ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่

 ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่                  

จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมรดกตกทอดมาช้านานแล้ว แม้จะให้การว่าได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาด้วยความสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของ แต่เป็นการครอบครองที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่มีสิทธิอยู่แล้ว กรณีหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่

จำเลยทั้งสามให้การว่าที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านอยู่นั้นเป็นที่มรดกตกทอดมาจากปู่ ย่าตา ยาย จนถึงจำเลยที่ 1 เป็นที่ดินมีการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) ถูกต้องตามกฎหมาย และจำเลยที่ 1 กับพวกได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมากว่า 30 ปีด้วยความสงบ เปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของ ส่วนแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้างเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของที่ดินนั้น มิใช่หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนด โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355 - 1357/2539

คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นที่ดินมรดกตกทอดจากปู่ย่าตายายมาเป็นของจำเลยแม้จะให้การว่าได้ครอบครองที่ดินด้วยความสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของแต่ก็เป็นการครอบครองที่ดินที่อ้างว่าจำเลยมีสิทธิอยู่แล้วกรณีหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่ปัญหาเรื่องการครอบครองที่ดินปรปักษ์ของผู้อื่นจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การไม่ก่อให้เกิดประเด็นถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 3917 ของโจทก์อันเป็นหลักฐานแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ส่วนแบบแจ้งการครอบครอง(ส.ค.1)ที่จำเลยอ้างเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่1 เป็นเจ้าของที่ดินมิใช่หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า

คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณารวมกันโดยให้เรียกจำเลยในสำนวนที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ตามลำดับ

โจทก์ทั้งสามสำนวนฟ้องเป็นใจความทำนองเดียวกันว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขออาศัยที่ดินเฉพาะส่วนทางทิศใต้จากมารดาโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ปลูกบ้านลงบนที่ดินดังกล่าว และเมื่อประมาณ 3 ถึง 4 ปี จำเลยที่ 3 ปลูกบ้านลงบนที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นที่ดินนาง ถ. โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินต่อไป จึงบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกไป แต่จำเลยทั้งสามเพิกเฉยขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวารพร้อมทั้งรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างอื่นออกไปจากที่ดินของโจทก์ และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์คนละ 100 บาท ต่อเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสามจะรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินโจทก์

จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) เดิมเป็นของนาง น.เมื่อนาง น. ตายจึงเป็นมรดกตกแก่นางอิ่ม แข่งขัน ซึ่งเป็นบุตร นางอิ่มครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา จน พ.ศ. 2497 จึงไปแจ้งการครอบครองต่อทางราชการเมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้ว นางอิ่มยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และนางถนอม ปานประเสริฐ ภรรยาจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นบุตร หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 และนาง ถ. ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความสงบ เปิดเผยอย่างเป็นเจ้าของตลอดมาจนปัจจุบันที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 และนาง ถ.ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นสามีและบุตรของนาง ถ. อยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของนาง ถ. ขอให้ยกฟ้อง

   ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสามพร้อมบริวาร และให้รื้อถอนบ้าน และสิ่งปลูกสร้างอื่นของจำเลยทั้งสามออกจากที่ดิน และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์คนละ 100 บาท ต่อเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินดังกล่าว

จำเลยทั้งสามสำนวนอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3

โจทก์ทั้งสามสำนวนฎีกาโดยผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติในเบื้องต้น ตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสามนำสืบรับกันว่า จำเลยทั้งสามปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทตามแผนที่วิวาทเอกสารหมาย จ.2 และศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงต้องตรงกันโดยโจทก์และจำเลยทั้งสามมิได้ฎีกาโต้เถียงว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ 3917 ของโจทก์ ตามเอกสารหมาย จ.1 คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยในชั้นนี้ตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสามจะต้องออกไปจากที่ดินพิพาทหรือไม่ สำหรับประเด็นนี้ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยทั้งสามปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 3917 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินดังกล่าว พิพากษาให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวาร ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ 3917 ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.1 ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ก็ได้ครอบครองที่ดินดังกล่าว ด้วยความสงบ เปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกินกว่า 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความครอบครองปรปักษ์แล้วพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การของจำเลยแล้วคดีทั้งสามสำนวนนี้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่ดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดเลขที่ 3917ของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสามให้การทำนองเดียวกันว่าที่ดินที่จำเลยปลูกบ้านอยู่นั้นเป็นที่มรดกตกทอดมาจากปู่ ย่าตา ยาย จนถึงจำเลยที่ 1 เป็นที่ดินมีการแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) ถูกต้องตามกฎหมาย และจำเลยที่ 1 กับพวกได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมากว่า 30 ปีด้วยความสงบ เปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของ ศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมรดกตกทอดมาช้านานแล้ว แม้จะให้การว่าได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาด้วยความสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของ แต่ก็เป็นการครอบครองที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิอยู่แล้ว กรณีหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่ ปัญหาในเรื่องการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นจึงเป็นเรื่องนอกคำให้การและไม่ก่อให้เกิดประเด็นถือได้ว่า เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติทั้งสองศาลว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเลขที่ 3917 ของโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นหลักฐานแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ส่วนแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) ที่จำเลยอ้างเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของที่ดินนั้น มิใช่หลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า กรณีจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้ออกไป จำเลยจึงไม่สิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์นั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น"

        พิพากษากลับให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1382 บุคคลใด ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้ กรรมสิทธิ์

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้น คู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็น ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย

ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์ คู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้

หมายเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355-1357/2539 วินิจฉัยเรื่อง คำให้การที่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท และ การครอบครองปรปักษ์ ซึ่งมีข้อพิจารณาดังนี้

1. การครอบครองปรปักษ์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 บัญญัติไว้ดังนี้
"บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลานานสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์"

หลักกฎหมายดังกล่าว มีสาระสำคัญดังนี้
1) บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น
2) โดยสงบ
3) โดยเปิดเผย
4) โดยเจตนาเป็นเจ้าของ
5) ครอบครองติดต่อกัน
5.1) อสังหาริมทรัพย์เป็นเวลาสิบปี
5.2) สังหาริมทรัพย์เป็นเวลาห้าปี
6) บุคคลผู้ครอบครองนั้นได้กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น
2. ข้อพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355-1357/2539 ที่เขียนหมายเหตุนี้วินิจฉัยในสาระสำคัญ ข้อ 1.) ว่า การครอบครองปรปักษ์นั้นผู้ครอบครองต้องครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น จะครอบครองทรัพย์สินของตนเองไม่ได้ ข้อเท็จจริงในคดีนี้จำเลยที่ 1 อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 โดยได้รับมรดกตกทอดจากปู่ ย่าตายาย แล้วจำเลยที่ 1 จะอ้างจำเลยที่ 1 ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยที่ 1 เองไม่ได้ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
3. คำให้การนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา177 วรรคสอง บัญญัติว่า
"ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น"
หลักกฎหมายดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1) จำเลยต้องให้การโดยชัดเจน
2) ว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์
3) รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น คือ เหตุผลแห่งการปฏิเสธ
คำให้การที่ไม่ครบสาระสำคัญ 3 ประการดังกล่าว ถือว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท คู่ความไม่มีสิทธินำสืบประเด็นดังกล่าว แม้จะนำสืบไว้แล้วก็ถือว่านำสืบนอกประเด็น ศาลไม่รับฟ้องข้อเท็จจริงนั้น
4. ข้อพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355-1357/2537 ที่เขียนหมายเหตุนี้มีปัญหาว่า จำเลยให้การชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง หรือไม่ และก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมรดกตกทอดมาช้านานแล้ว แม้จะให้การว่าได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาด้วยความสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของ แต่เป็นการครอบครองที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิอยู่แล้ว กรณีหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่ ปัญหาเรื่องการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่น จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การและไม่ก่อให้เกิดประเด็น

คำวินิจฉัยของศาลฎีกาดังกล่าว หมายความว่า คำให้การของจำเลยเรื่องการครอบครองปรปักษ์นั้นเป็นคำให้การที่ไม่ชอบถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การในประเด็นนี้ (เป็นเรื่องนอกคำให้การ) และไม่ก่อให้เกิดประเด็น ซึ่งมีผลต่อไปว่าเรื่องการครอบครองปรปักษ์นี้ แม้จะมีการสืบมาในศาลชั้นต้นก็มิให้ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น จะยกขึ้นฎีกาไม่ได้หรือแม้จะยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

5. ข้อวิเคราะห์

ผู้เขียนหมายเหตุเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยได้ให้การชัดเจนโดยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ว่าที่ดินพิพาทมิใช่ของโจทก์ และให้เหตุผลแห่งการปฏิเสธ 2 ประการคือ ประการแรกอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้รับมรดกตกทอดจากปู่ ย่าตายาย และอ้างเหตุประการที่สองว่า จำเลยได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทแล้วปัญหามีว่า เหตุผลในการปฏิเสธของจำเลยทั้ง 2 ประการนั้นขัดกันหรือไม่ ผู้เขียนหมายเหตุเห็นว่า จำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้รับมรดกมาจากผู้อื่น และอย่างไรก็ตามจำเลยก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์เหตุผลทั้งสองประการต่างก็อ้างเพื่อสนับสนุนว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยซึ่งเป็นไปในทางเดียวกัน มิได้ขัดแย้งกันแต่อย่างใด

ปัญหาว่าจำเลยอ้างว่าครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเองเป็นข้ออ้างที่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หรือไม่ผู้เขียนหมายเหตุเห็นว่า กรณีนี้จำเลยมิได้อ้างว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเอง แต่อ้างเพื่อปฏิเสธว่าที่ดินพิพาทมิใช่ที่ดินของโจทก์เพราะโจทก์อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์จำเลยจึงปฏิเสธว่าที่ดินพิพาทมิใช่ของโจทก์ โดยจำเลยได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทแล้วจึงมิใช่เป็นการอ้างว่าจำเลยครอบครองที่ดินของตนเองแต่อย่างใด ผู้เขียนหมายเหตุเห็นว่า คำให้การของจำเลยคดีนี้น่าจะชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา177 วรรคสองแล้ว จึงก่อให้เกิดประเด็นและถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นแล้ว

หากข้อเท็จจริงคดีนี้เปลี่ยนเป็นว่า จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นอ้างว่าที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ได้มาโดยการรับมรดกจากปู่ ย่าตายาย และจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ศาลชั้นต้นจึงจะยกคำร้องโดยอ้างว่า ผู้ร้องจะอ้างครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเองไม่ได้ แต่กรณีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1355-1357/2539 นี้ผู้เขียนหมายเหตุเห็นว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิให้การว่าที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ได้มาโดยครอบครองปรปักษ์ได้
รุ่งโรจน์ รื่นเริงวงศ์

การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินที่ตนเองมีสิทธิอยู่แล้วไม่ได้




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ
ภาระจำยอมไม่มีการใช้ประโยชน์เกินกว่า 10 ปีย่อมระงับสิ้นไป
โจทก์ฟ้องขอให้ชดใช้ค่าทดแทนที่ดินเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่ถูกฟ้องเปิดทางจำเป็น
การนับเวลาการครอบครองเป็นปรปักษ์ที่งอกริมตลิ่ง
ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น
มารดาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยคำสั่งให้บุตรเป็นคนสาบสูญ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม