ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง

 เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง

ที่ดินพิพาทตกเป็นของบิดาผู้ร้องตั้งแต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ต่อมาที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่อาจอ้างการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ คดีนี้จึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์

ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ร้องเป็นเจ้าของสิทธิครอบครอง และต้องถือว่าการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 14028  ที่ออกทับที่ดินพิพาท จึงเป็นการออกโดยไม่ชอบ สมควรต้องเพิกถอนเสีย ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 14028 ในส่วนที่ออกทับที่ดินพิพาท โดยให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2563

การครอบครองที่จะให้ได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ ทั้งจะต้องเป็นการครอบครองในลักษณะที่เป็นปรปักษ์ต่อสิทธิของผู้อื่น กล่าวคือ เจ้าของเดิมจะต้องยังคงมีสิทธิอยู่ในทรัพย์สินนั้น ๆ ถ้าไม่มีสิทธิหรือสิทธิที่มีอยู่สิ้นไปแล้ว การที่คนใหม่เข้ามาใช้สิทธิครอบครองในทรัพย์สินแทน ก็หาใช่เป็นการครอบครองปรปักษ์ไม่ถ. และ ส. ได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่บิดาผู้ร้องตั้งแต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ต่อมาที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องบรรยายคำร้องขอโดยยืนยันความเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเช่นนี้ ผู้ร้องก็ไม่อาจอ้างการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1382 ได้ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ที่ดินเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ 3 งาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 14028 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 14028 เฉพาะส่วนในเนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 56 ตารางวา ตามเส้นสีแดงในแผนที่พิพาทฉบับลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายอานนต์ ผู้ร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ให้ผู้คัดค้านชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนผู้ร้อง โดยกำหนด ค่าทนายความ 7,500 บาท

ผู้คัดค้านอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

ผู้คัดค้านฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องถึงแก่ความตาย นางกุหลาบ ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาต

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า นายนาคและนายสนั่น เป็นบุตรของนายถนอมและนางไสว ผู้ร้องเป็นบุตรของนายสนั่นและนางกลม ส่วนผู้คัดค้านเป็นบุตรของนายนาค ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 56 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ เดิมที่ดินแปลงใหญ่เป็นที่ดินมือเปล่า เป็นของนายถนอมและนางไสว ปี 2520 นายนาคนำที่ดินของนายถนอมและนางไสวดังกล่าวทั้งแปลงไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) เลขที่ 1469 ให้แก่นายนาค ต่อมาประมาณปี 2541 นายนาคนำที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปขอออกโฉนดที่ดิน ทางราชการออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 14028 ให้แก่นายนาค โดยเป็นการออกตามความในมาตรา 58 ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า คดีนี้มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 บัญญัติว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์” การครอบครองที่จะให้ได้กรรมสิทธิ์ตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้จึงต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ ทั้งจะต้องเป็นการครอบครองในลักษณะที่เป็นปรปักษ์ต่อสิทธิของผู้อื่น กล่าวคือ เจ้าของเดิมจะต้องยังคงมีสิทธิอยู่ในทรัพย์สินนั้น ๆ ถ้าไม่มีสิทธิหรือสิทธิที่มีอยู่สิ้นไปแล้ว การที่คนใหม่เข้ามาใช้สิทธิครอบครองในทรัพย์สินแทน ก็หาใช่เป็นการครอบครองปรปักษ์ไม่ คดีนี้ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องขอว่า เมื่อประมาณปี 2500 นายถนอมและนางไสวยกที่ดินแปลงหนึ่งเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินมือแปล่าให้แก่นายนาคและนายสนั่น นายนาคและนายสนั่นแบ่งการครอบครองที่ดินกันอย่างเป็นส่วนสัด โดยนายสนั่นครอบครองทำประโยชน์ในส่วนที่ดินพิพาท ต่อมาเมื่อปี 2520 นายนาคขออนุญาตนายถนอม นางไสวและนายสนั่นเพื่อนำที่ดินทั้งแปลงซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยขอใส่ชื่อนายนาคเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวไปก่อน เพื่อนำที่ดินไปจำนองไว้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แต่นายสนั่นและนางกลมรวมทั้งผู้ร้องยังคงครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท เมื่อนายสนั่นถึงแก่ความตาย ผู้ร้องก็ยังคงครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อมา ข้ออ้างตามคำร้องขอดังกล่าวเป็นการยืนยันว่า นายถนอมและนางไสวได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่นายสนั่นบิดาผู้ร้องตั้งแต่ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ต่อมาที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องบรรยายคำร้องขอโดยยืนยันความเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเช่นนี้ ผู้ร้องก็ไม่อาจอ้างการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ได้ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ ส่วนที่ปรากฏข้อเท็จจริงจากคำร้องขอและจากทางนำสืบของผู้ร้องว่า เมื่อปี 2541 ทางราชการได้ออกโฉนดในที่ดินพิพาทโดยมีชื่อนายนาคเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์นั้น ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2530 ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะอ้างได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์ของนายนาคหรือทายาทของนายนาค เพราะจะขัดกับข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างมาในคำร้องขอ อีกทั้งต้องถือว่าการออกโฉนดที่ดินให้แก่นายนาคเป็นการออกให้แก่ผู้ที่ไม่มีสิทธิในที่ดิน ไม่ชอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ที่กำหนดไว้ว่า ที่ดินที่จะพึงออกโฉนดที่ดินต้องเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิในที่ดินได้ครอบครองและทำประโยชน์แล้ว นายนาคหรือผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของนายนาคจึงไม่ใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ผู้ร้องจะร้องขอครอบครองปรปักษ์ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นนี้มานั้นจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ฎีกาของผู้คัดค้านฟังขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามคดียังมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัย แต่เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยในปัญหานี้ไปเสียทีเดียว โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อน และเห็นว่า คดีนี้มีตัวผู้ร้อง นางกุหลาบภริยาผู้ร้อง และนางสาววรรณาบุตรสาวผู้ร้องมาเบิกความอธิบายถึงความเป็นมาของที่ดินพิพาทว่า เมื่อปี 2500 นางถนอมและนางไสวยกที่ดินพิพาทซึ่งขณะนั้นยังไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ให้แก่นายสนั่นบิดาผู้ร้อง จากนั้นนายสนั่นและนางกลมมารดาผู้ร้องได้ปลูกสร้างบ้านเลขที่ 230 และพักอาศัยในบ้านหลังดังกล่าวร่วมกับผู้ร้อง โดยมีนายถนอมและนางไสวมาพักอาศัยอยู่ด้วย ต่อมาเมื่อปี 2530 ผู้ร้องได้ปลูกสร้างบ้านเลขที่ 86/2 บนที่ดินพิพาท และได้เข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อจากนายสนั่นนับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 29 ปีแล้ว โดยนายนาคไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด และพยานทั้งสามยังเบิกความถึงสาเหตุที่มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดในที่ดินพิพาทโดยมีชื่อนายนาคเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ว่า เนื่องจากนายนาคเดือดร้อนเรื่องเงิน มีความจำเป็นต้องนำที่ดินทั้งแปลงไปจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ นายนาคจึงขออนุญาตนายถนอม นางไสวและนายสนั่นเพื่อนำที่ดินทั้งแปลงซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หลังจากนั้นก็ได้นำที่ดินทั้งแปลงไปจำนองไว้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หลังจากจำนองแล้วนายนาคไม่มีเงินไปไถ่ถอนจำนองจึงไม่สามารถทำการแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่นายสนั่นรวมทั้งผู้ร้องได้ ตามคำเบิกความของพยานทั้งสามปากดังกล่าวนอกจากจะสอดคล้องต้องกันแล้ว ยังสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ได้ความจากคำเบิกความของพยานผู้ร้องปากพระธรรมเนียม ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับนายนาคและนายสนั่น ที่เบิกความว่า นายถนอมและนางไสวมีที่ดิน 1 แปลง มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 21 ไร่ บุคคลทั้งสองประสงค์จะแบ่งที่ดินให้แก่บุตรทั้งสามคนอันได้แก่ นายนาค นายสนั่นและพยาน โดยในส่วนของพยานนั้นได้รับส่วนแบ่งไปแล้วคือ ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 14029 ที่ดินส่วนที่เหลือซึ่งคือที่ดินตามโฉนดเลขที่ 14028 มีผู้ร้องและผู้คัดค้านเข้าไปปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยโดยอยู่คนละส่วนกัน ผู้ร้องยังมีนายจำปา ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับที่ดินพิพาทมาเบิกความสนับสนุนว่า นายสนั่นและพี่น้องอีกสองคนแบ่งที่ดินกันครอบครองคนละแปลง โดยในส่วนของนายสนั่นครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นแปลงที่อยู่ตรงกลางระหว่างแปลงของนายนาคและแปลงของพระธรรมเนียม หลังจากนายสนั่นถึงแก่ความตายผู้ร้องได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแทนนายสนั่น ส่วนผู้คัดค้านครอบครองทำประโยชน์อยู่ในที่ดินส่วนของตน ผู้คัดค้านเพิ่งบุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเมื่อประมาณปี 2557 ทั้งผู้ร้องยังมีภาพถ่ายมานำสืบสนับสนุน ซึ่งเมื่อตรวจดูสภาพของบ้านเลขที่ 86/2 ดังกล่าวพบว่า เป็นบ้านที่ปลูกสร้างขึ้นอย่างถาวร โดยชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนทำด้วยไม้ การที่ผู้ร้องปลูกสร้างบ้านที่มีความมั่นคงถาวรบนที่ดินพิพาทและพักอาศัยอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวมาตั้งแต่เมื่อประมาณปี 2530 เช่นนี้ บ่งชี้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะเป็นเจ้าของ มิใช่เป็นการขออาศัยอยู่ชั่วคราวตามที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้าง และเมื่อพิจารณาแผนที่สังเขปแสดงการครอบครองที่ดิน ซึ่งเป็นแผนที่แสดงการครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 14028 ระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน และรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินเลขที่ 14029 ที่ทางราชการออกให้แก่นางไสวและต่อมาตกทอดแก่พระธรรมเนียมก็พบว่า ที่ดินส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของผู้คัดค้านนั้นตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ถัดมาคือ ที่ดินพิพาท ถัดจากที่ดินพิพาทคือที่ดินโฉนดเลขที่ 14029 ตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวสอดคล้องกับลำดับทายาทชั้นบุตรของนายถนอมและนางไสว ซึ่งนายนาคเป็นบุตรคนโต ส่วนนายสนั่นและพระธรรมเนียมเป็นบุตรคนกลางและคนเล็กตามลำดับ จึงยิ่งเป็นการสนับสนุนข้ออ้างของผู้ร้องให้มีน้ำหนักน่ารับฟังยิ่งขึ้น ส่วนผู้คัดค้านมีตัวผู้คัดค้านมาเบิกความเป็นพยานว่า นายถนอมและนางไสวยกที่ดินโฉนดเลขที่ 14028 ซึ่งเดิมเป็นที่ดินมือเปล่าให้แก่นายนาคบิดาผู้ร้องทั้งแปลงตั้งแต่เมื่อปี 2499 ผู้คัดค้านจึงอนุญาตให้ผู้ร้องปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นการชั่วคราว และก่อนที่ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้ ผู้ร้องก็ไม่ได้พักอาศัยอยู่ในบ้านที่ปลูกบนที่ดินพิพาท ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท ตามคำเบิกความของผู้คัดค้านดังกล่าวนอกจากจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปลูกสร้างบ้านของผู้ร้องที่ปรากฏว่า ผู้ร้องปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทอย่างมั่นคงถาวรมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 2530 ยังขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ได้ความจากคำเบิกความของผู้คัดค้านเองที่เบิกความตอบคำถามค้านว่า นายสนั่นและครอบครัวพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทจนกระทั่งนายสนั่นถึงแก่ความตาย ที่ผู้คัดค้านมีนายบุญเชิด นายสมชาย นายนรินทร์ และนางอำนวย มาเบิกความเป็นพยานนั้น นายบุญเชิด นายสมชาย และนายนรินทร์ก็ไม่ได้ยืนยันว่า ผู้ร้องอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของผู้คัดค้าน ส่วนนางอำนวยนั้นได้ความว่า เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้คัดค้าน ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดี ที่พยานปากนี้เบิกความว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่นายนาคได้รับการยกให้จากนายถนอมและนางไสวนั้น จึงน่าจะเบิกความเพื่อช่วยเหลือผู้คัดค้าน ส่วนที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าพระธรรมเนียม นายจำปา นางลำพวน นายวิทวัส นายไวพจน์ นายหยด นายสมชาย นายลำยงค์ นายธนาวุฒิ และนางกาหลง พยานของผู้ร้องมาเบิกความเพื่อช่วยเหลือผู้ร้องนั้น ก็ได้ความว่าพระธรรมเนียมมีฐานะเป็นอาของผู้ร้องและผู้คัดค้าน ทั้งเป็นผู้ยกที่ดินส่วนของตนให้แก่ฝ่ายผู้ร้องและฝ่ายผู้คัดค้านคนละเท่า ๆ กัน แสดงว่าพระธรรมเนียมมีความรักและความเมตตาต่อทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้าน จึงไม่น่าเชื่อว่าจะมาเบิกความเพื่อช่วยเหลือผู้ร้อง ส่วนพยานปากอื่น ๆ ที่กล่าวข้างต้นแม้จะเป็นญาติของผู้ร้อง ญาติของนางกุหลาบภริยาผู้ร้องหรือสนิทคุ้นเคยกับฝ่ายผู้ร้อง แต่พยานดังกล่าวก็มิได้มีส่วนได้เสียในผลคดี จึงไม่น่าจะมีเหตุผลใดที่จะเบิกความเพื่อช่วยเหลือฝ่ายผู้ร้อง ตามพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำมาสืบมีน้ำหนักให้น่ารับฟังกว่าพยานหลักฐานของผู้คัดค้าน ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามที่ผู้ร้องนำสืบว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ร้องเป็นเจ้าของสิทธิครอบครอง และต้องถือว่าการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 14028 ดังกล่าว ที่ออกทับที่ดินพิพาท จึงเป็นการออกโดยไม่ชอบ สมควรต้องเพิกถอนเสีย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น

พิพากษาแก้เป็นว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 14028 ในส่วนที่ออกทับที่ดินพิพาท โดยให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

ทำให้สิทธิภาระจำยอมเสื่อมความสะดวก, บังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, การเพิกถอนภาระจำยอม,
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนทางจำเป็น, อายุความฟ้องร้องค่าทดแทน 10 ปี, หลักเกณฑ์การเปิดทางจำเป็น,
การคัดค้านการรังวัดแนวเขตที่ดิน, ครอบครองปรปักษ์, ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ
ภาระจำยอมไม่มีการใช้ประโยชน์เกินกว่า 10 ปีย่อมระงับสิ้นไป
โจทก์ฟ้องขอให้ชดใช้ค่าทดแทนที่ดินเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่ถูกฟ้องเปิดทางจำเป็น
การนับเวลาการครอบครองเป็นปรปักษ์ที่งอกริมตลิ่ง
ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น
มารดาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยคำสั่งให้บุตรเป็นคนสาบสูญ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม