ReadyPlanet.com
dot
สำนักงานทนายความ
dot
bulletทนายความฟ้องหย่า
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
dot
พระราชบัญญัติ
dot
bulletพระราชบัญญัติ
dot
ประมวลกฎหมาย
dot
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
dot
บทความเฉพาะเรื่อง
dot
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletสัญญายอมความ
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletกรมบังคับคดี
dot
ลิงค์ต่าง ๆ
dot
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletวิชาชีพทนายความ
bulletอำนาจปกครองบุตร




ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก

ทนายความโทร0859604258

ภาพจากซ้ายไปขวา ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ, ทนายความภคพล มหิทธาอภิญญา, ทนายความเอกชัย อาชาโชติธรรม, ทนายความอภิวัฒน์ สุวรรณ

-ปรึกษากฎหมาย ทนายความลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ โทร.085-9604258

-ติดต่อทางอีเมล  : leenont0859604258@yahoo.co.th

-ปรึกษากฎหมายผ่านทางไลน์ ไอดีไลน์  (5) ID line  :

         (1) leenont หรือ (2) @leenont หรือ (3)  peesirilaw  หรือ (4) @peesirilaw   (5)   @leenont1

-Line Official Account : เพิ่มเพื่อนด้วย  QR CODE

peesirilaw@leenont

ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก ที่ดินแบ่งแยกภายหลังจากแปลงที่เคยแบ่งแยกมีสิทธิขอเปิดทางได้

ตามบทบัญญัติ มาตรา 1350 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าที่ดินที่มีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดียวกัน เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เมื่อที่ดินของจำเลยและนางบุปผาก็คือที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์ แม้จะแบ่งแยกออกจากที่ดินของโจทก์เป็นของนางบุปผาก่อนแล้วจึงแบ่งแยกที่ดินของนางบุปผาเป็นของจำเลย ภายหลัง ก็ไม่ทำให้ที่ดินของจำเลยไม่ใช่ที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์มาแต่เดิมแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยได้

เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน และไม่ต้องเสียค่าตอบแทน

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484-3485/2548

ที่ดินของจำเลยและของ บ. เป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์ แม้จะแบ่งแยกออกจากที่ดินของโจทก์ เป็นของ บ. ก่อนแล้วจึงแบ่งแยกที่ดินของ บ. เป็นของจำเลยภายหลัง ก็ไม่ทำให้ที่ดินของจำเลยไม่ใช่ที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์มาแต่เดิมแต่อย่างใด ถือว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินที่มีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจาก ที่ดินแปลงเดียวกัน เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางพิพาท เป็นทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเปิดทางกว้าง 3 วา ตลอดแนวที่ดินของจำเลยด้านทิศใต้จากทิศตะวันออกไป จดทางด้านทิศตะวันตก ให้จำเลยรื้อรั้วและตัดต้นไม้ให้โจทก์ใช้ทางได้สะดวกหากไม่ปฏิบัติตามให้โจทก์รื้อและ ตัดต้นไม้ได้เอง โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนทางภาระจำยอม
   จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงกันคดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นกว้าง 3.25 เมตร ทางด้านทิศใต้ของที่ดินโฉนดเลขที่ 15704 ของจำเลยจาก ทิศตะวันออกตรงบริเวณที่ติดกับที่ดินของโจทก์ไปทิศตะวันตกตลอดแนวตามรูปแผนที่เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 หากมีรั้ว ต้นไม้หรือสิ่งกีดขวางทางดังกล่าวให้จำเลยรื้อถอนออกไป คำขออื่นให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
   โจทก์และจำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่
   โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แล้ว พิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ แทนจำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 4,500 บาท
  โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้จำเลยเปิดทางกว้าง 3.25 เมตร ในที่ดินโฉนดเลขที่ 15704 ของจำเลยตามแนวสีเขียวในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.1 โดยยาวตั้งแต่ทางหลวงแผ่นดินสายอยุธยา - อ่างทอง มาทางด้านทิศตะวันออกจนเลยหลักเขตที่ดินที่ ก.12127 ไปอีก 3.25 เมตร ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นขวางทางดังกล่าวออกไป ค่าฤชาธรรมเนียมทุกชั้นศาลให้เป็นพับ
 โจทก์และจำเลยฎีกา

           ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ฎีกาโต้เถียงกันฟังยุติได้ว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 4376 ตำบลโพสะ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง เดิมเป็นของนางม้วน ต่อมาตกเป็นของโจทก์โดยได้รับยกให้จากนางสงัด มารดาซึ่งได้รับมรดกจากนางม้วน ที่ดินแปลงดังกล่าวมีการแบ่งหักให้เป็นทางสาธารณะทางหลวงแผ่นดินสายอยุธยา - อ่างทอง ทางด้านทิศตะวันตกบางส่วนและแบ่งขายที่ดินด้านนี้ให้แก่นางฉลวย มารดาจำเลยบางส่วนด้วยซึ่งได้ออกเป็นโฉนด ที่ดินเลขที่ 9890 ต่อมานางฉลวยยกที่ดินที่ซื้อมาดังกล่าวให้แก่นางบุปผา และจำเลย ซึ่งได้มีการแบ่งแยกออกเป็นส่วนของจำเลยตามโฉนดที่ดินเลขที่ 15704 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะทางหลวงแผ่นดินสายอยุธยา - อ่างทอง จำเลยได้เปิดทางพิพาทกว้าง 3.25 เมตร มีความยาวตลอดที่ดินของจำเลยทางด้านทิศใต้ของที่ดินของจำเลยซึ่งระบายสีเขียวในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.1 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในครั้งแรก มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางจำเป็นบนที่ดินของจำเลยได้หรือไม่ เห็นว่า ที่ดินของโจทก์เดิมก่อน แบ่งแยกขายให้แก่นางฉลวยมารดาจำเลยอยู่ติดทางสาธารณะทางหลวงแผ่นดินสายอยุธยา - อ่างทอง อยู่แล้ว แต่เมื่อแบ่งแยกขายให้แก่นางฉลวยดังกล่าวเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่โดยรอบจนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวได้ โดยที่ดินที่แบ่งขายให้แก่นางฉลวยนั้นต่อมาได้แบ่งแยกออกเป็น 2 แปลง ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทั้ง 2 แปลง คือที่ดินโฉนดเลขที่ 15704 ของจำเลย และที่ดินโฉนดเลขที่ 9890 ของนางบุปผาซึ่งอยู่ติดกับ ที่ดินของจำเลยด้านทิศเหนือ กรณีของโจทก์ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 1350 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งบัญญัติว่า "ถ้าที่ดิน แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน และไม่ต้องเสียค่าตอบแทน" โจทก์จึงมีสิทธิจะเรียกร้องเอาทางเดินจากที่ดินแปลงที่แบ่งแยกคือที่ดินของจำเลยหรือที่ดินของนางบุปผาซึ่งเดิมเป็น ที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์ได้ จะเอาทางเดินจากที่ดินแปลงอื่นไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางพิพาท เป็นทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่สาธารณะทางหลวงแผ่นดินสายอยุธยา - อ่างทอง ได้ ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 15704 ของจำเลยแม้เดิมจะเป็นที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 4376 ของโจทก์ แต่มิได้แบ่งแยกมาจากที่ดินของโจทก์ แต่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 9890 ของนางบุปผา นอกจากนั้นโจทก์ก็สามารถเดินผ่าน เข้าออกที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศใต้โดยผ่านที่ดินของนายแถม นางทองคำ และนางวันเพ็ญ ได้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 1350 แห่ง ป.พ.พ. โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกทางเดินตามมาตรานี้จากจำเลยได้นั้น เห็นว่า ตามบทบัญญัติ มาตรา 1350 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าที่ดินที่มีการแบ่งแยกหรือแบ่งโอนมาจากที่ดินแปลงเดียวกัน เป็นเหตุให้ที่ดินแปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เมื่อที่ดินของจำเลยและนางบุปผาก็คือที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์ แม้จะแบ่งแยกออกจากที่ดินของโจทก์เป็นของนางบุปผาก่อนแล้วจึงแบ่งแยกที่ดินของนางบุปผาเป็นของจำเลย ภายหลัง ก็ไม่ทำให้ที่ดินของจำเลยไม่ใช่ที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของโจทก์มาแต่เดิมแต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยได้
           พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
           ( สุพัฒน์ บุญยุบล - บรรหาร มูลทวี - เฉลิมศักดิ์ บุญยงค์ )


ปรึกษากฎหมาย  ปรึกษาทนายความ ลีนนท์ พงษ์ศิริสุวรรณ  โทร. 0859604258  
 สำนักงานพีศิริ ทนายความ

 

 




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม