ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การคัดค้านการรังวัดแนวเขตที่ดิน, ครอบครองปรปักษ์, ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์

 ท นาย อาสา ฟรี

 เพิ่มเพื่อนไลน์แชทกับทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ

ปรึกษากฎหมายทางแชทไลน์

•  ครอบครองปรปักษ์

•  สิทธิในที่ดินพิพาท

•  ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์

•  กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

•  การอ้างสิทธิในที่ดิน

•  การคัดค้านแนวเขตที่ดิน

สรุป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2567

คดีนี้เป็นกรณีการครอบครองปรปักษ์ระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าตนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยครอบครองมานานเกิน 10 ปี โดยในเบื้องต้นที่ดินดังกล่าวเคยเป็นของนายพินิจและถูกแบ่งให้จำเลยที่ 1 ก่อนที่จะถูกอ้างว่าถูกยกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งครอบครองโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงที่ปรากฏไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการครอบครองปรปักษ์ เนื่องจากจำเลยที่ 2 มิได้แสดงหลักฐานที่น่าเชื่อถือเพื่อพิสูจน์การครอบครองดังกล่าว และไม่มีการคัดค้านใดจากฝ่ายโจทก์ในช่วงเวลาดังกล่าว

โจทก์ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านแนวเขตที่ดินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด โดยเรียกร้องค่าเสียหายจากการบุกรุกที่ดิน จำเลยที่ 1 ขอให้ยกฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งเพื่อขอให้ตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านและชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนคำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ถูกยก ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นกำหนดค่าขึ้นศาลเพิ่มเติม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าดังกล่าว ศาลจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบ จำเลยที่ 2 ฎีกาและได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาพิพากษาว่า ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำฟ้องแย้งเพื่อตรวจสอบต่อไป แต่ท้ายที่สุดคำให้การและหลักฐานของจำเลยที่ 2 ไม่มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานทางกฎหมายว่าโจทก์ยังคงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ศาลฎีกาจึงพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 6 โดยให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าทนายความชั้นฎีกาแทนโจทก์

•  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373

มาตรา 1373 กล่าวถึง "ข้อสันนิษฐาน" เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่มีโฉนดหรือเอกสารสิทธิที่ออกโดยเจ้าพนักงานรัฐ หากเอกสารนั้นยังคงถูกต้องและไม่ได้ถูกคัดค้านตามกระบวนการทางกฎหมาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อในเอกสารเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น กฎหมายมาตรานี้ช่วยให้ผู้ที่ถือเอกสารสิทธิได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน โดยฝ่ายที่คัดค้านต้องมีภาระในการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเลยที่ 2 ต้องทำในคดีนี้

•  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599

มาตรา 1599 อธิบายเกี่ยวกับการถ่ายโอนสิทธิในทรัพย์มรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของทรัพย์เสียชีวิต กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นจะตกเป็นของทายาทตามกฎหมายหรือผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดก ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้รับการโอนสิทธิในที่ดินพิพาทจากนายพินิจตามสิทธิของทายาท ทำให้โจทก์มีฐานะที่ถูกต้องตามกฎหมายในการปกป้องสิทธิในที่ดินพิพาท

•  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

มาตรา 1382 อธิบายหลักการ "ครอบครองปรปักษ์" ซึ่งเป็นสิทธิที่เกิดจากการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นโดยสงบ เปิดเผย และมีเจตนาเป็นเจ้าของต่อเนื่องกันเป็นเวลา 10 ปี การครอบครองนี้ต้องไม่มีการทักท้วงหรือขัดขวางจากเจ้าของเดิม หากทำได้ครบ 10 ปี ผู้ครอบครองสามารถยื่นขอกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นได้ ในคดีนี้จำเลยที่ 2 อ้างว่าครอบครองที่ดินมานานกว่า 10 ปีและขอกรรมสิทธิ์ตามหลักการนี้ แต่หลักฐานไม่เพียงพอทำให้ข้ออ้างไม่เป็นผล

•  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127

มาตรา 127 กำหนดหลักการที่เกี่ยวกับการพิจารณาคดีในเรื่องของข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย กล่าวคือ หากมีข้อสันนิษฐานว่าเอกสารหรือการกระทำใดถูกต้อง ฝ่ายที่คัดค้านหรือโต้แย้งต้องมีภาระในการพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานนั้น เช่น ในกรณีนี้ โฉนดที่ดินของโจทก์ที่ได้รับจากนายพินิจได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งทำให้จำเลยที่ 2 ต้องมีภาระในการพิสูจน์เพื่อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ แต่เนื่องจากหลักฐานไม่หนักแน่นพอ คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2567

ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ให้การว่า เดิมที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 2 คัดค้านเป็นของ พ. ที่ขายให้จำเลยที่ 1 และ อ. โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วบุคคลทั้งสองยกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยที่ 2 จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นเพียงการบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่มาของการที่จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท หากข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทในโฉนดที่ดินของ พ. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี ก็อาจได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ให้การยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มาแต่ต้น อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เองได้ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการครอบครองปรปักษ์

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านและรับรองแนวเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ที่รังวัดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน หากไม่รื้อถอนให้โจทก์รื้อถอนโดยให้จำเลยที่ 1 ออกค่าใช้จ่าย ห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารยุ่งเกี่ยวกับที่ดิน กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 68,400 บาท และค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 5,700 บาท แก่โจทก์ นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะถอนคำคัดค้านและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาท

จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง

จำเลยที่ 2 ให้การและฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้อง และพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ห้ามมิให้โจทก์และบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินในส่วนของจำเลยที่ 2 อีกต่อไป

โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ให้จำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านการรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ที่รังวัดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2559 หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ห้ามจำเลยทั้งสองและบริวารยุ่งเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหาย 66,600 บาท และค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 5,550 บาท นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 3 ตุลาคม 2560) เป็นต้นไปแก่โจทก์จนกว่าจำเลยที่ 2 จะถอนคำคัดค้านหรือมีการถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 45,000 บาท คำขออื่นให้ยก ยกฟ้องแย้ง ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนฟ้องแย้งให้เป็นพับ

จำเลยที่ 2 อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แต่จำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่ม ศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 2 ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทตามคำฟ้องเดิมและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ไว้พิจารณาและพิพากษาต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนนี้ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 รวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ทั้งในส่วนฟ้องและฟ้องแย้งแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท

จำเลยที่ 2 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่มิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์เป็นภริยาของนายพินิจ เดิมนายพินิจและนายธวัชชัย ร่วมกันประกอบกิจการโรงงานทำตะเกียบอยู่ในที่ดินซึ่งไม่มีหลักฐานสำหรับที่ดิน เมื่อเลิกกิจการนายธวัชชัยได้ที่ดินส่วนที่เป็นที่ตั้งโรงงาน นายพินิจได้ที่ดินส่วนที่เหลือ วันที่ 24 สิงหาคม 2538 เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินเลขที่ 10646 เนื้อที่ 45 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา ให้แก่นายพินิจ โดยทิศตะวันตกติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 9854 เนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 93 ตารางวา ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2537 ส่วนทิศตะวันออกติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 10644 เนื้อที่ 34 ไร่ 3 งาน 8 ตารางวา ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2537 วันที่ 3 มกราคม 2543 นายพินิจถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายพินิจ เมื่อปี 2555 โจทก์ยื่นคำร้องขอสอบเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 พบว่าจำเลยที่ 1 กับบริวารบุกรุกที่ดินทั้งแปลงโดยปลูกต้นยางพาราเต็มพื้นที่ จึงฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 กับบริวารและเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นฟังว่า ที่ดินเป็นของนายพินิจและพิพากษาขับไล่จำเลยที่ 1 กับบริวารออกจากที่ดิน กับให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษา คดีถึงที่สุดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ตามคดีหมายเลขแดงที่ 495/2556 ของศาลชั้นต้น วันที่ 9 ธันวาคม 2558 โจทก์ขอรังวัดสอบเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 อีกครั้ง จำเลยที่ 1 คัดค้านแนวเขต มีเนื้อที่ 3 งาน 79.4 ตารางวา จำเลยที่ 2 คัดค้านแนวเขต มีเนื้อที่ 27 ไร่ 3 งาน 8.5 ตารางวา โดยมีต้นยางพาราปลูกอยู่เต็มพื้นที่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งคู่ความไม่อุทธรณ์ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการครอบครองปรปักษ์ และจำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 เนื้อที่ 27 ไร่ 3 งาน 8.5 ตารางวา ที่พิพาท ตามแนวเขตเส้นสีน้ำเงิน โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เห็นว่า ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ให้การว่า เดิมที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 2 คัดค้านเป็นของนายพินิจที่ขายให้จำเลยที่ 1 และนายอนุมัติ โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วบุคคลทั้งสองยกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยที่ 2 จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นเพียงการบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่มาของการที่จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท หากข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทในโฉนดที่ดินของนายพินิจ โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี ก็อาจได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ให้การยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มาแต่ต้น อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เองได้ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกา แต่โฉนดที่ดินเลขที่ 10646 ที่มีชื่อนายพินิจเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าที่ดินพิพาทเป็นของนายพินิจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ประกอบมาตรา 1599 จำเลยที่ 2 จึงมีภาระในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 จำเลยที่ 2 ให้การว่า นายพินิจขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และนายอนุมัติ โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วบุคคลทั้งสองยกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปี นั้น จำเลยที่ 2 มิได้อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว ที่นายอิฐิรัตน์ ผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานจำเลยที่ 2 ว่า พยานเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เลี้ยงวัว เมื่อปี 2548 พยานเข้าไปเลี้ยงวัวในที่ดินโฉนดเลขที่ 9854 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงปลูกต้นยางพารา จำเลยที่ 2 เคยแจ้งอาณาเขตของที่ดินว่าตั้งอยู่บนที่ราบสูง จำเลยที่ 2 สมัครเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราต่อหน่วยงานราชการ พยานเริ่มปลูกต้นยางพาราในที่ดินของจำเลยที่ 2 เมื่อปี 2549 จนถึงปัจจุบันตามแนวเขตเส้นสีเทาและแนวเขตเส้นสีน้ำเงิน โดยไม่เคยมีใครคัดค้านพื้นที่ดังกล่าว อันเป็นการรู้เห็นในช่วงของการเลี้ยงวัวและปลูกต้นยางพาราในที่ดินโฉนดเลขที่ 9854 ของจำเลยที่ 2 ในปี 2549 เป็นต้นมาเท่านั้น นายอิฐิรัตน์หาได้รู้เห็นถึงเรื่องราวของการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2 ให้การตั้งเป็นประเด็นไว้ ที่จำเลยที่ 2 สมัครเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราต่อหน่วยงานราชการ ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำไปเข้าร่วมโครงการก็โดยการอ้างถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 10645 และ 9854 เนื้อที่รวมประมาณ 32 ไร่ และประสงค์เข้าร่วมโครงการในที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ 30 ไร่ มิใช่เป็นการนำที่ดินพิพาทไปเข้าร่วมโครงการแต่อย่างใด กับไม่อาจที่จะกระทำได้เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์และไม่มีสิทธิพิเศษใดเหนือที่ดินพิพาท ที่นายอิฐิรัตน์รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ขอความอนุเคราะห์จากการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดพิษณุโลกให้ทำการตรวจสอบแปลงยางเพื่อหาอายุของต้นยางพาราที่ปลูกว่ามีอายุมากกว่า 10 ปี เป็นการตรวจสอบแปลงยางพาราในที่ดินโฉนดเลขที่ 9854 มิใช่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ของโจทก์เช่นกัน นอกจากนี้ การที่โจทก์เคยรังวัดสอบเขตเมื่อปี 2555 แล้วพบว่าจำเลยที่ 1 กับบริวารบุกรุกที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ทั้งแปลง จึงยื่นฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 กับบริวารเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2555 และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตามคดีหมายเลขแดงที่ 495/2556 ของศาลชั้นต้น โดยไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยด้วย และจำเลยที่ 2 เองมิได้ร้องสอดเข้าไปในคดีเพื่อให้ได้รับความรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนทั้งในเรื่องของที่ดินและต้นยางพาราที่ปลูกไว้ อันมิใช่วิสัยของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินจะพึงละเลยเช่นนี้ได้ ทั้งยังทำให้เห็นว่าเป็นเพราะในช่วงปี 2555 มีเพียงจำเลยที่ 1 กับบริวารที่เข้าไปบุกรุกที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 ด้วยการปลูกต้นยางพาราเต็มทั้งแปลง จำเลยที่ 2 ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 10646 และในขณะนั้นอายุของต้นยางพาราก็น่าจะยังไม่สูงนัก จึงน่าเชื่อว่าต้นยางพาราในที่ดินพิพาทตามที่จำเลยที่ 2 อ้างในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นคนปลูกคือต้นยางพาราที่เคยเป็นข้อพิพาทกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีหมายเลขแดงที่ 495/2556 ของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยที่ 1 หรือบริวารปลูกไว้มาแต่เดิมมากกว่า มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 เข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทด้วยการปลูกต้นยางพารามาตั้งแต่ปี 2549 ข้อที่จำเลยที่ 2 นำสืบอ้างว่า จำเลยที่ 2 เข้าครอบครองและปลูกต้นยางพาราในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ตามที่เคยขอเข้าร่วมโครงการต่อหน่วยงานราชการและการตรวจสอบอายุต้นยางพารา จึงไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง ทั้งระหว่างโจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 กับบริวารที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ย่อมไม่อาจที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 และบริวารได้ครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยความสงบระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นความกันในคดีดังกล่าวได้ และแม้หากจำเลยที่ 2 จะเข้าครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อมาจากจำเลยที่ 1 อย่างเร็วที่สุดก็ต้องเริ่มระยะเวลานับแต่คดีหมายเลขแดงที่ 495/2556 ของศาลชั้นต้น ถึงที่สุดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2560 ยังไม่ถึง 10 ปี จำเลยที่ 2 ย่อมไม่อาจที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ไม่ว่าในทางใด พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ประกอบมาตรา 1599 ได้ คดีฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 20,000 บาท แทนโจทก์

 



ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

ทำให้สิทธิภาระจำยอมเสื่อมความสะดวก, บังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, การเพิกถอนภาระจำยอม,
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนทางจำเป็น, อายุความฟ้องร้องค่าทดแทน 10 ปี, หลักเกณฑ์การเปิดทางจำเป็น,
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ
ภาระจำยอมไม่มีการใช้ประโยชน์เกินกว่า 10 ปีย่อมระงับสิ้นไป
โจทก์ฟ้องขอให้ชดใช้ค่าทดแทนที่ดินเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่ถูกฟ้องเปิดทางจำเป็น
การนับเวลาการครอบครองเป็นปรปักษ์ที่งอกริมตลิ่ง
ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น
มารดาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยคำสั่งให้บุตรเป็นคนสาบสูญ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม