

ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ - ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า มาตรา 1352 เป็นบทบังคับให้เจ้าของที่ดินต้องยอมให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงมีสิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินได้ต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว และคดีนี้เจ้าของที่ดินข้างเคียงจะมิได้เสนอค่าทดแทนให้ก็ตาม แต่กรณีเป็นการขอวางไปตามแนวทางจำเป็นซึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนทางจำเป็นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินในส่วนที่ตกเป็นทางจำเป็น แต่กลับจะเป็นประโยชน์แก่ที่ดินของตนและที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่มีท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2541 ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรคต้นบังคับ ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านกับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็นเงินรายปีก็ได้ เมื่อมีเหตุผลพิเศษ ถ้าจะต้องวางเหนือพื้นดินไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินอาจเรียกให้ซื้อที่ดินของตนบางส่วนตามควรที่จะใช้ในการนั้น โดยราคาคุ้มค่าที่ดินและค่าทดแทนความเสียหาย ซึ่งอาจมีเพราะการขายนั้นด้วย ถ้าพฤติการณ์เปลี่ยนไป เจ้าของที่ดินอาจเรียกให้ย้ายถอนสิ่งที่วางนั้นไปไว้ ณ ส่วนอื่นแห่งที่ดินของตนตามแต่จะเหมาะแก่ประโยชน์แห่งเจ้าของที่ดิน ค่าย้ายถอนนั้น เจ้าของที่ดินติดต่อเป็นผู้เสีย แต่ถ้ามีพฤติการณ์พิเศษไซร้ ท่านว่าจะให้เจ้าของที่ดินอีกฝ่ายหนึ่งช่วยเสียค่าย้ายถอนตามส่วนอันควรก็ได้ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดี และฟ้องแย้งให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่7 เมษายน 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ให้การว่า ที่ดินของโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นทางภารจำยอมเหนือที่ดินโฉนดเลขที่ 1111 (ก่อนแบ่งแยก) อยู่แล้ว และทางด้านทิศเหนือของที่ดินโจทก์ ก็มีสภาพเป็นทางเดินออกสู่ถนนติวานนท์ได้เช่นกันการที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 2 เปิดทางจำเป็นให้กว้าง 8 เมตรเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยที่ 2 ทำให้ที่ดินถูกแบ่งออกเป็น2 ส่วน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 ไม่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนทางจำเป็นให้แก่โจทก์ หากศาลวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็ต้องเสียค่าทดแทนปีละไม่น้อยกว่า1,500,000 บาท ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 ขอถอนฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นอนุญาต โจทก์และจำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นกว้าง 6 เมตร ตามแนวถนนที่โจทก์ได้ทำขึ้นในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาในกรณีฉุกเฉินให้จำเลยทั้งสองยอมให้โจทก์วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าโทรศัพท์ และสาธารณูปโภคอย่างอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองตามแนวทางจำเป็น ให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยทั้งสองเป็นรายปีละ 300,000 บาทต่อคน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 1116 ตำบลปากเกร็ด (บ้านวัดบ่อ)อำเภอปากเกร็ด (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรี เนื้อที่14 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา โจทก์ซื้อมาจากเจ้าของเดิมเมื่อปี 2533 โดยเห็นมาก่อนว่าเป็นที่ดินที่ถูกล้อมโดยที่ดินของผู้อื่นไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 194697 ตำบลปากเกร็ด (บ้านวัดบ่อ)อำเภอปากเกร็ด (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ 11 ไร่ 62 ตารางวา จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 120097,13875 และ 13876 ตำบลปากเกร็ด (บ้านวัดบ่อ)อำเภอปากเกร็ด (ตลาดขวัญ) จังหวัดนนทบุรี ที่ดินของโจทก์อยู่ติดกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ทางทิศเหนือ ถัดจากที่ดินของจำเลยที่ 1 ทางด้านทิศใต้เป็นที่ดินของจำเลยที่ 2 ซึ่งติดกับถนนติวานนท์ ซึ่งเป็นทางสาธารณะปรากฏตามแผนที่เอกสารหมาย จ.19 บริษัทบี ซี ดับเบิ้ลยู จำกัด โดยโจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจคนหนึ่งจดทะเบียนเช่าที่ดินของจำเลยที่ 2ทั้งสามแปลงมีกำหนด 20 ปี โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวมาเพื่อประกอบธุรกิจก่อสร้างโรงแรมหรือบ้านพักชั่วคราวเพื่อขายหรือให้เช่าแก่บุคคลทั่วไป คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในประการแรกว่าโจทก์มีสิทธิขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองได้หรือไม่โดยจำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์สามารถใช้ทางออกด้านอื่นสู่ถนนสาธารณะได้โดยไม่ต้องผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ถึง5 ทาง กล่าวคือ ทางที่หนึ่งออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านที่ดินของผู้อื่นไปทางหมู่บ้านสรานนท์ แล้วใช้ถนนหมู่บ้านออกสู่ถนนติวานนท์ ทางที่สองออกไปทางทิศเหนือเข้าสู่ถนนของการเคหะแห่งชาติออกถนนติวานนท์ ทางที่สามออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางรั้วของการเคหะแห่งชาติผ่านช่องว่างระหว่างรั้วเข้าสู่ถนนของการเคหะแห่งชาติออกถนนติวานนท์ทางที่สี่และที่ห้าออกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านแนวตะเข็บที่ดินและที่ดินของบริษัทสหวิบูลย์ธนกิจ จำกัด ข้ามสะพานไม้สำหรับคนเดินข้ามคลองทองหลางออกสู่ถนนสาธารณะและออกถนนติวานนท์ ส่วนจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์สามารถออกจากที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศเหนือผ่านเข้าไปยังถนนของการเคหะแห่งชาติ และอีกเส้นทางผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 แล้วหักเลี้ยวเข้าเส้นทางกลางที่ดินโฉนดเลขที่ 1111 ซึ่งเป็นทางภารจำยอมออกสู่ถนนติวานนท์ บริเวณข้างสถานีจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านเข้ามาในที่ดินของจำเลยที่ 2 นั้น เห็นว่าเส้นทางต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างมานั้น ก็เป็นเส้นทางที่โจทก์จะต้องผ่านเข้าไปในที่ดินบุคคลอื่นหลายรายเช่นกันจึงจะออกสู่ถนนติวานนท์ ซึ่งเป็นถนนสาธารณะได้โดยเส้นทางที่หนึ่งจะต้องผ่านคันดินของผู้อื่นแล้วเลียบกำแพงของหมู่บ้านสรานนท์ไปเรื่อย ๆ จนถึงถนนของหมู่บ้านไปสู่ถนนติวานนท์ประมาณ 100 เมตร และไม่ปรากฏว่าทางเลียบกำแพงของหมู่บ้านเป็นระยะทางเท่าใด แต่หมู่บ้านได้ทำรั้วขนาดสูงประมาณเอวกั้นรอบจดติดถนนติวานนท์ไว้ ทั้งถนนในหมู่บ้านก็มิใช่ถนนสาธารณะแต่อย่างใด เส้นทางที่สองและที่สามจะต้องผ่านรั้วของการเคหะแห่งชาติและใช้ถนนของการเคหะแห่งชาติซึ่งมิใช่ถนนสาธารณะ เช่นกันและใช้ระยะทางประมาณ 400 ถึง 500 เมตร จึงจะออกสู่ถนนติวานนท์ได้ ส่วนเส้นทางที่สี่และที่ห้านั้นเมื่อผ่านที่ดินของบริษัทสหวิบูลย์ธนกิจ จำกัด ระยะทางประมาณ 80 เมตรและ 84 เมตร ตามลำดับแล้วก็ต้องข้ามคลองทองหลางมีสะพานไม้สำหรับคนเดินข้ามและเมื่อข้ามคลองไปแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีเส้นทางที่จะออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกตามภาพถ่ายหมาย ล.18 ส่วนเส้นทางที่ผ่านกลางที่ดินโฉนดเลขที่ 1111 ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าเป็นทางภารจำยอม ได้ความจากคำเบิกความของนาวาเอกถวิล เมืองเจริญพยานจำเลยทั้งสองตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า ทางดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของบุตรพยาน 6 คนมิใช่ทางสาธารณะหากโจทก์หรือบุคคลอื่นขอใช้ต้องขออนุญาตจากเจ้าของรวมทั้ง 6 คน จึงเป็นทางส่วนบุคคลที่เจ้าของหวงแหนอยู่ และเป็นเส้นทางที่ไกลกว่าทางที่จะตัดผ่านออกมาทางที่ดินของจำเลยทั้งสองตามคำเบิกความของนายวิรัตน์ มาภักดี พยานจำเลยที่ 2 ตอบทนายโจทก์ถามค้าน เห็นว่า เส้นทางตรงที่ผ่านที่ดินจำเลยที่ 1 เป็นระยะทาง180 เมตร แล้วหักเลี้ยวผ่านที่ดินจำเลยที่ 2 อีกประมาณ 30 เมตรก็ถึงถนนติวานนท์ ตามแผนที่เอกสารหมาย จ.19 จึงเป็นเส้นทางที่ใกล้และสะดวกที่สุด อีกทั้งตามสภาพที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นบ่อและที่ว่างเปล่าบางส่วนใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาและเล้าไก่ในส่วนที่โจทก์ขอตัดถนนผ่านก็ไม่ได้ผ่านไปตรงที่เล้าไก่และที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นที่ว่างเปล่าและให้โจทก์เช่าอยู่แล้วจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองเสียหายมากนัก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้โจทก์มีสิทธิขอเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองได้ชอบแล้ว ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการต่อมามีว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดทางจำเป็นกว้าง 6 เมตร เกินความจำเป็นของโจทก์หรือไม่ เนื่องจากโจทก์สามารถใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้โดยใช้ความกว้างของถนนไม่เกิน 2 ถึง 3 เมตร โจทก์ก็สามารถใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้โดยสะดวกและเสียหายน้อยกว่านั้น เห็นว่าโจทก์ฟ้องและนำสืบฟังได้ว่า โจทก์ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อประกอบธุรกิจก่อสร้างโรงแรมและบ้านพักชั่วคราว เพื่อขายหรือให้เช่า เจือสมกับคำเบิกความของนาวาเอกถวิล พยานจำเลยทั้งสองตอบทนายโจทก์ถามค้านว่าโจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวเพื่อที่จะสร้างเป็นโรงแรมพักอาศัย และพยานยังเบิกความต่อมาว่าธุรกิจดังกล่าวทางที่จะออกถนนติวานนท์จะต้องกว้างประมาณ 8 ถึง 12 เมตร และนายวิรัตน์พยานจำเลยที่ 2 เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านเช่นเดียวกันว่า โจทก์เช่าที่ดินจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิจการโรงแรมทางที่จะทำเข้านั้นคงจะกว้างประมาณ 6 เมตร เห็นว่า การทำธุรกิจโรงแรมผู้ที่มาพักอาศัยจะต้องใช้รถยนต์เป็นส่วนมากและจะต้องแล่นเข้าออกสวนกันเป็นประจำ รถยนต์แต่ละคันกว้างประมาณ 2 เมตรเศษ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดทางจำเป็นกว้าง 6 เมตร เหมาะสมแล้ว ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการต่อมามีว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดค่าทดแทนให้แก่จำเลยทั้งสองปีละ 300,000 บาท และค่าทดแทนเนื่องจากทำถนนในทางให้แก่จำเลยที่ 150,000 บาท เหมาะสมหรือไม่ สำหรับค่าทดแทนเป็นรายปีนั้นได้ความว่า บริษัทบี ซี ดับเบิ้ลยู จำกัด ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการและเป็นผู้เช่าที่ดินของจำเลยที่ 2 เพื่อประกอบธุรกิจโรงแรมและใช้เป็นที่จอดรถสำหรับลูกค้าที่กำหนดเวลา 20 ปี คิดค่าเช่าเป็นรายปี ๆ ละ 170,000 บาท เท่านั้น ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดค่าทดแทนให้จำเลยทั้งสองปีละ 300,000 บาท จึงเหมาะสมแล้ว ส่วนค่าทดแทนเนื่องจากการทำถนนในที่ดินของจำเลยที่ 1 นั้นเห็นว่า แม้ที่ดินส่วนนี้โจทก์ทำเป็นถนนทางจำเป็นล้ำเข้าไปในบ่อปลามีเพียงเล็กน้อย ที่ดินบริเวณอื่นของจำเลยที่ 1 ยังเหลืออยู่เป็นบริเวณกว้าง ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถยังทำประโยชน์ได้อยู่อีกมากก็ตาม แต่เมื่อมีรถยนต์ผ่านเข้าออกเป็นจำนวนมากทุก ๆ วันเป็นประจำย่อมก่อให้เกิดเสียงรบกวนแก่ปลาและไก่ทำให้ปลาและไก่ตื่นตกใจไม่เจริญเติบโตตามปกติและถึงแก่ความตายได้เป็นเหตุให้ไม่สามารถเลี้ยงปลาและไก่ได้เหมือนเดิม ประกอบกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ราคาไร่ละ 16 ถึง 20 ล้านบาทที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดค่าทดแทนเนื่องจากการทำถนนในที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้จำนวน 50,000 บาท นั้นน้อยไป ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้จำนวน 100,000 บาท ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการสุดท้ายมีว่าโจทก์มีสิทธิวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสาธารณูปโภคอย่างอื่นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสองหรือไม่เห็นว่า แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 เป็นบทบัญญัติบังคับให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินต้องยอมให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวได้เมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้วและคดีนี้โจทก์จะมิได้เสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยทั้งสองก็ตามศาลฎีกาเห็นว่า กรณีของโจทก์เป็นการขอวางไปตามแนวทางจำเป็นซึ่งจำเลยทั้งสองมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนทางจำเป็นอยู่แล้ว ซึ่งมิได้เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองในส่วนที่ตกเป็นทางจำเป็นแต่ประการใดแต่กลับจะเป็นประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยทั้งสองและที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่มีท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมอีกด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องยอมให้โจทก์วางท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคอย่างอื่นผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสอง ส่วนค่าทดแทนนั้นได้กำหนดรวมอยู่ในค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็น ซึ่งได้วินิจฉัยไว้แล้ว พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนเนื่องจากทำถนนในทางแก่จำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 |