ReadyPlanet.com
bulletรับฟ้องคดีแพ่ง/อาญา
bulletพระราชบัญญัติ
bulletป.แพ่งและพาณิชย์
bulletป.อาญา ฎีกา
bulletป.วิอาญา
bulletป.วิแพ่ง
bulletป.กฎหมายที่ดิน
bulletป.รัษฎากร
bulletฟ้องหย่า
bulletอำนาจปกครอง
bulletนิติกรรม
bulletคดีมรดก
bulletอายุความฟ้องร้องคดี
bulletครอบครองปรปักษ์
bulletเอกเทศสัญญา
bulletเกี่ยวกับแรงงาน
bulletเกี่ยวกับคดีอาญา
bulletคดียาเสพติดให้โทษ
bulletตั๋วเงินและเช็ค
bulletห้างหุ้นส่วน-บริษัท
bulletคำพิพากษาและคำสั่ง
bulletทรัพย์สิน/กรรมสิทธิ์
bulletอุทธรณ์ฎีกา
bulletเกี่ยวกับคดีล้มละลาย
bulletเกี่ยวกับวิแพ่ง
bulletเกี่ยวกับวิอาญา
bulletการบังคับคดี
bulletคดีจราจรทางบก
bulletการเล่นแชร์ แชร์ล้ม
bulletอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
bulletมรรยาททนายความ
bulletถอนคืนการให้,เสน่หา
bulletข้อสอบเนติบัณฑิต
bulletคำพิพากษา 2550
bulletทรัพย์สินทางปัญญา
bulletสัญญาขายฝาก
bulletสำนักทนายความ
bulletป-อาญา มาตรา1- 398
bulletภาษาอังกฤษ
bulletการสมรสและการหมั้น
bulletแบบฟอร์มสัญญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2551-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-แพ่ง
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-วิ-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-อาญา
bulletข้อสอบเนติ-ปี2550-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2549-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2548-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2547-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2546-แพ่งพาณิชย์
bulletข้อสอบเนติ-ปี2545-แพ่งพาณิชย์
bulletนิติกรรมสัญญา
bulletพระธรรมนูญศาล
bulletทรัพย์สิน-สามีภริยา
bulletบิดามารดา-รับรองบุตร
bulletคดีครอบครัว
bulletสัญญาระหว่างสมรส
bulletสิทธิครอบครองที่ดิน
bulletสัญญาซื้อขาย
bulletแปลงหนี้ใหม่
bulletการได้กรรมสิทธิ์
bulletคดีเรื่องบุตร
bulletเช่าซื้อรถยนต์
bulletถอนผู้จัดการมรดก
bulletฟ้องค่าทดแทน
bulletฟ้องหย่า-ฟ้องหย่า
bulletสินสมรส-สินสมรส
bulletบันดาลโทสะ
bulletเบิกความเท็จ
bulletสิทธิ-สัญญาเช่า
bulletค้ำประกัน
bulletเจ้าของรวม
bulletจำนอง
bulletลูกหนี้ร่วม
bulletคำพิพากษาฎีกาทั่วไป
bulletกระดานถาม-ตอบ
bulletป-กฎหมายยาเสพติด2564
bulletขนส่งทางทะเล
bulletสมรสเป็นโมฆะ
bulletสามีภริยา
bulletตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
bulletทนายความของสภาจัดให้
bulletอาวุธปืน
bulletรับช่วงสิทธิ
bulletแพ่งมาตรา1-1755




การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ-การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์

การครอบครองปรปักษ์ขาดตอนเมื่อเปลี่ยนเจ้าของ

 การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองที่ต้องครอบครองติดต่อกัน ไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นหรือไม่ และไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังหาริมทรัพย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเกณฑ์ในการเริ่มนับระยะเวลาครอบครองใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าของหากบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1299 วรรคสอง มีผลทำให้การครอบครองปรปักษ์ก่อนหน้านั้นสิ้นไป
         
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  8700/2550
 
          จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช. เมื่อ ช. ขายที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บิดาโจทก์ทั้งห้าก่อนจำเลยทั้งสองครอบครองครบกำหนดสิบปี จำเลยทั้งสองไม่อาจยกการครอบครองดังกล่าวขึ้นยันบิดาโจทก์ทั้งห้าได้ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสองจึงขาดตอนตั้งแต่บิดาโจทก์ทั้งห้าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนแล้ว จำเลยทั้งสองจะต้องเริ่มนับระยะเวลาครอบครองที่ดินพิพาทใหม่ จะนำระยะเวลาที่จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินของ ช. มานับรวมด้วยไม่ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากบิดาโจทก์ทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์มายังไม่ครบสิบปี จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
          แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 จะเป็นผู้มอบอำนาจหลายคน แต่ต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาท จึงเป็นผู้มีอำนาจร่วมกันมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 5 ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยเสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7 (ข) ซึ่งกำหนดไว้ 30 บาท ปรากฏว่าใบมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ติดอากรแสตมป์ 30 บาท โจทก์ที่ 5 จึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ได้
 
มาตรา 1299  ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่

ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว

มาตรา 1382  บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
 
          โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดิน และบ้านพิพาทของโจทก์ทั้งห้า และส่งมอบที่ดินและบ้านหลังดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งห้า กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายเดือนละ 2,000 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะส่งมอบที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ทั้ง

          จำเลยทั้งสองให้การ ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

          โจทก์ทั้งห้าอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและออกไปจากบ้านและที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งห้า ให้จำเลยทั้งสองส่งมอบบ้านและที่ดินดังกล่าวและร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเดือนละ 1,500 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบบ้านและที่ดินแก่โจทก์ทั้งห้า

          จำเลยทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นฎีการับฟังได้ว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของนายชาลี เมื่อปี 2537 นายชาลีได้ขายที่ดินดังกล่าวและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่นายสุนันท์บิดาโจทก์ทั้งห้าตามสำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2541 นายสุนันท์จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าตามสำเนาโฉนดที่ดิน จำเลยทั้งสองอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทมาตั้งแต่ปี 2533 ถึงปัจจุบัน ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อแรกมีว่า จำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ โดยจำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ทั้งห้าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากบิดาโจทก์ทั้งห้าโดยการให้โดยเสน่หา ไม่เสียค่าตอบแทนจึงมิใช่บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยทั้งสองสามารถนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่บิดาโจทก์ทั้งห้ารับโอนกรรมสิทธิ์จากนายชาลีรวมกับระยะเวลาที่โจทก์ทั้งห้าได้รับโอนกรรมสิทธิ์จากบิดาโจทก์ทั้งห้าต่อเนื่องกันมาจนถึงวันฟ้อง เมื่อเป็นระยะเวลาเกินกว่า 10 ปี จำเลยทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้วนั้น เห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 บัญญัติว่าบุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ ตามทางนำสืบของจำเลยทั้งสองจะเห็นได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นมา เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทในขณะที่ที่ดินดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของนายชาลี จำเลยทั้งสองจะต้องครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีจึงจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่านายชาลีได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ทั้งห้าและมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บิดาโจทก์ทั้งห้าก่อนครบกำหนดสิบปี จำเลยทั้งสองจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกการครอบครองขึ้นยันบิดาโจทก์ทั้งห้าได้ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสองได้ขาดตอนตั้งแต่บิดาโจทก์ทั้งห้าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนแล้ว หากจำเลยทั้งสองจะครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทจากบิดาโจทก์ทั้งห้าจำเลยทั้งสองจะต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินดังกล่าวใหม่ จะนำระยะเวลาที่จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินของนายชาลีมานับรวมด้วยไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสองยังครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อบิดาโจทก์ทั้งห้าและโจทก์ทั้งห้าได้กรรมสิทธิ์มายังไม่ครบสิบปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยไว้โดยชอบแล้ว ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัยซ้ำอีก ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีปิดอากรแสตมป์เพียง 30 บาท เป็นการปิดอากรแสตมป์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งห้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เห็นว่า แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่เนื่องจากเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียว โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยเสียก่อน เห็นว่า แม้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 จะเป็นผู้มอบอำนาจหลายคน แต่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาท จึงเป็นผู้มีอำนาจร่วมกันและมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 5 ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ข) ซึ่งกำหนดไว้ 30 บาท ปรากฏว่าใบมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ติดอากรแสตมป์ 30 บาท จึงถูกต้องแล้ว โจทก์ที่ 5 มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า เอกสารหมาย จ. 10 เป็นเอกสารที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารต่อศาลและส่งให้แก่จำเลยทั้งสองก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 จึงไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้นั้น เห็นว่า เอกสารหมาย จ. 10 เป็นสำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกามีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น”
          พิพากษายืน
 
 หมายเหตุ
          การนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ถือเอาระยะเวลาครอบครองของฝ่ายผู้ครอบครองที่ต้องครอบครองติดต่อกัน ไม่ต้องพิจารณาถึงตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกครอบครองว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นหรือไม่ และไม่จำต้องถือเอาทางฝ่ายเจ้าของอสังหาริมทรัพย์แต่ละคนที่รับโอนกรรมสิทธิ์มาเป็นเกณฑ์ในการเริ่มนับระยะเวลาครอบครองใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าของ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5432/2536, 1088/2519, 5086/2532) การที่เจ้าของโอนอสังหาริมทรัพย์ของตนที่มีผู้อื่นครอบครองปรปักษ์อยู่ให้บุคคลภายนอกก่อนครบระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หากบุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1299 วรรคสอง มีผลทำให้การครอบครองปรปักษ์ก่อนหน้านั้นสิ้นไป (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2544) แต่หากบุคคลภายนอกรับโอนโดยไม่สุจริตหรือมิได้เสียค่าตอบแทนย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรา 1299 วรรคสอง ทำให้ผู้ครอบครองปรปักษ์สามารถนับระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ติดต่อกันได้

           ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้เป็นการที่ ช. เจ้าของเดิมขายที่ดินพิพาทให้บิดาของโจทก์ทั้งห้าในขณะที่จำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินดังกล่าวยังไม่ครบสิบปี จากนั้นบิดาโจทก์ทั้งห้าก็ยกที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งห้า จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทั้งห้ารับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน แต่มิได้ให้การว่าบิดาของโจทก์ทั้งห้ารับโอนโดยไม่สุจริต จึงไม่มีประเด็นว่าบิดาของโจทก์ทั้งห้าซื้อที่ดินพิพาทมาจาก ช. เจ้าของเดิมโดยไม่สุจริตและต้องถือว่าบิดาโจทก์ทั้งห้าซื้อที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 การครอบครองปรปักษ์ของจำเลยทั้งสองจึงขาดตอนตั้งแต่บิดาโจทก์ทั้งห้ารับโอนมาแล้วแม้โจทก์ทั้งห้าจะรับโอนที่ดินพิพาทมาจากบิดาโดยไม่เสียค่าตอบแทนหรือไม่สุจริตแต่จำเลยทั้งสองก็ครอบครองที่ดินดังกล่าวยังไม่ครบสิบปีนับแต่วันที่บิดาโจทก์รับโอนมาจาก ช. จำเลยทั้งสองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์   
         
          สิรภพ รอดภาษา

นับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ในระหว่างเป็นที่ดินมือเปล่ารวมเข้าไม่ได้  

 การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์จะนับระยะเวลาการครอบครองในระหว่างเป็นที่ดินมือเปล่าก่อนที่ดินออกโฉนดที่ดินรวมเข้ากับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ภายหลังที่ดินมีโฉนดแล้วไม่ได้ ขณะที่มีการออกโฉนดที่ดินในที่ดินปี 2529 เข้าครอบครองปรปักษ์ที่ดินเมื่อปี 2533 ฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ยังไม่ครบ 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2270/2554

ป.พ.พ. มาตรา 1382

          การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะต้องเป็นการครอบครองที่ดินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์และครอบครองโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองในระหว่างเป็นที่ดินมือเปล่าก่อนที่ดินพิพาทออกโฉนดรวมเข้ากับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ภายหลังที่ดินมีโฉนดแล้วหาได้ไม่ ขณะที่มีการออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาทปี 2529 ผู้ร้องไม่ได้คัดค้านอย่างใด ต่อมาปี 2533 ผู้ร้องเข้าไปตักดินในที่ดินพิพาท ผู้คัดค้านห้ามแล้วไม่หยุด ผู้คัดค้านจึงนำโฉนดที่ดินไปแจ้งความที่สถานีตำรวจว่าผู้ร้องบุกรุก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทและแสดงออกว่ามีเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี 2533 เมื่อนับระยะเวลาจนถึงผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ยังไม่ครบ 10 ปี ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง

          ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 1722 ตำบลกมลา อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ 10 ไร่ 3 ตารางวา ซึ่งมีชื่อนายอนันต์ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยผู้ร้องเข้าครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบ และโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นเวลาเกินกว่า 20 ปี ขอให้มีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวโดยการครอบครอง และขอให้มีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตแก้ทะเบียนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 1722 โดยใส่ชื่อผู้ร้องในโฉนดที่ดินดังกล่าวแทนนายอนันต์

          ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านและฟ้องแย้งว่า ผู้ร้องเพิ่งบุกรุกเข้าครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 1722 เมื่อปี 2535 โดยสร้างบ้าน 2 หลัง บริเวณริมแนวเขตด้านทิศเหนือ ต่อมาปี 2537 ผู้ร้องได้สร้างรั้วล้อมรอบที่ดินโฉนดเลขที่ 1722 เมื่อนับแต่วันที่ผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 1722 จนถึงวันยื่นคำร้องขอยังไม่ถึง 10 ปี ผู้ร้องจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1722 โดยการครอบครอง ดังนั้น ผู้คัดค้านยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ร้องอาศัยอยู่ในที่ดินของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านไม่อนุญาต ขอให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง และขับไล่ผู้ร้องพร้อมบริวารและให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินทั้งหมดออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1722 ตำบลกมลา อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต

          ผู้ร้องให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี โดยผู้ร้องได้ปลูกบ้านอยู่อาศัย ปลูกพืชผลอาสินและไม้ยืนต้นในที่ดินพิพาทเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี ไม่ใช่เพิ่งบุกรุกที่ดินพิพาทเมื่อปี 2535 ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง ขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษาให้ผู้ร้องรื้อถอนบ้านและสิ่งปลูกสร้างของผู้ร้องออกจากที่ดินพิพาทของผู้คัดค้าน และห้ามเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท ให้ผู้ร้องและบริวารออกจากที่ดินพิพาทของผู้คัดค้าน ยกคำร้องขอของผู้ร้อง

          ผู้ร้องอุทธรณ์

          ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน ให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 2,500 บาท แทนผู้คัดค้าน และให้ผู้ร้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนผู้คัดค้าน โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท

          ผู้ร้องฎีกา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 1722 ตำบลกมลา อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ 10 ไร่ 3 ตารางวา มีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยซื้อมาจากบริษัทเหมืองแร่กำมะรา จำกัด เมื่อปี 2531 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองหรือไม่ เห็นว่า การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จะต้องเป็นการครอบครองที่ดินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์และครอบครองโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี คดีนี้ ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1722 เอกสารหมาย ร.3 ปรากฏว่า ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 ดังนี้ แม้ผู้ร้องอ้างว่าได้ครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2512 ซึ่งขณะนั้นที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่ายังไม่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่นนี้ผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองก่อนที่ดินพิพาทออกโฉนดรวมเข้ากับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ภายหลังที่ดินมีโฉนดแล้วหาได้ไม่ กรณีมีปัญหาว่า ผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดตั้งแต่ที่ดินพิพาทออกโฉนดที่ดินแล้วหรือไม่ ในข้อนี้ผู้ร้องเบิกความโดยรวมว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินส่วนของผู้ร้องและที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ติดต่อกันเป็นแปลงเดียวตลอดมาตั้งแต่ปี 2512 โดยไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าที่ดินพิพาทมีอาณาเขตอย่างไร กว้างยาวเท่าใด อ้างเพียงลอย ๆ ว่าได้ทำรั้วล้อมรอบที่ดินเท่านั้น แต่นายหมีด พยานผู้ร้องกลับเบิกความว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดาผู้ร้อง ต่อมาได้ยกให้ผู้ร้องเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2524 แสดงว่าผู้ร้องเพิ่งครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อปี 2524 ซึ่งขัดกับคำเบิกความของผู้ร้องในข้อสำคัญ ฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อใด และแม้ผู้ร้องจะมีนายสนิท กับนายดนล่ะ มาเป็นพยานก็เบิกความรวม ๆ เช่นกันว่า ผู้ร้องครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่พยานไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่และอาณาเขตอย่างไร ซึ่งผู้ร้องได้เบิกความว่า ผู้ร้องปลูกบ้านเลขที่ 64/13 หลังที่สองเมื่อปี 2536 หรือ 2537 โดยการตักทรายออกขายแล้วสร้างบ้านบนที่ดินเช่นนี้ เมื่อผู้ร้องไม่ได้นำสืบให้ชัดเจนว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทมีอาณาเขตแท้จริงเท่าใด และตั้งแต่เมื่อใด จึงฟังไม่ได้แน่ชัดว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ดินพิพาทมีโฉนดที่ดินเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2529 กลับได้ความจากข้อนำสืบของผู้คัดค้านโดยมีนายชัย เบิกความสนับสนุนว่า ผู้คัดค้านซื้อที่ดินพิพาทมาเมื่อปี 2531 ขณะรับโอนไม่มีสิ่งปลูกสร้าง สภาพเป็นดินทราย มีต้นมะพร้าว ต้นมะขาม และต้นมะม่วงหิมพานต์ มีรั้วลวดหนามและเสาไม้ มีนายชัย ช่วยดูแล ต่อมาปี 2533 ผู้ร้องเข้าไปตักดินในที่ดินพิพาท ห้ามแล้วไม่หยุด ผู้คัดค้านจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรตำบลกมลา ซึ่งผู้ร้องได้ตอบทนายผู้คัดค้านถามค้านยอมรับว่า เมื่อประมาณ 10 กว่าปีมาแล้ว ผู้คัดค้านเคยไปตักทรายในที่พิพาท ผู้ร้องห้าม ผู้คัดค้านได้นำโฉนดที่ดินไปแจ้งความว่าผู้ร้องบุกรุก เจือสมข้อนำสืบของผู้คัดค้าน นอกจากนี้ผู้คัดค้านยังมีนายอารยะ  เบิกความว่า เมื่อปี 2528 พยานได้รังวัดที่ดินพิพาทเพื่อออกโฉนดที่ดินระหว่างที่ดินของผู้ร้องกับที่ดินพิพาทมีรั้วไม้ขึงด้วยลวดหนามกั้นระหว่างกัน ในการรังวัดพยานพบผู้ร้องแต่ไม่คัดค้านและมีนายสะอาด  กำนันตำบลท้องที่เกิดเหตุเบิกความสนับสนุนว่า ในวันรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาท พยานไประวังแนวเขต ขณะนั้นที่ดินพิพาทมีเสาไม้ขึงด้วยลวดหนามล้อมที่ดินพิพาท ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง เห็นว่า พยานดังกล่าวเป็นเจ้าพนักงานไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับฝ่ายใด จึงเป็นพยานคนกลางมีน้ำหนักเชื่อถือได้ แสดงว่าในขณะมีการออกโฉนดที่ดินพิพาทในปี 2528 และปี 2529 ที่ดินพิพาทแยกจากที่ดินของผู้ร้องเป็นส่วนสัดมีรั้วล้อมรอบ ไม่ใช่ที่ดินแปลงเดียวกับที่ดินของผู้ร้องดังที่ผู้ร้องนำสืบ และผู้ร้องไม่ได้คัดค้านการออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาทของบริษัทเหมืองแร่กำมะรา จำกัด ซึ่งผิดวิสัยของผู้ที่เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทย่อมหวงกันมิให้ผู้อื่นเข้าเกี่ยวข้อง จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ดินพิพาทมีโฉนดที่ดินเมื่อปี 2529 ดังนี้ ตามพยานหลักฐานของผู้คัดค้านจึงมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของผู้ร้อง ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่ผู้คัดค้านนำสืบว่า ผู้ร้องได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทและแสดงออกว่ามีเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี 2533 เมื่อมีการพิพาทกันในเรื่องตักทรายในที่ดินพิพาท ซึ่งเมื่อนับระยะเวลาจนถึงผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ยังไม่ครบ 10 ปี ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามหนังสือแสดงสิทธิครอบครอง (ส.ค.1) ผู้คัดค้านได้ที่ดินพิพาทโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่าที่ดินพิพาทมีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยไม่ได้โต้แย้งการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของผู้คัดค้าน เท่ากับผู้ร้องยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้าน แต่ผู้ร้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อผู้คัดค้านโต้แย้งว่าผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องมาก่อนและไม่มีประเด็นว่าผู้คัดค้านได้ที่ดินพิพาทมาโดยชอบหรือไม่ดังที่ผู้ร้องฎีกา ส่วนฎีกาข้ออื่นเป็นข้อปลีกย่อยไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ไม่จำต้องวินิจฉัย ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยมาชอบแล้ว ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น”

          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

การครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น  

จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลย ต่อมาบิดามารดายกที่ดินพิพาทให้จำเลย เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยเช่นกัน จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5252/2550

ป.พ.พ. มาตรา 1373, 1382

ป.วิ.พ. มาตรา 84(เดิม), 177 วรรคสอง, 177 วรรคสาม, 249 วรรคหนึ่ง

          โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ได้จดทะเบียนแล้ว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว

          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและให้จำเลยเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัย โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยและบริวารอยู่อาศัยอีกต่อไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลย ต่อมาบิดามารดายกที่ดินพิพาทให้จำเลย เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยเช่นกัน จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ให้จำเลยเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัยและทำประโยชน์ ต่อมาต้นเดือนมิถุนายน 2539 โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยและบริวารอยู่อาศัยอีกต่อไป จึงบอกกล่าวให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากมี่ดินของโจทก์ จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินของโจทก์ กับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อัตราเดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินของโจทก์

          จำเลยให้การและฟ้องแย้งโดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาโดยได้รับยกเว้นค่าขึ้นศาลกึ่งหนึ่งว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ดินดังกล่าวเป็นของนายชั้นและนางบุบผา  บิดามารดาโจทก์และจำเลย ที่จับจองและครอบครองทำประโยชน์เพียงแต่ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมาปี 2529 บิดามารดายกมี่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลย และจำเลยครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ขอให้ยกฟ้องและบังคับโจทก์ให้ไปจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

          โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า จำเลยอยู่ในที่ดินของโจทก์เป็นการครอบครองแทนโจทก์ โดยจำเลยไม่เคยแสดงเจตนาหรือบอกกล่าวให้โจทก์ทราบว่าไม่มีเจตนาที่จะยึดถือที่ดินดังกล่าวแทนโจทก์อีกต่อไป ขอให้ยกฟ้องแย้ง

          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดิน ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากที่ดินพิพาทของโจทก์ ยกฟ้องแย้ง

          จำเลยอุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา

          ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน

          จำเลยฎีกาโดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา

          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติได้ว่าโจทก์และจำเลยเป็นบุตรนายชั้นและนางบุบผา  มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 13 คน โจทก์เป็นบุตรคนโต ส่วนจำเลยเป็นบุตรคนสุดท้อง เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นผู้แจ้งการครอบครองต่อมาได้เปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ปี 2516 จำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาท ต่อมาวันที่ 8 เมษายน 2530 โจทก์แบ่งที่ดินพิพาทบางส่วนให้นายชูชาติ น้องชาย เพื่อทำรางน้ำเข้าที่ดินของนายชูชาติ นายชั้นถึงแก่กรรมเมื่อปี 2534  คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนายชั้น เห็นว่า โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ได้จดทะเบียนแล้ว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 จำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 7938 ตำบลนาโคก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบไม่น่าเชื่อถือและไม่อาจรับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ หาใช่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนนายชั้นตามที่จำเลยฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

          มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อต่อไปว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและให้จำเลยเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัย โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยและบริวารอยู่อาศัยอีกต่อไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลย ต่อมาบิดามารดายกที่ดินพิพาทให้จำเลย เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยเช่นกัน จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย”

          พิพากษายืน 

การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม

ผู้ขายครอบครองที่ดินมีโฉนดของผู้อื่นโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แล้วขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อโดยส่งมอบการครอบครองผู้รับโอนจะนับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้น รวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้ 




ครอบครองปรปักษ์/ภาระจำยอม/ทางจำเป็น

สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนทางจำเป็น, อายุความฟ้องร้องค่าทดแทน 10 ปี, หลักเกณฑ์การเปิดทางจำเป็น,
การคัดค้านการรังวัดแนวเขตที่ดิน, ครอบครองปรปักษ์, ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
ทางจำเป็นคืออะไร | เงินค่าทดแทนใช้ทาง
แม้ภาระจำยอมโดยนิติกรรมไม่บริบูรณ์แต่มีสิทธิได้โดยอายุความ
ภาระจำยอมไม่มีการใช้ประโยชน์เกินกว่า 10 ปีย่อมระงับสิ้นไป
โจทก์ฟ้องขอให้ชดใช้ค่าทดแทนที่ดินเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่ถูกฟ้องเปิดทางจำเป็น
การนับเวลาการครอบครองเป็นปรปักษ์ที่งอกริมตลิ่ง
ข้อตกลงก่อตั้งภาระจำยอมทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอื่น
มารดาได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยคำสั่งให้บุตรเป็นคนสาบสูญ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม
ยกเลิกภาระจำยอมได้ไหม?
ที่ดินตาบอดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ขอเปิดทางจำเป็น
การครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์-การครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ
ที่ดินแบ่งแยกเป็นเหตุให้ไม่มีทางออกมีสิทธิเรียกให้เปิดทางจำเป็น
สัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากคู่ความฉ้อฉล
ปรปักษ์ใช้ยันผู้ได้สิทธิมาโดยจ่ายค่าซื้อที่ดินและจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้
รับโอนที่ดินมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต
ตกลงยินยอมให้ใช้ทางเป็นการทำนิติกรรมก่อตั้งสิทธิภาระจำยอมระหว่างกัน
การครอบครองปรปักษ์กับการนับเวลาการครอบครองต่อเนื่องต่อจากเจ้าของเดิม
ผู้ขายสละการครอบครอง ผู้ซื้ออ้างครอบครองปรปักษ์ได้
ขอเปิดทางจำเป็นจากที่ดินแบ่งแยก
เจ้าของที่ดินจำต้องยอมให้ที่ดินมีแนวเขตติดต่อวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าได้
ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นแต่ระหว่างพิจารณาคดีได้สิทธิภาระจำยอมแปลงอื่น
กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้ครอบครอง
ครอบครองอาศัยสิทธิไม่บอกเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ
ภาระจำยอมคืออะไร การใช้ทางโดยไม่มีใครห้ามและไม่ต้องรับอนุญาต
ได้กรรมสิทธิ์ปรปักษ์แล้วไม่ได้จดทะเบียนการได้มา
ต่อสู้คดีอ้างครอบครองปรปักษ์แต่ขาดเจตนาเป็นเจ้าของ10 ปี
การใช้ที่ดินข้างเคียงเป็นทางผ่านโดยถือวิสาสะไม่ได้ภาระจำยอม
อำนาจฟ้องคดี ครอบครองปรปักษ์ที่ดินของตนเองไม่ได้
ครอบครองที่ดินมรดกตกทอดหาใช่การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของผู้อื่นไม่
นับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ทางจำเป็นเกิดขึ้นได้กี่วิธี -ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คลองสาธารณะไม่ได้ใช้สัญจรไม่ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะได้
การโอนกรรมสิทธิ์ในระยะที่ดินถูกครอบครองปรปักษ์กระทบสิทธิครอบครอง
อุทิศที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างถนนสาธารณะแล้วจะขอเรียกคืน
ทายาททำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางไม่ได้สิทธิภาระจำยอม
ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 เพราะเจ้าของสละแล้ว
ความแตกต่างของทางจำเป็นกับภาระจำยอม
ทางออกมีที่ดินสูงชันขวางอยู่ขอให้เปิดทางจำเป็นได้
ค่าทดแทนการใช้ทางเดือนละเท่าไหร่เหมาะสม
ฟ้องขอให้เปิดทางจำแต่เจ้าของที่ดินแปลงอื่นตกลงจดภาระจำยอมให้
เจ้าของที่ดิน น.ส. 3 ก ออกเอกสารสิทธิทับที่ดินมีโฉนดอ้างครอบครองปรปักษ์
ใช้ทางโดยสำคัญผิดว่าทางนั้นอยู่ในที่ดินของตนกว่า10 ปีได้ภาระจำยอม
การใช้สิทธิวางท่อน้ำ,สายไฟฟ้าในที่ดินของผู้อื่น
ครอบครองโดยสำคัญผิดได้กรรมสิทธิ์โดยปรปักษ์หรือไม่?
ค่าทดแทนทางจำเป็นและท่อระบายน้ำสายไฟฟ้า
จดภาระจำยอมให้แค่เดินผ่านแต่ปลูกสร้างหลังคาและวางของขาย
เจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างแผงร้านค้าบนทางภาระจำยอมหรือไม่?
ภาระจำยอมที่เกิดจากการจัดสรรที่ดินขาย
ใช้ทางอย่างเป็นปรปักษ์กับใช้ทางเป็นการวิสาสะ
ยึดถือที่ดินเพื่อตนกับมีชื่อในทะเบียนสิทธิใดดีกว่า?
ตกเป็นภาระจำยอมแล้วจึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่?
คนต่างด้าวครอบครองปรปักษ์ห้องชุด
เพิกถอนโฉนดที่ดินออกทับที่ดินของผู้มีสิทธิครอบครอง
ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ
ครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ซื้อมาไม่จดทะเบียน
ตกอยู่ในภาระจำยอมตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 3-(ต่อ)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 2-(ต่อ)
เหตุตามกฎหมายทำให้ภาระจำยอมสิ้นไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เป็นทางจำเป็น ศาลอุทธรณ์ให้จดภาระจำยอม
มีทางออกสู่ทางสาธารณะอื่นทางจำเป็นที่สิ้นความจำเป็นแล้ว
การยึดถืออย่างสิทธิครอบครอง กับครอบครองเจตนาเป็นเจ้าของ
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาระจำยอม 4-(ต่อ)
ทางที่ประชาชนเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานโดยเจ้าของที่ดินไม่หวงห้าม