ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)

 ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3 (ต่อ)

18.  คำพิพากษาฎีกาที่  4300/2543  เมื่อการดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด  น.เป็นการจัดสรรที่ดิน  ทางเท้า  ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้า  และถนนคอนกรีตซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286  ข้อ 30 วรรคหนึ่ง  แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมนั้นสิ้นไป
 
ป.พ.พ. มาตรา 448, 1387, 1477
ประกาศของคณะปฏิวัติ

          อ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยจำนวน 158 แปลง แล้วต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ซื้อที่ดินที่ อ. แบ่งแยกไว้มาจัดจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป การขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ส่วนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก การที่ไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินดังกล่าวกลับไม่เป็นการจัดสรรที่ดิน

           เมื่อการดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น.เป็นการจัดสรรที่ดินทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้า และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายก็ไม่ทำให้ภารจำยอมนั้นสิ้นไป

           แม้ฟ้องของโจทก์จะเกี่ยวกับการจัดการสินสมรส แต่ตามมาตรา 1477 บัญญัติให้คู่สมรสฟ้องหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

           ตราบใดที่กำแพงคอนกรีตหรือวัสดุอื่นใดในภารยทรัพย์ยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่เจ้าของสามยทรัพย์ เจ้าของสามยทรัพย์ย่อมฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ได้แม้จะเกินหนึ่งปีนับแต่ก่อสร้างก็ไม่ขาดอายุความ

          โจทก์ทั้งสิบสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนกำแพงคอนกรีตรั้วไม้ ขนกองหินตลอดจนสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ออกจากที่ดินซึ่งเป็นภารจำยอมและปรับที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิมเพื่อให้โจทก์ทั้งสิบสี่และประชาชนได้ใช้เป็นทางเข้าออกโดยสะดวกเช่นเดิมและพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 4858 และที่ดินโฉนดเลขที่ 88964, 88965 ตำบลลาดยาว(บางซื่อฝั่งเหนือ) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร ทางส่วนซึ่งเป็นของจำเลยตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ทั้งสิบสี่ โดยให้จำเลยนำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสี่ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนในการจดทะเบียนภารจำยอมกับให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสิบสี่ เดือนละ 140,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและสิ่งของที่กีดขวางทางภารจำยอมกับปรับที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิมและจัดการจดทะเบียนภารจำยอมแก่โจทก์ทั้งสิบสี่แล้วเสร็จ

          จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
          ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ที่ 14 ขอถอนฟ้องศาลชั้นต้นอนุญาต
          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 4858ตำบลลาดยาว (บางซื่อฝั่งเหนือ) อำเภอบางเขน (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 13 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ให้จำเลยรื้อถอนกำแพงคอนกรีตกับขนย้ายวัสดุที่กองอยู่บนที่ดินดังกล่าวและปรับสภาพที่ดินให้กลับสู่สภาพเดิมให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 13 เดือนละ 50,000 บาทนับถัดจากวันฟ้อง (1 กรกฎาคม 2535) เป็นต้นไปจนกว่าจะรื้อถอนกำแพงกับขนย้ายวัสดุและปรับสภาพที่ดินโฉนดเลขที่ 4858 ให้กลับสู่สภาพเดิม กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
          จำเลยอุทธรณ์

          ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 ที่ 8 และที่ 12กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล
          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ค่าเสียหายที่ให้จำเลยชำระแก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 13 ให้ยกเสีย และระหว่างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 ที่ 8 และที่ 12 กับจำเลยให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแต่ละฉบับท้ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          จำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในข้อแรกว่า ที่ดินพิพาทแปลงโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.11 ซึ่งเป็นที่ดินที่มีทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้าและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 7 ที่ 9 ถึงที่ 11 และที่ 13 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหรือไม่ เห็นว่า ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 นั้น มีใจความสำคัญว่า "ข้อ 1""การจัดสรรที่ดิน" หมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย มีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเป็นค่าตอบแทนและมีการให้คำมั่นหรือการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ หรือปรับปรุงให้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยที่ประกอบการพาณิชย์หรือที่ประกอบอุตสาหกรรม "ผู้จัดสรรที่ดิน" หมายความว่าผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน" "ข้อ 30 สาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เช่น ถนนสวนสาธารณะสนามเด็กเล่นให้ดีกว่าตกอยู่ในภารจำยอมเมื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรและให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป และจะกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้" คดีนี้เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามที่กล่าวมาข้างต้นว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอน.เอส. คอนสทรัคชั่นซึ่งได้ซื้อที่ดินที่นายเอกแบ่งแยกไว้จำนวน 158 แปลง แล้วได้ทำโครงการศูนย์การค้าโดยปลูกสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินที่นายเอกแบ่งแยกเพื่อขายพร้อมที่ดินแก่บุคคลทั่วไปตามใบโฆษณาเอกสารหมาย จ.20และผังอาคารพาณิชย์เอกสารหมาย จ.21 ซึ่งตามใบโฆษณาและผังอาคารพาณิชย์ดังกล่าวได้เว้นที่ไว้ตรงกลางเป็นตลาดผ้าและตลาดสด รอบตลาดผ้าและตลาดสดมีถนนล้อมรอบ จึงเป็นกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอน.เอส. คอนสทรัคชั่น ได้จัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนเกินกว่าสิบแปลงโดยการขายแก่บุคคลทั่วไป และให้คำมั่นโดยการประกาศในใบโฆษณาเอกสารหมายจ.20 และผังอาคารพาณิชย์เอกสารหมาย จ.21 ว่า จะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะโดยให้มีน้ำ ไฟ และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กหน้า อาคารพาณิชย์ทุกคูหา การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามคำนิยามของคำว่าการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 1 ดังกล่าวข้างต้นการดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด เอน.เอส. คอนสทรัคชั่นจึงเป็นการจัดสรรที่ดินทั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพียงแต่บัญญัติว่า การจัดสรรที่ดินหมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใดโดยมิได้มีข้อกำหนดว่าผู้จัดสรรที่ดินที่ทำการจัดสรรที่ดินต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันกับผู้ที่ทำการแบ่งแยกที่ดินที่นำมาจัดสรร ดังนี้แม้นายเอกเจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยจำนวน 158 แปลงแล้ว ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด เอน.เอส. คอนสทรัคชั่นซื้อที่ดินที่นายเอกแบ่งแยกไว้ทั้งหมดนำมาจัดจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปก็หาทำให้การดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด เอน.เอส.คอนสทรัคชั่น ตามที่กล่าวมาข้างต้นไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวตามที่จำเลยอ้างในฎีกาไม่ ส่วนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเอน.เอส. คอนสทรัคชั่น จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากห้างหุ้นส่วนจำกัด เอน.เอส. คอนสทรัคชั่น จะดำเนินการฝ่าฝืนโดยไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัดเอน.เอส. คอนสทรัคชั่น กลับไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวตามที่จำเลยอ้างในฎีกาแต่อย่างใดเช่นกันเมื่อการดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด เอน.เอส. คอนสทรัคชั่นเป็นการจัดสรรที่ดินดังวินิจฉัยมาแล้ว ทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้าและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทแปลงโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.11 ย่อมตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ฉะนั้น ที่ดินพิพาทแปลงโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.11 ซึ่งเป็นที่ดินที่สาธารณูปโภคดังกล่าวก่อสร้างในที่ดินย่อมตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินในโครงการทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของโจทก์ที่ 7 ที่ 9 ถึงที่ 11 และที่ 13 แปลงโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.45 จ.14 ถึง จ. 16 จ.35 และจ.23โดยผลแห่งกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวแม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทแปลงโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.11 จากบริษัทอาเซียนพัฒนาการ จำกัด ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอน. เอส.คอนสทรัคชั่น ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ตามที่จำเลยนำสืบอันเป็นทำนองอ้างว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ทำให้ภารจำยอมนั้นสิ้นไป จำเลยจึงต้องรับภาระตามกฎหมายดังกล่าวด้วย เมื่อวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว ข้อที่จำเลยฎีกาในปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหานี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยอีกต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลคดีที่วินิจฉัยมาเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในข้อต่อไปมีว่า จำเลยกระทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกหรือไม่และโจทก์ทั้งสิบสี่ ที่ 7 ที่ 9 ถึงที่ 11 และที่ 13 มีอำนาจฟ้องหรือไม่เห็นว่า เมื่อวินิจฉัยมาดังกล่าวแล้วว่า ที่ดินพิพาทแปลงโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.11 ซึ่งเป็นที่ดินที่สาธารณูปโภคก่อสร้างในที่ดินเป็นภารจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 โจทก์ที่ 7 ที่ 9ถึงที่ 11 และที่ 13 ซึ่งซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ในที่ดินจัดสรรดังกล่าวย่อมมีสิทธิใช้ประโยชน์แห่งภารจำยอม และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่ามีการกั้นรั้วสังกะสีบนถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างในที่ดินพิพาทแปลงโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.11 แล้วต่อมาได้สร้างเป็นกำแพงคอนกรีตยาวตลอดแนวตามเส้นสีแดงในแผนที่สังเขปเอกสารหมาย จ.13 ทำให้ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กดังกล่าวแคบลงไม่ว่าจะเหลือเพียงประมาณ 6 เมตร ตามที่ฝ่ายโจทก์นำสืบ หรือประมาณ 8 เมตร ตามที่จำเลยนำสืบก็เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ทำให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ที่ 7 ที่ 9 ถึงที่ 11 และที่ 13 ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องให้ปลดเปลื้องความเสียหายดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่ายังมีผู้อื่นทำให้โจทก์ทั้งหมดดังกล่าวเสื่อมประโยชน์ในการใช้ภารยทรัพย์และโจทก์ทั้งหมดดังกล่าวได้ฟ้องบุคคลเหล่านั้นตามที่จำเลยอ้างในฎีกาหรือไม่ เมื่อวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว ข้อที่จำเลยฎีกาในปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหานี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยอีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลคดีที่วินิจฉัยมาเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ส่วนข้อที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 9 และที่ 13 ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสนั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 ได้บัญญัติให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งดังนั้น ที่โจทก์ที่ 9 และที่ 13 ฟ้องคดีนี้แม้จะเกี่ยวด้วยการจัดการสินสมรสตามที่จำเลยอ้าง โจทก์ที่ 9 และที่ 13 ก็มีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในข้อสุดท้ายมีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เห็นว่า ที่ดินจำเลยแปลงโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.11 ตกเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโจทก์ที่ 7ที่ 9 ถึงที่ 11 และที่ 13 แปลงโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.45 จ.14ถึง จ.16 จ.35 และ จ.23 โดยผลกฎหมายดังวินิจฉัยมาข้างต้น ฉะนั้นตราบใดที่กำแพงคอนกรีตหรือวัสดุอื่นใดที่จำเลยสร้างหรือทำลงในภารยทรัพย์เป็นเหตุให้ประโยชน์การใช้สอยภารยทรัพย์ของโจทก์ที่ 7 ที่ 9ถึงที่ 11 และที่ 13 ย่อมสามารถฟ้องบังคับให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตและขนย้ายวัสดุที่จำเลยสร้างหรือทำลงในภารยทรัพย์นั้นได้ ฉะนั้นแม้โจทก์ที่ 7 ที่ 9 ถึงที่ 11 และที่ 13 จะฟ้องจำเลยเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยอ้างว่ารั้วถูกก่อสร้างในปี 2527 และถูกสร้างเพิ่มเติมในปี 2533 ฟ้องโจทก์ที่ 7 ที่ 9 ถึงที่ 11 และที่ 13 ก็ไม่ขาดอายุความตามที่จำเลยอ้าง ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน"

          พิพากษายืน

         
19.  คำพิพากษาฎีกาที่ 404/2544  แม้โจทก์ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธ์ในที่ดิน เมื่อคำนวณถึงวันที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกยังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์มานาน  20 ปีแล้ว แสดงว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกตั้งแต่อาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวจนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน  เมื่อนับระยะเวลาทั้งสองตอนติดต่อกันแล้วเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความแก่โจทก์  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401

ป.พ.พ. มาตรา 1401

          แม้โจทก์ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินเมื่อคำนวณถึงวันที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกยังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์มานาน 20 ปีแล้ว แสดงว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกตั้งแต่อาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวจนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน เมื่อนับระยะเวลาทั้งสองตอนติดต่อกันแล้วเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401

          โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 96535ตำบลสีกัน (ทุ่งสองห้อง) อำเภอบางเขน (ตลาดขวัญ) กรุงเทพมหานครของจำเลยส่วนที่แรเงาสีด้วยสีเหลืองตามแผนที่สังเขป เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 เป็นทางสาธารณประโยชน์และเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ทั้งสาม ให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินดังกล่าวแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 103696, 108875 และ 42734 ตำบลทุ่งสองห้อง อำเภอบางเขน (ตลาดขวัญ) กรุงเทพมหานคร หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้จำเลยรื้อรั้วกำแพงหรือสิ่งอื่นใดที่ปิดกั้นทางพิพาทและจัดทำให้ทางพิพาทมีสภาพใช้ได้ตามปกติ หากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์ดำเนินการโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

          จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 96535 ตำบลสีกัน (ทุ่งสองห้อง)อำเภอบางเขน (ตลาดขวัญ) กรุงเทพมหานคร กว้าง 4 เมตร ยาว 50 เมตรจากด้านทิศใต้ไปทิศเหนือ ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินดังกล่าวตามแผนผังเอกสารหมาย จ.2 ในส่วนที่แรเงาด้วยสีเหลืองตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 103696 108875 และ 42734 ตำบลทุ่งสองห้อง อำเภอบางเขน(ตลาดขวัญ) กรุงเทพมหานคร ของโจทก์ทั้งสาม ให้จำเลยรื้อรั้วกำแพงหรือสิ่งอื่นใดที่ปิดกั้นทางพิพาทออกและจัดทำให้อยู่ในสภาพใช้ได้ตามปกติให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสาม โดยกำหนดค่าทนายความให้โจทก์ทั้งสามคนละ 1,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก

          โจทก์ทั้งสามและจำเลยอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ทางพิพาทไม่เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสาม แต่เป็นทางสาธารณะให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นออกไปจากทางพิพาทและทำให้ทางพิพาทกลับอยู่ในสภาพเดิม ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ คำขอของโจทก์นอกจากนี้ให้ยกนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          โจทก์ทั้งสามและจำเลยฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่คู่ความไม่โต้แย้งกันว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 96535 ตำบลสีกัน (ทุ่งสองห้อง)อำเภอบางเขน (ตลาดขวัญ) กรุงเทพมหานคร ของจำเลยกว้าง 4 เมตร ยาว50 เมตร จากทิศใต้ไปทิศเหนือ ทางทิศตะวันออกของที่ดินดังกล่าวโจทก์ที่ 1ถึงที่ 3 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 10396, 42734 และ 108875ตำบลทุ่งสองห้อง อำเภอบางเขน (ตลาดขวัญ) กรุงเทพมหานคร ตามลำดับซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของทางพิพาท ตามลักษณะของที่ตั้งที่ดินดังกล่าวและทางพิพาทในแผนที่สังเขปแสดงแนวเขตของทางพิพาทเอกสารหมาย จ.2จำเลยประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดินของจำเลยในซอยสุวรรณี 1 และ 2 ซึ่งมีแนวเขตติดต่อกับบริเวณที่ดินติดทางพิพาท สำหรับทางพิพาทจำเลยประสงค์จะให้เป็นถนนเพื่อจำเลยหวังจะซื้อที่ดินข้างในต่อไปในภายหน้าสภาพทางพิพาทในฤดูฝนมีน้ำท่วมขัง ชาวบ้านบริเวณดังกล่าวจะช่วยกันทำสะพานข้ามในส่วนที่มีน้ำท่วมทางพิพาท พอฤดูแล้งก็รื้อสะพานดังกล่าวออก

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ โจทก์ทั้งสามนำสืบแต่เพียงว่า โจทก์ทั้งสามและชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกันต่างใช้ทางพิพาทเข้าออกเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใดและไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านเท่านั้น แต่โจทก์ทั้งสามไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนให้พอเชื่อว่าจำเลยได้แสดงเจตนาสละทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะ ซึ่งจำเลยได้นำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยแสดงเจตนาสละทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะ เมื่อพิจารณาแล้วทางพิพาทก็เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพจัดสรรบ้านและที่ดินขายด้วยแล้ว จึงไม่น่าที่จะมีเจตนาสละทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าทางพิพาทไม่เป็นทางสาธารณะ ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า ทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสามหรือไม่ โจทก์ทั้งสามเบิกความทำนองเดียวกันว่า โจทก์ทั้งสามและชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกเดียวกันเป็นจำนวนมากต่างใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกไปสู่ซอยสุวรรณี 2 ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใดและไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน และก่อนฟ้องคดีนี้ 2 ถึง 3 ปีจำเลยปลูกกระต๊อบไว้ข้างทางพิพาท ความข้อนี้โจทก์มีร้อยตำรวจตรีรัตนะ อุปลาบัติ นายบุญชูพูลปรีดี นางนันทวัน เคียววานิชย์ และนางสมศรี อันสนกราน ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านข้างเคียงมาเบิกความสนับสนุน ส่วนจำเลยนำสืบถึงพฤติการณ์ในลักษณะการหวงกันการครอบครองทางพิพาทตลอดมาโดยเบิกความว่าเมื่อปี 2522 จำเลยถมทางพิพาทและปลูกบ้านเลขที่ 22/3 อยู่อาศัยกว้าง 4 เมตร คร่อมบริเวณสุดทางพิพาท นายสุรพล สุขดี บุตรของจำเลยได้มาอยู่อาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย จำเลยเคยได้รับการยกเว้นค่ากระแสไฟฟ้าจากบ้านดังกล่าวเนื่องจากน้ำท่วมตามใบแจ้งหนี้ค่ากระแสไฟฟ้า เอกสารหมาย ล.11 เมื่อปี 2526 ถึงปี 2527 มีชาวบ้านเดินลุยน้ำมาบนทางพิพาทจึงเกิดการทะเลาะวิวาทกับนายสุรพลบุตรของจำเลยเรื่องการใช้ทางพิพาทต่อมาปี 2533 จำเลยไม่ต้องการให้นายสุรพลทะเลาะกับชาวบ้านจึงรื้อบ้านดังกล่าวออกไปจากทางพิพาทและปลูกกระต๊อบให้นางดาวลูกจ้างของจำเลยดูแลทางพิพาท ด้านบนกระต๊อบมีป้ายข้อความว่าที่ดินส่วนบุคคลสงวนสิทธิติดไว้ และชาวบ้านจะแอบทำสะพานเชื่อมต่อทางพิพาทในเวลากลางคืน เมื่อจำเลยทราบก็บอกให้รื้อ หลังจากที่จำเลยย้ายออกจากทางพิพาทได้ 4 ปี จำเลยเคยให้คนงานนำรถแทรกเตอร์ไปไถทางพิพาทเพื่อไม่ให้ชาวบ้านใช้ทางพิพาทเดินผ่านมีกำนันสมชายซึ่งเป็นกำนันท้องที่ได้มาขอร้องให้หยุดทำจำเลยไม่ต้องการมีเรื่องและคนงานไม่กล้าทำต่อเพราะเกรงจะถูกชาวบ้านทำร้าย และเมื่อประมาณปี 2538 หรือปี 2539 นางสมศรีเจ้าของหมู่บ้านรัชมามาปักเสาไฟฟ้าบนทางพิพาท จำเลยจึงไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจนางสมศรียอมรื้อเสาไฟฟ้าออกไป ต่อมาปี 2539 จำเลยถมทางพิพาทและที่ดินของจำเลยทั้งสองข้างทางพิพาทเพื่อจะปลูกสร้างอพาร์ตเมนต์ เมื่อถมที่ดินเสร็จแล้วจึงสร้างรั้วล้อมรอบ โดยจำเลยมีนายมานะ ศีลประเสริฐ เพื่อนบ้านข้างเคียงและนางสาวสุวพร สุขดี บุตรของจำเลยมาเป็นพยานสนับสนุนเห็นว่า จำเลยเป็นเจ้าของหมู่บ้านจัดสรรตรงซอยสุวรรณี 1 และ 2 และเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินบริเวณทางพิพาทและทางพิพาทด้วย รวมเนื้อที่ 113 ไร่ การที่จำเลยปลูกบ้านอยู่บนทางพิพาทตรงสุดทางพิพาทโดยบ้านกว้างเพียง 4 เมตร เพื่ออยู่อาศัยร่วมกับนายสุรพลบุตรของจำเลยจึงเป็นการขัดต่อเหตุผล เพราะจำเลยมีที่ดินจำนวนมากทั้งสองข้างทางพิพาทก็มีที่ว่างเปล่าซึ่งเป็นของจำเลยและตามใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงเขตนนทบุรีสำหรับบ้านเลขที่ 22/3 เอกสารหมาย ล.11 ซึ่งมีหมายเลขเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าตรงกับแผนผังแสดงตำแหน่งบ้านเลขที่ 22/3 ที่ขอใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงเขตนนทบุรีเอกสารหมาย จ.10 แสดงว่าเป็นเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าเครื่องเดียวกัน ซึ่งนายบุญถม ทองนาค พยานโจทก์ซึ่งเป็นช่างเทคนิคสายอากาศของสำนักงานการไฟฟ้านครหลวงเขตนนทบุรีผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับบ้านที่ขอใช้ไฟฟ้าและตำแหน่งติดตั้งเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าได้เบิกความยืนยันว่า บ้านเลขที่ 22/3 ของจำเลยอยู่สุดซอยสุวรรณี 2/11 ซึ่งแยกมาจากซอยสุวรรณี 2 ห่างกันประมาณ 500 เมตรพยานปากนี้ไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดจึงเชื่อได้ว่าเบิกความไปตามความจริงอันเป็นการแสดงว่าเป็นคนละแห่งกับที่จำเลยเบิกความมา ดังนั้น พฤติการณ์ในลักษณะหวงกันการครอบครองทางพิพาทตามที่จำเลยเบิกความจึงเชื่อถือไม่ได้ ส่วนกระต๊อบข้างทางพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างให้นางดาวลูกจ้างของจำเลยอาศัยเพื่อดูแลทางพิพาทและมีป้ายข้อความว่าที่ดินส่วนบุคคลสงวนสิทธิติดอยู่ด้านบนของกระต๊อบนั้น แม้โจทก์ทั้งสามจะเบิกความยอมรับว่ามีการปลูกกระต๊อบไว้จริง แต่ก็ยืนยันว่าปลูกสร้างก่อนฟ้องคดีนี้2 ถึง 3 ปี หาใช่ปี 2533 ตามที่จำเลยเบิกความไม่ แสดงว่าเพิ่งมาทำขึ้นภายหลังไม่กี่ปีมานี้ อีกทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบว่านางดาวเคยหวงกันแทนจำเลยไม่ให้โจทก์ทั้งสามและชาวบ้านใช้ทางพิพาทแต่อย่างใดด้วย โดยเฉพาะการที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทคดีนี้สร้างความเดือดร้อนแก่โจทก์ทั้งสามและชาวบ้านในละแวกนั้น ทั้งปรากฏว่ามีชาวบ้านเป็นจำนวนถึง 40 คนร่วมกันลงชื่อร้องเรียนต่อผู้อำนวยการเขตดอนเมืองให้ดำเนินการแก้ไขโดยอ้างว่าชาวบ้านดังกล่าวใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วตามเอกสารหมาย ล.14จึงมีมูลเป็นความจริงอันควรเชื่อได้ ทั้งเจือสมกับข้อนำสืบของโจทก์ทั้งสามในระยะเวลาใช้ทางพิพาทเข้าออกโดยไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ใดและไม่มีผู้ใดคัดค้าน พยานหลักฐานโจทก์ทั้งสามจึงมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานจำเลยข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสามนำสืบมา แม้โจทก์ที่ 1ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 103696 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม2530 ตามโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.5 และโจทก์ที่ 3 ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 108875 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2531 ตามโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.1 เมื่อคำนวณถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2539 ที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทยังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่ก็ได้ความจากพยานหลักฐานโจทก์ทั้งสามว่าโจทก์ที่ 1 อาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวมานาน 20 ปี และโจทก์ที่ 3 อาศัยอยู่ในที่ดินนั้นมานาน 40 ปี แสดงว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกตั้งแต่อาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวจนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของแต่ละคนนั้นเมื่อนับระยะเวลาทั้งสองตอนติดต่อกันแล้วเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ส่วนโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 42734 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2518 ตามโฉนดที่ดินเอกสารหมายจ.6 แม้โจทก์ที่ 2 จะเบิกความว่าอาศัยอยู่ในบ้านที่ตั้งอยู่ในที่ดินดังกล่าวมานาน40 ปี แต่เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า เพิ่งมาอาศัยอยู่เมื่ออายุ 30 ปีเศษก็ไม่น่าจะขัดแย้งกันเพราะขณะเบิกความคดีนี้เป็นปี 2540 โจทก์ที่ 2 มีอายุ61 ปี ตามคำเบิกความของโจทก์ที่ 2 ลำดับที่ 27 ในสำนวนคดีนี้ แสดงว่าปี2539 ที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ที่ 2 อายุ 60 ปี ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 อาศัยอยู่ในที่ดินของตนเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้วนั่นเอง จึงรับฟังเป็นจริงได้ว่าโจทก์ที่ 2 อาศัยอยู่ในที่ดินของตนเองมาเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วแม้จะไม่มีสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดงก็ตาม ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 2ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใด และไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้านเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 เช่นกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสามจึงฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสามได้ เพราะการจดทะเบียนภารจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อการรักษาและใช้ภารจำยอมประการหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 วรรคหนึ่ง ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น"

          พิพากษาแก้เป็นว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 96535 ตำบลสีกัน (ทุ่งสองห้อง)อำเภอบางเขน (ตลาดขวัญ) กรุงเทพมหานคร ของจำเลย กว้าง 4 เมตรยาว 50 เมตร จากทิศใต้ไปทิศเหนือ ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินดังกล่าวตามแผนที่สังเขปแสดงแนวเขตของทางพิพาทเอกสารหมาย จ.2 ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 103696 ของโจทก์ที่ 1 ที่ดินโฉนดเลขที่ 42734ของโจทก์ที่ 2 และที่ดินโฉนดเลขที่ 108875 ของโจทก์ที่ 3 ตำบลทุ่งสองห้องอำเภอบางเขน (ตลาดขวัญ) กรุงเทพมหานคร แต่ไม่เป็นทางสาธารณะให้จำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งสาม หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาแทนจำเลย และให้จำเลยรื้อถอนรั้วกำแพงหรือสิ่งอื่นใดที่ปิดกั้นทางพิพาทออกไปและจัดทำทางพิพาทให้อยู่ในสภาพใช้ได้ตามปกติ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
         
20.  คำพิพากษาฎีกาที่  587/2544  เมื่อนับตั้งแต่ปีที่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจนถึงปี  2533  ซึ่งจำเลยเปิดทางพิพาทแล้วยังไม่ถึง  10  ปี  ทางพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความในส่วนนี้

ป.พ.พ. มาตรา 1401

          เมื่อนับตั้งแต่ปีที่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจนถึงปี 2533ซึ่งจำเลยปิดทางพิพาทแล้วยังไม่ถึง 10 ปี ทางพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความในส่วนนี้

           เดิมที่ดินของโจทก์เป็นของ อ. อยู่คนละฝั่งคลองกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ซื้อมาจาก ส. บุตรของ ย. อ. ขออนุญาต ย. ทำสะพานข้ามคลองเดินผ่านที่ดินพิพาทออกสู่ถนนสาธารณะทำให้ทุกคนสามารถเดินข้ามสะพานผ่านที่ดินของ ย. การใช้ทางดังกล่าวของโจทก์จึงมิได้ใช้โดยปรปักษ์ ไม่เป็นทางภารจำยอม แม้โฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจะไม่มีชื่อ ย. ถือกรรมสิทธิ์ แต่ก็ระบุว่า ย. เป็นบิดาของ ส. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เมื่อ ย. อนุญาตให้ใช้ทางเดินทุกคนก็ใช้ทางเดินได้โดยไม่มีเหตุขัดข้อง จึงต้องถือว่าเป็นการที่บิดาของเจ้าของที่ดินอนุญาตแทนโดยชอบ

          โจทก์ทั้งสิบเก้าฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 และที่ 5 ใช้ที่ดินของจำเลยที่ 1เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ส่วนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 19 ก็ใช้ที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเกินกว่า 10 ปีแล้ว ดังนั้น ที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเก้า เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537 จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันสร้างรั้วกำแพงในบริเวณทางภารจำยอมทำให้โจทก์ทั้งสิบเก้าและบริวารได้รับความเสียหายไม่อาจใช้ทางภารจำยอมได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรื้อรั้วกำแพง หากจำเลยทั้งสองไม่ยอมรื้อให้โจทก์ทั้งสิบเก้าดำเนินการรื้อเอง โดยให้จำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้จำเลยทั้งสองไปดำเนินการจดทะเบียนทางภารจำยอมด้านแนวเอและแนวบีแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเก้า หากจำเลยทั้งสองไม่ดำเนินการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง

          จำเลยทั้งสองให้การในทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่โจทก์ทั้งสิบเก้าอ้างว่าตกเป็นภารจำยอม โจทก์ทั้งสิบเก้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 โจทก์ทั้งสิบเก้าซื้อที่ดินมายังไม่ถึง 10 ปี และไม่ได้ใช้ทางพิพาทติดต่อกันจากเจ้าของเดิมรวมแล้วถึง 10 ปี โจทก์ทั้งสิบเก้าเพิ่งมาใช้ทางพิพาทในปี 2536 เท่านั้น ที่จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทั้งสิบเก้าผ่านทางก็เพราะว่าทางฝ่ายปกครองร้องขอเท่านั้น ดังนั้น ที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงไม่ตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

          โจทก์ทั้งสิบเก้าอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
          โจทก์ทั้งสิบเก้าฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสิบเก้าและจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้อง โดยเดิมที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเก้าเป็นที่ดินแปลงใหญ่ผืนเดียวกัน เป็นของนายอั้น ศิริ แล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็นที่ดินแปลงย่อย โจทก์ทั้งสิบเก้าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ต่อมาจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำธุรกิจบ้านจัดสรรในที่ดินของจำเลยที่ 1โจทก์ทั้งสิบเก้าใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยที่ 1 เป็นทางเข้าออกสู่ถนนอ่อนนุช - ลาดกระบัง มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสิบเก้าว่าทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความหรือไม่ สำหรับการใช้ทางพิพาทของโจทก์แต่ละคนนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทั้งสิบเก้ากับพวกได้ทำหนังสือลงวันที่ 3 ธันวาคม 2533 ร้องเรียนต่อนายอำเภอบางพลีว่าถูกปิดทางเข้าออก ซึ่งแสดงว่าจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางเข้าออกในปี 2533 และข้อเท็จจริงยังปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ทั้งสิบเก้าประกอบกับเอกสารสำเนาโฉนดที่ดินที่โจทก์ทั้งสิบเก้าอ้างส่งศาลว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 14 และที่ 18 ได้รับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อปี 2534โจทก์ที่ 2 ได้รับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อปี 2535 โจทก์ที่ 5 ที่ 7 ถึงที่ 11 ที่ 13และที่ 19 ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ เมื่อปี 2528 และ 2529โจทก์ที่ 6 ที่ 12 ที่ 15 ถึงที่ 17 ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ เมื่อปี 2531 และ2532 เมื่อนับถึงปี 2533 ซึ่งจำเลยทั้งสองปิดทางพิพาทแล้วยังไม่ถึง 10 ปีทางพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความในส่วนนี้ที่โจทก์ทั้งสิบเก้าฎีกาว่า ได้ใช้ทางพิพาทต่อจากเจ้าของเดิมเมื่อนับรวมกันแล้วเกิน 10 ปี ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมนั้น พยานโจทก์ทั้งสิบเก้ามีโจทก์ที่ 5 ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 9 นางสายหยุด โพธิ์ศรีซึ่งเป็นญาติโจทก์ทั้งสิบเก้า และนางสัมฤทธิ์ ศิริ ซึ่งเป็นน้องสาวของโจทก์ที่ 5 ต่างเบิกความทำนองเดียวกันว่า เดิมที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเก้าเป็นของนายอั้น ซึ่งเป็นบิดาของโจทก์ที่ 5 อยู่คนละฝั่งคลองกับที่ดินของจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 ซื้อมาจากนางสุภาณี สุวรรณทัต บุตรของนายเยื้อน นายอั้นขออนุญาตนายเยื้อนทำสะพานข้ามคลองเดินผ่านที่ดินของนายเยื้อนออกสู่ถนนสาธารณะทำให้ทุกคนสามารถเดินข้ามสะพานผ่านที่ดินของนายเยื้อน เมื่อเป็นดังนี้การใช้ทางดังกล่าวจึงมิได้ใช้โดยปรปักษ์ไม่เป็นทางภารจำยอม ที่โจทก์ทั้งสิบเก้าฎีกาว่า ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1340 คือ นางสุภาณี และนางสุธีรา รอดพยาธิ์ เท่านั้น ไม่มีชื่อนายเยื้อน การที่นายเยื้อนอนุญาตให้นายอั้นใช้ทางไม่ถือเป็นการยินยอมให้ใช้ทางโดยชอบ การใช้ทางขอนายอั้นจึงเป็นปรปักษ์นั้นเห็นว่า ในโฉนดที่ดินดังกล่าวถึงแม้จะไม่มีชื่อนายเยื้อนถือกรรมสิทธิ์แต่ก็ระบุว่านายเยื้อนเป็นบิดาของบุคคลทั้งสอง เมื่อนายเยื้อนอนุญาตให้ใช้ทางเดินทุกคนก็ใช้ทางเดินได้โดยไม่มีเหตุขัดข้อง จึงต้องถือว่าเป็นการที่บิดาของเจ้าของที่ดินอนุญาตแทนโดยชอบ ที่ศาลล่างทั้งสองยกฟ้องโจทก์ทั้งสิบเก้ามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ทั้งสิบเก้าฟังไม่ขึ้น"
          พิพากษายืน
     

21.   คำพิพากษาฎีกาที่  605-606/2544  บิดาจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์โดยรับรองว่าจะจัดให้มีทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะได้  ซึ่งเป็นข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อขายที่มีลักษณะคล้ายภาระจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิ เมื่อโจทก์ไม่จดทะเบียนการได้มาจึงไม่บริบูรณ์ตาม  ป.พ.พ.  มาตรา  1299  วรรคแรก  แต่ใช้ได้ในระหว่างคู่สัญญาในฐานะบุคคลสิทธิ  การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินที่จำเลยรับมรดกจากบิดาเกิน 10 ปี  แม้เดิมโจทก์จะเข้าใจว่าเดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาดังกล่าวแต่เมื่อโจทก์มีเจตนาถือเอาทางพิพาทเป็นทางเดินผ่าน  ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาใช้เป็นทางเข้าออกของโจทก์  ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม

ป.พ.พ. มาตรา 1392, 1401

          บิดาจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์โดยรับรองว่าจะจัดให้มีทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะได้ ซึ่งเป็นข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่มีลักษณะคล้ายภารจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิเมื่อโจทก์ไม่จดทะเบียนการได้มาจึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก แต่ใช้ได้ในระหว่างคู่สัญญา ในฐานะบุคคลสิทธิ การที่โจทก์ใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินที่จำเลยรับมรดกจากบิดาเกิน 10 ปี แม้เดิมโจทก์จะเข้าใจว่าเดินโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาดังกล่าว แต่เมื่อโจทก์มีเจตนาถือเอาทางพิพาทเป็นทางเดินผ่าน ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาใช้เป็นทางเข้าออกของโจทก์ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอม

           ทางพิพาทหากอยู่ตรงกลางที่ดินของจำเลย จะทำให้เสียที่ดินซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลย และใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนที่เหลือไม่ได้เท่าที่ควร การย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวที่ดินของจำเลย ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกในการใช้ทางเดินของโจทก์ต้องลดน้อยลง จำเลยจึงสามารถทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392

          คดีทั้งสองสำนวนนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกันโดยเรียกโจทก์ที่ 4 สำนวนหลังว่า โจทก์ที่ 5 และเรียกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ของสำนวนหลังว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามลำดับ

          โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 60873, 60874, 60875 โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 60876, 60877 โจทก์ที่ 3 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 60880, 60881 โจทก์ที่ 4 เดิมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 60882 ต่อมาได้โอนที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 5 ส่วนจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 60879, 60883, 60884, 60885, 60886, 60890, 60891 และ 26941 โจทก์ทั้งห้ากับราษฎรอื่นที่อาศัยอยู่ในซอยเจริญสุข ซอย 1 และซอยเจริญสุข ซอย 2 ได้ใช้ที่ดินของจำเลยทั้งสามเป็นทางเดินเข้าออกรวมทั้งใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกจากซอยดังกล่าวไปสู่ถนนพระรามที่ 4 ติดต่อกันเรื่อยมาโดยสงบและเปิดเผยเกินกว่า 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งห้า ประมาณปลายปี 2535 จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำกีดขวางทางเดินดังกล่าวโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ทั้งห้าไม่สามารถผ่านไปมาได้ ขอให้พิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 60879, 60883, 60884, 60885, 60886, 60890, 60891 และ 26941 ของจำเลยทั้งสามเป็นทางภารจำยอมของที่ดินโฉนดเลขที่ 60873 ถึง 60877 และเลขที่ 60880 ถึง 60882 ของโจทก์ทั้งห้า ให้จำเลยทั้งสามไปจดทะเบียนทางภารจำยอมในที่ดินดังกล่าวที่สำนักงานที่ดินเขตพระโขนง หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำกีดขวางทางเดิน และจัดทำให้อยู่ในสภาพเดิมหากไม่ยอมรื้อถอน ให้โจทก์ทั้งห้าร่วมกันรื้อถอนได้ โดยให้จำเลยทั้งสามเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายแทนทั้งหมด
          จำเลยทั้งสามให้การว่า โจทก์ได้ขออนุญาตจำเลยใช้ที่ดินพิพาททั้งแปดแปลงเป็นทางเข้าออกอีกทางหนึ่ง จำเลยได้อนุญาตให้โจทก์ใช้ไปก่อนชั่วคราว บุคคลอื่นที่โจทก์อ้างว่าได้ใช้ด้วยนั้นก็เป็นราษฎรอยู่ข้างเคียงเป็นการใช้โดยถือวิสาสะ ขอให้ยกฟ้อง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ปิดกั้นทางพิพาทเพื่อให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 กับบริวารได้เข้าออกสู่สาธารณะได้ตามปกติดังเดิม และจัดทำทางเดินพิพาทให้อยู่ในสภาพเดิมก่อนปิดกั้น ให้จำเลยทั้งสามไปจดทะเบียนทางภารจำยอม ที่ดินโฉนดเลขที่ 26941 เลขที่ 60840 (ที่ถูกคือเลขที่ 60890) เลขที่ 60879 เลขที่ 60883 ถึงเลขที่ 60886 และเลขที่ 60891 ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร ให้ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 60873 ถึงเลขที่ 60877 และเลขที่ 60880 ถึงเลขที่ 60882 ตำบลคลองเตย อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยเปิดเป็นทางภารจำยอมกว้าง 4 เมตร อยู่ตรงกลางของโฉนดเลขที่ 26941 เลขที่ 60891 เลขที่ 60840 (ที่ถูกคือเลขที่ 60890) ลากไปทางทิศเหนือผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 60886 เลขที่ 60885เลขที่ 60884 เลขที่ 60883 เลขที่ 60879 จนจดที่ดินโฉนดเลขที่ 60877 และเลขที่ 60876 เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 60879 ด้านที่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 60877 และเลขที่ 60876 เลขที่ 60875 เลขที่ 60874 และเลขที่ 60873 ลงมาทางด้านทิศใต้ ส่วนที่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 60882 เลขที่ 60881 และเลขที่ 60880 ให้ตกเป็นภารจำยอมโดยลากจากมุมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 60882 มาจดทางภารจำยอม กว้าง 4 เมตร ที่ลากมาจากทางด้านทิศใต้ให้แก่ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 กับบริวารตามแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.8 โดยให้ไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินเขตพระโขนง หากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสาม ยกฟ้องโจทก์ที่ 4
          จำเลยทั้งสามอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

          จำเลยทั้งสามฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงที่ไม่โต้เถียงกันฟังเป็นยุติว่าประมาณปี 2510 จำเลยที่ 1 กับนายสมไชยหรือสมเชษฐ เตียงสกุล บิดาจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทตามโฉนดที่ดินเลขที่ 26941 เอกสารหมาย จ.16 และได้มีการแบ่งแยกโฉนดออกเป็นแปลงย่อยจำนวน 27 แปลง ตามที่จำลองแผนที่ในเอกสารหมาย จ.16 แผ่นที่ 2 และได้ปลูกสร้างตึกแถวแบ่งขายให้แก่บุคคลทั่วไป โจทก์ที่ 1 ซื้อตึกแถวจำนวน 3 ห้อง ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 60873, 60874 และ 60875 เอกสารหมาย จ.24 ถึง จ.26 โจทก์ที่ 2 ซื้อตึกแถวจำนวน 2 ห้อง ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 60876 และ 60877 เอกสารหมาย จ.2 และจ.3 โจทก์ที่ 3 ซื้อตึกแถวจำนวน 2 ห้อง ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 60881 และ 60880 เอกสารหมาย จ.33 และ จ.34 และบิดาโจทก์ที่ 4ซื้อตึกแถว 1 ห้อง ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 60882

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่า ที่ดินของจำเลยทั้งสามตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 หรือไม่ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ต่างเบิกความว่า ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวจากจำเลยทั้งสาม โดยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ขณะเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 และบิดาจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 นั้น โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ได้รับคำรับรองจากบิดาจำเลยที่ 2 ว่า ผู้ขายจะจัดให้ที่ดินที่ซื้อขายดังกล่าวมีทางเดินกว้างประมาณ 4 เมตร ออกสู่ถนนสาธารณะได้ตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.5 แต่จำเลยทั้งสามก็มิได้ทำทางเดินออกสู่สาธารณะให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 จึงได้ใช้บริเวณที่ว่างที่มีผู้เอาขยะมาทิ้งเป็นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะตามแผนที่พิพาทบริเวณที่ระบายสีเหลืองเอกสารหมาย จ.8 โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ได้ใช้เป็นทางเดินและใช้เป็นทางเข้าออกของรถยนต์ แม้จำเลยที่ 1 จะเคยห้ามปรามโจทก์ที่ 1มิให้ใช้เส้นทางดังกล่าว แต่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ก็ยังใช้เส้นทางดังกล่าวออกสู่ถนนสาธารณะตั้งแต่ปี 2511 จนถึงปี 2535 เป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว หลังจากนั้นจำเลยทั้งสามได้ปิดกั้นทางพิพาท เมื่อพิจารณาจากหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.5 แล้วเห็นว่า การที่บิดาจำเลยที่ 2 ได้รับรองว่าผู้ขายจะจัดให้ที่ดินที่ซื้อขายดังกล่าวมีทางเดินกว้างประมาณ 4 เมตร ออกสู่ถนนสาธารณะได้นั้น จึงเป็นข้อตกลงตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมีลักษณะคล้ายภารจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิ เมื่อไม่จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคแรก แต่ก็เป็นอันใช้ได้ในระหว่างคู่สัญญา ซึ่งรวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 3 กับจำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของบิดาด้วย ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวในฐานะบุคคลสิทธิ การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ใช้ทางพิพาทเดินผ่านที่ดินของจำเลยทั้งสามเกินกว่า 10 ปี แม้เดิมโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 จะเข้าใจว่าเดินโดยอาศัยสิทธิตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.5 แต่เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 มีเจตนาถือเอาทางพิพาททั้งหมดเป็นทางเดินผ่านถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาใช้เป็นทางเข้าออกของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอม ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นต้องด้วยความเห็นศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังไม่ขึ้น

          ปัญหาต่อไปตามฎีกาของจำเลยทั้งสามมีว่า จำเลยทั้งสามจะขอย้ายทางภารจำยอมได้หรือไม่ เห็นว่า ทางพิพาทซึ่งตกเป็นทางภารจำยอม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางภารจำยอมกว้าง 4 เมตร อยู่ตรงกลางที่ดินโฉนดเลขที่ 26941, 60891 และ 60840 (ที่ถูก 60890) ลากไปทางทิศเหนือผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 60886, 60885, 60884, 60883, 60879 จนจดที่ดินโฉนดเลขที่ 60877 และ 60876 เฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 60879 ด้านที่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 60877, 60876, 60875, 60874 และ 60873 ลงมาทางทิศใต้ ส่วนที่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 60882,60881 และ 60880 ให้ตกเป็นภารจำยอม โดยลากจากมุมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ดินโฉนดเลขที่ 60882 มาจดทางภารจำยอมกว้าง 4 เมตร ที่ลากมาจากทางทิศใต้ นั้น เห็นว่าทางพิพาทจะอยู่ตรงกลางของที่ดินของจำเลยทั้งสามทั้งหมดทำให้เสียที่ดินทุกแปลงซึ่งเป็นการเพิ่มภาระแก่จำเลยทั้งสาม และการใช้ประโยชน์แก่ที่ดินในส่วนที่เหลือไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากได้ย้ายทางพิพาทจากที่เดิมไปอยู่ตรงสุดแนวที่ดินของจำเลยทั้งสามด้านขวามือแล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกในการใช้ทางเดินของโจทก์ทั้งที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ต้องลดน้อยลงซึ่งจำเลยทั้งสามสามารถทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีในเรื่องดังกล่าวไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่อยู่นอกเหนือคำให้การไม่รับวินิจฉัยให้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังขึ้น"

          พิพากษาแก้เป็นว่า โฉนดที่ดินเลขที่ 60879 และ 60886 ทั้งแปลงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ตามฟ้องและให้เปิดทางภารจำยอม กว้าง 4 เมตร อยู่ในโฉนดที่ดินเลขที่ 60890, 60891, 60883 และ 60884 โดยให้อยู่ติดแนวที่ดินด้านขวามือที่ระบายสีเหลืองของแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.8 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์


หมายเหตุ

          บิดาจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้โจทก์และรับรองว่าจะจัดให้มีทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะ เป็นข้อตกลงที่ก่อให้เกิดสิทธิภารจำยอมแก่ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาเหนือที่ดินของบิดาจำเลยโดยนิติกรรมเมื่อไม่ได้จดทะเบียนย่อมไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง แต่ยังคงบังคับได้ระหว่างกันเองเป็นบุคคลสิทธิโจทก์จึงใช้สิทธิตามสัญญานั้นเดินผ่านที่ดินของโจทก์ได้ และยังมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทจดทะเบียนภารจำยอมได้ด้วย(คำพิพากษาฎีกาที่ 446/2541) เมื่อโจทก์มีสิทธิอยู่ตามสัญญาเช่นนี้จึงมิใช่เป็นการเดินผ่านที่ดินของจำเลยโดยปรปักษ์ซึ่งจะต้องเป็นกรณีที่เดินผ่านโดยไม่มีสิทธิ โจทก์จึงไม่อาจได้ภารจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 ได้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเปิดทางและจดทะเบียนเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอ้างเหตุดังกล่าวศาลจึงพิพากษาให้ไม่ได้ และจะพิพากษาบังคับให้ตามสัญญาก็ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องจึงน่าจะพิพากษายกฟ้อง

           ไพโรจน์ วายุภาพ

         
22.  คำพิพากษาฎีกาที่  789/2544  ปัญหาว่าสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำข้อ 10 ที่ว่า “ผู้จะขายตกลงสร้างถนนคอนกรีตพร้อมท่อระบายน้ำ  ประปา  และไฟฟ้ามาจดที่ดินที่จะซื้อจะขายพร้อมอนุญาตให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายใช้ถนนและสาธารณูปโภคของโครงการหมู่บ้าน  ส.  เป็นทางเข้าออกสู่ถนนแจ้งวัฒนะ”  เป็นข้อสัญญาที่บังคับให้จดทะเบียนภาระจำยอมได้หรือไม่นั้น  ข้อสรุปของสัญญามีว่า “ผู้จะขายที่ดินตกลงให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายใช้ถนนสาธารณูปโภค-” เป็นการให้สิทธิแก่ที่ดินที่จะซื้อจะขายเหนืออสังหาริมทรัพย์อื่นอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องยอมรับกรรมบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จะซื้อจะขาย  จึงเป็นสัญญาก่อให้เกิดภาระจำยอม  โจทก์ย่อมบังคับให้จดทะเบียนได้

ป.พ.พ. มาตรา 1387

          ปัญหาว่าข้อสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำข้อ 10 ที่ว่า"ผู้จะขายตกลงสร้างถนนคอนกรีตพร้อมท่อระบายน้ำ ประปา และไฟฟ้า มาจดที่ดินที่จะซื้อจะขายพร้อมทั้งอนุญาตให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายใช้ถนน และสาธารณูปโภคของโครงการหมู่บ้าน ส. เป็นทางเข้าออกสู่ ถนนแจ้งวัฒนะ" เป็นข้อสัญญาที่บังคับให้จดทะเบียนภารจำยอมได้หรือไม่ นั้น ข้อสรุปของสัญญามีว่า "ผู้จะขายที่ดินตกลงให้ที่ดินจะซื้อจะขาย ใช้ถนนและสาธารณูปโภค" เป็นการให้สิทธิแก่ที่ดินที่จะซื้อจะขายเหนือ อสังหาริมทรัพย์อื่น อันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องยอมรับ กรรมบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จะซื้อจะขาย จึงเป็นสัญญา ก่อให้เกิดภารจำยอม โจทก์ย่อมบังคับให้จดทะเบียนได้

           ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญาตามสัญญา จึงบังคับ จำเลยที่ 1 ไม่ได้นั้น เมื่อคู่ความตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใน ข้อ ดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าคู่ความสละซึ่งประเด็นอื่นทั้งหมดแล้ว คงเหลือ เฉพาะประเด็นที่ท้ากันเท่านั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสามจึงเป็นข้อที่ ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

          โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 60876 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะสร้างถนนคอนกรีตกว้าง 6.5 เมตร พร้อมท่อระบายน้ำประปา ไฟฟ้าให้กับที่ดินที่จะซื้อขาย พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้สาธารณูปโภคของหมู่บ้านสี่ไชยทองเพื่อเป็นถนนเข้า-ออกสู่ถนนแจ้งวัฒนะ จำเลยที่ 2 และที่ 3ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้ว จำเลยทั้งสามร่วมกันทำการจัดสรรที่ดินบริเวณที่ติดต่อกับที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นโครงการหมู่บ้านสี่ไชยทองโดยได้ร่วมกันทำถนนบนที่ดินรวมสามแปลงของจำเลยทั้งสาม เพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาเรื่องการใช้ถนนเข้า-ออกสู่ทางสาธารณะ จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภารจำยอมให้ที่ดินดังกล่าว แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนที่ดินโฉนดเลขที่ 183850, 13360 และ 178897 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นภารจำยอมแก่ที่ดินดังกล่าว หากจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติตาม ให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม

          จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาหรือเป็นผู้จะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 60876 ข้อตกลงใด ๆ ในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุม ขอให้ยกฟ้อง

          ก่อนสืบพยานคู่ความตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำ ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ข้อ 3 และข้อ 10 โดยทั้งสองฝ่ายได้สรุปข้อสัญญาว่า "ผู้จะขายตกลงสร้างถนนคอนกรีตพร้อมท่อระบายน้ำประปา และไฟฟ้ามาจดที่ดินที่จะซื้อจะขายพร้อมทั้งอนุญาตให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายใช้ถนนและสาธารณูปโภคของโครงการหมู่บ้านสี่ไชยทองเป็นทางเข้าออกสู่ถนนแจ้งวัฒนะ" เป็นข้อสัญญาที่สามารถบังคับให้ดำเนินการจดทะเบียนภารจำยอมได้หรือไม่หากศาลวินิจฉัยว่าบังคับได้ จำเลยทั้งสามยอมแพ้ หากวินิจฉัยว่าบังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสองยอมแพ้

          ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สรุปข้อสัญญาดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้อตกลงให้ผู้จะซื้อที่ดินใช้ทางซึ่งอยู่ในที่ดินของผู้จะขายเพื่อออกสู่ถนนแจ้งวัฒนะซึ่งเป็นถนนสาธารณะเป็นเพียงบุคคลสิทธิ จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่สามารถบังคับให้ดำเนินการจดทะเบียนภารจำยอม โจทก์ทั้งสองจึงต้องแพ้คดีตามคำท้า พิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

          โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันจดทะเบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 183850, 13360 และ 178897 ซึ่งเป็นถนนตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 60876 ตำบลบางตลาดอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มิฉะนั้นให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสาม ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

          จำเลยทั้งสามฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสามว่าข้อสรุปของสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ข้อ 3 และข้อ 10 ที่ว่า "ผู้จะขายตกลงสร้างถนนคอนกรีตพร้อมท่อระบายน้ำ ประปา และไฟฟ้ามาจดที่ดินที่จะซื้อจะขายพร้อมทั้งอนุญาตให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายใช้ถนนและสาธารณูปโภคของโครงการหมู่บ้านสี่ไชยทองเป็นทางเข้าออกสู่ถนนแจ้งวัฒนะ" เป็นข้อสัญญาที่บังคับให้จดทะเบียนภารจำยอมได้หรือไม่ เห็นว่า ข้อสรุปของสัญญามีว่า "ผู้จะขายที่ดินตกลงให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายใช้ถนนและสาธารณูปโภค" เป็นการให้สิทธิแก่ที่ดินที่จะซื้อจะขายเหนืออสังหาริมทรัพย์อื่น อันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องยอมรับกรรมบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จะซื้อจะขายจึงเป็นสัญญาก่อให้เกิดภารจำยอม โจทก์ย่อมบังคับให้จดทะเบียนได้ จำเลยทั้งสามจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า ฎีกาของจำเลยทั้งสามฟังไม่ขึ้น

          ส่วนที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญาตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 จึงบังคับจำเลยที่ 1 ไม่ได้นั้น เห็นว่า เมื่อคู่ความตกลงท้ากันให้ศาลวินิจฉัยในข้อดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าคู่ความสละซึ่งประเด็นอื่นทั้งหมดแล้ว คงเหลือเฉพาะประเด็นที่ท้ากันเท่านั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสามในเรื่องดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
          อนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ แต่มิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น เป็นการไม่ถูกต้อง เห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง"

          พิพากษายืน

         
23.  คำพิพากษาฎีกาที่  1934/2544  โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าทางดังกล่าวเป็นทางสาธารณะ  ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิผ่านทางพิพาทโดยการครอบครองดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382  แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทเกินกว่า 10 ปี  ทางพิพาทก็ไม่เป็นภาระจำยอมเพื่อที่ดินของโจทก์

ป.พ.พ. มาตรา 1349, 1401

          โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าทางดังกล่าวเป็นทางสาธารณะยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิผ่านทางพิพาทโดยการครอบครองดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทเกินกว่า 10 ปีทางพิพาทก็ไม่เป็นภารจำยอมเพื่อที่ดินของโจทก์

           ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ แต่ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ปัญหาในประเด็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ จึงยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 400,000 บาท จำเลยพอใจไม่อุทธรณ์ จำเลยจะฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนเกินกว่าจำนวนที่ศาลชั้นต้นกำหนดหาได้ไม่

          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 45796 ตำบลหนองบอน (พระโขนงฝั่งใต้)อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร โดยอยู่ห่างจากถนนศรีนครินทร์ประมาณ 110 เมตร จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 34533ตำบลหนองบอน (พระโขนงฝั่งใต้) อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนครเนื้อที่ประมาณ 55 ตารางวา ซึ่งอยู่ติดถนนศรีนครินทร์ เมื่อปี 2524โจทก์ได้สร้างบ้านบนที่ดินของโจทก์และโจทก์ได้เข้าออกสู่ถนนศรีนครินทร์โดยใช้ทางสัญจรเดิมซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว ทางดังกล่าวมีลักษณะตัดเชื่อมจากถนนศรีนครินทร์ผ่านที่ดินของจำเลยโดยตลอดและผ่านที่ดินของผู้อื่นแปลงถัดมาลึกเข้ามาด้านท้ายซอยมีความยาวประมาณ 400 เมตร กว้างประมาณ 4 เมตร ตลอดเส้นทาง โดยที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะทางอื่นและโจทก์ได้ใช้ทางดังกล่าวเกินกว่า 10 ปี ติดต่อกัน จำเลยไม่เคยโต้แย้ง ที่ดินของจำเลยจึงเป็นทางจำเป็นและทางภารจำยอมโดยอายุความ ต่อมาเมื่อวันที่ 12มิถุนายน 2537 จำเลยทำรั้วปิดกั้นทางพิพาท ทำให้โจทก์และบริวารไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นเพื่อให้โจทก์และบริวารใช้ทางออกสู่ทางสาธารณะ หากจำเลยไม่ยอมรื้อถอนให้โจทก์รื้อถอนเองโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนว่าที่ดินบางส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 34533ตำบลหนองบอน อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร ของจำเลยตกอยู่ในบังคับภารจำยอมเรื่องทางเดินของที่ดินโฉนดเลขที่ 45796ตำบลหนองบอน อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร ของโจทก์หากจำเลยไม่ไปดำเนินการให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

          จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 45796 แต่ถือกรรมสิทธิ์แทนบิดามารดาโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะมิได้บรรยายว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะและทางจำเป็นอยู่ทิศใด ทั้งมิได้บรรยายว่าใช้ทางดังกล่าวโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภารจำยอมติดต่อกันมาเกินกว่า10 ปี หรือใช้ทางตั้งแต่เมื่อใด อันจะทำให้โจทก์ได้สิทธิโดยอายุความคำขอของโจทก์มิได้ระบุเนื้อที่ทิศความกว้างยาวของทางภารจำยอมในที่ดินจำเลย โจทก์และบริวารมิได้ใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาให้เป็นทางภารจำยอมติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี แต่เพิ่งใช้ทางพิพาทเพียง2 ปี จึงมิใช่ทางภารจำยอมและโจทก์ยังมีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยทางอื่นอีกทางพิพาทจึงมิใช่ทางจำเป็น เนื้อที่ทางพิพาทตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 มีจำนวน 21 ตารางวา หากเป็นทางจำเป็นควรกว้างไม่เกิน 70 เซนติเมตร และสูงไม่เกิน 2 เมตรขอให้ยกฟ้อง หากศาลพิพากษาให้เปิดทางจำเป็น จำเลยขอเรียกค่าทดแทนตารางวาละ 40,000 บาท เนื้อที่ดินประมาณ 21 ตารางวาเป็นเงินทั้งสิ้น 840,000 บาท ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าทดแทนความเสียหายแก่จำเลยเป็นเงิน 840,000 บาท

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า จำเลยไม่มีสิทธิกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงทางพิพาทจากเดิมกว้างประมาณ 4 เมตร ให้เหลือเพียงไม่เกิน 70 เซนติเมตร สูงไม่เกิน 2 เมตร และไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนเพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องดำเนินการจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภารจำยอมโดยอายุความแก่โจทก์อยู่แล้ว ขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเปิดทางพิพาทให้โจทก์ผ่านมีความกว้าง 3 เมตร ตามแนวเส้นสีฟ้าของแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.15 ด้านทิศตะวันออกไปสุดยังด้านทิศตะวันตกให้ขนานกับแนวทางพิพาทด้านทิศใต้ โดยให้โจทก์จ่ายค่าทดแทนแก่จำเลยเป็นเงิน 400,000 บาท และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางดังกล่าว คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

          โจทก์อุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ (ที่ถูกพิพากษาแก้เป็น) ว่า ทางพิพาทซึ่งมีความยาวด้านทิศเหนือ 17.937 เมตร ด้านทิศใต้ 15.319 เมตรความกว้างด้านทิศตะวันออกสู่ถนนศรีนครินทร์ กว้าง 4.770 เมตร ด้านทิศตะวันตก กว้าง 6.348 เมตร ตามที่เขียนด้วยเส้นสีฟ้าในแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.15 เป็นทางภารจำยอม ให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนภารจำยอมที่พิพาทดังกล่าวแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 45796ตำบลหนองบอน (พระโขนงฝั่งใต้) อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนครให้โจทก์ ถ้าไม่ดำเนินการให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยและให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางพิพาทดังกล่าวออกค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ คำขออื่นให้ยก

          จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์หรือไม่ ได้ความจากคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนฉุกเฉินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2537 และคำเบิกความในชั้นพิจารณาวันที่ 14 พฤศจิกายน 2539 ว่า ทางพิพาทมีอยู่ตั้งแต่ขณะเมื่อโจทก์ซื้อที่ดิน โจทก์เข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะ เห็นว่า การจะได้สิทธิในทางพิพาทโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 นั้น จะต้องเป็นการใช้ทางพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้ทางพิพาทนั้นตกเป็นภารจำยอมและได้ใช้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 จึงจะทำให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมได้ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิผ่านทางพิพาทโดยการครอบครองดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401ประกอบด้วยมาตรา 1382 แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทเกินกว่า 10 ปีทางพิพาทก็ไม่เป็นภารจำยอมเพื่อที่ดินของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังขึ้น

          ที่จำเลยฎีกาว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นนั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์จำเลยมิได้อุทธรณ์ แต่ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ยอมรับว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ปัญหาในประเด็นข้อนี้จึงยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

          มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายว่าโจทก์ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยเพียงใด ที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 840,000 บาท นั้น เห็นว่า เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 400,000 บาท จำเลยพอใจไม่อุทธรณ์ ดังนั้น จำเลยจะฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดดังกล่าวหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ คงมีปัญหาว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทน 400,000 บาท เหมาะสมหรือไม่ซึ่งปัญหาดังกล่าวโจทก์ได้ยกขึ้นอุทธรณ์ด้วย แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน เห็นว่า ทางพิพาทตามแผนที่วิวาทและภาพถ่าย มีสภาพเป็นถนนที่ใช้เป็นทางสัญจรผ่านที่ดินของผู้อื่น นอกจากที่ดินของจำเลยอีกหลายราย ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนความเสียหายให้แก่จำเลย 400,000บาท จึงเป็นจำนวนสูงเกินสมควร เห็นควรกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย 200,000 บาท

          อนึ่ง เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยสำหรับค่าทดแทนส่วนที่เกิน 400,000 บาท ดังนั้น ที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาในจำนวนทุนทรัพย์ 840,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่จำเลย"

          พิพากษาแก้เป็นว่า ทางพิพาทไม่เป็นทางภารจำยอมแต่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ ให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลย200,000 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกินให้แก่จำเลย ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลนอกจากที่สั่งคืนแก่จำเลยให้เป็นพั[
         
24.  คำพิพากษาฎีกาที่  8727/2544  ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเรียกว่าสามยทรัพย์  การที่จำเลยเป็นเจ้าของตึกแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่อยู่ติดทางพิพาทเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยโดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของ  ภาระจำยอมจึงไม่อาจเกิดมีขึ้นได้

ป.พ.พ. มาตรา 1387

          โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้นำโครงเหล็กที่จำเลยวางขายสินค้าออกไปจากทางพิพาทโดยอ้างว่าทางพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยให้การยอมรับว่าทางพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ ไม่ได้ยืนยันว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ เพียงแต่ให้การว่าทางพิพาทเป็นเสมือนทางสาธารณะ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

           โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยนำโครงเหล็กของจำเลยออกไปจากทางพิพาทเท่านั้นมิได้ห้ามจำเลยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ จึงถือว่าจำเลยมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิเรื่องการใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ให้โจทก์จดทะเบียนภารจำยอมพื้นที่พิพาทให้เป็นที่วางสินค้าของจำเลย จึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จำเลยไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้

           ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเรียกว่าสามยทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของอาคารตึกแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่อยู่ติดทางพิพาท แต่การที่จำเลยใช้ทางพิพาทวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกิจการค้าของจำเลยเป็นการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยโดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของ ดังนั้น ภารจำยอมจึงไม่อาจเกิดมีขึ้นได้ จำเลยไม่ได้ภารจำยอมในทางพิพาท

          โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยนำโครงเหล็กออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 21185 และ 1328 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 6,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะนำโครงเหล็กออกไปจากที่ดินโจทก์ทั้งสอง

          จำเลยให้การและฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้อง และมีคำสั่งห้ามโจทก์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องกับจำเลยในการใช้ซอยชูพินิจ 2 เป็นทางเข้าออกและใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งตลอดแนวตึกแถวของจำเลยและจดทะเบียนภารจำยอมให้พื้นที่บนซอยชูพินิจ 2 ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 21185 และ 1328 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ตกเป็นทางเข้าออกและจดทะเบียนภารจำยอมพื้นที่ดังกล่าวส่วนหนึ่งขนาดกว้าง 1.50 เมตร ยาว 10 เมตร ตลอดแนวด้านข้างอาคารพาณิชย์เลขที่ 221 ให้เป็นที่วางสินค้าของจำเลยเพื่อจำหน่าย หากโจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา

          โจทก์ทั้งสองให้การแก้ฟ้องแย้ง ขอให้ยกฟ้องแย้งของจำเลย

          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสอง และยกฟ้องแย้งจำเลย

          โจทก์ทั้งสองและจำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยนำโครงเหล็กออกจากซอยชูพินิจ 2 ซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 21185 และ 1328 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ของโจทก์ทั้งสอง ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเดือนละ 825 บาท นับแต่วันฟ้อง (11 กรกฎาคม 2540) จนกว่าจำเลยจะนำโครงเหล็กออกจากซอยชูพินิจ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

          จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังยุติว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 1328 และ 21185 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โจทก์ทั้งสองสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองดังกล่าว โดยมีถนนอยู่ระหว่างกลางอาคารพาณิชย์ที่สร้างและให้ชื่อว่าซอยชูพินิจ 2 ซึ่งเป็นทางพิพาท จำเลยเป็นเจ้าของอาคารพาณิชย์เลขที่ 221 ถนนวิจิตรตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ด้านหน้าอาคารของจำเลยอยู่ตรงข้ามกับตลาดเทศบาล ด้านข้างที่อยู่ติดซอยชูพินิจ 2 ซึ่งเป็นทางพิพาทเป็นประตูเหล็กยืดยาวประมาณ 8 เมตร ทางพิพาทเป็นทางที่ประชาชนใช้เข้าออกระหว่างตลาดเทศบาลกับตลาดสดศูนย์การค้าของโจทก์ทั้งสอง จำเลยอยู่ในอาคารเลขที่ 221ตั้งแต่ปี 2525 โดยอาศัยสิทธิการเช่าช่วงจากผู้อื่นและประกอบกิจการค้าขายเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มมาตลอดโดยวางสินค้าที่จำหน่ายบางส่วนในอาคารและบางส่วนนอกอาคารบริเวณทางพิพาท โดยวางห่างจากอาคารร้านค้าของจำเลยประมาณ 1 เมตรไปตามแนวยาวของทางพิพาทประมาณ 10 เมตร จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารเลขที่ 221 เมื่อปี 2539 ที่จำเลยฎีกาว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะนั้น เห็นว่า โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยให้นำโครงเหล็กที่จำเลยวางขายสินค้าออกไปจากทางพิพาทโดยอ้างว่าทางพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การยอมรับว่า ทางพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ไม่ได้ยืนยันว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเพียงแต่ให้การว่าทางพิพาทเป็นเสมือนทางสาธารณะ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาจำเลยในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

          สำหรับปัญหาว่า จำเลยได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความหรือไม่นั้นจำเลยอ้างว่าจำเลยได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยใช้เป็นทางเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะและใช้วางสินค้าเพื่อจำหน่าย เห็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยนำโครงเหล็กของจำเลยออกไปจากทางพิพาทเท่านั้น มิได้ห้ามจำเลยใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ จึงถือว่าจำเลยมิได้ถูกโต้แย้งสิทธิเรื่องการใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ ฟ้องแย้งของจำเลยในส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ สำหรับการใช้วางสินค้าเพื่อจำหน่ายนั้น เห็นว่า ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเรียกว่าสามยทรัพย์แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของอาคารตึกแถวเลขที่ 221 ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่อยู่ติดทางพิพาท แต่การที่จำเลยใช้ทางพิพาทวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกิจการค้าของจำเลยนั้น เป็นการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยโดยเฉพาะมิได้เกี่ยวกับประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของ ดังนั้น ภารจำยอมจึงไม่อาจเกิดมีขึ้นได้ จำเลยไม่ได้ภารจำยอมในทางพิพาทดังอ้าง กรณีไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่าจำเลยใช้ทางพิพาทมานานเท่าใด เพราะไม่ทำให้คำวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป

          ปัญหาสุดท้ายว่า ค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองเป็นจำนวนเท่าใดนั้น เห็นว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 กำหนดให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเดือนละ 825บาท นั้น เหมาะสมแก่สภาพของทางพิพาทแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น"

          พิพากษายืน

 




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

ทำให้สิทธิภาระจำยอมเสื่อมความสะดวก, บังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, การเพิกถอนภาระจำยอม,
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนทางจำเป็น, อายุความฟ้องร้องค่าทดแทน 10 ปี, หลักเกณฑ์การเปิดทางจำเป็น,
การคัดค้านการรังวัดแนวเขตที่ดิน, ครอบครองปรปักษ์, ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ
ภาระจำยอมไม่มีการใช้ประโยชน์เกินกว่า 10 ปีย่อมระงับสิ้นไป
โจทก์ฟ้องขอให้ชดใช้ค่าทดแทนที่ดินเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่ถูกฟ้องเปิดทางจำเป็น
การนับเวลาการครอบครองเป็นปรปักษ์ที่งอกริมตลิ่ง
ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น
มารดาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยคำสั่งให้บุตรเป็นคนสาบสูญ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม