ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น

ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น

ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น

โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนการยกให้ที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นทางพิพาท ให้จำเลยทั้งสี่จดทะเบียนเป็นภาระจำยอม และให้จำเลยที่ 4 รื้อกำแพงคอนกรีตที่รุกล้ำทางพิพาท จำเลยทั้งสี่ขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 จดทะเบียนเป็นภาระจำยอม และให้จำเลยที่ 4 รื้อกำแพงคอนกรีตที่รุกล้ำทางพิพาท จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกา

ข้อเท็จจริง* เดิมทางพิพาทอยู่ในที่ดินของนายไผ่ และนางม้วย ต่อมานายไผ่และนางม้วยถึงแก่ความตายจึงตกทอดสู่ทายาทคือ จำเลยที่ 1 นายกวย นางหวย จำเลยที่ 4 นางสาวกุหลาบ โจทก์ นางนางน้อย และจำเลยที่ 2 ต่อมาได้มีการขอแบ่งที่ดินและออกโฉนดเป็น 9 แปลง โดยทายาททั้งแปดยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันทุกแปลง ต่อมาทายาทได้มีการฟ้องร้องแบ่งแยกโฉนดที่ดินทั้ง 9 แปลง และตกลงกันได้ ส่วนทางพิพาท จำเลยที่ 4 ได้สร้างกำแพงคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่บริเวณปากทางพิพาทในระยะ 2 เมตร คงเหลือทางพิพาทกว้าง 2 เมตร

ศาลฎีกา เห็นว่า เดิมทางพิพาทจะอยู่ในที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของทายาททุกคนมาตั้งแต่ที่ได้รับโอนมรดก ต่อมาได้มีการออกโฉนดที่ดินโดยแบ่งแยกออกเป็น 9 แปลง ซึ่งทายาททุกคนก็ต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันทั้ง 9 แปลง การที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้ทางพิพาทในที่ดินของตนดังกล่าว จึงไม่ได้เป็นการใช้ในลักษณะของทางภาระจำยอม แต่ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้มีการแบ่งแนวเขตทางพิพาทไว้ชัดเจนมีการแบ่งแยกไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่มีการแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีทางพิพาทรวมอยู่ด้วย จำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในเวลาต่อมาได้ขอรังวัดสอบเขตที่ดินที่ได้รับโอนมา จำเลยที่ 2 ได้ขอให้แบ่งหักทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วยตามบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นหลักฐาน แม้ขณะที่มีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่ได้ระบุรายละเอียดของทางพิพาทไว้โดยตรงก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวไม่ได้มีข้อความใดที่ระบุให้มีการยกเลิกข้อตกลงการใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกทางสาธารณะแต่อย่างใด การขอหักแบ่งทางพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินของจำเลยที่ 2 ย่อมแสดงให้เห็นได้ชัดเจนถึงเจตนาดั้งเดิมที่จะให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของผู้อื่น ไม่ว่าจะให้เป็นทางสาธารณประโยชน์หรือทางภาระจำยอมก็ตาม มิได้ทำให้ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมระหว่างทายาทเรื่องทางพิพาทเปลี่ยนแปลงไป ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินและทางพิพาทต่อมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง จึงมีภาระที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับทางพิพาทดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ก็ต้องห้ามรุกล้ำทางพิพาทที่เป็นทางภาระจำยอม จำเลยที่ 4 จึงต้องรื้อกำแพงคอนกรีตที่อยู่บนทางพิพาท 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5163/2566

ผ. และ ม. เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 1625 ได้ยกทางพิพาทให้ทายาทซึ่งเป็นบุตรทั้งแปดคนใช้เข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ก่อนปี 2534 กับทั้งแบ่งที่ดินให้ทายาทครอบครองและสร้างบ้านพักอาศัย เมื่อ ผ. และ ม. ถึงแก่ความตาย ทายาทก็ได้รับโอนมรดกที่ดินมาครอบครองเป็นของตน โดยยังคงใช้ทางพิพาทในการเข้าออกที่ดินตลอดมา ต่อมาทายาทแบ่งแยกที่ดินออกเป็นโฉนดรวม 9 แปลง โดยมีการรังวัดทางพิพาทซึ่งเป็นทางเข้าออกเดิมไว้ชัดเจน ทายาททั้งแปดซึ่งรวมถึงโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 4 ก็ลงลายมือชื่อในบันทึกถ้อยคำกรณีประสงค์ขอรังวัดแบ่งแยกในนามเดิม หลังจากนั้นทายาทตกลงแบ่งแยกโฉนดจากเดิมที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันออกเป็นกรรมสิทธิ์ของแต่ละคน โดยทางพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินมาก็ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 ขอรังวัดสอบเขต และขอแบ่งทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ ซึ่งทายาทเจ้าของที่ดินข้างเคียงก็ไม่ได้ปฏิเสธไม่รับรู้ว่าไม่มีทางพิพาท มีเพียงจำเลยที่ 4 ที่โต้แย้งเฉพาะเรื่องแนวเขตทางพิพาทเท่านั้น ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องขอให้รอการรังวัดแบ่งหักที่ดินเป็นทางสาธารณประโยชน์ไว้ก่อน การที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้ทางพิพาทในที่ดินของตน จึงไม่ได้เป็นการใช้ในลักษณะทางภาระจำยอม การใช้ทางพิพาทของทายาทอื่นในลักษณะภาระจำยอมโดยอายุความจึงเริ่มนับแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2561 ที่มีการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 2 ปีเศษ นับถึงวันฟ้อง ทางพิพาทจึงไม่ได้ตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความ

อย่างไรก็ตาม เมื่อทางพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อประโยชน์สำหรับทายาทที่ครอบครองที่ดินที่ ผ. และ ม. ยกไว้ให้ก่อนที่ทายาทจะได้รับโอนมรดกมาเป็นของตน จนกระทั่งมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็น 9 แปลง ก็ได้มีการแบ่งแนวเขตทางพิพาทไว้ชัดเจน การที่ทายาทตกลงแบ่งแยกโฉนดที่ดินระหว่างกันโดยมีการระบุทางพิพาทมาตั้งแต่ต้นย่อมถือได้ว่าเป็นข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่นตามที่มีการแบ่งแยกไว้ ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินและทางพิพาทต่อมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง จึงมีภาระที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับทางพิพาทดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้พิพากษาเพิกถอนการยกให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนที่เป็นทางพิพาท เนื้อที่ 1 งาน 16.5 ตารางวา ตามรูปแผนที่แบ่งแยกที่เจ้าพนักงานที่ดินได้จำลองไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 ให้จำเลยทั้งสี่ยื่นคำขอรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 เพื่อหักแบ่งเป็นทางพิพาทตามรูปแผนที่แบ่งแยกที่เจ้าพนักงานที่ดินได้จำลองไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 และจดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ถึง 38423 โดยจำเลยทั้งสี่เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หากจำเลยทั้งสี่ไม่ดำเนินการ ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ โดยให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายให้แก่กรมที่ดินจนกว่าชำระเสร็จ และให้จำเลยที่ 4 รื้อกำแพงคอนกรีตที่รุกล้ำทางพิพาท โดยให้จำเลยที่ 4 รับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หากจำเลยที่ 4 ไม่ดำเนินการ ให้โจทก์ว่าจ้างบุคคลภายนอกมาดำเนินการแทน โดยให้จำเลยที่ 4 ชดใช้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอกจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยทั้งสี่ขาดนัดยื่นคำให้การ

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 เพื่อหักแบ่งเป็นทางพิพาทตามรูปแผนที่แบ่งแยกที่เจ้าพนักงานที่ดินได้จำลองไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 และจดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ถึง 38423 หากจำเลยที่ 3 ไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 และให้จำเลยที่ 4 รื้อกำแพงคอนกรีตที่รุกล้ำทางพิพาทตามรูปแผนที่ดังกล่าว โดยให้จำเลยที่ 4 เสียค่าใช้จ่าย ส่วนคำขอของโจทก์ที่ขอว่าจ้างบุคคลภายนอกดำเนินการรื้อแทนจำเลยที่ 4 นั้นให้ยก นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ

จำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่รับฟังยุติในชั้นฎีการับฟังได้ว่า เดิมทางพิพาทอยู่ในที่ดินเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา ซึ่งเป็นของนายไผ่ และนางม้วย ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 1625 ต่อมานายไผ่และนางม้วยถึงแก่ความตาย ที่ดินดังกล่าวจึงตกทอดสู่ทายาทของนายไผ่และนางม้วย ซึ่งได้แก่ จำเลยที่ 1 นายกวย นางหวย จำเลยที่ 4 นางสาวกุหลาบ โจทก์ นางนางน้อย และจำเลยที่ 2 ต่อมาปี 2555 ได้มีการขอแบ่งที่ดินและออกโฉนดเป็น 9 แปลง โดยทายาททั้งแปดยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันทุกแปลง ตามที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ถึง 38423 ในปี 2560 ทายาทได้มีการฟ้องร้องแบ่งแยกโฉนดที่ดินทั้ง 9 แปลง และตกลงกันได้ โดยให้โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ให้แก่จำเลยที่ 4 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ให้แก่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38417 ให้แก่ทายาทนางนางน้อย โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38418 ให้แก่นางสาวกุหลาบ โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38419 และ 38420 ให้แก่จำเลยที่ 2 โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38421 ให้แก่ทายาทนายกวย โอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38422 ให้แก่โจทก์ และโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 38423 ให้แก่นางหวย ส่วนทางพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 มีเนื้อที่ 1 งาน 16.5 ตารางวา วันที่ 29 สิงหาคม 2563 จำเลยที่ 4 ได้สร้างกำแพงคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่บริเวณปากทางพิพาทในระยะ 2 เมตร คงเหลือทางพิพาทกว้าง 2 เมตร

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ และจำเลยที่ 4 ต้องรื้อกำแพงคอนกรีตหรือไม่ เห็นว่า เดิมทางพิพาทจะอยู่ในที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมของทายาททุกคนมาตั้งแต่ที่ได้รับโอนมรดกมาจากนายไผ่และนางม้วย ต่อมาได้มีการออกโฉนดที่ดินโดยแบ่งแยกออกเป็น 9 แปลง ซึ่งทายาททุกคนก็ต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันทั้ง 9 แปลง การที่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมใช้ทางพิพาทในที่ดินของตนดังกล่าว จึงไม่ได้เป็นการใช้ในลักษณะของทางภาระจำยอม แม้ต่อมามีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ทายาทแต่ละคนในปี 2561 โดยทางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 การใช้ทางพิพาทของทายาทอื่นในลักษณะภาระจำยอมโดยอายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2561 ที่มีการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ในวันดังกล่าว ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 2 ปี เศษ นับถึงวันฟ้อง ทางพิพาทจึงไม่ได้ตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความ ข้อโต้แย้งของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในประเด็นนี้จึงฟังขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ทางพิพาทนั้นเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเพื่อประโยชน์สำหรับทายาทที่ครอบครองที่ดินที่นายไผ่และนางม้วยได้ยกไว้ให้ก่อนที่ทายาทจะได้รับโอนมรดกมาเป็นของตน จนกระทั่งมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินออกเป็น 9 แปลง ก็ได้มีการแบ่งแนวเขตทางพิพาทไว้ชัดเจนสนับสนุนทางนำสืบของโจทก์เรื่องทางพิพาทดังกล่าว การที่ทายาทตกลงแบ่งแยกโฉนดที่ดินระหว่างกันโดยมีการระบุทางพิพาทมาตั้งแต่ต้นย่อมถือได้ว่าเป็นข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่นตามที่มีการแบ่งแยกไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่มีการแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีทางพิพาทรวมอยู่ด้วยให้แก่จำเลยที่ 1 และได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันเดียวกันที่จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์มาในวันที่ 23 สิงหาคม 2561 ต่อมาอีก 5 วัน ในวันที่ 27 สิงหาคม 2561 จำเลยที่ 2 ได้ขอรังวัดสอบเขตที่ดินที่ได้รับโอนมาดังกล่าวและวันที่ 11 ตุลาคม 2561 จำเลยที่ 2 ได้ขอให้แบ่งหักทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วยตามบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นหลักฐานที่สอดคล้องและสนับสนุนข้อตกลงของทายาททั้งหมดเรื่องการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของที่ดินอื่นที่มีการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมไปข้างต้น ทั้งนี้ แม้ขณะที่มีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดแต่ละโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่ได้ระบุรายละเอียดของทางพิพาทไว้โดยตรงก็ตาม แต่พอที่จะเข้าใจได้ว่าการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเพื่อยุติข้อพิพาทเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมซึ่งก็เน้นถึงการแบ่งที่ดินเป็นสำคัญ โดยที่สัญญาดังกล่าวไม่ได้มีข้อความใดที่ระบุให้มีการยกเลิกข้อตกลงการใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกทางสาธารณะแต่อย่างใด ส่วนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โต้แย้งว่า ที่จำเลยที่ 2 ขอรังวัดหักแบ่งทางพิพาทนั้น เป็นการหักแบ่งเพื่อเป็นการใช้ทางสาธารณประโยชน์ ไม่ใช่จดทะเบียนให้ทางพิพาทเป็นภาระจำยอมนั้น เห็นว่า การขอหักแบ่งทางพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินของจำเลยที่ 2 ย่อมแสดงให้เห็นได้ชัดเจนถึงเจตนาดั่งเดิมที่จะให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของผู้อื่น ไม่ว่าจะให้เป็นทางสาธารณประโยชน์หรือทางภาระจำยอมก็ตาม มิได้ทำให้ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมระหว่างทายาทเรื่องทางพิพาทเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น เมื่อทางพิพาทดังกล่าวได้มีข้อตกลงของทายาทที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันให้มีการแบ่งแยกที่ดินออกเป็นทางภาระจำยอมแล้ว ทางพิพาทจึงเป็นภาระจำยอม จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินและทางพิพาทต่อมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง จึงมีภาระที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับทางพิพาทดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ก็ต้องห้ามรุกล้ำทางพิพาทที่เป็นทางภาระจำยอมดังกล่าวตามฟ้อง จำเลยที่ 4 จึงต้องรื้อกำแพงคอนกรีตที่อยู่บนทางพิพาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ฟังไม่ขึ้น

อนึ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 กำหนดว่า อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 จดทะเบียนทางพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 อันเป็นภารยทรัพย์ให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 ถึง 38423 ซึ่งรวมถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ด้วย จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 3 จดทะเบียนทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 38416 ตามรูปแผนที่ที่แบ่งแยกซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้จำลองไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 เป็นภาระจำยอมให้แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 38415 และ 38417 ถึง 38423 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

 มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภารจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่ อสังหาริมทรัพย์อื่น




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ
ภาระจำยอมไม่มีการใช้ประโยชน์เกินกว่า 10 ปีย่อมระงับสิ้นไป
โจทก์ฟ้องขอให้ชดใช้ค่าทดแทนที่ดินเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่ถูกฟ้องเปิดทางจำเป็น
การนับเวลาการครอบครองเป็นปรปักษ์ที่งอกริมตลิ่ง
มารดาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยคำสั่งให้บุตรเป็นคนสาบสูญ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม