

ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ) ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2 (ต่อ) 10. คำพิพากษาฎีกาที่ 778/2541 ภาระจำยอมย่อมก่อให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมได้จึงต้องเป็นเจ้าของสามยทรัพย์เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าขณะฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์ให้บุคคลอื่นไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ แม้ตามสัญญาให้ทางผ่านที่ดินระบุว่า หากที่ดินของโจทก์ได้โอนไปยังบุคคลหนึ่งบุคคลใด จ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมยินยอมให้ใช้ทางนั้นเป็นทางผ่านสัญจรไปมาได้ก็ตาม และบุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์จะมีสิทธิอย่างไรก็เป็นเรื่องที่บุคคลจะไปใช้สิทธินั้นเอง เมื่อยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่ามีการไม่ชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจใช้สิทธิดังกล่าวแทนได้ ป.พ.พ. มาตรา 374, 1387, 1401 ภารจำยอมย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โดยอสังหาริมทรัพย์ที่ได้สิทธิภารจำยอมนั้นเรียกสามยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกอยู่ในภารจำยอมนั้นเรียกภารยทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภารจำยอมได้จึงต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าขณะฟ้องคดีนี้โจทก์ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์ให้บุคคลอื่นไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ แม้ตามสัญญาให้ทางผ่านที่ดินระบุว่าหากที่ดินของโจทก์ได้โอนไปยังบุคคลหนึ่งบุคคลใด จ.ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมยินยอมให้ใช้ทางนั้นเป็นทางผ่านสัญจรไปมาได้ก็ตาม และบุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ไปจะมีสิทธิอย่างไรก็เป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ไปจะไปใช้สิทธินั้นเองเมื่อยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่ามีการไม่ชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกนั้นโจทก์ที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจใช้สิทธิดังกล่าวนั้นแทนได้ โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า เมื่อปี 2521 โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 62 ได้ทำหนังสือสัญญาให้ทางผ่านที่ดินกับนายเจิม เพชรคล้าย เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 43ตกลงให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิผ่านที่ดินซึ่งมีสภาพเป็นถนนอยู่แล้วกว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 600 เมตร สูง 1 เมตรมีกำหนดระยะเวลานับแต่วันทำสัญญาถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2524โดยโจทก์ที่ 1 เสียค่าตอบแทน 50,000 บาท ต่อมานายเจิมถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทจึงรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเมื่อสัญญาให้ทางผ่านที่ดินดังกล่าวได้สิ้นสุดลง โจทก์ที่ 1ซึ่งมีที่ดินอยู่ด้านในหลายแปลง และโจทก์ที่ 2 ตลอดจนบุคคลอื่นที่มีบ้านอาศัยอยู่ในหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 5 ได้ใช้ถนนเส้นทางนี้เพื่อทำการค้าขายที่ดิน รับถมดินและผ่านเข้าออกสู่ถนนสุขาภิบาล 5ตามสัญญาดังกล่าวข้อ 4 ระบุว่า เมื่อโจทก์ที่ 1 ใช้ถนนผ่านทางขนดินครบกำหนดตามสัญญาแล้ว แม้ที่ดินของโจทก์ที่ 1 โอนให้แก่ผู้อื่นนายเจิมยอมให้ใช้ทางนี้เป็นทางเดินผ่านสัญจรไปมาตลอดไปโดยไม่เรียกร้องค่าผ่านทาง โจทก์ทั้งสองตลอดจนบุคคลอื่นได้ใช้ถนนเส้นทางดังกล่าวตลอดมาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีแล้ว ถนนเส้นทางนี้จึงอยู่ในภารจำยอมแก่โจทก์ทั้งสองเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2537 จำเลยทั้งสี่ร่วมกันขุดทำลายสภาพเส้นทางภารจำยอมทั้งหมด ทำให้โจทก์ทั้งสองตลอดจนบุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ด้านในไม่สามารถเดินทางเข้าออกสู่ถนนสุขาภิบาล 5 ได้ตามปกติ ซึ่งทำให้เสื่อมความสะดวกในการใช้ประโยชน์แห่งภารจำยอมตามกฎหมาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ถมถนนภารจำยอมซึ่งมีความกว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 600 เมตรสูง 1 เมตร บนที่ดินโฉนดเลขที่ 43 ให้มีสภาพเหมือนเดิมห้ามจำเลยทั้งสี่ขัดขวางการใช้ถนนภารจำยอมหรือทำให้ลดหรือเสื่อมความสะดวกในการใช้ประโยชน์แห่งภารจำยอมของโจทก์ทั้งสองและให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนถนนเส้นทางตามฟ้องเป็นทางภารจำยอมแก่โจทก์ทั้งสอง หากจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาแทนจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า นายเจิม เพชรคล้ายทำหนังสือสัญญาให้ทางผ่านที่ดินแก่โจทก์ที่ 1 ไม่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 สัญญาหมดอายุแล้ว ปัจจุบันเส้นทางดังกล่าวที่ระบุไว้ในสัญญาไม่มีสภาพเป็นทาง ข้อตกลงตามสัญญาข้อ 4ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 43 เพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัวผู้ให้สัญญา จำเลยที่ 3 ให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3เพราะจำเลยที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 43 ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีคงมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองเฉพาะเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีปัญหาประการแรกว่าโจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ให้จดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์ที่ 1 ได้หรือไม่ เห็นว่าภารจำยอมนั้นย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โดยอสังหาริมทรัพย์ที่ได้สิทธิภารจำยอมนั้นเรียกสามยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกอยู่ในภารจำยอมนั้นเรียกภารยทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภารจำยอมได้จึงต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองนั้น โจทก์ทั้งสองอ้างว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 62 และโจทก์ที่ 2ได้ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 โฉนดเลขที่ 43เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางดังกล่าวจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่โจทก์ทั้งสอง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ถมถนนซึ่งเป็นทางภารจำยอมห้ามขัดขวางการใช้ทางภารจำยอมของโจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนทางภารจำยอมแก่โจทก์ทั้งสอง ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวเห็นได้ว่า โจทก์ที่ 1 มุ่งประสงค์ให้จำเลยทั้งสี่ ไม่ให้ขัดขวางการใช้ทางภารจำยอมของโจทก์ที่ 1และให้จดทะเบียนทางภารจำยอมในที่ดินของจำเลยที่ 1 โฉนดเลขที่ 43เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 62 ของโจทก์ที่ 1 นั่นเองเมื่อปรากฏว่าขณะฟ้องคดีนี้โจทก์ที่ 1 ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 62 ให้นางสาวปรียาศิริ ทองวิบูลย์ ไปแล้วโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ตามสัญญาให้ทางผ่านที่ดินเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 4 ระบุว่าหากที่ดินของโจทก์ที่ 1 ได้โอนไปยังบุคคลหนึ่งบุคคลใด นายเจิมซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมยินยอมให้ใช้ทางนั้นเป็นทางผ่านสัญจรไปมาได้ ลักษณะของสัญญาดังกล่าว จึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงเป็นบุคคลสิทธิที่สามารถบังคับกันได้ระหว่างนายเจิมและโจทก์ที่ 1 เมื่อนายเจิมถึงแก่ความตายลงจำเลยที่ 1 ทายาทผู้รับโอนที่ดินของนายเจิม จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ ดังนั้น เพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก โจทก์ที่ 1ผู้ทำสัญญาจึงมีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า บุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 62 จากโจทก์ที่ 1 ไปจะมีสิทธิอย่างไรนั้นเป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ที่ 1 ไปจะไปใช้สิทธินั้นเองเมื่อยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่ามีการไม่ชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกนั้น โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจใช้สิทธิดังกล่าวนั้นแทนได้ พิพากษายืน
คดีก่อนโจทก์ฟ้อง ส. เจ้าของภารยทรัพย์ที่จำเลยรับโอนต่อมา โดยจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ตาม แต่เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาว่าโจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง เป็นทรัพยสิทธิคนละประเภทกับกรรมสิทธ์ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจในอสังหาริมทรัพย์ของตน และภาระจำยอมเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะ ภาระจำยอมจึงย่อมตกติดไปกับอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ แม้จะมีการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปให้แก่บุคคลอื่น ภาระจำยอมก็หาได้หมดสิ้นไปไม่ เว้นแต่กรณีจะต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะโอนทรัพย์ที่พิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตามก็ไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยด้วยในฐานะที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ เมื่อโจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมโดยอายุความตามคำพิพากษาของศาล และจำเลยเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมที่โจทก์ได้มา จำเลยเพิกเฉย แม้จำเลยจะมิได้กระทำการป้องกันหรือขัดขวางมิให้โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ดำเนินการไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมให้แก่โจทก์ตามกฎหมายก็ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ควรจะได้จดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมดังกล่าว การที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอม จึงเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมของโจทก์อย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1391 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์จึงชอบที่จะเรียกให้จำเลยในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมให้แก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยมิให้ป้องกัน ขัดขวางการใช้ทางพิพาทของโจทก์และบริวารเป็นเพียงคำขอบังคับล่วงหน้าเพื่อป้องกันมิให้จำเลยขัดขวางการใช้ทางพิพาทเท่านั้น จึงไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องมีการกระทำตามที่โจทก์ขอบังคับก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย โจทก์ฟ้อง ส.เจ้าของภารยทรัพย์ที่จำเลยรับโอนต่อมาโดยจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่า โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382จึงเป็นการที่โจทก์ได้สิทธิภาระจำยอมอันเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรค 2 เป็นทรัพยสิทธิคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจในอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง และเนื่องจากภาระจำยอมเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะภาระจำยอมจึงย่อมตกติดไปกับอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์แม้จะมีการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปให้แก่บุคคลอื่น ภาระจำยอมก็หาได้หมดสิ้นไป เว้นแต่กรณีจะต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่านั้น ภาระจำยอมจึงจะระงับดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะรับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยด้วยในฐานะที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ 12. คำพิพากษาฎีกาที่ 2091-2092/2542 ภารระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริต ผู้ร้องจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้น ต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภาระจำยอมหาได้ไม่ โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค.และพ.โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1ถึงที่ 4 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลง เดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มีค. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่ 4 หลัง รวมทั้งบ้านของค.บ้านของค.อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็น บุตรหลายและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันใน ระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะโจทก์เป็นบุตร ผู้อาศัยอยู่ในบ้านค. ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกันหลังจากค. ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภารจำยอมการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภารจำยอม ในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยทั้งหกเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3926, 5458 ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกันกับที่ดินของโจทก์ และที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะต้องเดินผ่านที่ดินของจำเลยทั้งหกเป็นทางกว้าง2 เมตร ยาวประมาณ 38 เมตร โดยสงบและเปิดเผย ไม่มีผู้ใดคัดค้านหรือหวงห้ามแต่ประการใดเป็นเวลากว่า 40 ปี จึงเป็นทางภารจำยอมโจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งหกไปจดทะเบียนภารจำยอมแต่จำเลยทั้งหกไม่ดำเนินการและปิดทางกับปลูกสร้างบ้านคร่อมทางดังกล่าว ขอให้พิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม ให้จำเลยทั้งหกเปิดทางพิพาทและไปดำเนินการจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งหก จำเลยทั้งหกให้การต่อสู้คดี ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณา โจทก์ถึงแก่กรรม นางสาวนวลจันทร์ อยู่ฤทธิ์ทายาทของโจทก์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นอนุญาต โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตรนายคุ่ยและนางพริ้ง สมใจ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 ตามเอกสารหมาย จ.1 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 จำเลยที่ 5 ที่ 6เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลงตั้งอยู่ที่ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก (เชียงราก) จังหวัดปทุมธานีเดิมที่ดินทั้งสามแปลงเป็นที่ดินผืนเดียวกัน นายคุ่ยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม โจทก์และผู้อาศัยอยู่ในที่ดินใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะตลอดมาเป็นเวลาประมาณ 40 ปี จนกระทั่งปี 2534 จำเลยที่ 3 ทำรั้วลวดหนาม และประตูรั้วสังกะสีนำแผ่นคอนกรีตมาวางเป็นแนวทางเดินบนทางพิพาทจากประตูรั้วถึงบ้านโจทก์ คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์ได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความหรือไม่ ตามสารบัญจดทะเบียนโฉนดเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 ที่ดินทั้งสามแปลงได้ออกโฉนดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2470 วันที่ 9 มีนาคม 2470 และวันที่8 ตุลาคม 2499 ตามลำดับ โดยนายคุ่ยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินตามโฉนดเอกสารหมาย จ.1 จ.2 พยานโจทก์มีนางสาวนวลจันทร์ อยู่ฤทธิ์ ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์กับหลานโจทก์และจำเลยที่ 3 คือนางสุมิตรา ธีระพันธพงศ์ นายปรีดา จุใจ เป็นพยานเบิกความว่าเดิมที่ดินตามโฉนดเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 เป็นที่ดินผืนเดียวกันมีบ้านปลูกอยู่ 4 หลัง คือบ้านของนายคุ่ย นางสาว (เป็นน้องนายคุ่ย) นายไปล่และนางทองสุข จุใจ (นางทองสุขเป็นน้องจำเลยที่ 3 เป็นพี่โจทก์) และจำเลยที่ 3 บ้านแต่ละหลังไม่มีรั้วบ้านบ้านนายคุ่ยอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาหากจะเดินทางทางเรือก็อาศัยเดินผ่านที่ดินบ้านนายคุ่ยไปลงเรือหากจะเดินทางทางบกก็อาศัยเดินผ่านทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะพยานจำเลยทั้งหกมีจำเลยที่ 3 เบิกความว่า โจทก์อาศัยอยู่ที่บ้านนายคุ่ยตลอดมาจนถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 5 ที่ 6เบิกความว่า จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นลูกพี่ลูกน้องกับโจทก์และจำเลยที่ 3 เห็นว่า ที่ดินทั้งสามแปลงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของนายคุ่ยมาก่อนบ้านนายคุ่ยอยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็นบุตรหลานและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะ โจทก์เป็นบุตรผู้อาศัยอยู่ในบ้านนายคุ่ยก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกันหลังจากนายคุ่ยตายก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์ว่าโจทก์ได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภารจำยอม ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภารจำยอมในทางพิพาท พิพากษายืน ป.พ.พ. มาตรา 1358 โจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตร ค.และพ.โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยที่ 1ถึงที่ 4 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลง เดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน มีค. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทั้งสามแปลงมีบ้านปลูกอยู่ 4 หลัง รวมทั้งบ้านของค.บ้านของค.อยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็น บุตรหลายและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันใน ระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะโจทก์เป็นบุตร ผู้อาศัยอยู่ในบ้านค. ก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกันหลังจากค. ตายก็มิได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภารจำยอมการที่โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภารจำยอม ในทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 และ 5458 ของจำเลยทั้งหก โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 จำเลยทั้งหกเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3926, 5458 ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกันกับที่ดินของโจทก์ และที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะต้องเดินผ่านที่ดินของจำเลยทั้งหกเป็นทางกว้าง2 เมตร ยาวประมาณ 38 เมตร โดยสงบและเปิดเผย ไม่มีผู้ใดคัดค้านหรือหวงห้ามแต่ประการใดเป็นเวลากว่า 40 ปี จึงเป็นทางภารจำยอมโจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งหกไปจดทะเบียนภารจำยอมแต่จำเลยทั้งหกไม่ดำเนินการและปิดทางกับปลูกสร้างบ้านคร่อมทางดังกล่าว ขอให้พิพากษาให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม ให้จำเลยทั้งหกเปิดทางพิพาทและไปดำเนินการจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งหก จำเลยทั้งหกให้การต่อสู้คดี ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นบุตรนายคุ่ยและนางพริ้ง สมใจ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 3924 ตามเอกสารหมาย จ.1 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3926 จำเลยที่ 5 ที่ 6เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5458 ที่ดินทั้งสามแปลงตั้งอยู่ที่ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก (เชียงราก) จังหวัดปทุมธานีเดิมที่ดินทั้งสามแปลงเป็นที่ดินผืนเดียวกัน นายคุ่ยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม โจทก์และผู้อาศัยอยู่ในที่ดินใช้ทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะตลอดมาเป็นเวลาประมาณ 40 ปี จนกระทั่งปี 2534 จำเลยที่ 3 ทำรั้วลวดหนาม และประตูรั้วสังกะสีนำแผ่นคอนกรีตมาวางเป็นแนวทางเดินบนทางพิพาทจากประตูรั้วถึงบ้านโจทก์ คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า โจทก์ได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความหรือไม่ ตามสารบัญจดทะเบียนโฉนดเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 ที่ดินทั้งสามแปลงได้ออกโฉนดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2470 วันที่ 9 มีนาคม 2470 และวันที่8 ตุลาคม 2499 ตามลำดับ โดยนายคุ่ยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินตามโฉนดเอกสารหมาย จ.1 จ.2 พยานโจทก์มีนางสาวนวลจันทร์ อยู่ฤทธิ์ ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์กับหลานโจทก์และจำเลยที่ 3 คือนางสุมิตรา ธีระพันธพงศ์ นายปรีดา จุใจ เป็นพยานเบิกความว่าเดิมที่ดินตามโฉนดเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 เป็นที่ดินผืนเดียวกันมีบ้านปลูกอยู่ 4 หลัง คือบ้านของนายคุ่ย นางสาว (เป็นน้องนายคุ่ย) นายไปล่และนางทองสุข จุใจ (นางทองสุขเป็นน้องจำเลยที่ 3 เป็นพี่โจทก์) และจำเลยที่ 3 บ้านแต่ละหลังไม่มีรั้วบ้านบ้านนายคุ่ยอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยาหากจะเดินทางทางเรือก็อาศัยเดินผ่านที่ดินบ้านนายคุ่ยไปลงเรือหากจะเดินทางทางบกก็อาศัยเดินผ่านทางพิพาทออกสู่ทางสาธารณะพยานจำเลยทั้งหกมีจำเลยที่ 3 เบิกความว่า โจทก์อาศัยอยู่ที่บ้านนายคุ่ยตลอดมาจนถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 5 ที่ 6เบิกความว่า จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นลูกพี่ลูกน้องกับโจทก์และจำเลยที่ 3 เห็นว่า ที่ดินทั้งสามแปลงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของนายคุ่ยมาก่อนบ้านนายคุ่ยอยู่ติดแม่น้ำ ถ้าจะออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะก็เดินผ่านทางพิพาทที่อยู่ในที่ดินของจำเลยทั้งหกซึ่งเป็นบุตรหลานและญาติของตน ลักษณะเป็นการขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติอันเป็นการเดินโดยถือวิสาสะ โจทก์เป็นบุตรผู้อาศัยอยู่ในบ้านนายคุ่ยก็เดินผ่านทางพิพาทในลักษณะเดียวกันหลังจากนายคุ่ยตายก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์ว่าโจทก์ได้เปลี่ยนเจตนาเป็นการใช้ทางพิพาทด้วยเจตนาเป็นทางภารจำยอม ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้จะใช้เป็นเวลานานเท่าใดโจทก์ก็ไม่ได้ภารจำยอมในทางพิพาท พิพากษายืน 14. คำพิพากษาฎีกาที่ 3514-3515/2542 ภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัย มิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในเรื่องทางภาระจำยอมดังกล่าว ป.พ.พ. มาตรา 1387 คดีรวมการพิจารณาพิพากษา เมื่อปรากฏว่าคดีสำนวนแรกราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านในฐานะผู้อาศัย โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และผลแห่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในสำนวนหลังด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ภาระจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัย มิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในเรื่องทางภาระจำยอมดังกล่าว คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน สำนวนแรกโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดที่ 4312 เมื่อ 30 ปีเศษมาแล้ว นางเชื้อ ไวยคูณา เจ้าของกรรมสิทธิ์คนเดิมได้ยกที่ดินแปลงนี้ให้แก่ครอบครัวโจทก์ปลูกบ้านอาศัยเป็นเนื้อที่ 2 งาน 76 ตารางวา ส่วนที่เหลืออีก 3 งาน เป็นเนื้อที่บ้านของจำเลยทั้งสอง นับแต่ได้รับการยกให้ดังกล่าวโจทก์กับครอบครัวได้เข้าครอบครองที่ดินแปลงนี้ โดยถางปรับพื้นที่ปลูกบ้านอาศัย ปลูกไม้ยืนต้นและปลูกไผ่เป็นแนวรั้ว เป็นการครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 30 ปีเศษ ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ทราบดี เมื่อประมาณต้นเดือนกรกฎาคม 2536 โจทก์ไปติดต่อขอให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดสอบเขตที่ดินแปลงดังกล่าวและให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเฉพาะส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านอยู่อาศัยเป็นชื่อของโจทก์ โจทก์จึงทราบว่าจำเลยที่ 1 จดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดดังกล่าว ซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ขอให้ศาลมีคำพิพากษาว่าที่ดินโฉนดที่ 4312 เฉพาะส่วนที่ปลูกบ้านอยู่อาศัยของโจทก์เนื้อที่ 2 งาน 76 ตารางวา ตามแผนที่ท้ายคำฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินแปลงนี้ และให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งแยกเฉพาะส่วนดังกล่าวให้แก่โจทก์ หากไม่ไปให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่า นางเชื้อไม่เคยยกที่ดินโฉนดที่ 4312ให้แก่โจทก์ นางเชื้อได้ให้นายอู๊ด ไวยคูณา สามีโจทก์และโจทก์ปลูกบ้านอาศัยอยู่เป็นเนื้อที่ประมาณ 50 ตารางวา โจทก์จึงไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของสำหรับจำเลยที่ 1 ได้รับจดทะเบียนยกให้จากนางเชื้อซึ่งเป็นมารดาเมื่อประมาณ 34 ปีมาแล้ว ต่อมาได้จดทะเบียนให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรเข้าถือกรรมสิทธิ์รวมเมื่อปี 2531 โจทก์ก็ทราบและไม่เคยโต้แย้ง จำเลยทั้งสองไม่ประสงค์ที่จะให้โจทก์อยู่ในที่ดินแปลงนี้อีกต่อไป ขอให้ยกฟ้อง และบังคับให้โจทก์รื้อถอนบ้านเลขที่ 3/1 ของโจทก์ออกไปจากที่ดินโฉนดที่ 4312 กับห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินของจำเลยอีกต่อไป โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ปลูกบ้านในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิขับไล่ให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไป ขอให้ยกฟ้องแย้ง สำนวนหลังโจทก์ฟ้องว่า นับแต่โจทก์ได้เข้าครอบครองปลูกบ้านในที่ดินในสำนวนแรกเป็นเวลา 30 ปีเศษ โจทก์และบุคคลในครอบครัวของโจทก์ได้ใช้ทางผ่านเข้าออกจากบ้านของโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะด้านทิศใต้ของที่ดินโจทก์ซึ่งอยู่ติดกับคลองชลประทาน โดยผ่านที่ดินซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองเป็นความยาว 62 เมตร กว้าง 3.5 เมตร ตามแผนที่สังเขปท้ายคำฟ้องโดยไม่มีผู้ใดคัดค้านหรือขัดขวาง โจทก์ยังได้ปรับปรุงถมดินให้สูงขึ้นและวางท่อระบายน้ำลงสู่คลองชลประทานเพื่อความสะดวกในการใช้ทาง เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2536 จำเลยทั้งสองได้ต่อเติมบ้านโดยทำห้องน้ำบนทางพิพาทดังกล่าว เป็นการปิดกั้นทางเข้าออกของโจทก์สู่ทางสาธารณะโดยไม่สุจริต และจำเลยทั้งสองยังได้ปิดประตูใส่กุญแจ ไม่ให้โจทก์และบริวารเข้าออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวได้ ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองเปิดทางพิพาทตามเส้นสีแดงในแผนที่สังเขปท้ายคำฟ้อง กว้าง 3.5 เมตร ยาว 62 เมตร ห้ามจำเลยทั้งสองปิดประตูที่ออกสู่ทางสาธารณะ ให้จำเลยทั้งสองรื้อห้องน้ำที่ปลูกขวางกั้นทางพิพาทออก ห้ามจำเลยและบริวารปิดกั้นทางพิพาท และให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนให้ทางพิพาทดังกล่าวเป็นทางภาระจำยอม หากจำเลยทั้งสองไม่ไปจดทะเบียน ก็ขอให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดี ขอให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำนวนแรกราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจำนวน 100,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์อยู่ในที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านในฐานะผู้อาศัย แต่ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่โจทก์ปลูกบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในสำนวนหลังว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ เห็นว่า ในสำนวนแรกฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์อยู่ในที่ดินพิพาทในฐานะผู้อาศัย ผลแห่งคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่ความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ศาลฎีกา จึงต้องถือตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้อาศัยมิใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง เพราะภารจำยอมในเรื่องทางเดินเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น พิพากษายืนในสำนวนหลัง และยกฎีกาของโจทก์ในสำนวนแรกให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดในสำนวนแรกแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกานอกจากที่สั่งคืนให้เป็นพับ 15. คำพิพากษาฎีกาที่ 1565/2543 จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการขาย ต่อมาจำเลยจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแต่ยังไม่จดทะเบียนภาระจำยอม แต่ได้ทำหนังสือยืนยันว่าจะจดทะเบียนภาระจำยอมของโจทก์ภายหลัง จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ที่ดินของจำเลยจึงตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินโจทก์ ป.พ.พ. มาตรา 1387 ปัญหาว่าโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ซึ่งขายที่ดินส่วนที่เหลือจากที่ขายให้จำเลย (ซึ่งเป็นสามยทรัพย์) ให้บุคคลอื่นไปแล้วจะมีสิทธิฟ้องจำเลยบังคับเรื่องภารจำยอมได้หรือไม่ เป็นปัญหาอำนาจฟ้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลจึงวินิจฉัยให้ เมื่อได้ความว่าโจทก์ที่ 4 และที่ 5 เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายและบันทึก ซึ่งกำหนดให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 โจทก์ที่ 4 และที่ 5 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อบังคับสิทธิตามสัญญาและบันทึกดังกล่าวได้ จำเลยทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากโจทก์ทั้งห้า โดยมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งห้าในส่วนที่เหลือจากการขาย ต่อมาจำเลยจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแต่ยังไม่จดทะเบียนภารจำยอม แต่ได้ทำหนังสือยืนยันว่าจะจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์ทั้งห้าภายหลัง จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ที่ดินของจำเลยจึงตกอยู่ในภารจำยอมของที่ดินโจทก์ทั้งห้า โจทก์ทั้งห้าฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยมอบอำนาจให้นางบุญเลี้ยงปันตระกูล ทำสัญญาจะซื้อที่ดินเนื้อที่ 44 ตารางวา จากโจทก์ที่ 1 เนื้อที่36 ตารางวา จากโจทก์ที่ 2 เนื้อที่ 44 ตารางวา จากโจทก์ที่ 3 เนื้อที่ 64ตารางวา จากโจทก์ที่ 4 และเนื้อที่ 24 ตารางวา จากโจทก์ที่ 5 โดยจำเลยตกลงที่จะสร้างถนนคอนกรีตกว้าง 6 เมตร พร้อมวางท่อระบายน้ำกว้างข้างละ 1 เมตร รวม 8 เมตร และจดทะเบียนให้ที่ดินที่จำเลยซื้อทั้งหมดดังกล่าวตกลงอยู่ในภารจำยอมของที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์ทั้งห้าให้พาหนะ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ท่อระบายน้ำ และสาธารณูปโภคอื่น ๆผ่านได้ จำเลยได้รับโอนที่ดินจากโจทก์ทั้งห้าแล้ว และทำบันทึกว่าจะจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งห้า แต่ภายหลังจำเลยไม่จัดการจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินที่เหลือของโจทก์ทั้งห้าขอให้พิพากษาว่าที่ดินของจำเลยที่ซื้อจากโจทก์ทั้งห้าคือตามโฉนดที่ดินเลขที่ 129906, 128762, 128763, 129605, 949, 108638,108640 และ 108641 ตำบลบางไผ่ อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครตกอยู่ในบังคับภารจำยอมแก่ที่ดินส่วนที่เหลือของที่ดิน โจทก์ทั้งห้าในเรื่องให้มีและใช้ทางเดินผ่านเข้าออกได้ ให้รถยนต์และพาหนะเข้าออกได้ ให้ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ท่อระบายน้ำ และสาธารณูปโภคอื่น ๆ ผ่านเข้าออกได้ทั้งบนดินและใต้ดิน ให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดินสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาหนองแขมหรือสำนักงานที่ดินเกี่ยวข้องถ้าจำเลยไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ที่ดินของจำเลยที่ซื้อไปจากโจทก์ทั้งห้าโฉนดเลขที่ 129906, 128762, 128763, 129605, 949, 108638,108640, 108641 ตำบลบางไผ่ อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครตกอยู่ในบังคับภารจำยอมเต็มทั้งแปลงเรื่องทางเดิน ทางรถยนต์ ทางระบายน้ำ ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์และสาธารณูปโภคอื่น ๆทุกชนิดแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งห้าในที่ดินโฉนดเดียวกับของจำเลยข้างต้น ให้จำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์ทั้งห้า หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา จำเลยอุทธรณ์ โจทก์ทั้งห้าฎีกา มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการสุดท้ายตามที่จำเลยแก้ฎีกาว่าโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ได้ขายที่ดินส่วนที่เหลือจากที่ขายให้จำเลย (ซึ่งเป็นสามยทรัพย์) ไปแล้วจะมีสิทธิฟ้องจำเลยบังคับเรื่องภารจำยอมตามฟ้องได้หรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวนจะได้ความว่าโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ได้ขายที่ดินส่วนที่เหลือจากที่ได้ขายให้จำเลยตามโฉนดที่ดินเอกสารหมาย จ.25 และ จ.26 ให้แก่ผู้อื่นไปแล้วก็ตาม แต่โจทก์ที่ 4 และที่ 5 เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายและบันทึกเอกสารหมาย จ.6, จ.21, จ.17และ จ.28 ซึ่งกำหนดให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ดังนั้น การที่โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ฟ้องจำเลยจึงเป็นการฟ้องบังคับสิทธิตามสัญญาและบันทึกดังกล่าว ย่อมกระทำได้โจทก์ที่ 4 และที่ 5 จึงมีอำนาจฟ้อง" พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 129605 นอกจากที่แก้ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น 16. คำพิพากษาฎีกาที่ 2968/2543 ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์จึงซื้อที่ดินจากจำเลยโดยมีข้อตกลงว่า จำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ได้ภาระจำยอมเหนือที่ดินทุกแปลงที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ จำเลยก็ได้แบ่งแยกที่ดินจนเหลือเป็นรูปถนนจดที่ดินของโจทก์ และจดที่ดินทั้งสี่แปลงที่โจทก์ซื้อจากจำเลยเพิ่มเติม ซึ่งโจทก์อาจใช้เป็นถนนขนาดให้รถยนต์เข้าออกได้หมด ข้อตกลงเช่นนี้แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี ป.พ.พ. มาตรา 194, 369, 797, 800, 801 การมอบอำนาจให้ฟ้องหรือต่อสู้คดี ย่อมหมายความว่ามอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนทั้งเรื่องจนกว่าจะเสร็จสิ้น การที่จะมีคู่ความฝ่ายอื่นเช่นผู้ร้องสอดหรือผู้ร้องขัดทรัพย์เข้ามาในคดีหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่อาจรู้ได้ในขณะที่เริ่มฟ้องหรือต่อสู้คดีผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวความในการต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาในคดีในภายหลังได้ ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์จึงซื้อที่ดินจากจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ได้ภารจำยอมเหนือที่ดินทุกแปลงที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะจำเลยก็ได้แบ่งแยกที่ดินจนเหลือเป็นรูปถนนจดที่ดินของโจทก์และจดที่ดินทั้งสี่แปลงที่โจทก์ซื้อจากจำเลยเพิ่มเติม ซึ่งโจทก์อาจใช้เป็นถนนขนาดให้รถยนต์เข้าออกได้หมด ข้อตกลงเช่นนี้แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี จำเลยโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และมีการทำแผนที่พิพาทแล้ว โดยจำเลยและจำเลยร่วมทราบข้อเท็จจริงที่ถูกฟ้องแล้วว่าที่ดินแปลงนี้จะต้องถูกบังคับให้ตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีกล่าวอ้างว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทไปโดยรู้แล้วว่าที่ดินแปลงนี้กำลังถูกฟ้องบังคับให้ตกอยู่ในภารจำยอมเท่ากับจำเลยร่วมรับโอนโดยไม่สุจริตเมื่อจำเลยร่วมยื่นคำให้การเข้ามาในคดี จำเลยร่วมหาได้ปฏิเสธว่าตนเองรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมยอมรับตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้วว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตสิทธิและหน้าที่ของจำเลยในที่ดินแปลงนี้มีอยู่อย่างไร จำเลยร่วมย่อมต้องรับโอนจากจำเลยไปทั้งหมด รวมทั้งหน้าที่ที่จะต้องถูกบังคับให้ที่ดินแปลงนี้ตกอยู่ในภารจำยอม โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5477, 5478,14941 ถึง 14944 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 และ26854 และเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 23440 กับนางสมรักษ์คำสุวรรณ ซึ่งถึงแก่กรรมแล้วโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกเดิมที่ดินของโจทก์ทั้งหกแปลงและที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 และ 23440 เป็นที่ดินแปลงเดียวกันคือโฉนดเลขที่ 2207 โดยมีทางออกสู่ทางสาธารณะทางเดียวคือทางที่ดินโฉนดเลขที่ 26854 เพื่อผ่านไปยังที่ดินโฉนดเลขที่ 1267 ซึ่งมีจำเลยที่ 1 กับพวกเป็นเจ้าของ และทางดังกล่าวนี้จำลยที่ 1 และเจ้าของยกให้เป็นทางสาธารณะใช้ชื่อว่าซอยประชาอุทิศ 59 (ซอยรุ่งเรือง) ต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 2207 มีการแบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงจึงทำให้ที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 5477 และ 5478 ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 เจ้าของเดิมคือนายถมยา รุ่งเรือง บิดาจำเลยที่ 1 ได้จัดสรรแบ่งแยกและขายให้แก่โจทก์ 4 แปลง คือ โฉนดเลขที่ 14941 ถึง 14944 และมีการตกลงจดทะเบียนภารจำยอมให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 เป็นทางเข้าออกแก่ที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 5477 และ 5478 กับจำเลยที่ 1 กับพวกยังได้จดทะเบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 1267 เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ด้วย ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 23440 ได้ถูกกันไว้เป็นทางเข้าออกแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 ต่อมาจำเลยที่ 1 ก่อสร้างบ้านพักและปักป้ายห้ามผ่านบนที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 และ 23440 เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถผ่านเข้าออกที่ดินของโจทก์ทั้งหกแปลงดังกล่าวได้ โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสองเปิดทางพิพาท แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 และ 23440 เป็นทางจำเป็นและทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ โฉนดเลขที่ 5477, 5478, 14941, 14942, 14943 และ 14944 ให้โจทก์และบริวารมีสิทธิใช้ทางพิพาทบนที่ดินทั้งสองแปลงของจำเลยทั้งสองได้ และให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสองสร้างบนที่ดินอันเป็นทางพิพาทและมิให้จำเลยทั้งสองขัดขวางการใช้ทางบนที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 และ 23440 ถ้าจำเลยทั้งสองไม่รื้อถอนให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจรื้อถอนเองได้โดยจำเลยทั้งสองร่วมกันเสียค่าใช้จ่ายให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 5479 และ 23440 เป็นทางภารจำยอมของที่ดินโฉนดเลขที่ 5477, 5478, 14941, 14942, 14943 และ14944 ของโจทก์ถ้าจำเลยทั้งสองไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนากับให้พิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1267และ 26854 เป็นทางสาธารณะ จำเลยที่ 1 ให้การว่า ที่ดินของโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้มีอาณาเขตติดต่อกันทุกแปลงกับมิได้แบ่งแยกมาจากที่ดินแปลงเดียวกัน ที่ดินของโจทก์นั้นมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้วคือทางด้านทิศเหนือมีอาณาเขตติดคลองแจงร้อนซึ่งเป็นคลองสาธารณประโยชน์ จำเลยที่ 1 ไม่เคยปิดกั้นหรือขัดขวางการใช้ทางเข้าออกของโจทก์ จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของจำเลยที่ 1 มิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่เคยตกลงว่าจะไปจดทะเบียนให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 และ 23440 เป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งหกแปลงส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 1267 และ 26854 รัฐเท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหายฟ้องคดี โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากล่วงเลยเวลามาเกือบ 20 ปีนับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2518 อันเป็นวันที่โจทก์อ้างว่าทำข้อตกลงเรื่องภารจำยอมกัน ขอให้ยกฟ้อง จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ระหว่างพิจารณา โจทก์ยื่นคำร้องขอให้หมายเรียกนางสาวบุญเรืองลิจันทร์พร ผู้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 เข้าเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกนางสาวบุญเรืองเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จำเลยร่วมให้การว่า ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งอ้างว่าจำเลยที่ 1 ตกลงจะไปจดทะเบียนภารจำยอมที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 ให้แก่โจทก์นั้น ใช้บังคับแก่จำเลยร่วมไม่ได้เนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิ และข้อตกลงนั้นมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดินของโจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะคือออกทางด้านทิศเหนือซึ่งติดกับคลองแจงร้อนและมีทางเข้าออกผ่านที่ดินของจำลยที่ 1 โจทก์ไม่เคยใช้ทางพิพาทตลอดระยะเวลาประมาณ 30 ปี ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน คดีโจทก์ขาดอายุความแล้วเพราะฟ้องคดีเกิน 10 ปี ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 เป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่ 5477, 5478, 14941, 14942, 14943 และ 14944 ให้โจทก์และบริวารมีสิทธิใช้ภารจำยอมนั้นเป็นทางสัญจรออกสู่ถนนสาธารณะ ให้จำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นขัดขวางการใช้สิทธิดังกล่าว ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 23440, 1267 และ 26854 เป็นทางสาธารณะตามกฎหมายแล้วจึงให้ยกคำขอของโจทก์ส่วนนี้และคำขอส่วนอื่น ๆ นอกจากที่พิพากษาไปแล้ว จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5477, 5478 และ 14941 ถึง 14944 จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 5479, 26854 และถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 23440 ร่วมกับนางสมรักษ์ คำสุวรรณซึ่งถึงแก่กรรมแล้วและมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก กับถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 1267 ร่วมกับบุคคลอื่นจำเลยร่วมเป็นผู้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 จากจำเลยที่ 1 หลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 1267, 26854 และ 23440 นั้น ผู้เป็นเจ้าของได้อุทิศให้เป็นทางสาธารณะแล้ว โดยที่ดินโฉนดเลขที่ 1267 คือซอยประชาอุทิศ 59 ที่ดินโฉนดเลขที่ 26854 คือซอยรุ่งเรือง 2 ซึ่งเป็นทางออกสู่ซอยประชาอุทิศ 59 ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 23440 เป็นทางเชื่อมระหว่างซอยรุ่งเรือง 2 กับที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 และที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 เป็นแนวกั้นที่ดินของโจทก์ทั้งหกแปลงที่จะออกสู่ที่ดินโฉนดเลขที่ 23440 เพื่อผ่านซอยรุ่งเรือง 2 ไปยังซอยประชาอุทิศ 59 จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างบ้าน 2 หลัง ลงในที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 โดยหลังหนึ่งล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดเลขที่ 23440 ตามแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.33 และแผนที่แสดงที่ดินโจทก์และจำเลยเอกสารหมาย ล.12 คดีมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาเฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 เท่านั้น ที่จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยตกลงจะจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 ให้โจทก์นั้น ข้อเท็จจริงได้ความตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 นำสืบรับกันว่า เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2518 โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 14941 ถึง 14944 รวม 4 โฉนด จากจำเลยที่ 1 และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 กับเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ทั้งหมดในที่ดินโฉนดเลขที่ 1267 ได้จดทะเบียนภารจำยอมในเรื่องทางเดินโดยให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 1267 ตกอยู่ในภารจำยอมในเรื่องทางเดินแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 5477 และ 5478 ของโจทก์โดยไม่มีค่าตอบแทนและยินยอมให้รถยนต์ยวดยานพาหนะผ่านเข้าออกได้ และรูปคดีเชื่อได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 14941 ถึง 14944 จากจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องจัดให้โจทก์ได้ภารจำยอมเหนือที่ดินทุกแปลงที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะดังที่จำเลยที่ 1 ได้แบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 จนเหลือเป็นรูปถนนจดที่ดินโฉนดเลขที่ 5478 ของโจทก์ และจดที่ดินทั้งสี่แปลงที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 เพิ่มเติม ซึ่งโจทก์อาจใช้เป็นถนนขนาดให้รถยนต์เข้าออกได้หมด และข้อตกลงเช่นนี้แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี ที่จำเลยร่วมฎีกาว่า ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลสิทธิ บังคับได้เฉพาะคู่สัญญา จำเลยร่วมเป็นบุคคลภายนอกไม่ต้องผูกพันด้วยและไม่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น เห็นว่า ตามคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีได้บรรยายไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 ให้แก่จำเลยร่วมภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และมีการทำแผนที่พิพาทแล้ว โดยจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมทราบข้อเท็จจริงที่ถูกฟ้องแล้วว่าที่ดินแปลงนี้จะต้องถูกบังคับให้ตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 ไปโดยรู้แล้วว่าที่ดินแปลงนี้กำลังถูกฟ้องบังคับให้ตกอยู่ในภารจำยอม เท่ากับจำเลยร่วมรับโอนโดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยร่วมยื่นคำให้การเข้ามาในคดี จำเลยร่วมหาได้ปฏิเสธว่าตนเองรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 โดยสุจริตไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมยอมรับตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้วว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5479 โดยไม่สุจริต สิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในที่ดินแปลงนี้มีอยู่อย่างไร จำเลยร่วมย่อมต้องรับโอนจากจำเลยที่ 1 ไปทั้งหมดรวมทั้งหน้าที่ที่จะต้องถูกบังคับให้ที่ดินแปลงนี้ตกอยู่ในภารจำยอมตามที่โจทก์ฟ้องด้วยทำนองเดียวกันกับการรับโอนสิทธิซึ่งอยู่ในระหว่างที่มีข้อพิพาทเป็นคดีความกันอยู่ และจำเลยร่วมซึ่งกระทำการโดยไม่สุจริตย่อมไม่อาจอ้างความคุ้มครองตามกฎหมายใด ๆ ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ ที่จำเลยร่วมฎีกาข้อสุดท้ายว่า ตามหนังสือมอบอำนาจ เอกสารหมาย จ.1 โจทก์มอบอำนาจให้นายวิเชียรดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแก่จำเลยร่วม การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์หรือทนายโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีจึงเป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องหรือต่อสู้คดีย่อมหมายความว่ามอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนทั้งเรื่องจนกว่าจะเสร็จสิ้นการที่จะมีคู่ความฝ่ายอื่นเช่นผู้ร้องสอดหรือผู้ร้องขัดทรัพย์เข้ามาในคดีหรือไม่เป็นเรื่องที่ไม่อาจรู้ได้ในขณะที่เริ่มฟ้องหรือต่อสู้คดี ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวความในการต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาในคดีในภายหลังได้ พิพากษายืน
ปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา ไม่ว่าจะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ คู่ความต้องกล่าวมาโดยชัดแจ้งในอุทธรณ์หรือฎีกาเพื่อศาลจะได้ทราบรายละเอียดว่าคู่ความติดใจอุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งปัญหาใดได้โดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยกล่าวอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่วินิจฉัยได้ เพราะไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ในชั้นยื่นคำร้องขอแบ่งแยกที่ดิน ก. ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานแทนจำเลยว่า จำเลยทราบแล้วว่าการจัดแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยติดต่อกัน10 แปลง ขึ้นไป เพื่อจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนโดยมีการให้คำมั่นโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะต่าง ๆหรือปรับปรุงที่นั้น ๆ ให้เป็นที่อยู่อาศัย ประกอบการพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งผู้จัดสรรจะต้องได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ การที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินและจัดแบ่งที่ดิน แปลงพิพาทเป็นถนนก็เพื่อประโยชน์ในการขายที่ดินของตน ถนน ที่จัดแบ่งดังกล่าวเป็นสาธารณูปโภคเพื่อการขาย ตกเป็นภารจำยอม สำหรับโจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลยแบ่งแยกขายตามความหมายของ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 แล้ว จำเลยไม่มีสิทธิ ปิดกั้นมิให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลยแบ่งขายได้ใช้สอย ไม่มีกฎหมายใดห้ามการจดทะเบียนภารจำยอมตาม ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ทั้งการที่โจทก์ฟ้องบังคับ ให้จดทะเบียนภารจำยอมเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ ภารจำยอมอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 ภารจำยอมนั้นเกิดได้โดยทางนิติกรรม โดยกฎหมายหรือโดยอายุความจากการใช้ การที่โจทก์บรรยายคำฟ้องว่าทางพิพาทเป็นภารจำยอม ตามกฎหมายและโดยอายุความจากการใช้ หาเป็นคำฟ้องจำเลยเข้าใจ คำฟ้องและต่อสู้คดี การได้มาซึ่งภารจำยอมของโจทก์ทั้งสองทาง เป็นการแสดงอยู่ในตัวว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 40783ซึ่งเดิมมีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวา จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันนำมาจัดสรรที่ดินออกเป็นแปลงย่อยรวม 13 แปลง พร้อมทั้งได้ก่อสร้างตึกแถวลงบนที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยดังกล่าวรวม 10 ห้อง มีทางเข้าออกทั้งด้านหน้าและหลังตึก ด้านหน้าติดกับถนนสุขุมวิท 77 (ซอยอ่อนนุช) ส่วนด้านหลังตึกแถวเว้นที่ดินไว้เป็นถนนและที่จอดรถยนต์เนื้อที่ 88 ตารางวา กว้าง 6 เมตรยาวตลอดแนวตึกและให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นโฉนดเลขที่ดินเดิม การจัดสรรที่ดินของจำเลยเพื่อปลูกตึกแถวขายโดยจัดให้มีสาธารณูปโภคเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515ต่อมาประมาณเดือนพฤศจิกายน 2522 ถึงเดือนมกราคม 2523 โจทก์ได้ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 148865 ซึ่งเป็นแปลงที่แบ่งย่อยออกมาพร้อมตึกแถวเลขที่ 46/6 หมู่ที่ 8 จากจำเลยทั้งสอง และโจทก์ได้ใช้ที่ดินบริเวณหลังตึกเป็นทางสัญจรเข้าออกสู่ถนนสุขุมวิท 77 ตามที่จำเลยจัดไว้ให้ใช้โดยสงบและเปิดเผยติดต่อกันเป็นเวลามากกว่าสิบปี ถนนดังกล่าวจึงตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ ต่อมาประมาณปลายปี 2538 จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันปิดกั้นทางเข้าออกด้านหลังตึกแถวเฉพาะห้องของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปิดกั้นที่ทำลงบนที่ดินโฉนดเลขที่ 40783 และให้จำเลยที่ 1 นำที่ดินแปลงดังกล่าวไปจดทะเบียนภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 148865 ของโจทก์ โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1กับให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อีกเดือนละ 600 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะรื้อถอนสิ่งที่ปิดกั้นแล้วเสร็จ จำเลยที่ 1 ให้การว่า ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม เพราะบรรยายว่าถนนพิพาทเป็นภารจำยอมโดยกฎหมาย และเป็นภารจำยอมที่ใช้มาโดยสงบเปิดเผยเป็นเวลาติดต่อกันกว่า 10 ปี ซึ่งขัดกันในตัว จำเลยที่ 1ไม่เคยจัดสรรที่ดิน จำเลยที่ 1 เพียงแบ่งแยกในนามเจ้าของที่ดินเดิมและขายแก่บุคคลทั่วไป ถนนพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จัดทำไว้เพื่อให้จำเลยที่ 1 และผู้เช่าบ้านของจำเลยที่ 1 ใช้เป็นทางสัญจรเข้าออกสู่ถนนอ่อนนุชเท่านั้น ส่วนบุคคลอื่นหากจะใช้ถนนพิพาทต้องขออนุญาตจากจำเลยที่ 1 ก่อนโจทก์ไม่เคยพักอาศัยในที่ดินและตึกแถวของโจทก์จำเลยที่ 1 ปิดกั้นถนนพิพาทมิให้โจทก์หรือบุคคลที่อาศัยในตึกแถวของโจทก์ผ่านเข้าออกตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปัจจุบัน ที่โจทก์อ้างว่าใช้ถนนพิพาทมาเกินกว่า10 ปี จึงเป็นความเท็จ ความเสียหายที่โจทก์อ้างว่าต้องไปเช่าที่จอดรถยนต์นั้นมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิด และขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รื้อสิ่งปิดกั้นที่ก่อขึ้นบนที่ดินโฉนดเลขที่ 40783 และดำเนินการจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวตกแก่ที่ดินโจทก์ทั้งแปลง หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก จำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ในปัญหาที่จำเลยที่ 1 ร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเป็นการไม่ชอบ เพราะกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น เห็นว่า ปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความติดใจจะยกขึ้นว่ากล่าวไม่ว่าในชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา ไม่ว่าจะเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือไม่ คู่ความต้องกล่าวมาโดยชัดแจ้งในอุทธรณ์หรือฎีกา เพื่อศาลจะได้ทราบรายละเอียดว่าคู่ความติดใจอุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งปัญหาใดได้โดยชัดแจ้ง เมื่อจำเลยที่ 1 กล่าวอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่วินิจฉัยได้ เพราะไม่เป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับปัญหาที่จำเลยที่ 1 โต้แย้งว่า การแบ่งแยกที่ดินของจำเลยที่ 1เกิน 10 แปลง แต่จำเลยที่ 1 ขายไปเพียง 8 แปลง กรณีของจำเลยที่ 1ไม่ใช่การจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 นั้น เห็นว่าในชั้นยื่นคำร้องขอแบ่งแยกตามเอกสารหมาย จ.34 นายกิตติ เนติมงคลได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานแทนจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ทราบแล้วว่าการจัดแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยติดต่อกันตั้งแต่ 10 แปลง ขึ้นไปเพื่อจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทน โดยมีการให้คำมั่นโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะต่าง ๆ หรือปรับปรุงที่นั้น ๆ ให้เป็นที่อยู่อาศัย ประกอบการพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515ซึ่งผู้จัดสรรจะต้องได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าการจัดสรรแบ่งที่ดินของจำเลยที่ 1ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินตามที่กล่าว เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือปรับปรุงใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ข้อที่จำเลยที่ 1อ้างเรื่องแบ่งแยกขายเพียง 8 แปลง นอกนั้นยกให้บุตรนั้น จำเลยที่ 1 เพิ่งกล่าวอ้างขึ้นในชั้นสืบพยาน ซึ่งแตกต่างกับที่นายกิตติให้ถ้อยคำไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน ทั้งข้อเท็จจริงฟังได้โดยจำเลยที่ 1 ไม่ฎีกาโต้แย้งว่าการให้โดยเสน่หาแก่บุตรเกิดขึ้นเมื่อปี 2531 และปี 2534 หลังจากจำเลยที่ 1ก่อสร้างตึกแถวเสร็จแล้วถึง 10 ปีเศษ ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีน้ำหนักรับฟัง การที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินและจัดแบ่งที่ดินแปลงพิพาทเป็นถนนก็เพื่อประโยชน์ในการขายที่ดินของตนถนนที่จัดแบ่งดังกล่าวเป็นสาธารณูปโภคเพื่อการขายตกเป็นภารจำยอมสำหรับโจทก์ ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกขายตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิปิดกั้นมิให้โจทก์ผู้ซื้อที่ดินที่จำเลยที่ 1 แบ่งขายได้ใช้สอย ปัญหาตามฎีกาจำเลยที่ 1 ข้อต่อไปที่ว่า เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าถนนพิพาทเป็นภารจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286ข้อ 30 แล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 ต้องจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง อีกนั้นเห็นว่า ไม่มีกฎหมายใดห้ามการจดทะเบียนภารจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ทั้งการที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จดทะเบียนภารจำยอมเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้มีการจดทะเบียนภารจำยอมทางพิพาทชอบแล้ว สำหรับปัญหาที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะคำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า ถนนพิพาทเป็นภารจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 แล้ว กลับบรรยายคำฟ้องว่า ถนนพิพาทเป็นภารจำยอมจากการที่โจทก์ใช้สอยมาเกิน 10 ปี อีกนั้น เห็นว่า ภารจำยอมนั้นเกิดได้โดยทางนิติกรรม โดยกฎหมาย หรือโดยอายุความจากการใช้ได้ทั้งสามทาง การที่โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นภารจำยอมตามกฎหมายและโดยอายุความจากการใช้ หาเป็นคำฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 1 เข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีการได้มาซึ่งภารจำยอมของโจทก์ทั้งสองทางเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุมไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลงต่อสู้คดี" พิพากษายืน |