให้นายสุปรีดีใช้ผ่านนั้นให้ใช้เป็นทางผ่านเข้าที่ดินของนายสุปรีดีเท่านั้น โจทก์จึงไม่สามารถผ่านทางภาระจำยอมดังกล่าวได้ ส่วนที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันออกที่ติดคลองเปรมประชากรนั้น ปรากฏจากการเผชิญสืบที่ดินพิพาทขององค์คณะผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่ามีชาวบ้านชุมชนแออัดปลูกบ้านอยู่อาศัยบนที่ดินของกรมชลประทานตามแนวคลองติดรั้วคอนกรีตของโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางออกสู่ทางสาธารณะตามแนวคลองได้ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปมีว่า ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยกว้าง 6 เมตร เกินความจำเป็นที่โจทก์จะต้องใช้และทำให้จำเลยเสียหายหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า โจทก์ขอเปิดทางเพื่อทำประตูตั้วจากที่ดินของโจทก์ออกถนนของหมู่บ้านซึ่งเป็นของจำเลย ที่จัดไว้สำหรับผู้อาศัยในหมู่บ้านความกว้าง 6 เมตร เกือบเท่าความกว้างของถนนภายในหมู่บ้าน เมื่อเอาสภาพความเป็นอยู่และที่ตั้งแห่งทรัพย์แล้วเกินความจำเป็นแก่การใช้ ประตูรั้วบ้านไม่จำต้องให้รถสามารถสวนทางกันได้ ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ถือว่าขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม การขอเปิดทางจำเป็นของโจทก์จะต้องทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยน้อยที่สุด จำเลยเห็นว่า ควรเปิดทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลง กว้างแปลงละ 1.75 เมตร รวมกันไม่เกิน 3.50 เมตรนั้น เห็นว่า ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม กำหนดว่า ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ในเสียหายแต่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยกว้าง 6 เมตร จึงเกินความจำเป็นที่โจทก์จะต้องใช้ เพราะโจทก์ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นเพื่อให้โจทก์ใช้ทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดให้จำเลยเปิดทางจำเป็นกว้าง 3.50 เมตร ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อสุดท้ายมีว่า โจทก์ควรจ่ายค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการใช้ทางจำเป็นเพิ่มขึ้นจากที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า เมื่อโจทก์ได้ทางจำเป็นจะทำให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงราคาเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 750,000 บาท ปัจจุบันราคาประเมินตารางวาละ 50,000 บาท ทั้งที่ยังไม่มีทางออก เมื่อเปิดทางโจทก์ยังสามารถใช้ถนนเข้าออกภายในหมู่บ้านไม่ต้องลงทุนก่อสร้างถนนไปสู่ทางสาธารณะอีก จำเลยลงทุนทำถนนเป็นเงินหลายสิบล้านบาท ใช้ประโยชน์สำหรับผู้อาศัยในหมู่บ้านของจำเลยเท่านั้น และเมื่อเปรียบเทียบเงื่อนไขที่จำเลยทำไว้แก่นายปรีดีตามเอกสารหมาย จ.7 แล้ว การที่จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนจำนวน 1,000,000 บาท นับว่าเหมาะสมแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จ่ายเพียง 300,000 บาท นับว่าน้อยมาก ขอให้โจทก์จ่ายค่าทดแทนให้แก่จำเลยเพิ่มขึ้นอีก 70,000 บาท (ที่ถูกน่าจะเป็น 700,000 บาท) นั้น เห็นว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยให้เหตุผลไว้อย่างละเอียดและชัดแจ้งแล้ว ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย จึงไม่จำต้องวินิจฉัยซ้ำอีก ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น อนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาบังคับให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียม ค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจดทะเบียนทางจำเป็นด้วยนั้น ในกรณีทางจำเป็น โจทก์มีสิทธิใช้ทางได้โดยอำนาจของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 โดยไม่ต้องจดทะเบียนและไม่ต้องบังคับตามคำขอบังคับในฟ้องแย้งของจำเลยข้อนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย" พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยโฉนดเลขที่ 128706 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร กว้าง 3.50 เมตร จากแนวเขตติดต่อระหว่างที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 2068 ตำบลลาดยาว (บางเขนฝั่งใต้) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร และโฉนดเลขที่ 2095 ตำบลลาดยาว อำเภอจตุจักร กรุงเทพมหานคร กว้างด้านละ 1.75 เมตร คำขอของจำเลยที่ให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าธรรมเนียม ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจดทะเบียนทางจำเป็นให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
บริการของ สำนักงานพีศิริ ทนายความ สำนักงานพีศิริทนายความ ก่อตั้งโดย ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ รับว่าความคดีแพ่ง คดีอาญา คดีผู้บริโภคและคดีอื่นๆ ทุกคดี รับเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย รับเป็นทนายความแก้ต่างต่อสู้คดี ข้อตกลง ตลอดจนข้อสัญญาต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจ ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ฟ้องเรียกเงินผิดสัญญากู้ยืมเงิน ผิดสัญญาจ้างทำของ ฟ้องหย่า ฟ้องเกี่ยวเนื่องกับสิทธิในคดีครอบครัว ฟ้องเรียกบุตรคืน ฟ้องถอนอำนาจปกครองผู้เยาว์ ฟ้องหย่าและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทนจากหญิงที่แสดงตนว่ามีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับคู่สมรส ฟ้องหย่าและเรียกค่าเลี้ยงชีพ ฟ้องขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว ฟ้องให้จดทะเบียนรับรองบุตร ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ฟ้องขอให้ศาลมีว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ฟ้องขอเปลี่ยนอำนาจปกครองบุตร ฟ้องให้คู่หย่าปฏิบัติตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์สินตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า ฟ้องเรียกค่าทดแทนผิดสัญญาหมั้นเรียกสินสอดคืน ฟ้องบอกเลิกสัญญาหมั้นเรียกของหมั้นคืน ฟ้องคู่สมรสขอแยกกันอยู่ชั่วคราว ฟ้องขอให้จดทะเบียนใส่ชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนละครึ่ง ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตแทนการให้ความยินยอมขายที่ดินสินสมรส ฟ้องขอเพิกถอนการให้ที่ดินสินสมรส ฟ้องขอใส่ชื่อเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินสินสมรส ฟ้องขอใส่ชื่อเป็นเจ้าของร่วมในบัญชีธนาคาร ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสซ้อน ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ฟ้องบิดาขอให้รับเด็กเป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วย ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าผู้ร้องเป็นบุตรเพื่อรับบำเหน็จตกทอดจากทางราชการ ฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตรเนื่องจากเป็นหมันไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้ ฟ้องคดีขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแทนการให้ความยินยอมของมารดาในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครอง ขอให้ศาลแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเด็ก คดีขอให้ศาลสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง ติดต่อทนายความได้เลย ฟ้องหย่าคิดถึงทนายความลีนนท์ ติดต่อทนายความลีนนท์ ได้ที่หมายเลข 0859604258
ทนายความคดีครอบครัว ทนายความฟ้องหย่า สำนักงานทนายความ โดย ทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ รับฟ้องคดีครอบครัว เช่น ฟ้องหย่าโดยความยินยอม ฟ้องหย่าตามบันทึกข้อตกลง ฟ้องหย่าให้โจทก์แต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ฟ้องหย่าให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ฟ้องหย่าเรียกค่าเลี้ยงชีพ ฟ้องหย่าเรียกคืนของหมั้น ฟ้องหย่าแบ่งสินสมรส ฟ้องหย่าอ้างเหตุอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่น ฟ้องหย่าอ้างเหตุเป็นชู้หรือมีชู้ ฟ้องหย่าอ้างเหตุร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ
ษากฎหมาย ปรึกษาทนายความ ลีนนท์ โทร 085-9604258 สำนักงานพีศิริ ทนายความ
|